สธ.แถลงสถานการณ์ไข้หวัด 2009 ประจำสัปดาห์ เสียชีวิตอีก 16 ราย ยอดตายสะสมพุ่ง 81 ศพ เผยลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้ว 5 ราย โดยในจำนวนนี้ 12 รายเป็นผู้มีโรคประจำตัว ระบุสาเหตุที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพราะมาพบแพทย์ช้า ทำให้มีอาการหนักและใช้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผล ขณะที่ อภ.เตรียมผลิตยาโอเซลทามิเวียร์สำหรับเด็กในรูปแคปซูลขนาด 30-45 มิลลิกรัม คาดเสร็จและขึ้นทะเบียนกับ อย.สัปดาห์หน้า ด้านนักไวรัสวิทยา ย้ำประเทศไทยยังไม่มีการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะแพทย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ประจำสัปดาห์ว่า ในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. - 2 ส.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จำนวน 16 ราย เป็นชาย 9 ราย หญิง 7 ราย ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 5 ราย โดยมียอดผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 81 ราย
ทั้งนี้ ในจำนวนผู้เสียชีวิต 16 ราย มี 12 รายที่มีโรคประจำตัว โดยอ้วน มีน้ำหนักตัวเมากสูงที่สุด รองลงมาเป็นเบาหวาน หอบหืด สูบบุหรี่จัด และหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง เนื่องจากมีความตื่นตัวและเข้าใจโรคนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยแล้วยังมารักษาตัวช้า โดยเฉลี่ยมีอาการป่วยแล้ว 5-6 วันจึงมาพบแพทย์ ทำให้มีอาการหนักและรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่ได้ผล แต่ถือว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการมาพบแพทย์หลังเจ็บป่วย สั้นลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 วัน
นักเรียนป่วยลด รับจ้าง เกษตรกรป่วยเพิ่ม
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้แนวโน้มการติดเชื้อในกทม.และปริมณฑลลดลง แต่มีการเพิ่มขึ้นในระดับชนบท ซึ่งการป่วยกลุ่มย่อยที่เป็นกลุ่มสำคัญอย่างนักเรียนอายุ 6-10 ปี และ 11-20 ปี มีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นว่ามาตรการคัดกรองผู้ป่วยในโรงเรียนเริ่มใช้ได้ผล แต่กลับเริ่มพบว่าในกลุ่มรับจ้างอิสระ ธุรกิจย่อย เกษตรกร มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องใช่มาตรการให้พนักงานใช้วันหยุดวันลาเมื่อป่วย โดยไม่นับเป็นวันลานำมาปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง จึงสามารถลดจำนวนผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มโรงงาน อัตราการป่วยยังไม่เพิ่มสูงขึ้น เพราะกระทรวงแรงงานมีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดอยู่บ้านแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3.5-5 แสนราย
สำหรับยุทธศาสตร์และมาตรการที่กระทรวงฯ จะดำเนินการต่อไป ยังคงเน้นหนักเรื่อง “2 ลด 3 เร่ง” ได้แก่ 1.ลดการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด โดยเน้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์อย่างรวดเร็ว 2.ลดการติดเชื้อและการป่วยให้มากที่สุด โดยกระตุ้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ และไม่แพร่เชื้อสู่คนอื่นขณะป่วย เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ใช้หน้ากากอนามัย 3.เร่งให้ อสม. กว่า 980,000 คนทั่วประเทศ ออกให้คำแนะนำและค้นหาผู้ป่วยในหมู่บ้านและชุมชนเป็นประจำ 4.เร่งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนสามารถป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง โดยร่วมมือเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สสส. สปสช. และ 5.เร่งกระจายการบริหารจัดการสู่ระดับจังหวัด โดยรัฐบาลและ สธ.มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ตรวจราชการ สธ.ติดตาม กำกับ ให้มีการปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ อย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่ยังไม่ป่วย ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ หากไปในที่ชุมนุมชนหนาแน่น ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อ และหากมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด กินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 วันหลังป่วย ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการจ่ายยาต้านไวรัสของกระทรวงฯ ส่วนกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน หากมีอาการป่วยไข้หวัด ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอรักษาที่บ้าน และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทางสายด่วน 1422 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ประเทศเม็กซิโก ยังถือว่าเป็นช่วงการระบาดในระลอกแรก เนื่องจากการระบาดครั้งนี้พบทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนของประเทศไทย ยังต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด และเตรียมรับมือการแพร่ระบาดตลอดเวลา ดูเรื่องฤดูกาลการระบาดเป็นเกณฑ์ ประชาชนสามารถปฏิบัติตามตามคำแนะของกระทรวงฯ โดยเฉพาะหากป่วยเล็กน้อยให้หยุดอยู่กับบ้าน พักผ่อน จะทำให้สถานการณ์การระบาดชะลอตัวและสงบ คาดว่าหากสถานการณ์คงที่จนถึงปลายปีนี้ เชื่อว่าปีหน้าโรคหวัดใหญ่ 2009 จะกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
พบ 200 กว่ารพ. จ่ายยาให้ผู้ป่วยวันละ 30,000 คน
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรายงานการให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์มาแล้ว ประมาณ 200 กว่าแห่ง จากโรงพยาบาลทั้งหมด 1,030 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 25 พบว่า มีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 30,000 ราย ซึ่งอภ. มีการสำรองยาต้านไวรัสชนิดนี้ในปริมาณมากเพียงพอกับผู้ป่วยทั้งประเทศ แต่ขณะนี้ตัวเลขยังไม่นิ่งเนื่องจากยังรายงานตัวเลขมาไม่ครบ ซึ่งในการประชุมเกี่ยวกับการกระจ่ายยาจะหารือในส่วนของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ ในส่วนภูมิภาค ว่าได้รับการกระจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์อย่างทั่วถึงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการกระจายยาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดมหาวิทยาลัยเท่านั้น
สัปดาห์หน้าพร้อมจ่ายยาต้านสำหรับเด็ก
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์สำหรับเด็กที่อภ.ผลิตเป็นชนิดแคปซูล อยู่ระหว่างการนำเข้าวัตถุดิบและแคปซูลที่มีขนาด 30 และ 45 มิลลิกรัม โดยนำไปผสมกับน้ำเชื่อมตามสูตรการรักษาเดิมที่มีอยู่แล้วตามน้ำหนักตัว ซึ่งจะทำให้การให้ยาต้านไวรัสในเด็กเล็กมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยอภ.จะต้องนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อย่างเร่งด่วนเพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีราคาถูกกว่ายาโอเซลทามิเวียร์ของผู้ใหญ่ที่ขายเม็ดละ 25 บาท และคาดว่าจะสามารถกระจายยาดังกล่าวได้ในสัปดาห์หน้า ส่วนยาโอเซลทามิเวียร์สูตรน้ำอภ.อยู่ในระหว่างการพัฒนา
16 ส.ค.ได้วัคซีนต้นแบบ พร้อมทดลองในคนต้น ก.ย.นี้
นพ.วิทิต กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในวันที่ 16 สิงหาคม จะได้วัคซีนต้นแบบปริมาณ 5 มิลลิลิตร (ซีซี )ต่อขวด จากนั้นต้องผ่านกระบวนการทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบทางคลินิกและความปลอดภัย ก่อนจะนำมาทดลองกับอาสาสมัครในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งระหว่างนี้ดำเนินการเป็นคู่ขนานกับการขออนุญาตคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สำรับวัคซีนที่จะนำมาทอดลลองในคนนั้น จะผลิตแบบ 1 ขวด ต่อ 1 คน
“ส่วนขั้นตอนการวิจัยในสัตว์ทดลองนั้น ไทยไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองแต่จะทำการทดสอบตัวเชื้อไวรัสที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มาจากล็อตเดียวกันกับในไทยโดยเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงจากนั้นจะส่งผลการตรวจสอบมายังประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะทราบผลในสัปดาห์เช่นกัน”นพ.วิทิต กล่าว
ยังไม่พบผู้ป่วยดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ในไทย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 ขณะนี้ยังไม่มีการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในประเทศไทย แต่พบอัตราการดื้อยาที่ญี่ปุ่นเพิ่มอีก 1 ราย
ด้าน รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ในระยะที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยหนัก แพทย์ได้จ่ายยาโอเซลทามิเวียร์และซานามิเวียร์ให้ผู้ป่วยควบคู่กัน เนื่องจากบางรายมีอาการรุนแรง และไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคหวัดใหญ่ 2009 หรือหวัดใหญ่ตามฤดูกาล จึงจำเป็นต้องให้ยาซานามิเวียร์ก่อน เพราะว่าอัตราการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ในไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมีมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังพบว่าการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ยังมีประสิทธิภาพมากอยู่
จัดทำแนวทางรักษาผู้ป่วยโรคแทรกซ้อนทางปอด
รศ(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวอีกว่า ภายใน 1-2 วัน สธ.จะออกแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนทางปอด โดยจะมีการแนะนำแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาผู้ป่วยในกรณีที่มีอาการรุนแรง ซึ่งหนึ่งในแนวทางนี้ ก็คือ การให้แพทย์ใช้ยาซานามิเวียร์ควบคู่กับโอเซลทามิเวียร์ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นวิกฤติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อีกทั้งจะออกแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นหญิงตั้งครรภ์และบุตรด้วย ซึ่งจะมีการแนะนำการดำเนินการตั้งแต่ก่อนคลอด แรกคลอดและหลังคลอด เมื่อแล้วเสร็จจะเผยแพร่ผ่านทางเวบไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th เพื่อให้แพทย์ที่สนใจเข้ามาค้นคว้าข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
ศึกษาปัจจัยทำให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง-เสียชีวิต
รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวต่อว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลในประเทศไทยว่าการให้ยาในอัตราปกติกับการให้ยาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แบบใดจะให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า คาดว่าการศึกษาวิจัยจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ภายในเดือนก.ย.นี้จะเริ่มศึกษาติดตามผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าและสายพันธ์ใหม่ 2009 จำนวน 100 คน ที่เข้ารักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลศิริราช สถาบันโรคทรวงอกและสถาบันบำราศนราดูร
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้จะมุ่งหาคำตอบใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือเก่า มีอาการรุนแรง และ2.ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเสียชีวิต โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเร็วที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งการดำเนินการศึกษาวิจัยเช่นนี้ ดำเนินการในประเทศอื่นๆในสัดส่วนผู้ป่วยที่เท่ากันด้วย เพื่อนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันและกัน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยในอนาคต
ชี้ระลอกสองมาอีกครั้งปีหน้า
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขระดับชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคในขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง เพราะตั้งแต่พ.ค.ที่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ครั้งแรกในไทย จนถึงเดือนมิ.ย.ก็เป็นช่วงขาขึ้นสูงสุด แต่ขณะนี้สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้น มีผู้ป่วยในเมืองใหญ่ๆลดลง อย่างกทม. เพราะจำนวนผู้ที่เคยได้รับเชื้อและมีภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประมาณ 20-30%แล้ว จึงทำให้การติดเชื้อไม่เพิ่ม แต่อาจไปเพิ่มในส่วนของภูมิภาคหรือพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น
“ขณะนี้เป็นช่วงขาลงของการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งกว่าที่จะสงบลงทั้งประเทศน่าจะประมาณเดือนต.ค. หลังจากนั้นก็จะสงบอีกสักระยะ จนระลอก 2 ของการระบาดก็จะมาอีกครั้งในช่วงต้นปี 2553 ซึ่งการระบาดก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าการระบาดครั้งแรก โดยสถานการณ์การระบาดของโรคในอดีตก็มีลักษณะเช่นนี้”ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะแพทย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ประจำสัปดาห์ว่า ในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. - 2 ส.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จำนวน 16 ราย เป็นชาย 9 ราย หญิง 7 ราย ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 5 ราย โดยมียอดผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 81 ราย
ทั้งนี้ ในจำนวนผู้เสียชีวิต 16 ราย มี 12 รายที่มีโรคประจำตัว โดยอ้วน มีน้ำหนักตัวเมากสูงที่สุด รองลงมาเป็นเบาหวาน หอบหืด สูบบุหรี่จัด และหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง เนื่องจากมีความตื่นตัวและเข้าใจโรคนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยแล้วยังมารักษาตัวช้า โดยเฉลี่ยมีอาการป่วยแล้ว 5-6 วันจึงมาพบแพทย์ ทำให้มีอาการหนักและรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่ได้ผล แต่ถือว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการมาพบแพทย์หลังเจ็บป่วย สั้นลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 วัน
นักเรียนป่วยลด รับจ้าง เกษตรกรป่วยเพิ่ม
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้แนวโน้มการติดเชื้อในกทม.และปริมณฑลลดลง แต่มีการเพิ่มขึ้นในระดับชนบท ซึ่งการป่วยกลุ่มย่อยที่เป็นกลุ่มสำคัญอย่างนักเรียนอายุ 6-10 ปี และ 11-20 ปี มีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นว่ามาตรการคัดกรองผู้ป่วยในโรงเรียนเริ่มใช้ได้ผล แต่กลับเริ่มพบว่าในกลุ่มรับจ้างอิสระ ธุรกิจย่อย เกษตรกร มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องใช่มาตรการให้พนักงานใช้วันหยุดวันลาเมื่อป่วย โดยไม่นับเป็นวันลานำมาปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง จึงสามารถลดจำนวนผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มโรงงาน อัตราการป่วยยังไม่เพิ่มสูงขึ้น เพราะกระทรวงแรงงานมีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดอยู่บ้านแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3.5-5 แสนราย
สำหรับยุทธศาสตร์และมาตรการที่กระทรวงฯ จะดำเนินการต่อไป ยังคงเน้นหนักเรื่อง “2 ลด 3 เร่ง” ได้แก่ 1.ลดการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด โดยเน้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์อย่างรวดเร็ว 2.ลดการติดเชื้อและการป่วยให้มากที่สุด โดยกระตุ้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ และไม่แพร่เชื้อสู่คนอื่นขณะป่วย เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ใช้หน้ากากอนามัย 3.เร่งให้ อสม. กว่า 980,000 คนทั่วประเทศ ออกให้คำแนะนำและค้นหาผู้ป่วยในหมู่บ้านและชุมชนเป็นประจำ 4.เร่งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนสามารถป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง โดยร่วมมือเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สสส. สปสช. และ 5.เร่งกระจายการบริหารจัดการสู่ระดับจังหวัด โดยรัฐบาลและ สธ.มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ตรวจราชการ สธ.ติดตาม กำกับ ให้มีการปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ อย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่ยังไม่ป่วย ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ หากไปในที่ชุมนุมชนหนาแน่น ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อ และหากมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด กินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 วันหลังป่วย ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการจ่ายยาต้านไวรัสของกระทรวงฯ ส่วนกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน หากมีอาการป่วยไข้หวัด ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอรักษาที่บ้าน และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทางสายด่วน 1422 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ประเทศเม็กซิโก ยังถือว่าเป็นช่วงการระบาดในระลอกแรก เนื่องจากการระบาดครั้งนี้พบทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนของประเทศไทย ยังต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด และเตรียมรับมือการแพร่ระบาดตลอดเวลา ดูเรื่องฤดูกาลการระบาดเป็นเกณฑ์ ประชาชนสามารถปฏิบัติตามตามคำแนะของกระทรวงฯ โดยเฉพาะหากป่วยเล็กน้อยให้หยุดอยู่กับบ้าน พักผ่อน จะทำให้สถานการณ์การระบาดชะลอตัวและสงบ คาดว่าหากสถานการณ์คงที่จนถึงปลายปีนี้ เชื่อว่าปีหน้าโรคหวัดใหญ่ 2009 จะกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
พบ 200 กว่ารพ. จ่ายยาให้ผู้ป่วยวันละ 30,000 คน
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรายงานการให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์มาแล้ว ประมาณ 200 กว่าแห่ง จากโรงพยาบาลทั้งหมด 1,030 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 25 พบว่า มีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 30,000 ราย ซึ่งอภ. มีการสำรองยาต้านไวรัสชนิดนี้ในปริมาณมากเพียงพอกับผู้ป่วยทั้งประเทศ แต่ขณะนี้ตัวเลขยังไม่นิ่งเนื่องจากยังรายงานตัวเลขมาไม่ครบ ซึ่งในการประชุมเกี่ยวกับการกระจ่ายยาจะหารือในส่วนของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ ในส่วนภูมิภาค ว่าได้รับการกระจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์อย่างทั่วถึงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการกระจายยาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดมหาวิทยาลัยเท่านั้น
สัปดาห์หน้าพร้อมจ่ายยาต้านสำหรับเด็ก
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์สำหรับเด็กที่อภ.ผลิตเป็นชนิดแคปซูล อยู่ระหว่างการนำเข้าวัตถุดิบและแคปซูลที่มีขนาด 30 และ 45 มิลลิกรัม โดยนำไปผสมกับน้ำเชื่อมตามสูตรการรักษาเดิมที่มีอยู่แล้วตามน้ำหนักตัว ซึ่งจะทำให้การให้ยาต้านไวรัสในเด็กเล็กมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยอภ.จะต้องนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อย่างเร่งด่วนเพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีราคาถูกกว่ายาโอเซลทามิเวียร์ของผู้ใหญ่ที่ขายเม็ดละ 25 บาท และคาดว่าจะสามารถกระจายยาดังกล่าวได้ในสัปดาห์หน้า ส่วนยาโอเซลทามิเวียร์สูตรน้ำอภ.อยู่ในระหว่างการพัฒนา
16 ส.ค.ได้วัคซีนต้นแบบ พร้อมทดลองในคนต้น ก.ย.นี้
นพ.วิทิต กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในวันที่ 16 สิงหาคม จะได้วัคซีนต้นแบบปริมาณ 5 มิลลิลิตร (ซีซี )ต่อขวด จากนั้นต้องผ่านกระบวนการทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบทางคลินิกและความปลอดภัย ก่อนจะนำมาทดลองกับอาสาสมัครในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งระหว่างนี้ดำเนินการเป็นคู่ขนานกับการขออนุญาตคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สำรับวัคซีนที่จะนำมาทอดลลองในคนนั้น จะผลิตแบบ 1 ขวด ต่อ 1 คน
“ส่วนขั้นตอนการวิจัยในสัตว์ทดลองนั้น ไทยไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองแต่จะทำการทดสอบตัวเชื้อไวรัสที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มาจากล็อตเดียวกันกับในไทยโดยเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงจากนั้นจะส่งผลการตรวจสอบมายังประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะทราบผลในสัปดาห์เช่นกัน”นพ.วิทิต กล่าว
ยังไม่พบผู้ป่วยดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ในไทย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 ขณะนี้ยังไม่มีการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในประเทศไทย แต่พบอัตราการดื้อยาที่ญี่ปุ่นเพิ่มอีก 1 ราย
ด้าน รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ในระยะที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยหนัก แพทย์ได้จ่ายยาโอเซลทามิเวียร์และซานามิเวียร์ให้ผู้ป่วยควบคู่กัน เนื่องจากบางรายมีอาการรุนแรง และไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคหวัดใหญ่ 2009 หรือหวัดใหญ่ตามฤดูกาล จึงจำเป็นต้องให้ยาซานามิเวียร์ก่อน เพราะว่าอัตราการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ในไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมีมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังพบว่าการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ยังมีประสิทธิภาพมากอยู่
จัดทำแนวทางรักษาผู้ป่วยโรคแทรกซ้อนทางปอด
รศ(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวอีกว่า ภายใน 1-2 วัน สธ.จะออกแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนทางปอด โดยจะมีการแนะนำแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาผู้ป่วยในกรณีที่มีอาการรุนแรง ซึ่งหนึ่งในแนวทางนี้ ก็คือ การให้แพทย์ใช้ยาซานามิเวียร์ควบคู่กับโอเซลทามิเวียร์ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นวิกฤติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อีกทั้งจะออกแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นหญิงตั้งครรภ์และบุตรด้วย ซึ่งจะมีการแนะนำการดำเนินการตั้งแต่ก่อนคลอด แรกคลอดและหลังคลอด เมื่อแล้วเสร็จจะเผยแพร่ผ่านทางเวบไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th เพื่อให้แพทย์ที่สนใจเข้ามาค้นคว้าข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
ศึกษาปัจจัยทำให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง-เสียชีวิต
รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวต่อว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลในประเทศไทยว่าการให้ยาในอัตราปกติกับการให้ยาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แบบใดจะให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า คาดว่าการศึกษาวิจัยจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ภายในเดือนก.ย.นี้จะเริ่มศึกษาติดตามผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าและสายพันธ์ใหม่ 2009 จำนวน 100 คน ที่เข้ารักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลศิริราช สถาบันโรคทรวงอกและสถาบันบำราศนราดูร
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้จะมุ่งหาคำตอบใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือเก่า มีอาการรุนแรง และ2.ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเสียชีวิต โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเร็วที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งการดำเนินการศึกษาวิจัยเช่นนี้ ดำเนินการในประเทศอื่นๆในสัดส่วนผู้ป่วยที่เท่ากันด้วย เพื่อนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันและกัน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยในอนาคต
ชี้ระลอกสองมาอีกครั้งปีหน้า
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขระดับชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคในขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง เพราะตั้งแต่พ.ค.ที่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ครั้งแรกในไทย จนถึงเดือนมิ.ย.ก็เป็นช่วงขาขึ้นสูงสุด แต่ขณะนี้สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้น มีผู้ป่วยในเมืองใหญ่ๆลดลง อย่างกทม. เพราะจำนวนผู้ที่เคยได้รับเชื้อและมีภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประมาณ 20-30%แล้ว จึงทำให้การติดเชื้อไม่เพิ่ม แต่อาจไปเพิ่มในส่วนของภูมิภาคหรือพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น
“ขณะนี้เป็นช่วงขาลงของการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งกว่าที่จะสงบลงทั้งประเทศน่าจะประมาณเดือนต.ค. หลังจากนั้นก็จะสงบอีกสักระยะ จนระลอก 2 ของการระบาดก็จะมาอีกครั้งในช่วงต้นปี 2553 ซึ่งการระบาดก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าการระบาดครั้งแรก โดยสถานการณ์การระบาดของโรคในอดีตก็มีลักษณะเช่นนี้”ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว