ASTVผู้จัดการรายวัน/รอยเตอร์/เอเอฟฟี-รอบสัปดาห์ที่ 3 หวัดใหญ่ 2009 ในไทยตายลดลง เพิ่มแค่ 16 คน รวม 81 คน สธ.จับตา3กลุ่มเสี่ยง ส่วน“เจ๊หน่อย”ติดหวัด 2009 เปิดข่าวดี 16 ส.ค.นี้ได้วัคซีนต้นแบบ ด้านองค์การอนามัยโลกระบุยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกทะลุหลักพันราย
**ตายเพิ่มแค่ 16 ยอดรวม 84 คน
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แถลงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 ว่า สธ.ขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตรายใหม่ในรอบสัปดาห์จำนวน 16 ราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนซึ่งมีผู้เสียชีวิต 21 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมทั้งหมดอยู่ที่ 81 ราย โดยเป็นชาย 9 ราย หญิง 7 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ 1 ราย พบว่าร้อยละ 75 ผู้เสียชีวิต หรือ ผู้เสียชีวิต 12 รายจาก 16 ราย มีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคอ้วนมากที่สุด รองลงมาคือ เบาหวาน หอบหืด สูบบุหรี่จัด หัวใจพิการแต่กำเนิด โดยจำนวนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลมาแล้ว 2 สัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้ง มารับการรักษาช้า เฉลี่ยหลังป่วยแล้ว 5-6 วัน ลดลงจะสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักและการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่ได้ผล
“จำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง เป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีความตื่นตัวและเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ดีขึ้น รวมทั้งเข้าถึงยาต้านไวรัสที่ สธ. กระจายไปทั่วประเทศถึงระดับคลินิก อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังได้รับการรักษาช้า คือป่วยมาแล้ว 5-6 วัน จึงมาพบแพทย์และได้ยาต้านไวรัส ซึ่งมักจะใช้ไม่ได้ผลแล้ว” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
**3กลุ่มเสี่ยงป่วยเพิ่ม
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้แนวโน้มการติดเชื้อในกทม.และปริมณฑลลดลง แต่มีการเพิ่มขึ้นในระดับชนบท ซึ่งการป่วยกลุ่มย่อยที่เป็นกลุ่มสำคัญ อย่างนักเรียนอายุ 6-10 ปี และ 11-20 ปี มีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นว่ามาตรการคัดกรองผู้ป่วยในโรงเรียนเริ่มใช้ได้ผล แต่กลับเริ่มพบว่าในกลุ่มรับจ้างอิสระ ธุรกิจย่อย เกษตรกร มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้น จำเป็นต้องใช้มาตรการให้พนักงานใช้วันหยุดวันลาเมื่อป่วย โดยไม่นับเป็นวันลานำมาปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง จึงสามารถลดจำนวนผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มโรงงาน อัตราการป่วยยังไม่เพิ่มสูงขึ้น เพราะกระทรวงแรงงานมีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดอยู่บ้านแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3.5-5 แสนราย
** “เจ๊หน่อย”ติดหวัด 2009
แหล่งข่าวคนสนิท คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ อดีตรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า คุณหญิงสุดารัตน์ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ขณะนี้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยเบื้องต้นมีอาการไออย่างรุนแรงมีเลือดผสมในบางครั้ง ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์ได้พบแพทย์แล้วครั้งหนึ่ง โดยพบว่ามีอาการหลอดลมอักเสบ แต่อาการไม่ดีขึ้นจึงมาพบแพทย์อีกครั้งในวันที่ 4 ส.ค. ซึ่งแพทย์ให้นอนดูอาการและเก็บเชื้อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ จากการตรวจพบว่า คุณหญิงสุดารัตน์มีอาการไอ ไข้สูง หลอดลมอักเสบรุนแรง มีความผิดปกติที่ปอด
“คาดว่าคุณหญิงสุดารัตน์ จะติดเชื้อจากการไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาได้ทำงานหนัก เพราะลงพื้นที่ช่วยสก.สข.รณรงค์เรื่องการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ทำให้อยู่ในที่ชุมชนซึ่งมีความเสี่ยง แต่ปกติคุณหญิงสุดารัตน์ จะมีความระวังและป้องกันตัวอยู่ตลอด โดยพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมืออยู่ตลอดเวลา และมักจะเตือนลูกๆให้ป้องกันตัวเองเสมอ แต่ที่ติดเชื้ออาจเป็นเพราะทำงานหนักและไม่ค่อยได้พักผ่อน”แหล่งข่าวคนสนิท กล่าว
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องที่คุณหญิงสุดารัตน์ ป่วยติดหวัด 2009 โดยอาจจะสอบถามถึงประวัติการติดเชื้อ ว่าติดมาจากที่ใด อย่างไรก็ตาม คาดว่าน่าจะติดจากลูกเพราะแนวโน้มการระบาดขณะนี้ แพร่จากเด็กไปสู่ผู้ปกครองจำนวนมาก ขอให้คุณหญิงดูแลสุขภาพให้ดี พักผ่อนให้สบาย อย่ากังวล ไม่กี่วันก็จะหายจากโรคนี้ได้ เพราะโรคไม่ได้รุนแรงหรือน่าวิตกอย่างที่คิด
** 200 รพ. จ่ายยาผู้ป่วย3 หมื่นคน/วัน
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรายงานการให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์มาแล้ว ประมาณ 200 กว่าแห่ง จากโรงพยาบาลทั้งหมด 1,030 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 25 พบว่า มีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 30,000 ราย ซึ่งอภ. มีการสำรองยาต้านไวรัสชนิดนี้ในปริมาณมากเพียงพอกับผู้ป่วยทั้งประเทศ
ส่วนความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนนั้น หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในวันที่ 16 ส.ค.จะได้วัคซีนต้นแบบปริมาณ 5 มิลลิลิตร (ซีซี )ต่อขวด จากนั้นต้องผ่านกระบวนการทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบทางคลินิกและความปลอดภัย ก่อนจะนำมาทดลองกับอาสาสมัครในช่วงต้นเดือนก.ย.นี้
**หวัดสายพันธุ์เก่าดื้อยา 100%
รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ดื้อต่อยาโอเซลทามิเวียร์ โดยยาดังกล่าวใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ได้ผลดี อย่างไรก็ตามในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ในประเทศไทยพบว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์เก่าที่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ 100 % แต่ยังสามารถใช้ยาซานามิเวียร์ในการรักษาได้ผลดี
“ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลในประเทศไทยว่า การให้ยาในอัตราปกติกับการให้ยาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แบบใดจะให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า คาดว่าการศึกษาวิจัยจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ”
นอกจากนี้ ภายในเดือนก.ย.นี้จะเริ่มศึกษาติดตามผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าและสายพันธ์ใหม่ 2009 จำนวน 100 คน ที่เข้ารักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลศิริราช สถาบันโรคทรวงอกและสถาบันบำราศนราดูร
**หมอประเสริฐชี้ปีหน้ามาอีกระลอก
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขระดับชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคในขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง เพราะตั้งแต่พ.ค.ที่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ครั้งแรกในไทย จนถึงเดือนมิ.ย.ก็เป็นช่วงขาขึ้นสูงสุด แต่ขณะนี้สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้น มีผู้ป่วยในเมืองใหญ่ๆลดลง อย่างกทม. เพราะจำนวนผู้ที่เคยได้รับเชื้อและมีภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประมาณ 20-30%แล้ว จึงทำให้การติดเชื้อไม่เพิ่ม แต่อาจไปเพิ่มในส่วนของภูมิภาคหรือพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น
“ขณะนี้เป็นช่วงขาลงของการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งกว่าที่จะสงบลงทั้งประเทศ น่าจะประมาณเดือนต.ค. หลังจากนั้นก็จะสงบอีกสักระยะ จนระลอก 2 ของการระบาดก็จะมาอีกครั้งในช่วงต้นปี 2553 ซึ่งการระบาดก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าการระบาดครั้งแรก”
**ยอดป่วยสะสมกทม.เกือบ4พันราย
นาง วันทนีย์ วัฒนะ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า จากสถิติของประชาชนที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในพื้นที่กทม. ตั้งแต่วันที่28 เม.ย.-4 ส.ค. พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 3,607 ราย ยอดของผู้เสียชีวิตยังคงที่คือ 18 ราย ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวสามารถประเมินได้ว่าในพื้นที่กทม. อัตราของผู้ป่วยนั้นคงที่และมีแนวโน้มที่จะลดลง
***หวัด2009คร่าชีวิตทะลุหลักพันแล้ว
จำนวนผู้เสียชีวิต 1,154 คนตามข้อมูลล่าสุดในเว็บไซต์ของ WHO นี้ สูงกว่าที่ทางองค์การรายงานเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว ( 27 ก.ค.) ซึ่งมีจำนวน 816 คน
นอกจากนั้น เว็บไซต์ของ WHO บอกว่า จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม มีประเทศใหม่ๆ ที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการแล้วอีก 9 ประเทศ ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน, กาบอง, เกรเนดา, คาซัคสถาน, มอลโดวา, โมนาโก, นาอูรู, สวาซิแลนด์, และ ซูรินาเม
ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื่อในทั่วโลกที่ได้รับการยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการแล้วมาถึงขีด 162,380 ราย ทว่าตัวเลขนี้น่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงเอามากๆ ในเมื่อ WHO ได้แนะนำให้ประเทศต่างๆ เลิกทดสอบหรือรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อแต่ละรายแล้ว ภายหลังการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จึงควรนำทรัพยากรทางการแพทย์ไปใช้ในการป้องกันและบำบัดรักษามากกว่า
จากจำนวนผู้เสียชีวิต 1,154 รายนี้ ส่วนใหญ่ คือ 1,008 รายอยู่ในภูมิภาคอเมริกาทั้งเหนือและใต้ ซึ่งรวมทั้งจุดแพร่ระบาดหลักคือเม็กซิโกและสหรัฐฯ ส่วนผู้เสียชีวิตในเขตรับผิดชอบของสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ WHO มี 65 ราย ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก 39 ราย และในยุโรป 41 ราย
แต่หากเปรียบเทียบกันแล้ว ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลยังมีความรุนแรงกว่ามาก โดยแต่ละปีเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกราว 250,000-500,000 ราย และมีกรณีที่อาการป่วยรุนแรงราว 3-5 ล้านราย
ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(4) อาภาลักษณ์ ปาติยเสวี โฆษกหญิงของ WHO ระบุในคำแถลงว่า "เมื่อถึงตอนที่การแพร่ระบาดไปทั่วโลกนี้ยุติลงนั้น ทุกหนทุกแห่งจะมีประชากรระหว่าง 15-45 เปอร์เซ็นต์ ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ " เธอยังกล่าวต่อไปว่า หากคิดที่จุดกึ่งกลางของ 15-45 เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้ตัวเลข 30 เปอร์เซ็นต์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกในเวลานี้ ก็คือจำนวน 2,000 ล้านคน
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถูกตรวจพบครั้งแรกในเดือนเมษายน และตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการระบาด ดร. เคอิจิ ฟูกูดะ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO เคยคาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกว่าจะอยู่ที่ราว 2,000 ล้านคน ทำให้มีเสียงติงว่า WHO กำลังสร้างความตื่นตระหนกเกี่ยวกับไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้
แต่หลัง จากที่ WHO ยกระดับการประกาศเตือนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดถึงระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ก็พบว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้แพร่ระบาดรวดเร็วกว่าไข้หวัดใหญ่ในอดีตมาก ในขณะเดียวกัน เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อย WHO จึงไม่ได้ให้ประเทศต่างๆ รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นรายๆ ไป แต่ให้เฝ้าติดตามจุดที่สงสัยว่ามีการแพร่ระบาดกันมากเป็นพิเศษ และติดตามข้อมูลผู้เสียชีวิตแทน
ก่อนหน้านี้ อาภาลักษณ์ได้ระบุระหว่างการแถลงสรุปว่า WHO กำลังประสานงานกับเครือข่ายสถาบันอิสระที่กำลังจัดทำคาดหมายจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสทั้งหมด เพราะเวลานี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถประมาณการตัวเลขดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งก็ทำให้เป็นไปไม่ได้ด้วยเช่นกันที่จะระบุอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไวรัสนี้.
**ตายเพิ่มแค่ 16 ยอดรวม 84 คน
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แถลงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 ว่า สธ.ขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตรายใหม่ในรอบสัปดาห์จำนวน 16 ราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนซึ่งมีผู้เสียชีวิต 21 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมทั้งหมดอยู่ที่ 81 ราย โดยเป็นชาย 9 ราย หญิง 7 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ 1 ราย พบว่าร้อยละ 75 ผู้เสียชีวิต หรือ ผู้เสียชีวิต 12 รายจาก 16 ราย มีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคอ้วนมากที่สุด รองลงมาคือ เบาหวาน หอบหืด สูบบุหรี่จัด หัวใจพิการแต่กำเนิด โดยจำนวนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลมาแล้ว 2 สัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้ง มารับการรักษาช้า เฉลี่ยหลังป่วยแล้ว 5-6 วัน ลดลงจะสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักและการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่ได้ผล
“จำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง เป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีความตื่นตัวและเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ดีขึ้น รวมทั้งเข้าถึงยาต้านไวรัสที่ สธ. กระจายไปทั่วประเทศถึงระดับคลินิก อย่างไรก็ตาม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังได้รับการรักษาช้า คือป่วยมาแล้ว 5-6 วัน จึงมาพบแพทย์และได้ยาต้านไวรัส ซึ่งมักจะใช้ไม่ได้ผลแล้ว” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
**3กลุ่มเสี่ยงป่วยเพิ่ม
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้แนวโน้มการติดเชื้อในกทม.และปริมณฑลลดลง แต่มีการเพิ่มขึ้นในระดับชนบท ซึ่งการป่วยกลุ่มย่อยที่เป็นกลุ่มสำคัญ อย่างนักเรียนอายุ 6-10 ปี และ 11-20 ปี มีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นว่ามาตรการคัดกรองผู้ป่วยในโรงเรียนเริ่มใช้ได้ผล แต่กลับเริ่มพบว่าในกลุ่มรับจ้างอิสระ ธุรกิจย่อย เกษตรกร มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้น จำเป็นต้องใช้มาตรการให้พนักงานใช้วันหยุดวันลาเมื่อป่วย โดยไม่นับเป็นวันลานำมาปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง จึงสามารถลดจำนวนผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มโรงงาน อัตราการป่วยยังไม่เพิ่มสูงขึ้น เพราะกระทรวงแรงงานมีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดอยู่บ้านแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3.5-5 แสนราย
** “เจ๊หน่อย”ติดหวัด 2009
แหล่งข่าวคนสนิท คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ อดีตรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า คุณหญิงสุดารัตน์ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ขณะนี้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยเบื้องต้นมีอาการไออย่างรุนแรงมีเลือดผสมในบางครั้ง ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์ได้พบแพทย์แล้วครั้งหนึ่ง โดยพบว่ามีอาการหลอดลมอักเสบ แต่อาการไม่ดีขึ้นจึงมาพบแพทย์อีกครั้งในวันที่ 4 ส.ค. ซึ่งแพทย์ให้นอนดูอาการและเก็บเชื้อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ จากการตรวจพบว่า คุณหญิงสุดารัตน์มีอาการไอ ไข้สูง หลอดลมอักเสบรุนแรง มีความผิดปกติที่ปอด
“คาดว่าคุณหญิงสุดารัตน์ จะติดเชื้อจากการไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาได้ทำงานหนัก เพราะลงพื้นที่ช่วยสก.สข.รณรงค์เรื่องการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ทำให้อยู่ในที่ชุมชนซึ่งมีความเสี่ยง แต่ปกติคุณหญิงสุดารัตน์ จะมีความระวังและป้องกันตัวอยู่ตลอด โดยพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมืออยู่ตลอดเวลา และมักจะเตือนลูกๆให้ป้องกันตัวเองเสมอ แต่ที่ติดเชื้ออาจเป็นเพราะทำงานหนักและไม่ค่อยได้พักผ่อน”แหล่งข่าวคนสนิท กล่าว
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องที่คุณหญิงสุดารัตน์ ป่วยติดหวัด 2009 โดยอาจจะสอบถามถึงประวัติการติดเชื้อ ว่าติดมาจากที่ใด อย่างไรก็ตาม คาดว่าน่าจะติดจากลูกเพราะแนวโน้มการระบาดขณะนี้ แพร่จากเด็กไปสู่ผู้ปกครองจำนวนมาก ขอให้คุณหญิงดูแลสุขภาพให้ดี พักผ่อนให้สบาย อย่ากังวล ไม่กี่วันก็จะหายจากโรคนี้ได้ เพราะโรคไม่ได้รุนแรงหรือน่าวิตกอย่างที่คิด
** 200 รพ. จ่ายยาผู้ป่วย3 หมื่นคน/วัน
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรายงานการให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์มาแล้ว ประมาณ 200 กว่าแห่ง จากโรงพยาบาลทั้งหมด 1,030 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 25 พบว่า มีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 30,000 ราย ซึ่งอภ. มีการสำรองยาต้านไวรัสชนิดนี้ในปริมาณมากเพียงพอกับผู้ป่วยทั้งประเทศ
ส่วนความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนนั้น หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในวันที่ 16 ส.ค.จะได้วัคซีนต้นแบบปริมาณ 5 มิลลิลิตร (ซีซี )ต่อขวด จากนั้นต้องผ่านกระบวนการทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบทางคลินิกและความปลอดภัย ก่อนจะนำมาทดลองกับอาสาสมัครในช่วงต้นเดือนก.ย.นี้
**หวัดสายพันธุ์เก่าดื้อยา 100%
รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ดื้อต่อยาโอเซลทามิเวียร์ โดยยาดังกล่าวใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ได้ผลดี อย่างไรก็ตามในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ในประเทศไทยพบว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์เก่าที่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ 100 % แต่ยังสามารถใช้ยาซานามิเวียร์ในการรักษาได้ผลดี
“ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลในประเทศไทยว่า การให้ยาในอัตราปกติกับการให้ยาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แบบใดจะให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า คาดว่าการศึกษาวิจัยจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ”
นอกจากนี้ ภายในเดือนก.ย.นี้จะเริ่มศึกษาติดตามผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าและสายพันธ์ใหม่ 2009 จำนวน 100 คน ที่เข้ารักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลศิริราช สถาบันโรคทรวงอกและสถาบันบำราศนราดูร
**หมอประเสริฐชี้ปีหน้ามาอีกระลอก
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขระดับชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคในขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง เพราะตั้งแต่พ.ค.ที่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ครั้งแรกในไทย จนถึงเดือนมิ.ย.ก็เป็นช่วงขาขึ้นสูงสุด แต่ขณะนี้สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้น มีผู้ป่วยในเมืองใหญ่ๆลดลง อย่างกทม. เพราะจำนวนผู้ที่เคยได้รับเชื้อและมีภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประมาณ 20-30%แล้ว จึงทำให้การติดเชื้อไม่เพิ่ม แต่อาจไปเพิ่มในส่วนของภูมิภาคหรือพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น
“ขณะนี้เป็นช่วงขาลงของการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งกว่าที่จะสงบลงทั้งประเทศ น่าจะประมาณเดือนต.ค. หลังจากนั้นก็จะสงบอีกสักระยะ จนระลอก 2 ของการระบาดก็จะมาอีกครั้งในช่วงต้นปี 2553 ซึ่งการระบาดก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าการระบาดครั้งแรก”
**ยอดป่วยสะสมกทม.เกือบ4พันราย
นาง วันทนีย์ วัฒนะ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า จากสถิติของประชาชนที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในพื้นที่กทม. ตั้งแต่วันที่28 เม.ย.-4 ส.ค. พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 3,607 ราย ยอดของผู้เสียชีวิตยังคงที่คือ 18 ราย ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวสามารถประเมินได้ว่าในพื้นที่กทม. อัตราของผู้ป่วยนั้นคงที่และมีแนวโน้มที่จะลดลง
***หวัด2009คร่าชีวิตทะลุหลักพันแล้ว
จำนวนผู้เสียชีวิต 1,154 คนตามข้อมูลล่าสุดในเว็บไซต์ของ WHO นี้ สูงกว่าที่ทางองค์การรายงานเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว ( 27 ก.ค.) ซึ่งมีจำนวน 816 คน
นอกจากนั้น เว็บไซต์ของ WHO บอกว่า จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม มีประเทศใหม่ๆ ที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการแล้วอีก 9 ประเทศ ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน, กาบอง, เกรเนดา, คาซัคสถาน, มอลโดวา, โมนาโก, นาอูรู, สวาซิแลนด์, และ ซูรินาเม
ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื่อในทั่วโลกที่ได้รับการยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการแล้วมาถึงขีด 162,380 ราย ทว่าตัวเลขนี้น่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงเอามากๆ ในเมื่อ WHO ได้แนะนำให้ประเทศต่างๆ เลิกทดสอบหรือรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อแต่ละรายแล้ว ภายหลังการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จึงควรนำทรัพยากรทางการแพทย์ไปใช้ในการป้องกันและบำบัดรักษามากกว่า
จากจำนวนผู้เสียชีวิต 1,154 รายนี้ ส่วนใหญ่ คือ 1,008 รายอยู่ในภูมิภาคอเมริกาทั้งเหนือและใต้ ซึ่งรวมทั้งจุดแพร่ระบาดหลักคือเม็กซิโกและสหรัฐฯ ส่วนผู้เสียชีวิตในเขตรับผิดชอบของสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ WHO มี 65 ราย ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก 39 ราย และในยุโรป 41 ราย
แต่หากเปรียบเทียบกันแล้ว ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลยังมีความรุนแรงกว่ามาก โดยแต่ละปีเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกราว 250,000-500,000 ราย และมีกรณีที่อาการป่วยรุนแรงราว 3-5 ล้านราย
ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(4) อาภาลักษณ์ ปาติยเสวี โฆษกหญิงของ WHO ระบุในคำแถลงว่า "เมื่อถึงตอนที่การแพร่ระบาดไปทั่วโลกนี้ยุติลงนั้น ทุกหนทุกแห่งจะมีประชากรระหว่าง 15-45 เปอร์เซ็นต์ ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ " เธอยังกล่าวต่อไปว่า หากคิดที่จุดกึ่งกลางของ 15-45 เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้ตัวเลข 30 เปอร์เซ็นต์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกในเวลานี้ ก็คือจำนวน 2,000 ล้านคน
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถูกตรวจพบครั้งแรกในเดือนเมษายน และตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการระบาด ดร. เคอิจิ ฟูกูดะ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO เคยคาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกว่าจะอยู่ที่ราว 2,000 ล้านคน ทำให้มีเสียงติงว่า WHO กำลังสร้างความตื่นตระหนกเกี่ยวกับไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้
แต่หลัง จากที่ WHO ยกระดับการประกาศเตือนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดถึงระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ก็พบว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้แพร่ระบาดรวดเร็วกว่าไข้หวัดใหญ่ในอดีตมาก ในขณะเดียวกัน เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อย WHO จึงไม่ได้ให้ประเทศต่างๆ รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นรายๆ ไป แต่ให้เฝ้าติดตามจุดที่สงสัยว่ามีการแพร่ระบาดกันมากเป็นพิเศษ และติดตามข้อมูลผู้เสียชีวิตแทน
ก่อนหน้านี้ อาภาลักษณ์ได้ระบุระหว่างการแถลงสรุปว่า WHO กำลังประสานงานกับเครือข่ายสถาบันอิสระที่กำลังจัดทำคาดหมายจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสทั้งหมด เพราะเวลานี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถประมาณการตัวเลขดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งก็ทำให้เป็นไปไม่ได้ด้วยเช่นกันที่จะระบุอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไวรัสนี้.