ส.ส.กทม.ปชป.เตรียมนำเรื่องส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว เจ้าปัญหาทั้ง 2 สายทาง ถกที่ประชุมพรรคพรุ่งนี้ พร้อมรับปากถกพรรคร่วมช่วยผลักดัน เชื่อหาก กทม.ได้คืนสามารถทำได้ ขณะที่ กทม.เตรียมส่งหนังสือถึง DSI สอบถามความคืบหน้าของคดี BRT หลังไม่มีความคืบหน้านานหลายเดือน
วันนี้(9มิ.ย.) นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม.ได้นำทีม ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายโกวิท ธารณา นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี นางอรอนงค์ คล้ายนก เข้าหารือกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.และคณะผู้บริหาร เพื่อติดตามการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ กทม.โดยเฉพาะการขนส่งระบบรางที่ กทม.ดำเนินการอยู่ และมีโครงการต่อไป ทั้งนี้ นายชนินทร์ เปิดเผยภายหลังการหารือว่า จะสนับสนุนให้ กทม.ดำเนินการขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งมติ ครม.เดิมให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการโดยเห็นว่า กทม.มีศักยภาพในการดำเนินการได้เร็วกว่า และระบบควรมีผู้ดำเนินการรายเดียวกันเพื่อให้เป็นเอกภาพในการดูแล รวมทั้งส่งผลให้ราคาค่าโดยสารถูกลงกว่าครึ่ง ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) จะมีการประชุมพรรคพวกตนจะได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมด้วย รวมถึงจะไปหารือภายในกับพรรคร่วมรัฐบาลที่รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.มีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งหากได้ดำเนินการก็จะเชื่อมต่อระบบกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก และจ่ายค่าโดยสารที่ถูก แทนที่จะจ่ายค่าโดยสาร 2 ระบบในราคาสูงสุด 120 บาท หากเป็นรถไฟฟ้าของ กทม.ก็จะจ่ายในราคาสูงสุดเพียง 60 บาทเท่านั้น ซึ่งประชาชนผู้เป็นคนเสียภาษีเองจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยตรง โดยหากรัฐบาลไม่คืนสายสีเขียวให้ กทม.ดำเนินการ ต้องอธิบายต่อประชาชนถึงสาเหตุที่ไม่คืน รวมถึงอธิบายว่าทำไมประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารที่แพงกว่า และทำไมต้องไม่ได้รับความสะดวกในการต่อระบบรถไฟฟ้า ทั้งๆ อยู่ในเส้นทางเดียวกัน สำหรับช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า จะเปิดให้บริการได้ปลายปี 2553 ขณะที่ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง จะเปิดได้ประมาณเดือนเม.ย.-พ.ค.2554
นอกจากนั้นแล้ว กทม.ยังมีโครงการศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากสนามกีฬาแห่งชาติ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังพรานนก อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งหากเส้นดังกล่าวสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของประชาชนในฝั่งธนบุรี และเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไม่ให้เสื่อมโทรม เนื่องจากจะไม่มีรถโดยสารขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่
นอกจากนี้ กทม.ยังได้ศึกษาระบบขนส่ง Light rail และ Mono rail เพื่อเสริมการให้บริการขนส่งระบบรางขนาดใหญ่โดยอาจจะทำที่ถนนเพชรบุรีก่อน
ต่อข้อถามที่ว่า ห่วงหรือไม่หากพรรคร่วมรัฐบาลจะนำส่วนต่อขยายสายสีเขียวทั้ง 2 สายทางมาต่อรองกับรถเมล์ NGV ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า การหารือวันนี้ไม่มีเรื่องการเมืองไม่มีประเด็นรถเมล์ NGV 4,000 คัน แต่ผู้ดำเนินการจะต้องมีการกำหนดเส้นทางให้ตรงตามความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะการกำหนดเส้นทางเดินรถให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนระบบรางซึ่งหมายความว่าใครดูแลรถเมล์ NGV ต้องปรึกษากับ กทม.เพราะไม่มีใครรู้เรื่องเส้นทางได้ดีกว่า กทม.แล้ว และหวังว่าได้มาแล้วประโยชน์สูงสุดจะเกิดกับประชาชน
ขณะที่ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ว่า ในสัปดาห์นี้ กทม.จะส่งหนังสือไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อสอบถามความชัดเจนของคดีดังกล่าวและหาก ป.ป.ช.ระบุว่ามีการฮั้วประมูลตนในฐานะรองผู้ว่าฯ กทม.ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าฯ กทม.จะสั่งยกเลิกการจัดซื้อรถเมล์ BRT ทันทีแต่หากไม่มีความผิดก็จะนำรถมาใช้ต่อ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สภา กทม.ได้ผ่านข้อบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติมจำนวน 250 ล้านบาท เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเดินรถ BRT ซึ่งคณะผู้บริหารมีมติให้ใช้งบประมาณดังกล่าวจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัดตามระเบียบพัสดุ เป็นผู้จัดหารถเมล์ BRT ซึ่งทางบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะเช่าหรือซื้อรถ พร้อมชี้แจงเหตุผลความคุ้มค่าระหว่างการเช่าและการซื้อรถให้ผู้บริหาร กทม.พิจารณา
วันนี้(9มิ.ย.) นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม.ได้นำทีม ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายโกวิท ธารณา นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี นางอรอนงค์ คล้ายนก เข้าหารือกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.และคณะผู้บริหาร เพื่อติดตามการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ กทม.โดยเฉพาะการขนส่งระบบรางที่ กทม.ดำเนินการอยู่ และมีโครงการต่อไป ทั้งนี้ นายชนินทร์ เปิดเผยภายหลังการหารือว่า จะสนับสนุนให้ กทม.ดำเนินการขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งมติ ครม.เดิมให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการโดยเห็นว่า กทม.มีศักยภาพในการดำเนินการได้เร็วกว่า และระบบควรมีผู้ดำเนินการรายเดียวกันเพื่อให้เป็นเอกภาพในการดูแล รวมทั้งส่งผลให้ราคาค่าโดยสารถูกลงกว่าครึ่ง ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) จะมีการประชุมพรรคพวกตนจะได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมด้วย รวมถึงจะไปหารือภายในกับพรรคร่วมรัฐบาลที่รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.มีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งหากได้ดำเนินการก็จะเชื่อมต่อระบบกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก และจ่ายค่าโดยสารที่ถูก แทนที่จะจ่ายค่าโดยสาร 2 ระบบในราคาสูงสุด 120 บาท หากเป็นรถไฟฟ้าของ กทม.ก็จะจ่ายในราคาสูงสุดเพียง 60 บาทเท่านั้น ซึ่งประชาชนผู้เป็นคนเสียภาษีเองจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยตรง โดยหากรัฐบาลไม่คืนสายสีเขียวให้ กทม.ดำเนินการ ต้องอธิบายต่อประชาชนถึงสาเหตุที่ไม่คืน รวมถึงอธิบายว่าทำไมประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารที่แพงกว่า และทำไมต้องไม่ได้รับความสะดวกในการต่อระบบรถไฟฟ้า ทั้งๆ อยู่ในเส้นทางเดียวกัน สำหรับช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า จะเปิดให้บริการได้ปลายปี 2553 ขณะที่ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง จะเปิดได้ประมาณเดือนเม.ย.-พ.ค.2554
นอกจากนั้นแล้ว กทม.ยังมีโครงการศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากสนามกีฬาแห่งชาติ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังพรานนก อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งหากเส้นดังกล่าวสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของประชาชนในฝั่งธนบุรี และเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไม่ให้เสื่อมโทรม เนื่องจากจะไม่มีรถโดยสารขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่
นอกจากนี้ กทม.ยังได้ศึกษาระบบขนส่ง Light rail และ Mono rail เพื่อเสริมการให้บริการขนส่งระบบรางขนาดใหญ่โดยอาจจะทำที่ถนนเพชรบุรีก่อน
ต่อข้อถามที่ว่า ห่วงหรือไม่หากพรรคร่วมรัฐบาลจะนำส่วนต่อขยายสายสีเขียวทั้ง 2 สายทางมาต่อรองกับรถเมล์ NGV ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า การหารือวันนี้ไม่มีเรื่องการเมืองไม่มีประเด็นรถเมล์ NGV 4,000 คัน แต่ผู้ดำเนินการจะต้องมีการกำหนดเส้นทางให้ตรงตามความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะการกำหนดเส้นทางเดินรถให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนระบบรางซึ่งหมายความว่าใครดูแลรถเมล์ NGV ต้องปรึกษากับ กทม.เพราะไม่มีใครรู้เรื่องเส้นทางได้ดีกว่า กทม.แล้ว และหวังว่าได้มาแล้วประโยชน์สูงสุดจะเกิดกับประชาชน
ขณะที่ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ว่า ในสัปดาห์นี้ กทม.จะส่งหนังสือไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อสอบถามความชัดเจนของคดีดังกล่าวและหาก ป.ป.ช.ระบุว่ามีการฮั้วประมูลตนในฐานะรองผู้ว่าฯ กทม.ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าฯ กทม.จะสั่งยกเลิกการจัดซื้อรถเมล์ BRT ทันทีแต่หากไม่มีความผิดก็จะนำรถมาใช้ต่อ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สภา กทม.ได้ผ่านข้อบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติมจำนวน 250 ล้านบาท เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเดินรถ BRT ซึ่งคณะผู้บริหารมีมติให้ใช้งบประมาณดังกล่าวจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัดตามระเบียบพัสดุ เป็นผู้จัดหารถเมล์ BRT ซึ่งทางบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะเช่าหรือซื้อรถ พร้อมชี้แจงเหตุผลความคุ้มค่าระหว่างการเช่าและการซื้อรถให้ผู้บริหาร กทม.พิจารณา