ASTVผู้จัดการรายวัน -ที่ประชุมคณะผู้บริหารกทม. เห็นชอบเสนอทำหนังสือถึงครม. ขอยกเลิกมติให้รฟม.รับผิดชอบส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าหมอชิต-สะพานใหม่ และ แบริ่ง-สมุทรปราการ ยกให้กทม.ดูแลแทนตาม พ.ร.บ.กระจายอำนาจ ยันทำค่าโดยสารถูกลง เผยใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้าน เตรียมยื่นหนังสือต้นเดือนมี.ค.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.วานนี้(24 ก.พ.)ว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหารกทม.มีมติที่จะขอนำส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี และสายสีเขียวอ่อนช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2551 มีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบทั้ง 2 สายทาง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2555 มาดำเนินการเองทั้งหมดโดยจะเสนอผ่านกระทรวงมหาดไทยขอให้ครม.เปลี่ยนแปลงมติครม.ดังกล่าว และขอให้ครม.อนุมัติให้กทม.เป็นผู้รับผิดชอบแทน รฟม.ซึ่งจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมครม.ประมาณต้นเดือนมี.ค.นี้
ทั้งนี้ โดยหลักการตามพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจ กทม.สามารถดำเนินการได้เพราะสิ่งใดที่รัฐบาลท้องถิ่นสามารถดำเนินการเองได้ก็ต้องให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการโดยที่รัฐบาลกลางไม่ต้องดำเนินการใด ๆทั้งสิ้น ดังนั้นข้อเสนอของกทม.จึงสอดคล้องกับกับพรบ.กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นแต่การให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบเป็นการขัดกับหลักการดังกล่าว อีกทั้งมหานครใหญ่ๆของโลกก็เป็นผู้ดูแลระบบขนส่งมวลชนด้วยตนเอง ดังนั้นหากต้องการให้กทม.เป็นมหานครชั้นนำของโลกจึงต้องให้กทม.รับผิดชอบโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสีเขียวเข้ม- สีเขียวอ่อน ทั้งหมด
นอกจากนี้ หาก กทม.เป็นผู้รับผิดชอบระบบเครือข่ายรถไฟฟ้าเป็นระบบเดียวกันทำให้ค่าโดยสารถูกลงเท่าตัวเพราะหากให้ รฟม.ดูแลประชาชนต้องเสียค่าโดยสารตั้งแต่ต้นทางถึงระยะไกลสุดถึง 120 บาทเพราะต้องจ่ายหลายระบบและ รฟม.คงไม่สนใจเรื่องค่าโดยสารเนื่องจากเป็นผู้ดูแล แต่หากกทม.ดูทั้งหมดก็จะสามารถเจรจาต่อรองกับรฟม.ลดค่าโดยสารเมื่อใช้ระบบตั๋วร่วมได้ รวมทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินสายเหนือซึ่งมีสถานีซ่อมบำรุง และจุดพักรถอยู่แล้ว ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุนก่อสร้างทั้ง 2 สายทางเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งกทม.มีงบประมาณที่จะดำเนินการเองได้แต่รูปแบบการลงทุนจะขอพิจารณาอีกครั้งภายหลังจากรัฐบาลอนุมัติให้กทม.ดำเนินการแล้วซึ่งตนมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะเห็นชอบ
สำหรับกรณีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(บีทีเอสซี) ทำหนังสือถึงกทม.แสดงความพร้อมดำเนินโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด แต่ยื่นเงื่อนไขว่ากทม.ต้องช่วยค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท และขอขยายระยะเวลาให้สัมปทานออกไปอีกนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จะรับเรื่องไว้แต่จะยังไม่พิจารณา เพราะขณะนี้ตนต้องการแค่เพียงให้ครม.มีมติให้ 2 สายทางทั้งส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร และสายสีเขียวอ่อนช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร กลับมาอยู่ในความรับผิดชอบของกทม.ก่อน
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย ว่า ที่ประชุมผู้บริหารกทม.ได้เห็นชอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณใหม่ เพื่อนำไปใช้ในภารกิจเร่งด่วนจำนวน 8,000 ล้านบาท โดยจะพิจารณาจากงบกันเหลื่อมปี ตั้งแต่ปี 2546-2551 ที่มีการจัดสรรแล้วแต่เบิกจ่ายมาใช้ไม่ทัน วงเงินรวม 23,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในวงเงิน 8,000 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็นงบ กทม. 4,200 ล้านบาท และงบอุดหนุนจากรัฐบาล 3,800 ล้านบาท โดยกทม.จะนำมาเปลี่ยนแปลงการใช้รายการใหม่ โดยส่วนงบกทม.จะนำไปใช้ในภารกิจที่มีงบผูกพันอยู่แล้ว แต่ไม่มีเม็ดเงิน ทั้งนี้เพื่อไม่กระทบกับเงินสะสม
ส่วนงบอุดหนุนจากรัฐ กทม.จะขอเปลี่ยนแปลงรายการเพื่อนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และโครงการต่างๆ ที่เป็นโครงการผูกพันเร่งด่วน เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินชาวกทม.เป็นต้น โดยในส่วนนี้คณะผู้บริหารมีอำนาจในการพิจารณาได้เองโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากสภา กทม. อย่างไรก็ตาม ตนจะตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดโครงการที่จะต้องใช้จ่ายอย่างเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ในวันที่ 11 มี.ค. ซึ่งจะมีการเปิดประชุมสภา กทม.สมัยวิสามัญ คณะผู้บริหารจะเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปี 2552 หรืองบกลางปี วงเงิน 3,000 ล้านบาท ให้ที่ประชุมสภา กทม.พิจารณาอนุมัติ เพื่อนำงบดังกล่าวมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนงบประมาณประจำปีงบประมาณปี 2552 ที่ผ่านสภา กทม.เมื่อปีที่ผ่านมา จำนวน 46,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ กทม.ได้ปรับลดวงเงินเหลือ 43,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับลดวงเงินรายได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าการปรับลดวงเงินลงจะไม่มีปัญหากับ กทม.แต่อย่างใด
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.วานนี้(24 ก.พ.)ว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหารกทม.มีมติที่จะขอนำส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี และสายสีเขียวอ่อนช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2551 มีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบทั้ง 2 สายทาง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2555 มาดำเนินการเองทั้งหมดโดยจะเสนอผ่านกระทรวงมหาดไทยขอให้ครม.เปลี่ยนแปลงมติครม.ดังกล่าว และขอให้ครม.อนุมัติให้กทม.เป็นผู้รับผิดชอบแทน รฟม.ซึ่งจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมครม.ประมาณต้นเดือนมี.ค.นี้
ทั้งนี้ โดยหลักการตามพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจ กทม.สามารถดำเนินการได้เพราะสิ่งใดที่รัฐบาลท้องถิ่นสามารถดำเนินการเองได้ก็ต้องให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการโดยที่รัฐบาลกลางไม่ต้องดำเนินการใด ๆทั้งสิ้น ดังนั้นข้อเสนอของกทม.จึงสอดคล้องกับกับพรบ.กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นแต่การให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบเป็นการขัดกับหลักการดังกล่าว อีกทั้งมหานครใหญ่ๆของโลกก็เป็นผู้ดูแลระบบขนส่งมวลชนด้วยตนเอง ดังนั้นหากต้องการให้กทม.เป็นมหานครชั้นนำของโลกจึงต้องให้กทม.รับผิดชอบโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสีเขียวเข้ม- สีเขียวอ่อน ทั้งหมด
นอกจากนี้ หาก กทม.เป็นผู้รับผิดชอบระบบเครือข่ายรถไฟฟ้าเป็นระบบเดียวกันทำให้ค่าโดยสารถูกลงเท่าตัวเพราะหากให้ รฟม.ดูแลประชาชนต้องเสียค่าโดยสารตั้งแต่ต้นทางถึงระยะไกลสุดถึง 120 บาทเพราะต้องจ่ายหลายระบบและ รฟม.คงไม่สนใจเรื่องค่าโดยสารเนื่องจากเป็นผู้ดูแล แต่หากกทม.ดูทั้งหมดก็จะสามารถเจรจาต่อรองกับรฟม.ลดค่าโดยสารเมื่อใช้ระบบตั๋วร่วมได้ รวมทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินสายเหนือซึ่งมีสถานีซ่อมบำรุง และจุดพักรถอยู่แล้ว ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุนก่อสร้างทั้ง 2 สายทางเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งกทม.มีงบประมาณที่จะดำเนินการเองได้แต่รูปแบบการลงทุนจะขอพิจารณาอีกครั้งภายหลังจากรัฐบาลอนุมัติให้กทม.ดำเนินการแล้วซึ่งตนมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะเห็นชอบ
สำหรับกรณีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(บีทีเอสซี) ทำหนังสือถึงกทม.แสดงความพร้อมดำเนินโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด แต่ยื่นเงื่อนไขว่ากทม.ต้องช่วยค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท และขอขยายระยะเวลาให้สัมปทานออกไปอีกนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จะรับเรื่องไว้แต่จะยังไม่พิจารณา เพราะขณะนี้ตนต้องการแค่เพียงให้ครม.มีมติให้ 2 สายทางทั้งส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร และสายสีเขียวอ่อนช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร กลับมาอยู่ในความรับผิดชอบของกทม.ก่อน
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย ว่า ที่ประชุมผู้บริหารกทม.ได้เห็นชอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณใหม่ เพื่อนำไปใช้ในภารกิจเร่งด่วนจำนวน 8,000 ล้านบาท โดยจะพิจารณาจากงบกันเหลื่อมปี ตั้งแต่ปี 2546-2551 ที่มีการจัดสรรแล้วแต่เบิกจ่ายมาใช้ไม่ทัน วงเงินรวม 23,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในวงเงิน 8,000 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็นงบ กทม. 4,200 ล้านบาท และงบอุดหนุนจากรัฐบาล 3,800 ล้านบาท โดยกทม.จะนำมาเปลี่ยนแปลงการใช้รายการใหม่ โดยส่วนงบกทม.จะนำไปใช้ในภารกิจที่มีงบผูกพันอยู่แล้ว แต่ไม่มีเม็ดเงิน ทั้งนี้เพื่อไม่กระทบกับเงินสะสม
ส่วนงบอุดหนุนจากรัฐ กทม.จะขอเปลี่ยนแปลงรายการเพื่อนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และโครงการต่างๆ ที่เป็นโครงการผูกพันเร่งด่วน เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินชาวกทม.เป็นต้น โดยในส่วนนี้คณะผู้บริหารมีอำนาจในการพิจารณาได้เองโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากสภา กทม. อย่างไรก็ตาม ตนจะตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดโครงการที่จะต้องใช้จ่ายอย่างเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ในวันที่ 11 มี.ค. ซึ่งจะมีการเปิดประชุมสภา กทม.สมัยวิสามัญ คณะผู้บริหารจะเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปี 2552 หรืองบกลางปี วงเงิน 3,000 ล้านบาท ให้ที่ประชุมสภา กทม.พิจารณาอนุมัติ เพื่อนำงบดังกล่าวมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนงบประมาณประจำปีงบประมาณปี 2552 ที่ผ่านสภา กทม.เมื่อปีที่ผ่านมา จำนวน 46,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ กทม.ได้ปรับลดวงเงินเหลือ 43,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับลดวงเงินรายได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าการปรับลดวงเงินลงจะไม่มีปัญหากับ กทม.แต่อย่างใด