“ธงทอง” เผยอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจจัดลำดับการปฏิรูปการศึกษา รอบสองออกเป็น 3 กลุ่ม “การบริหารจัดการ-การผลิตและพัฒนาครู-เทคโนโลยี” เตรียมรับฟังความเห็นเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์แต่ละกลุ่มต่อไป
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมประมวลความคิดเห็นจากเวทีสัมมนาในภูมิภาคต่างๆ ทั้ง 4 เวที รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในคณะอนุกรรมการทั้ง 8 คณะ ซึ่งถือเป็นความคิดเห็นเบื้องต้น โดยภาพรวมทุกคนเห็นตรงกันในการจัดลำดับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้เป็น 3 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 1. การบริหารจัดการ โดยเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่นี้ น่าจะให้ความสำคัญเรื่องบริหารจัดการ ในหลายประเด็น เช่น การบริหารคน โดยเฉพาะเรื่องขวัญ กำลังใจครูที่ในเวลานี้ เป็นเรื่องที่ต้องดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ การดูแลเรื่องแต่งตั้งโยกย้าย ความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ การบริหารการเงินให้เป็นธรรม เสมอภาค ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่สำคัญคือ การวางแผนผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากงานบางอย่างต้องการคนมาก แต่ไม่สามารถผลิตบุคลากรป้อนได้ ขณะที่งานหลายอย่างมีคนที่ล้นอยู่แล้ว เรากลับยิ่งผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของตลาดแรงงาน
นายธงทอง กล่าวต่อว่า กลุ่มเรื่องที่ 2 คือ การผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะหากต้องการให้การศึกษา การเรียนการสอน มีคุณภาพ ก็ต้องพูดถึงครู ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีครูจำนวนมาก ไม่ได้มีใจรักอยากเป็นครู ซึ่งก็มีเสียงสะท้อนหลายเวทีว่าต้องดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ และกลุ่มเรื่องที่ 3 คือ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะขับเคลื่อนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งควรจะใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้สังคมไทยมีการเรียนรู้ในวงกว้าง และเรื่องกฎหมายที่ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมในหลายประเด็น แต่คงไม่แก้ไขมากเท่ากับการปฏิรูปการศึกษารอบแรก
“ทั้งหมด 3 กลุ่มเรื่องนี้ คือสิ่งที่ต้องดำเนินการ และที่สำคัญอย่างยิ่งกว่าทุกเรื่องคือ ความหมายในเชิงปรัชญาที่ต้องปรับความเข้าใจทุกคนให้ตรงกันว่าทำอย่างไรคนไทยทั้งหมด ไม่ใช่แค่นักเรียน นักศึกษา จะคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีวิถีเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่จำกัดตัวเองว่าการหาความรู้ทำได้เฉพาะในชั้นเรียน เพราะโลกทุกวันนี้ก้าวไปข้างหน้า หากไม่พัฒนาตัวเองตลอดเวลา การที่คนที่อยู่ในโรงงานไม่มีความรู้ หรือได้รับโอกาสในการพัฒนา คนอยู่ในบ้านขาดความรู้สำหรับโลกสมัยใหม่ ประเทศไทยของเราก็จะมีปัญหาในระยะยาว” เลขาธิการสภาการศึกษากล่าวและว่า ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงรับฟังความเห็น และต่อไปจะลงรายละเอียดและกำหนดยุทธศาสตร์ในแต่ละกลุ่มเรื่อง โดยในวันพุธที่ 11 มี.ค.นี้ จะมีการเปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นในการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 อีกครั้ง ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กทม.
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมประมวลความคิดเห็นจากเวทีสัมมนาในภูมิภาคต่างๆ ทั้ง 4 เวที รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในคณะอนุกรรมการทั้ง 8 คณะ ซึ่งถือเป็นความคิดเห็นเบื้องต้น โดยภาพรวมทุกคนเห็นตรงกันในการจัดลำดับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้เป็น 3 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 1. การบริหารจัดการ โดยเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่นี้ น่าจะให้ความสำคัญเรื่องบริหารจัดการ ในหลายประเด็น เช่น การบริหารคน โดยเฉพาะเรื่องขวัญ กำลังใจครูที่ในเวลานี้ เป็นเรื่องที่ต้องดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ การดูแลเรื่องแต่งตั้งโยกย้าย ความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ การบริหารการเงินให้เป็นธรรม เสมอภาค ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่สำคัญคือ การวางแผนผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากงานบางอย่างต้องการคนมาก แต่ไม่สามารถผลิตบุคลากรป้อนได้ ขณะที่งานหลายอย่างมีคนที่ล้นอยู่แล้ว เรากลับยิ่งผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของตลาดแรงงาน
นายธงทอง กล่าวต่อว่า กลุ่มเรื่องที่ 2 คือ การผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะหากต้องการให้การศึกษา การเรียนการสอน มีคุณภาพ ก็ต้องพูดถึงครู ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีครูจำนวนมาก ไม่ได้มีใจรักอยากเป็นครู ซึ่งก็มีเสียงสะท้อนหลายเวทีว่าต้องดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ และกลุ่มเรื่องที่ 3 คือ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะขับเคลื่อนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งควรจะใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้สังคมไทยมีการเรียนรู้ในวงกว้าง และเรื่องกฎหมายที่ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมในหลายประเด็น แต่คงไม่แก้ไขมากเท่ากับการปฏิรูปการศึกษารอบแรก
“ทั้งหมด 3 กลุ่มเรื่องนี้ คือสิ่งที่ต้องดำเนินการ และที่สำคัญอย่างยิ่งกว่าทุกเรื่องคือ ความหมายในเชิงปรัชญาที่ต้องปรับความเข้าใจทุกคนให้ตรงกันว่าทำอย่างไรคนไทยทั้งหมด ไม่ใช่แค่นักเรียน นักศึกษา จะคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีวิถีเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่จำกัดตัวเองว่าการหาความรู้ทำได้เฉพาะในชั้นเรียน เพราะโลกทุกวันนี้ก้าวไปข้างหน้า หากไม่พัฒนาตัวเองตลอดเวลา การที่คนที่อยู่ในโรงงานไม่มีความรู้ หรือได้รับโอกาสในการพัฒนา คนอยู่ในบ้านขาดความรู้สำหรับโลกสมัยใหม่ ประเทศไทยของเราก็จะมีปัญหาในระยะยาว” เลขาธิการสภาการศึกษากล่าวและว่า ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงรับฟังความเห็น และต่อไปจะลงรายละเอียดและกำหนดยุทธศาสตร์ในแต่ละกลุ่มเรื่อง โดยในวันพุธที่ 11 มี.ค.นี้ จะมีการเปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นในการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 อีกครั้ง ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กทม.