“ชินภัทร” เตรียมยกเครื่องพัฒนาครูทั้งระบบ ชี้ ปฏิรูปการศึกษา 9 ปี ไม่สำเร็จ ปัจจัยหลักมาจากกระบวนการพัฒนาครูไม่เชื่อมโยงกัน สั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูหารือร่วมกัน และสำรวจทรัพยากรใน 3 เดือนเสนอรัฐบาล ตั้งเป้าเชื่อมโยงการประเมินวิทยฐานะให้สัมพันธ์กับคุณภาพครู
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ ที่โรงแรมสวนดุสิตเพลส เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) คุรุสภา เป็นต้น เพื่อช่วยกันหาแนวทางและพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ เพราะเรื่องครูเป็นหัวใจหลักสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และปัจจัยหลักที่การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จนั้นมาจากครู เพราะกระบวนการของครูนั้นมีหลายระบบ เช่น การผลิตครู การพัฒนาครูให้มีคุณภาพ การส่งเสริมครู มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ การบริหารงานบุคคล ขวัญและกำลังใจ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้แต่ละหน่วยงานจะแย่งกันทำงานไม่มีการเชื่อมโยงกัน ส่งผลให้การพัฒนาครูไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำแผนพัฒนาครูแบบบูรณาการ นำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูมาหารือร่วมกัน ว่าทรัพยากรในการพัฒนาครูของแต่ละหน่วยงานมีอะไรบ้าง เพื่อนำมาจัดทำเป็นเอกสารเชิงนโยบายเสนอรัฐบาลต่อไป คาดว่า จะใช้เวลาในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวไม่เกิน 3 เดือน
“ปัญหาของการพัฒนาครูไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ส่วนหนึ่งมาจากการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ครูต้องอิงมาตรฐานหน่วยงานจากหลายองค์กร โดยเฉพาะการประเมินวิทยฐานะที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของครู ซึ่งการพัฒนาครูเพื่อให้ได้วิทยาฐานะนั้น จะต้องตอบคำถามให้กับสังคมด้วยว่า เมื่อครูผ่านการประเมินวิทยฐานะนักเรียนมีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ แต่ทุกวันนี้ยังไม่สามารถตอบคำถามเรื่องดังกล่าวให้กับสังคมได้ ซึ่งเรื่องการพัฒนาครู การประเมินวิทยฐานะ และการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนจะต้องเชื่อมโยงกันได้”ปลัด ศธ.กล่าว
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ ที่โรงแรมสวนดุสิตเพลส เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) คุรุสภา เป็นต้น เพื่อช่วยกันหาแนวทางและพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ เพราะเรื่องครูเป็นหัวใจหลักสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และปัจจัยหลักที่การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จนั้นมาจากครู เพราะกระบวนการของครูนั้นมีหลายระบบ เช่น การผลิตครู การพัฒนาครูให้มีคุณภาพ การส่งเสริมครู มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ การบริหารงานบุคคล ขวัญและกำลังใจ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้แต่ละหน่วยงานจะแย่งกันทำงานไม่มีการเชื่อมโยงกัน ส่งผลให้การพัฒนาครูไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำแผนพัฒนาครูแบบบูรณาการ นำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูมาหารือร่วมกัน ว่าทรัพยากรในการพัฒนาครูของแต่ละหน่วยงานมีอะไรบ้าง เพื่อนำมาจัดทำเป็นเอกสารเชิงนโยบายเสนอรัฐบาลต่อไป คาดว่า จะใช้เวลาในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวไม่เกิน 3 เดือน
“ปัญหาของการพัฒนาครูไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ส่วนหนึ่งมาจากการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ครูต้องอิงมาตรฐานหน่วยงานจากหลายองค์กร โดยเฉพาะการประเมินวิทยฐานะที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของครู ซึ่งการพัฒนาครูเพื่อให้ได้วิทยาฐานะนั้น จะต้องตอบคำถามให้กับสังคมด้วยว่า เมื่อครูผ่านการประเมินวิทยฐานะนักเรียนมีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ แต่ทุกวันนี้ยังไม่สามารถตอบคำถามเรื่องดังกล่าวให้กับสังคมได้ ซึ่งเรื่องการพัฒนาครู การประเมินวิทยฐานะ และการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนจะต้องเชื่อมโยงกันได้”ปลัด ศธ.กล่าว