ย้ำอีกครั้งนะครับจากที่ผมเขียนไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมสนับสนุนนโยบายเรียนฟรีแน่นอน แต่ภายใต้สถานการณ์การเก็บภาษีของประเทศที่ยังควรอยู่ในระดับต่ำและเป็นภาษีทางอ้อมมากกว่าทางตรงเช่นนี้ ควรให้ฟรีเฉพาะกับกลุ่มคนที่ยากจนและด้อยโอกาสเท่านั้น เพื่อรักษาวัตถุประสงค์เดิมคือสร้างความเสมอภาคทางโอกาสในการได้รับการศึกษา
ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ควรทบทวนใหม่ทั้งระบบ ไม่ใช่แค่คิดว่าจะฟรีแค่ไหนอย่างไร
และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณพิภพ ธงไชย หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ ว่า การปฏิรูปการศึกษาจำเป็นพอ ๆ กับการปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลกำลังจะได้ฤกษ์เริ่มต้นโดยมอบให้สถาบันพระปกเกล้าจัดการ
ความบิดเบี้ยวในระบบการศึกษาที่ผมเห็นว่ามีอยู่ 6 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ (1) เรียนฟรีที่ไม่ฟรีจริง (2) แป๊ะเจี๊ยะไร้ขอบเขตจำกัด (3) ระบบแพ้คัดออกสุดลิ่มทิ่มประตู (4) ครูด้อยคุณภาพ (5) แบ่งชั้นวรรณะในรั้วเดียวกัน และ (6) ไล่กวดวิชาเท่าไรไม่ทันเสียที วันนี้จะขอพูดต่อสักหน่อย
โครงสร้างการศึกษาในบ้านเราให้ความสำคัญเรื่องการแข่งขันเพื่อมุ่งเข้าสู่การ ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งที่ความสำคัญของช่วงชีวิตมนุษย์ที่ควรจะได้รับการเรียนรู้และส่งเสริมศักยภาพของสมองมากที่สุดคือช่วงวัย 0 - 6 ปี
แม้พ่อแม่ในยุคปัจจุบันจะมีความเข้าใจในเรื่องการศึกษามากขึ้น เห็นความสำคัญในช่วงปฐมวัยมากขึ้น บางคนให้ลูกได้เตรียมความพร้อม โดยเลือกโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมให้ลูก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงชั้นประถม 1 ก็เข้าสู่ระบบแพ้คัดออก โดยใช้การสอบแข่งขันอยู่ดี ท้ายสุดพ่อแม่ก็ไม่สามารถต้านกระ แสการแข่งขันในรูปแบบนี้ได้ ก็ต้องผลักลูกเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เน้นการแข่งขันอยู่ดี
ผมเริ่มต้นให้ลูกเรียนในโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมที่สาธิตอนุบาลลอออุทิศ โดยไม่สนใจว่าเมื่อจบอนุบาล 3 เขาจะเขียนหนังสือได้เป็นตัวแค่ไหน รู้ภาษาอังกฤษหรือไม่ เพราะไม่คิดจะให้ลูกไปสอบเข้าประถม 1 โรงเรียนดัง ๆ ที่ต้องเสียงสตังค์ในหลายรูปแบบ
แต่ก็ต้องเริ่มประสบปัญหาตั้งแต่จะหาโรงเรียนประเภทเดียวกันที่ไหนในระดับชั้นประถม 1
โชคดีที่ลอออุทิศตัดสินใจเปิดโรงเรียนใหม่ในระดับประถมศึกษา เพื่อความต่อเนื่อง แต่ผมก็ต้องคิดต่อทันทีอีกว่าเมื่อเขาจบประถม 6 แล้วจะไปไหน โดยที่ในช่วงเรียนอยู่ประถม 4 – 6 เขาไม่ต้องเคร่งเครียดกับการเก็บคะแนนและเตรียมสอบแข่งขันเข้ามัธยม 1 นัก
ปรากฏว่าแทบไม่เหลือทางเลือกเลย !
เพราะถ้าจะให้เข้าโรงเรียนแนวเดียวกันเพื่อความต่อเนื่อง อย่างโยธินบูรณะ หรือสามเสน การแข่งขันก็สูงมาก โดยเฉพาะโปรแกรมพิเศษ ลูกจะต้องฟิตตัวเก็บคะแนนและเตรียมตัวเข้าสอบแข่งขันถึง 3 ปีในช่วงชั้นประถม 4 – 6
ผมก็เลยต้องตัดสินใจใหม่ย้ายเขาไปเรียนชั้นประถม 4 ในที่ที่ผมและภรรยารวมทั้งตัวลูกเห็นร่วมกันว่าเหมาะว่าควร !
เหมาะและควรในที่นี้คือได้เรียนวิชาการในห้องเรียนตามปกติ ไม่มีการเรียนพิเศษ และใช้เวลาเกือบครึ่งในแต่ละวันไปกับกิจกรรมกีฬาและดนตรี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่มีแต่ตึกคอนกรีตไร้สนามหญ้า และไม่ต้องเสียเวลาเดินทางวันละ 1 – 2 ชั่วโมง
ไอ้เจ้าระบบแพ้คัดออกสุดลิ่มทิ่มประตูของบ้านเรานี่แปลกประหลาดใจครับ
คือเมื่อเด็กที่ถูกเคี่ยวกร่ำอย่างหนักมาตลอดชีวิตเพื่อการสอบแข่งขันทุกระดับจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐได้แล้ว กลับไม่ค่อยเน้นเรื่องวิชาการในระดับปริญญาตรี กลายเป็นช่วงที่วัยหนุ่มสาวลดระดับเรื่องวิชาการ เริ่มปล่อยปละและหันไปให้ความสนใจกับชีวิตในด้านอื่น บางคนที่เคยเคร่งกับการสอบมาตลอดชีวิตก็ปล่อยตัวปล่อยใจสุดฤทธิ์ในช่วงนี้
เด็กบางคนที่หลงแสงสีและเสียผู้เสียคนในช่วงมหาวิทยาลัยจึงมีให้ผู้ใหญ่พบเห็นได้มาก
นโยบายเรียนฟรีแท้จริงแล้วเพื่อสร้างความเสมอภาคในระบบการศึกษา ให้คนทุกระดับฐานะได้รับโอกาสได้รับบริการการศึกษาเท่าเทียมกัน แต่...แปลกแต่จริง...ยิ่งมีนโยบายเรียนฟรีความเสมอภาคยิ่งน้อยลง ความไม่เสมอภาคกลับเพิ่มมากขึ้น
ในอดีต มาตรฐานการศึกษาไม่เท่าเทียมกันในสังคมเมืองและชนบท ขณะที่สังคมเมืองเองก็มีปัญหาเรื่องมาตรฐานการศึกษาไม่เท่ากันระหว่างโรงเรียน แต่ปัจจุบัน ปัญหาได้แผ่ขยายไปสู่มาตรฐานการศึกษาไม่เท่ากันในสถาบันการศึกษาแห่งเดียวกัน เนื่องเพราะมีการแบ่งหลักสูตรหรือแบ่งห้อง เรียนในระดับชั้นเดียวกัน โดยอาศัยช่องว่างทางการศึกษาในการเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากการแบ่งหลักสูตรนั้น ๆ
เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งรับนักเรียนในชั้นประถมศึกษา 8 ห้อง จะมีห้องธรรมดา 4 ห้อง ห้องพิเศษ 2 ห้อง ห้อง EP : English Program 2 ห้อง บางโรงเรียนก็เรียกว่า ห้องเด็กเก่ง หรือ ห้อง Gifted
ห้องพิเศษจะมีค่าเล่ารียน (หรือเรียกชื่ออื่น) ที่พิเศษคือแพงกว่าห้องเรียนปกติ
การแบ่งชั้นวรรณะลักษณะนี้ไม่เหมือนห้องคิง ห้องควีน (และห้องบ๊วย) ในอดีต ที่คัดเด็กตามลำดับผลการเรียนโดยไม่ได้เก็บเงินเพิ่ม และมีหลักสูตรที่แตกต่างออกไป
การแบ่งชั้นวรรณะเช่นนี้สร้างปัญหาใหม่ขึ้นในโรงเรียนบางแห่งมาแล้ว โดยเด็กที่เรียนห้องธรรมดาบางคนเริ่มรู้สึกว่าแม้แต่โรงเรียนเดียวกันก็ยังมีการแบ่งชนชั้น
เคยเกิดกรณีเด็กห้องธรรมดาไปดักตบเด็กห้อง EP เพราะหมั่นไส้มาแล้ว !
การเรียนพิเศษจนเป็นปกติเป็นอีกปัญหาหนึ่ง
ในอดีต การเรียนพิเศษหรือเรียนกวดวิชาจะเน้นเฉพาะเด็กที่เรียนอ่อน หรือเด็กที่ต้องการติวเพิ่มเติมเพราะเรียนไม่ทัน หรือเฉพาะช่วงต้องสอบเข้ามหาวิท ยาลัยเท่านั้น
แต่เดี๋ยวนี้ ค่านิยมของการเรียนพิเศษกลายเป็นว่า ต้องเรียนให้เหนือกว่าในห้องเรียน ต้องเหนือกว่าเพื่อนคนอื่น หรือต้องเหนือกว่าระดับชั้นเรียนในปัจจุ บัน จากที่เคยเรียนกวดวิชากันในระดับชั้นมัธยมปลาย ก็เริ่มขยับลงเรื่องๆ มาสู่มัธยมต้น ระดับประถม
และปัจจุบันบางคนก็ติวตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลด้วยซ้ำ
คนแห่ไปเรียนพิเศษ ด้านหนึ่ง เพราะไม่เชื่อมั่นการศึกษาในระบบ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะความคาดหวังของพ่อแม่ที่เปลี่ยนไป แต่อีกด้านหนึ่ง แม้ในโรงเรียนเองก็มีการเรียนพิเศษทั้งช่วงเย็นและวันเสาร์อาทิตย์ ถ้าโรงเรียนไม่เปิดสอนเอง คุณครูหรืออาจารย์ก็จะเปิดสอนพิเศษเอง โดยสอนเด็กที่อยู่ในชั้นเรียนของตนเองนั่นเอง
ส่วนหนึ่งเพราะเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับคุณครู
ถ้าภาครัฐ หรือรัฐบาล ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 จะเกิดปัญหาต่อเนื่องที่หนักขึ้นไปอีก เพราะเด็ก ๆ ที่ต้องวิ่งไล่กวดวิชาตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงม. 6 ในยุคนี้จะขาดทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ รู้จักแต่ห้อง เรียนและการเรียนหนังสือเท่านั้น
เราจะได้ผู้ใหญ่ในอนาคตที่ขาดทักษะในชีวิต
ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ควรทบทวนใหม่ทั้งระบบ ไม่ใช่แค่คิดว่าจะฟรีแค่ไหนอย่างไร
และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณพิภพ ธงไชย หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ ว่า การปฏิรูปการศึกษาจำเป็นพอ ๆ กับการปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลกำลังจะได้ฤกษ์เริ่มต้นโดยมอบให้สถาบันพระปกเกล้าจัดการ
ความบิดเบี้ยวในระบบการศึกษาที่ผมเห็นว่ามีอยู่ 6 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ (1) เรียนฟรีที่ไม่ฟรีจริง (2) แป๊ะเจี๊ยะไร้ขอบเขตจำกัด (3) ระบบแพ้คัดออกสุดลิ่มทิ่มประตู (4) ครูด้อยคุณภาพ (5) แบ่งชั้นวรรณะในรั้วเดียวกัน และ (6) ไล่กวดวิชาเท่าไรไม่ทันเสียที วันนี้จะขอพูดต่อสักหน่อย
โครงสร้างการศึกษาในบ้านเราให้ความสำคัญเรื่องการแข่งขันเพื่อมุ่งเข้าสู่การ ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งที่ความสำคัญของช่วงชีวิตมนุษย์ที่ควรจะได้รับการเรียนรู้และส่งเสริมศักยภาพของสมองมากที่สุดคือช่วงวัย 0 - 6 ปี
แม้พ่อแม่ในยุคปัจจุบันจะมีความเข้าใจในเรื่องการศึกษามากขึ้น เห็นความสำคัญในช่วงปฐมวัยมากขึ้น บางคนให้ลูกได้เตรียมความพร้อม โดยเลือกโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมให้ลูก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงชั้นประถม 1 ก็เข้าสู่ระบบแพ้คัดออก โดยใช้การสอบแข่งขันอยู่ดี ท้ายสุดพ่อแม่ก็ไม่สามารถต้านกระ แสการแข่งขันในรูปแบบนี้ได้ ก็ต้องผลักลูกเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เน้นการแข่งขันอยู่ดี
ผมเริ่มต้นให้ลูกเรียนในโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมที่สาธิตอนุบาลลอออุทิศ โดยไม่สนใจว่าเมื่อจบอนุบาล 3 เขาจะเขียนหนังสือได้เป็นตัวแค่ไหน รู้ภาษาอังกฤษหรือไม่ เพราะไม่คิดจะให้ลูกไปสอบเข้าประถม 1 โรงเรียนดัง ๆ ที่ต้องเสียงสตังค์ในหลายรูปแบบ
แต่ก็ต้องเริ่มประสบปัญหาตั้งแต่จะหาโรงเรียนประเภทเดียวกันที่ไหนในระดับชั้นประถม 1
โชคดีที่ลอออุทิศตัดสินใจเปิดโรงเรียนใหม่ในระดับประถมศึกษา เพื่อความต่อเนื่อง แต่ผมก็ต้องคิดต่อทันทีอีกว่าเมื่อเขาจบประถม 6 แล้วจะไปไหน โดยที่ในช่วงเรียนอยู่ประถม 4 – 6 เขาไม่ต้องเคร่งเครียดกับการเก็บคะแนนและเตรียมสอบแข่งขันเข้ามัธยม 1 นัก
ปรากฏว่าแทบไม่เหลือทางเลือกเลย !
เพราะถ้าจะให้เข้าโรงเรียนแนวเดียวกันเพื่อความต่อเนื่อง อย่างโยธินบูรณะ หรือสามเสน การแข่งขันก็สูงมาก โดยเฉพาะโปรแกรมพิเศษ ลูกจะต้องฟิตตัวเก็บคะแนนและเตรียมตัวเข้าสอบแข่งขันถึง 3 ปีในช่วงชั้นประถม 4 – 6
ผมก็เลยต้องตัดสินใจใหม่ย้ายเขาไปเรียนชั้นประถม 4 ในที่ที่ผมและภรรยารวมทั้งตัวลูกเห็นร่วมกันว่าเหมาะว่าควร !
เหมาะและควรในที่นี้คือได้เรียนวิชาการในห้องเรียนตามปกติ ไม่มีการเรียนพิเศษ และใช้เวลาเกือบครึ่งในแต่ละวันไปกับกิจกรรมกีฬาและดนตรี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่มีแต่ตึกคอนกรีตไร้สนามหญ้า และไม่ต้องเสียเวลาเดินทางวันละ 1 – 2 ชั่วโมง
ไอ้เจ้าระบบแพ้คัดออกสุดลิ่มทิ่มประตูของบ้านเรานี่แปลกประหลาดใจครับ
คือเมื่อเด็กที่ถูกเคี่ยวกร่ำอย่างหนักมาตลอดชีวิตเพื่อการสอบแข่งขันทุกระดับจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐได้แล้ว กลับไม่ค่อยเน้นเรื่องวิชาการในระดับปริญญาตรี กลายเป็นช่วงที่วัยหนุ่มสาวลดระดับเรื่องวิชาการ เริ่มปล่อยปละและหันไปให้ความสนใจกับชีวิตในด้านอื่น บางคนที่เคยเคร่งกับการสอบมาตลอดชีวิตก็ปล่อยตัวปล่อยใจสุดฤทธิ์ในช่วงนี้
เด็กบางคนที่หลงแสงสีและเสียผู้เสียคนในช่วงมหาวิทยาลัยจึงมีให้ผู้ใหญ่พบเห็นได้มาก
นโยบายเรียนฟรีแท้จริงแล้วเพื่อสร้างความเสมอภาคในระบบการศึกษา ให้คนทุกระดับฐานะได้รับโอกาสได้รับบริการการศึกษาเท่าเทียมกัน แต่...แปลกแต่จริง...ยิ่งมีนโยบายเรียนฟรีความเสมอภาคยิ่งน้อยลง ความไม่เสมอภาคกลับเพิ่มมากขึ้น
ในอดีต มาตรฐานการศึกษาไม่เท่าเทียมกันในสังคมเมืองและชนบท ขณะที่สังคมเมืองเองก็มีปัญหาเรื่องมาตรฐานการศึกษาไม่เท่ากันระหว่างโรงเรียน แต่ปัจจุบัน ปัญหาได้แผ่ขยายไปสู่มาตรฐานการศึกษาไม่เท่ากันในสถาบันการศึกษาแห่งเดียวกัน เนื่องเพราะมีการแบ่งหลักสูตรหรือแบ่งห้อง เรียนในระดับชั้นเดียวกัน โดยอาศัยช่องว่างทางการศึกษาในการเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากการแบ่งหลักสูตรนั้น ๆ
เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งรับนักเรียนในชั้นประถมศึกษา 8 ห้อง จะมีห้องธรรมดา 4 ห้อง ห้องพิเศษ 2 ห้อง ห้อง EP : English Program 2 ห้อง บางโรงเรียนก็เรียกว่า ห้องเด็กเก่ง หรือ ห้อง Gifted
ห้องพิเศษจะมีค่าเล่ารียน (หรือเรียกชื่ออื่น) ที่พิเศษคือแพงกว่าห้องเรียนปกติ
การแบ่งชั้นวรรณะลักษณะนี้ไม่เหมือนห้องคิง ห้องควีน (และห้องบ๊วย) ในอดีต ที่คัดเด็กตามลำดับผลการเรียนโดยไม่ได้เก็บเงินเพิ่ม และมีหลักสูตรที่แตกต่างออกไป
การแบ่งชั้นวรรณะเช่นนี้สร้างปัญหาใหม่ขึ้นในโรงเรียนบางแห่งมาแล้ว โดยเด็กที่เรียนห้องธรรมดาบางคนเริ่มรู้สึกว่าแม้แต่โรงเรียนเดียวกันก็ยังมีการแบ่งชนชั้น
เคยเกิดกรณีเด็กห้องธรรมดาไปดักตบเด็กห้อง EP เพราะหมั่นไส้มาแล้ว !
การเรียนพิเศษจนเป็นปกติเป็นอีกปัญหาหนึ่ง
ในอดีต การเรียนพิเศษหรือเรียนกวดวิชาจะเน้นเฉพาะเด็กที่เรียนอ่อน หรือเด็กที่ต้องการติวเพิ่มเติมเพราะเรียนไม่ทัน หรือเฉพาะช่วงต้องสอบเข้ามหาวิท ยาลัยเท่านั้น
แต่เดี๋ยวนี้ ค่านิยมของการเรียนพิเศษกลายเป็นว่า ต้องเรียนให้เหนือกว่าในห้องเรียน ต้องเหนือกว่าเพื่อนคนอื่น หรือต้องเหนือกว่าระดับชั้นเรียนในปัจจุ บัน จากที่เคยเรียนกวดวิชากันในระดับชั้นมัธยมปลาย ก็เริ่มขยับลงเรื่องๆ มาสู่มัธยมต้น ระดับประถม
และปัจจุบันบางคนก็ติวตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลด้วยซ้ำ
คนแห่ไปเรียนพิเศษ ด้านหนึ่ง เพราะไม่เชื่อมั่นการศึกษาในระบบ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะความคาดหวังของพ่อแม่ที่เปลี่ยนไป แต่อีกด้านหนึ่ง แม้ในโรงเรียนเองก็มีการเรียนพิเศษทั้งช่วงเย็นและวันเสาร์อาทิตย์ ถ้าโรงเรียนไม่เปิดสอนเอง คุณครูหรืออาจารย์ก็จะเปิดสอนพิเศษเอง โดยสอนเด็กที่อยู่ในชั้นเรียนของตนเองนั่นเอง
ส่วนหนึ่งเพราะเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับคุณครู
ถ้าภาครัฐ หรือรัฐบาล ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 จะเกิดปัญหาต่อเนื่องที่หนักขึ้นไปอีก เพราะเด็ก ๆ ที่ต้องวิ่งไล่กวดวิชาตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงม. 6 ในยุคนี้จะขาดทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ รู้จักแต่ห้อง เรียนและการเรียนหนังสือเท่านั้น
เราจะได้ผู้ใหญ่ในอนาคตที่ขาดทักษะในชีวิต