เคาะเกณฑ์ระบบบำนาญแห่งชาติ เผยคนแก่อายุ 60 ปีขึ้นไปรับเดือนละ 500 บาททันที ส่วนคนทำงานจ่ายเงินสมทบได้ตั้งแต่ 50-500 บาทต่อเดือน ได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และเมื่ออายุ 60 ปีก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน เสียชีวิตได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 6,000 บาท ชงคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ 16 มี.ค.นี้
วันนี้ (10 มี.ค.) ในเวทีระดมความคิดเห็นเชิงนโยบายเรื่อง “การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ” ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีนายอัมมาร สยามวาลา จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไทย) เป็นประธาน ที่ประชุมได้เสนอการออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติว่า ควรมีความยืดหยุ่นและรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งอาชีพและโครงสร้างประชากรในอนาคต และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบตัวเอง เนื่องจากพบว่าประชากร 2 ใน 3 ของทั้งหมดไม่อยู่ในระบบประกันใดๆ โดยได้กำหนดรูปแบบสมาชิก 2 ประเภทให้อยู่ในกองทุนบำนาญแห่งชาติ คือ
1.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปยกเว้นข้าราชการบำนาญ ณ ปีที่ตั้งกองทุนบำนาญฯ ขึ้น ไม่ต้องมีการสะสมเงิน สามารถรับเงินบำนาญ 500 บาทต่อเดือน 2.กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 20-59 ปี ยกเว้นข้าราชการ สามารถสะสมเงินสมทบได้ส่วนหนึ่งตั้งแต่ 50-500 บาทต่อเดือน และได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และเมื่ออายุ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน หากทุพพลภาพก็จะได้รับเงินบำนาญด้วยเช่นกัน กรณีเสียชีวิตก่อน 60 ปี เงินดังกล่าวจะตกทอดให้กับทายาทเป็นบำเหน็จตกทอด ได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 6,000 บาท
ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีเงินจ่ายสมทบกองทุนฯ สามารถแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รับทราบ เพื่อขอยกเว้นการจ่ายเงินชั่วคราว หากมีเงินเมื่อไรค่อยจ่ายคืน หรือกรณีผู้ที่มีรายได้น้อย คนพิการหรือผู้ป่วยเอดส์ ก็สามารถแจ้งและขอให้รัฐช่วยจ่ายเงินสมทบได้เช่นกัน
สำหรับร่างการบริหารการจัดการระบบบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเห็นว่ากองทุนบำนาญแห่งชาติควรเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานราชการ ต้องมีการประสานงานกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงมหาดไทย อปท.กระทรวงการคลัง ส่วนการบริหารจะต้องมีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนฯ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลใน 4 ภาคคือ ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ใต้ และตัวแทน กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงแรงงาน ตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และมีวาระการบริหารงาน 3 ปี
สำหรับช่องทางการเข้าถึงระบบบำนาญฯ ประชาชนอายุ 20-59 ปี สามารถขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขต เทศบาล อบต. และกรอกชื่อทายาทเป็นผู้ได้รับบำนาญตกทอด เพื่อเป็นช่องทางในการจ่ายเงิน ส่วนช่องทางการเข้าระบบออมเงิน ลูกจ้างสามารถให้ สปส.หักเงินเพิ่มเพื่อเข้ากองทุนฯ ในส่วนแรงงานนอกระบบ หรือแม่บ้าน สามารถเข้าออมผ่านร้านสะดวกซื้อ หรือธนาคารของรัฐ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่สามารถเข้าระบบการออมโดยจ่ายพร้อมกับค่าเทอม ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ในวันที่ 16 มี.ค.นี้ ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ (พม.)
วันนี้ (10 มี.ค.) ในเวทีระดมความคิดเห็นเชิงนโยบายเรื่อง “การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ” ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีนายอัมมาร สยามวาลา จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไทย) เป็นประธาน ที่ประชุมได้เสนอการออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติว่า ควรมีความยืดหยุ่นและรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งอาชีพและโครงสร้างประชากรในอนาคต และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบตัวเอง เนื่องจากพบว่าประชากร 2 ใน 3 ของทั้งหมดไม่อยู่ในระบบประกันใดๆ โดยได้กำหนดรูปแบบสมาชิก 2 ประเภทให้อยู่ในกองทุนบำนาญแห่งชาติ คือ
1.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปยกเว้นข้าราชการบำนาญ ณ ปีที่ตั้งกองทุนบำนาญฯ ขึ้น ไม่ต้องมีการสะสมเงิน สามารถรับเงินบำนาญ 500 บาทต่อเดือน 2.กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 20-59 ปี ยกเว้นข้าราชการ สามารถสะสมเงินสมทบได้ส่วนหนึ่งตั้งแต่ 50-500 บาทต่อเดือน และได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และเมื่ออายุ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน หากทุพพลภาพก็จะได้รับเงินบำนาญด้วยเช่นกัน กรณีเสียชีวิตก่อน 60 ปี เงินดังกล่าวจะตกทอดให้กับทายาทเป็นบำเหน็จตกทอด ได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 6,000 บาท
ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีเงินจ่ายสมทบกองทุนฯ สามารถแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รับทราบ เพื่อขอยกเว้นการจ่ายเงินชั่วคราว หากมีเงินเมื่อไรค่อยจ่ายคืน หรือกรณีผู้ที่มีรายได้น้อย คนพิการหรือผู้ป่วยเอดส์ ก็สามารถแจ้งและขอให้รัฐช่วยจ่ายเงินสมทบได้เช่นกัน
สำหรับร่างการบริหารการจัดการระบบบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเห็นว่ากองทุนบำนาญแห่งชาติควรเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานราชการ ต้องมีการประสานงานกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงมหาดไทย อปท.กระทรวงการคลัง ส่วนการบริหารจะต้องมีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนฯ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลใน 4 ภาคคือ ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ใต้ และตัวแทน กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงแรงงาน ตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และมีวาระการบริหารงาน 3 ปี
สำหรับช่องทางการเข้าถึงระบบบำนาญฯ ประชาชนอายุ 20-59 ปี สามารถขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขต เทศบาล อบต. และกรอกชื่อทายาทเป็นผู้ได้รับบำนาญตกทอด เพื่อเป็นช่องทางในการจ่ายเงิน ส่วนช่องทางการเข้าระบบออมเงิน ลูกจ้างสามารถให้ สปส.หักเงินเพิ่มเพื่อเข้ากองทุนฯ ในส่วนแรงงานนอกระบบ หรือแม่บ้าน สามารถเข้าออมผ่านร้านสะดวกซื้อ หรือธนาคารของรัฐ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่สามารถเข้าระบบการออมโดยจ่ายพร้อมกับค่าเทอม ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ในวันที่ 16 มี.ค.นี้ ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ (พม.)