ในเวทีระดมความคิดเห็นเชิงนโยบายเรื่อง "การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ" ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีนายอัมมาร สยามวาลา จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไทย) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้เสนอการออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติว่า ควรมีความยืดหยุ่นและรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งอาชีพและโครงสร้างประชากรในอนาคต และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบตัวเอง เนื่องจากพบว่าประชากร 2 ใน 3 ของทั้งหมดไม่อยู่ในระบบประกันใดๆ โดยได้กำหนดรูปแบบสมาชิก 2 ประเภทให้อยู่ในกองทุนบำนาญแห่งชาติ คือ 1.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปยกเว้นข้าราชการบำนาญ ณ ปีที่ตั้งกองทุนบำนาญฯ ขึ้น ไม่ต้องมีการสะสมเงิน สามารถรับเงินบำนาญ 500 บาทต่อเดือน 2.กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 20-59 ปี ยกเว้นข้าราชการ สามารถสะสมเงินสมทบได้ส่วนหนึ่งตั้งแต่ 50-500 บาทต่อเดือน และได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และเมื่ออายุ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน หากทุพพลภาพก็จะได้รับเงินบำนาญด้วยเช่นกัน กรณีเสียชีวิตก่อน 60 ปี เงินดังกล่าวจะตกทอดให้กับทายาทเป็นบำเหน็จตกทอด ได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 6,000 บาท
ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีเงินจ่ายสมทบกองทุนฯ สามารถแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รับทราบ เพื่อขอยกเว้นการจ่ายเงินชั่วคราว หากมีเงินเมื่อไรค่อยจ่ายคืน หรือกรณีผู้ที่มีรายได้น้อย คนพิการหรือผู้ป่วยเอดส์ ก็สามารถแจ้งและขอให้รัฐช่วยจ่ายเงินสมทบได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีเงินจ่ายสมทบกองทุนฯ สามารถแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รับทราบ เพื่อขอยกเว้นการจ่ายเงินชั่วคราว หากมีเงินเมื่อไรค่อยจ่ายคืน หรือกรณีผู้ที่มีรายได้น้อย คนพิการหรือผู้ป่วยเอดส์ ก็สามารถแจ้งและขอให้รัฐช่วยจ่ายเงินสมทบได้เช่นกัน