ผลวิจัยชี้ควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล แค่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อปอดอักเสบจากเครื่องช่วยหายใจตามแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่แล้ว 5 ข้อ อย่างเคร่งครัด ช่วยลดการติดเชื้อได้ 5 เท่า
น.ส.ศิริพร แสงสว่าง พยาบาลวิชาชีพ ด้านการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลราชวิถี ได้เสนอผลงานวิจัย เรื่อง ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการควบคุมการติดเชื้อต่อการปฏิบัติของบุคลากรทางสุขภาพ และอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้ช่วยเครื่องช่วยหายใจ โดย น.ส.ศิริพร กล่าวว่า ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อย ซึ่งเมื่อผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 5.1–21.6 เท่า ซึ่งสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและฟันมีมากขึ้น การสะสมของสารเคลือบท่อช่วยหายใจ และแบคทีเรียที่อยู่ใน ท่อหลุดร่วงเข้าทางเดินหายใจ การใส่ท่อทำให้เกิดการระคายเคืองและบาดเจ็บช่องปากและคอ
น.ส.ศิริพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลกระทบผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาลนานขึ้น ประมาณ 9.6 - 14.7 วัน ต่อการติดเชื้อ 1 ครั้ง เชื้อก่อโรคพัฒนาเป็น เชื้อดื้อยา หลายชนิด ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ประมาณการณ์ว่าไทยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 117,234 บาทต่อราย และยังมี อัตราการตายสูงขึ้น คิดเป็น 2-10 เท่า
“ภาวะแทรกซ้อนสามารถป้องกันได้โดยการปฏิบัติตามหลักแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่แล้วที่สำคัญมี 5 ข้อ คือ 1.การจัดท่านอน ศีรษะสูง 30-45 องศา และการพลิกตัว 2.การดูดเสมหะ 3.การทำความสะอาดช่องปากและฟัน 4.การดูแลให้อาหารทางสายยางและ 5.การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักแนวทางปฏิบัติ ในการควบคุมการติดเชื้อปอดอักเสบและอุบัติการณ์จากการใช้เครื่องช่วยหายใจของบุคลากรทางสุขภาพในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลราชวิถี”น.ส.ศิริพร กล่าว
น.ส.ศิริพร กล่าวต่อว่า ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลกรด้านสุขภาพ 25 คน แบ่งเป็นแพทย์ 4 คน พยาบาลวิชาชีพ 15 คนผู้ช่วยพยาบาล 1 คนและพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 5 คน อายุ 31-40 ปี ประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี รวมถึงผู้ป่วยของหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลราชวิถี โดยศึกษาช่วงระหว่างตุลาคม 2550-มกราคม 2551 มีการใช้วิธีการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการปฏิบัติ มีการบันทึก และสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติ แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนี้ยังมีการออกแบบแผนการอบรม เช่น การอบรม การติดโปสเตอร์เตือน การให้ข้อมูลย้อนกลับ รวมถึงการสนับสนุนอุปกรณ์ในการควบคุมการติดเชื้อ เช่น กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น
น.ส.ศิริพร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พบว่า บุคลากรทางสุขภาพจะไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ เช่น การทำความสะอาดมือก่อนและหลังปฏิบัติกิจกรรม การใช้อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก ถุงมือ การทำความสะอาดภายในช่องปากและฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เป็นต้น สาเหตุเพราะมีภาระงานมากอยู่แล้ว การขาดอุปกรณ์ ได้แก่ ผ้าเช็ดมือ อุปกรณ์ในการทำความสะอาดมือ และไม่มีเครื่องวัดความดันในกระเปาะหลอดลมคอ ความไม่เข้าใจในการปฏิบัติ เช่น การทำความสะอาดมือบ่อยๆ ทำให้มือแห้งกร้าน ไม่เคยมีการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกในการควบคุมการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมาใช้มาเผยแพร่
“ผลการวิจัยพบว่าภายหลังจากมีการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมการติดเชื้อปอดอักเสบจากเครื่องช่วยหายใจบุคลากรทำตามแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.50 เป็นร้อยละ 94.09 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ0.001และอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงเป็น 6.41 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจากเดิมอยู่ที่ 31.41 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยไม่มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อายุ การสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่ใส่ท่อทางเดินหายใจ แต่ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการลดการเกิดโรคติดเชื้อปอดมาจากปัจจัยอื่นๆ”น.ส.ศิริพร กล่าว
น.ส.ศิริพร แสงสว่าง พยาบาลวิชาชีพ ด้านการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลราชวิถี ได้เสนอผลงานวิจัย เรื่อง ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการควบคุมการติดเชื้อต่อการปฏิบัติของบุคลากรทางสุขภาพ และอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้ช่วยเครื่องช่วยหายใจ โดย น.ส.ศิริพร กล่าวว่า ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อย ซึ่งเมื่อผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 5.1–21.6 เท่า ซึ่งสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและฟันมีมากขึ้น การสะสมของสารเคลือบท่อช่วยหายใจ และแบคทีเรียที่อยู่ใน ท่อหลุดร่วงเข้าทางเดินหายใจ การใส่ท่อทำให้เกิดการระคายเคืองและบาดเจ็บช่องปากและคอ
น.ส.ศิริพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลกระทบผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาลนานขึ้น ประมาณ 9.6 - 14.7 วัน ต่อการติดเชื้อ 1 ครั้ง เชื้อก่อโรคพัฒนาเป็น เชื้อดื้อยา หลายชนิด ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ประมาณการณ์ว่าไทยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 117,234 บาทต่อราย และยังมี อัตราการตายสูงขึ้น คิดเป็น 2-10 เท่า
“ภาวะแทรกซ้อนสามารถป้องกันได้โดยการปฏิบัติตามหลักแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่แล้วที่สำคัญมี 5 ข้อ คือ 1.การจัดท่านอน ศีรษะสูง 30-45 องศา และการพลิกตัว 2.การดูดเสมหะ 3.การทำความสะอาดช่องปากและฟัน 4.การดูแลให้อาหารทางสายยางและ 5.การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักแนวทางปฏิบัติ ในการควบคุมการติดเชื้อปอดอักเสบและอุบัติการณ์จากการใช้เครื่องช่วยหายใจของบุคลากรทางสุขภาพในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลราชวิถี”น.ส.ศิริพร กล่าว
น.ส.ศิริพร กล่าวต่อว่า ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลกรด้านสุขภาพ 25 คน แบ่งเป็นแพทย์ 4 คน พยาบาลวิชาชีพ 15 คนผู้ช่วยพยาบาล 1 คนและพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 5 คน อายุ 31-40 ปี ประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี รวมถึงผู้ป่วยของหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลราชวิถี โดยศึกษาช่วงระหว่างตุลาคม 2550-มกราคม 2551 มีการใช้วิธีการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการปฏิบัติ มีการบันทึก และสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติ แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนี้ยังมีการออกแบบแผนการอบรม เช่น การอบรม การติดโปสเตอร์เตือน การให้ข้อมูลย้อนกลับ รวมถึงการสนับสนุนอุปกรณ์ในการควบคุมการติดเชื้อ เช่น กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น
น.ส.ศิริพร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พบว่า บุคลากรทางสุขภาพจะไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ เช่น การทำความสะอาดมือก่อนและหลังปฏิบัติกิจกรรม การใช้อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก ถุงมือ การทำความสะอาดภายในช่องปากและฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เป็นต้น สาเหตุเพราะมีภาระงานมากอยู่แล้ว การขาดอุปกรณ์ ได้แก่ ผ้าเช็ดมือ อุปกรณ์ในการทำความสะอาดมือ และไม่มีเครื่องวัดความดันในกระเปาะหลอดลมคอ ความไม่เข้าใจในการปฏิบัติ เช่น การทำความสะอาดมือบ่อยๆ ทำให้มือแห้งกร้าน ไม่เคยมีการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกในการควบคุมการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมาใช้มาเผยแพร่
“ผลการวิจัยพบว่าภายหลังจากมีการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมการติดเชื้อปอดอักเสบจากเครื่องช่วยหายใจบุคลากรทำตามแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.50 เป็นร้อยละ 94.09 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ0.001และอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงเป็น 6.41 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจากเดิมอยู่ที่ 31.41 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยไม่มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อายุ การสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่ใส่ท่อทางเดินหายใจ แต่ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการลดการเกิดโรคติดเชื้อปอดมาจากปัจจัยอื่นๆ”น.ส.ศิริพร กล่าว