แพทย์เผยผู้ป่วยทวารเทียมทุกข์หนัก ต้องระวังแผลถลอก ติดเชื้อ จากอุจจาระ-ปัสสาวะ รพ.ราชวิถี จัดโครงการอบรมผู้ป่วย ญาติ ได้ผลผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ในการประชุมวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี น.ส.บุญชื่น อิ่มมาก พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง ออสโตมีคลินิก โรงพยาบาลราชวิธี กล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่มีทวารเทียมในโรงพยาบาลราชวิถีว่า ปัญหาผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับถ่ายทางท่อปัสสาวะ อุจจาระได้ตามปกติ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดทวารเทียมที่หน้าท้อง เพื่อให้การขับถ่ายเป็นไปตามปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูกระยะสุดท้าย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียจากร่างกายไปสัมผัสหรือเดินทางผ่านอวัยวะภายในที่ถูกมะเร็งลุกลามแล้ว หรือบาดแผลต่างๆ เพราะอาจทำให้อาการป่วยหนักขึ้น มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยได้รับผ่าตัดทวารเทียมเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
น.ส.บุญชื่น กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว จะมีทวารเทียมจะอยู่ที่บริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้องของผู้ป่วย โดยใช้ปลายลำไส้ของผู้ป่วยเป็นปากทวารเทียม ซึ่งจะมีลักษณะยื่นออกมาจากหน้าท้องประมาณ 2 เซนติเมตรและต้องมีถุงพลาสติกครอบปากทวารเทียมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อใส่ของเสียออกจากร่างกาย เพราะผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เหมือนคนปกติ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าจะถ่ายของเสียเมื่อใด ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ป่วย มักไม่ได้ดูแลรักษาปากทวารเทียมอย่างถูกต้อง หรือสะอาดเพียงพอ ทำให้เกิดแผลถลอก หรืออักเสบจนเป็นแผลติดเชื้อทำให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน 10- 14 วัน สิ้นเปลื้องค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก
" นอกจากนี้ มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ที่เข้าใจผิดว่าการเปลี่ยนถุงพลาสติกที่รองรับของเสียทุกวัน เพื่อความสะอาด และเป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด โดยปกติถุงพลาสติกมี 2 แบบ คือ ถุงชิ้นเดียว มีขนาดเล็ก ใช้ได้นาน 3-5 วัน ราคา 70-110 บาท และถุงแบบ 2 ชิ้น ใช้ได้นาน 5-7 วัน ราคาประมาณ 220 บาท หากผู้ป่วยเปลี่ยนทุกวันจะสิ้นเปลื้องค่าซื้อถุงอย่างมาก และยังทำให้ปากทวารเทียมถลอก เป็นแผลได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้ถุงแบบ 2 ชิ้น เพราะต้องติดแผ่นยางรองปากทวารมีลักษณะเหมือนซิปล็อค หากเปลี่ยนทุกวัน ก็จะต้องมีการกดซิปล็อคที่ปากทวารเทียมเพื่อปิด-เปิดถุงทุกวัน ทำให้เกิดการช้ำ อักเสบได้ ส่วนถุงแบบชิ้นเดียว ไม่มีซิปล็อค ใช้ครอบปากทวารเทียมได้เลย"น.ส.บุญชื่น กล่าว
น.ส.บุญชื่น กล่าวต่อว่า เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดการเกิดแผลอักเสบ โรงพยาบาลราชวิถีจึงได้จัดโครงการอบรมผู้ป่วย และญาติเกี่ยวกับการดูแล ทำความสะอาดทวารเทียมอย่างถูกต้อง เป็นการอบรมหลักสูตรพยาบาลขั้นสูง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 ผลปรากฏว่า มีผู้ป่วยเกิดแผลอักเสบต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลลดลงเหลือเพียง 44 ครั้งในปี 2551 จากเดิม มีผู้ป่วยเกิดแผล อักเสบถึง 64 ครั้ง ในปี 2550
น.ส.บุญชื่น กล่าวด้วยว่า ปากทวารเทียมที่มีสุขภาพดี คือจะต้องมีสีชมพู ยื่นออกมาจากหน้าท้องไม่มากหรือน้อยกว่า 2 เซนติเมตร ผิวหนังรอบๆ ปากทวาร ต้องไม่มีรอยช้ำ แผลถอก เลือดซึมออกมา ส่วนวิธีการทำความสะอาด ใช้สำลีชุบน้ำล้างผิวหนังรอบๆ ปากทวาร เช็ดเบาๆ ไม่ออกแรงมาก เพราะอาจช้ำได้ ส่วนถุงพลาสติก ควรจะมีการล้างน้ำสะอาดทุกวัน แต่ไม่ต้องเปลี่ยนถุง
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ในการประชุมวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี น.ส.บุญชื่น อิ่มมาก พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง ออสโตมีคลินิก โรงพยาบาลราชวิธี กล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่มีทวารเทียมในโรงพยาบาลราชวิถีว่า ปัญหาผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับถ่ายทางท่อปัสสาวะ อุจจาระได้ตามปกติ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดทวารเทียมที่หน้าท้อง เพื่อให้การขับถ่ายเป็นไปตามปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูกระยะสุดท้าย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียจากร่างกายไปสัมผัสหรือเดินทางผ่านอวัยวะภายในที่ถูกมะเร็งลุกลามแล้ว หรือบาดแผลต่างๆ เพราะอาจทำให้อาการป่วยหนักขึ้น มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยได้รับผ่าตัดทวารเทียมเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
น.ส.บุญชื่น กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว จะมีทวารเทียมจะอยู่ที่บริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้องของผู้ป่วย โดยใช้ปลายลำไส้ของผู้ป่วยเป็นปากทวารเทียม ซึ่งจะมีลักษณะยื่นออกมาจากหน้าท้องประมาณ 2 เซนติเมตรและต้องมีถุงพลาสติกครอบปากทวารเทียมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อใส่ของเสียออกจากร่างกาย เพราะผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เหมือนคนปกติ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าจะถ่ายของเสียเมื่อใด ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ป่วย มักไม่ได้ดูแลรักษาปากทวารเทียมอย่างถูกต้อง หรือสะอาดเพียงพอ ทำให้เกิดแผลถลอก หรืออักเสบจนเป็นแผลติดเชื้อทำให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน 10- 14 วัน สิ้นเปลื้องค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก
" นอกจากนี้ มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ที่เข้าใจผิดว่าการเปลี่ยนถุงพลาสติกที่รองรับของเสียทุกวัน เพื่อความสะอาด และเป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด โดยปกติถุงพลาสติกมี 2 แบบ คือ ถุงชิ้นเดียว มีขนาดเล็ก ใช้ได้นาน 3-5 วัน ราคา 70-110 บาท และถุงแบบ 2 ชิ้น ใช้ได้นาน 5-7 วัน ราคาประมาณ 220 บาท หากผู้ป่วยเปลี่ยนทุกวันจะสิ้นเปลื้องค่าซื้อถุงอย่างมาก และยังทำให้ปากทวารเทียมถลอก เป็นแผลได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้ถุงแบบ 2 ชิ้น เพราะต้องติดแผ่นยางรองปากทวารมีลักษณะเหมือนซิปล็อค หากเปลี่ยนทุกวัน ก็จะต้องมีการกดซิปล็อคที่ปากทวารเทียมเพื่อปิด-เปิดถุงทุกวัน ทำให้เกิดการช้ำ อักเสบได้ ส่วนถุงแบบชิ้นเดียว ไม่มีซิปล็อค ใช้ครอบปากทวารเทียมได้เลย"น.ส.บุญชื่น กล่าว
น.ส.บุญชื่น กล่าวต่อว่า เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดการเกิดแผลอักเสบ โรงพยาบาลราชวิถีจึงได้จัดโครงการอบรมผู้ป่วย และญาติเกี่ยวกับการดูแล ทำความสะอาดทวารเทียมอย่างถูกต้อง เป็นการอบรมหลักสูตรพยาบาลขั้นสูง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 ผลปรากฏว่า มีผู้ป่วยเกิดแผลอักเสบต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลลดลงเหลือเพียง 44 ครั้งในปี 2551 จากเดิม มีผู้ป่วยเกิดแผล อักเสบถึง 64 ครั้ง ในปี 2550
น.ส.บุญชื่น กล่าวด้วยว่า ปากทวารเทียมที่มีสุขภาพดี คือจะต้องมีสีชมพู ยื่นออกมาจากหน้าท้องไม่มากหรือน้อยกว่า 2 เซนติเมตร ผิวหนังรอบๆ ปากทวาร ต้องไม่มีรอยช้ำ แผลถอก เลือดซึมออกมา ส่วนวิธีการทำความสะอาด ใช้สำลีชุบน้ำล้างผิวหนังรอบๆ ปากทวาร เช็ดเบาๆ ไม่ออกแรงมาก เพราะอาจช้ำได้ ส่วนถุงพลาสติก ควรจะมีการล้างน้ำสะอาดทุกวัน แต่ไม่ต้องเปลี่ยนถุง