เลขาฯ สปสช.ผุดไอเดียตั้งเนิร์สเซอรีดูแลคนแก่ ผู้ป่วยอัมพาต ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เตรียมประสานพื้นที่ทดลองนำร่อง หวังลดภาระครอบครัว ชี้หากรัฐสนับสนุน สปสช.พร้อมขยายสิทธิประโยชน์ดูแลสุขภาพชุมชน
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตนมีแนวคิดที่จะเสนอให้ศูนย์สุขภาพชุมชนจัดสรรพื้นที่ในการแบ่งพื้นที่ดูแลและรับฝากผู้พิการ ผู้ป่วยอัมพาต และผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในระหว่างวันทำให้สมาชิกในครอบครัวสามารถไปทำงานได้หรือ เฮลท์ เดย์ แคร์ แทน เดย์แคร์โฮม (Day Care Home) ซึ่งคล้ายกับเนิร์สเซอรีของเด็ก โดยให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ (เชียงใหม่) ประสานกับศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย ดำเนินการเป็นโครงการนำร่อง
“การที่มีผู้ป่วยอัมพาต หรือผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อยู่บ้าน ทำให้สมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา หรือลูก แทนที่จะทำงานหารายได้กลับต้องออกจากงานมาดูแล รายได้ที่เคยมีก็ค่อยๆ หมดไป ที่มีข่าวว่าลูกทิ้งพ่อ ทิ้งแม่ให้อยู่คนเดียว ในความจริงต้องคิดด้วยว่า หากลูกก็มีครอบครัวที่ต้องหาเลี้ยง แต่พ่อแม่ไม่สบายจะให้ทำอย่างไร เพราะหากออกจากงานก็คงไปไม่รอดทั้งหมด นี่ถือเป็นวิกฤตของครอบครัวที่น่าเป็นห่วง ซึ่งรัฐยังไม่มีมาตรการมารองรับเพื่อช่วยเหลือเชิงสังคม ดังนั้น หากมีพื้นที่ที่สามารถนำพ่อ หรือ แม่มาฝากไว้ โดยระบบบัตรทองเป็นผู้จ่ายค่าเลี้ยงดู ก็ไม่จำเป็นต้องออกจากงานมาดูแล ทำให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว”นพ.วินัยกล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า การดำเนินการเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย สปสช.จึงจะทำโครงการนำร่องทดลองว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ ความเป็นไปได้ในการจัดการเชิงระบบ การกำหนดงบประมาณสนับสนุนรายหัวที่เหมาะสมจะต้องใช้เท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งในอนาคตเห็นว่าเรื่องนี้สามารถเป็นไปได้ สปสช.ก็พร้อมที่จะอุดหนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารจัดการโดยเป็นการขยายสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพชุมชนเพิ่มเติม โดยที่รัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุน นอกจากนี้อาจต้องหารือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ขณะที่ สปสช.จะดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลและการส่งเสริมดูแลสุขภาพในชุมชน
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้พิการนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนอาจจัดหาพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ โดยไม่จำเป็นต้องใช้พยาบาลวิชาชีพ โดยคำนวณผู้ที่จะเข้ามารับการดูแลในชุมชนว่ามีจำนวนเท่าใดเพื่อจัดพี่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมก็สามารถดำเนินการได้แต่ต้องมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ
นพ.อำพร เอี่ยมศรี ผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เบื้องต้นได้สำรวจผู้ป่วยอัมพาต ผู้พิการทุพลภาพ ผู้อายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ เฉพาะตำบลสันทรายหลวงมีประมาณกว่า 10 คน แต่ยังไม่ได้สำรวจชุมชนทั้งหมด ซึ่งมี 3 ตำบล ซึ่งส่วนใหญ่ญาติจะเป็นผู้ดูแล หรือบางครอบครัวที่มีฐานะจะจ้างผู้ดูแลเฉพาะ ซึ่งปกติศูนย์แพทย์ชุมชนจะส่งเจ้าหน้าที่ พยาบาล นักกายภาพบำบัดเข้าไปฝึกสอนการดูแลผู้ป่วย การให้อาหารทางสายยาง การทำกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม แนวคิดการจัดสถานที่ในการดูแลคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะอาจมีความจำเป็นเพิ่มมากขึ้น หากมีผู้พิการและผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งคนเหล่านี้จะกลายเป็นภาระให้กับครอบครัว โดยจะมีการหารือกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนมีความต้องการหรือไม่ เพราะอาจต้องใช้งบสนับสนุนจากท้องถิ่นในเรื่องของสถานที่หรือขยายศูนย์การแพทย์ชุมชนสันทรายออกไปอีก ซึ่งหากเห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นและเป็นความต้องการของชุมชน การจัดตั้งสถานที่ดูแลคนกลุ่มดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้
“จริงๆ หากญาติสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีอยู่แล้วก็ดีกว่าที่จะต้องส่งผู้ป่วยมารับการดูแลจากสถานที่รับดูแล หรือเนร์สเซอรี เพราะผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตมีความเครียด หรืออาการซึมเศร้าอยู่แล้ว แต่หากครอบครัวใดที่ไม่มีผู้ดูแลจริงๆ ก็ถือว่ามีความจำเป็นและหากเป็นความต้องการของชุมชนก็จะมีความยั่งยืนมากกว่า”นพ.อำพร กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตนมีแนวคิดที่จะเสนอให้ศูนย์สุขภาพชุมชนจัดสรรพื้นที่ในการแบ่งพื้นที่ดูแลและรับฝากผู้พิการ ผู้ป่วยอัมพาต และผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในระหว่างวันทำให้สมาชิกในครอบครัวสามารถไปทำงานได้หรือ เฮลท์ เดย์ แคร์ แทน เดย์แคร์โฮม (Day Care Home) ซึ่งคล้ายกับเนิร์สเซอรีของเด็ก โดยให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ (เชียงใหม่) ประสานกับศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย ดำเนินการเป็นโครงการนำร่อง
“การที่มีผู้ป่วยอัมพาต หรือผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อยู่บ้าน ทำให้สมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา หรือลูก แทนที่จะทำงานหารายได้กลับต้องออกจากงานมาดูแล รายได้ที่เคยมีก็ค่อยๆ หมดไป ที่มีข่าวว่าลูกทิ้งพ่อ ทิ้งแม่ให้อยู่คนเดียว ในความจริงต้องคิดด้วยว่า หากลูกก็มีครอบครัวที่ต้องหาเลี้ยง แต่พ่อแม่ไม่สบายจะให้ทำอย่างไร เพราะหากออกจากงานก็คงไปไม่รอดทั้งหมด นี่ถือเป็นวิกฤตของครอบครัวที่น่าเป็นห่วง ซึ่งรัฐยังไม่มีมาตรการมารองรับเพื่อช่วยเหลือเชิงสังคม ดังนั้น หากมีพื้นที่ที่สามารถนำพ่อ หรือ แม่มาฝากไว้ โดยระบบบัตรทองเป็นผู้จ่ายค่าเลี้ยงดู ก็ไม่จำเป็นต้องออกจากงานมาดูแล ทำให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว”นพ.วินัยกล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า การดำเนินการเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย สปสช.จึงจะทำโครงการนำร่องทดลองว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ ความเป็นไปได้ในการจัดการเชิงระบบ การกำหนดงบประมาณสนับสนุนรายหัวที่เหมาะสมจะต้องใช้เท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งในอนาคตเห็นว่าเรื่องนี้สามารถเป็นไปได้ สปสช.ก็พร้อมที่จะอุดหนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารจัดการโดยเป็นการขยายสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพชุมชนเพิ่มเติม โดยที่รัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุน นอกจากนี้อาจต้องหารือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ขณะที่ สปสช.จะดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลและการส่งเสริมดูแลสุขภาพในชุมชน
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้พิการนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนอาจจัดหาพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ โดยไม่จำเป็นต้องใช้พยาบาลวิชาชีพ โดยคำนวณผู้ที่จะเข้ามารับการดูแลในชุมชนว่ามีจำนวนเท่าใดเพื่อจัดพี่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมก็สามารถดำเนินการได้แต่ต้องมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ
นพ.อำพร เอี่ยมศรี ผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เบื้องต้นได้สำรวจผู้ป่วยอัมพาต ผู้พิการทุพลภาพ ผู้อายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ เฉพาะตำบลสันทรายหลวงมีประมาณกว่า 10 คน แต่ยังไม่ได้สำรวจชุมชนทั้งหมด ซึ่งมี 3 ตำบล ซึ่งส่วนใหญ่ญาติจะเป็นผู้ดูแล หรือบางครอบครัวที่มีฐานะจะจ้างผู้ดูแลเฉพาะ ซึ่งปกติศูนย์แพทย์ชุมชนจะส่งเจ้าหน้าที่ พยาบาล นักกายภาพบำบัดเข้าไปฝึกสอนการดูแลผู้ป่วย การให้อาหารทางสายยาง การทำกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม แนวคิดการจัดสถานที่ในการดูแลคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะอาจมีความจำเป็นเพิ่มมากขึ้น หากมีผู้พิการและผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งคนเหล่านี้จะกลายเป็นภาระให้กับครอบครัว โดยจะมีการหารือกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนมีความต้องการหรือไม่ เพราะอาจต้องใช้งบสนับสนุนจากท้องถิ่นในเรื่องของสถานที่หรือขยายศูนย์การแพทย์ชุมชนสันทรายออกไปอีก ซึ่งหากเห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นและเป็นความต้องการของชุมชน การจัดตั้งสถานที่ดูแลคนกลุ่มดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้
“จริงๆ หากญาติสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีอยู่แล้วก็ดีกว่าที่จะต้องส่งผู้ป่วยมารับการดูแลจากสถานที่รับดูแล หรือเนร์สเซอรี เพราะผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตมีความเครียด หรืออาการซึมเศร้าอยู่แล้ว แต่หากครอบครัวใดที่ไม่มีผู้ดูแลจริงๆ ก็ถือว่ามีความจำเป็นและหากเป็นความต้องการของชุมชนก็จะมีความยั่งยืนมากกว่า”นพ.อำพร กล่าว