เตรียมเสนอเรื่องจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร สธ.เข้าสู่ คกก.พิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทน ก่อนส่งต่อ ครม.ของบกลางปี 54 จำนวนกว่า 6 พันล้านบาท
จากกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้จัดทำแนวทางเบื้องต้นเกี่ยวกับการปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุข (สธ.) โดยได้มอบหมายให้สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) จัดทำรายละเอียดในส่วนของค่าตอบแทนตามความขาดแคลน และชมรมแพทย์ชนบทดำเนินการในส่วนของค่าตอบแทนตามระดับพื้นที่นั้น
ล่าสุด แหล่งข่าวใน สธ.เปิดเผยว่า สพศท.ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยวัดระดับความขาดแคลนบุคลากรพิจารณาจากข้อมูล 5 ลักษณะ ประกอบด้วย 1.การขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร 2.การขาดแคลนตามความสูญเสียบุคลากร 3.การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา 4.การขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด และผลกระทบของการขาดแคลนต่อการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งแต่ละลักษณะจะแบ่งเป็น 3 ระดับแล้วนำคะแนนที่ได้มารวมกัน และจัดระดับความขาดแคลน โดยขาดแคลนระดับ 1 มีคะแนนตั้งแต่ 5-8 จ่ายในอัตราต่อเดือน คือ แพทย์ 10,000 บาท ทันตแพทย์ 5,000 บาท เภสัชกร 3,000 บาท พยาบาลวิชาชีพ 2,000 บาท และสหวิชาชีพ 1,500 บาท ระดับ 2 ตั้งแต่ 9-12 จ่ายเพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 50 และระดับ 3 ตั้งแต่ 13-15 จ่ายเพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 100
แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาความขาดแคลนตามเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จะพบว่า โรงพยาบาลในสังกัด สธ.แพทย์มีค่าความขาดแคลน ระดับ 2 ทันตแพทย์ ระดับ 2 เภสัชกร ระดับ 1 พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 2 นักเทคนิคการแพทย์ ระดับ 1 นักกายภาพบำบัด ระดับ 1 และสหวิชาชีพอื่นๆ ระดับ 1 เมื่อนำความขาดแคลนนี้มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้กับบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลประจำตำบลต่อปี แพทย์ 2,592 ล้านบาท ทันตแพทย์ 360 ล้านบาท เภสัชกร 253 ล้านบาท พยาบาล 3,168 ล้านบาท สหวิชาชีพ 62 ล้านบาท รวม 6,435 ล้านบาทต่อปี เฉพาะ รพศ.รพท. 3,297 ล้านบาท ต่อปี
แหล่งข่าวใน สธ.กล่าวต่อว่า ขั้นตอนหลังจากนี้เสนอเข้าสู่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบจ่ายค่าตอบแทนฯ พิจารณาก่อน หลังจากนั้นก็จำนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ ครม.พิจารณาอนุมัติงบกลางปี 2554 จำนวน 6,435 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนของปีงบประมาณ 2554 ให้กับบุคลากรสาธารณสุขทั้งใน รพศ. รพท. รพช.และ รพ.ตำบล
จากกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้จัดทำแนวทางเบื้องต้นเกี่ยวกับการปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุข (สธ.) โดยได้มอบหมายให้สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) จัดทำรายละเอียดในส่วนของค่าตอบแทนตามความขาดแคลน และชมรมแพทย์ชนบทดำเนินการในส่วนของค่าตอบแทนตามระดับพื้นที่นั้น
ล่าสุด แหล่งข่าวใน สธ.เปิดเผยว่า สพศท.ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยวัดระดับความขาดแคลนบุคลากรพิจารณาจากข้อมูล 5 ลักษณะ ประกอบด้วย 1.การขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร 2.การขาดแคลนตามความสูญเสียบุคลากร 3.การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา 4.การขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด และผลกระทบของการขาดแคลนต่อการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งแต่ละลักษณะจะแบ่งเป็น 3 ระดับแล้วนำคะแนนที่ได้มารวมกัน และจัดระดับความขาดแคลน โดยขาดแคลนระดับ 1 มีคะแนนตั้งแต่ 5-8 จ่ายในอัตราต่อเดือน คือ แพทย์ 10,000 บาท ทันตแพทย์ 5,000 บาท เภสัชกร 3,000 บาท พยาบาลวิชาชีพ 2,000 บาท และสหวิชาชีพ 1,500 บาท ระดับ 2 ตั้งแต่ 9-12 จ่ายเพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 50 และระดับ 3 ตั้งแต่ 13-15 จ่ายเพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 100
แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาความขาดแคลนตามเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จะพบว่า โรงพยาบาลในสังกัด สธ.แพทย์มีค่าความขาดแคลน ระดับ 2 ทันตแพทย์ ระดับ 2 เภสัชกร ระดับ 1 พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 2 นักเทคนิคการแพทย์ ระดับ 1 นักกายภาพบำบัด ระดับ 1 และสหวิชาชีพอื่นๆ ระดับ 1 เมื่อนำความขาดแคลนนี้มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้กับบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลประจำตำบลต่อปี แพทย์ 2,592 ล้านบาท ทันตแพทย์ 360 ล้านบาท เภสัชกร 253 ล้านบาท พยาบาล 3,168 ล้านบาท สหวิชาชีพ 62 ล้านบาท รวม 6,435 ล้านบาทต่อปี เฉพาะ รพศ.รพท. 3,297 ล้านบาท ต่อปี
แหล่งข่าวใน สธ.กล่าวต่อว่า ขั้นตอนหลังจากนี้เสนอเข้าสู่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบจ่ายค่าตอบแทนฯ พิจารณาก่อน หลังจากนั้นก็จำนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ ครม.พิจารณาอนุมัติงบกลางปี 2554 จำนวน 6,435 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนของปีงบประมาณ 2554 ให้กับบุคลากรสาธารณสุขทั้งใน รพศ. รพท. รพช.และ รพ.ตำบล