สธ.คลอดกรอบกำลังคนสาธารณสุข อยู่ระหว่าง ครม.พิจารณา 7.6 หมื่นตำแหน่ง
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนกรอบความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุขระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2555-2560 เพื่อแก้ปัญหาบุคลากรสาธารณสุขไม่เพียงพอ ว่า ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เห็นชอบแผนดังกล่าวแล้ว และส่งเรื่องไปยังเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยแผนดังกล่าวจะแบ่งออกเป็นวิชาชีพต่างๆ ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เกสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด รวมกรอบกำลังคนทั้งสิ้น 76,000 ตำแหน่ง แบ่งเป็นระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2555-2557 จำนวน 51,000 ตำแหน่ง และระยะยาวตั้งแต่ปี 2558-2560 อยู่ที่ 25,000 ตำแหน่ง
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาถึงความจำเป็นของแต่ละสาขาวิชาชีพ อาทิ 1.แพทย์ ความต้องการใน 5 ปีจะต้องมีแพทย์ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2,500 ประชากร คาดการณ์ว่า ในปี 2560 จะต้องมีแพทย์ 25,963 คน แต่ปัจจุบันมีแพทย์อยู่ 14,956 คน ยังขาดอีก 11,007 คน 2.ทันตแพทย์ มีความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ 8,740 ประชากร คาดการณ์ว่า ในปี 2560 ต้องมีทันตแพทย์จำนวน 7,426 คน ปัจจุบันมี 4,437 คน ยังขาด 2,989 คน 3.เภสัชกร ความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ6,200 ประชากร คาดการณ์ในปี 2560 ต้องมีเภสัชกร 7,328 คน ปัจจุบันมี 6,994 คน ยังขาดอีก 334 คน
4.พยาบาลวิชาชีพ ความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ 550 ประชากร คาดการณ์ในปี 2560 ต้องมีพยาบาลวิชาชีพ 118,013 คน ปัจจุบันมี 100,783 คน ยังขาด 17,230 คน 5.นักเทคนิคการแพทย์ ความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ 11,000 ประชากร คาดการณ์ปี 2560 ต้องมี 4,130 ปัจจุบันมี 3,135 คน ยังขาด 995 คน และ 6.นักกายภาพบำบัด มีความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ10,000 ประชากร คาดการณ์ปี 2560 ต้องมี4,543 คน ปัจจุบันมี 1,995 คน ยังขาดอีก2,548 คน
“อัตรากำลังคนถือว่าสำคัญมาก ยิ่งในระบอบสาธารณสุข ประกอบกับยิ่งใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ยิ่งเสี่ยงกับปัญหาแพทย์ไหลนอกระบบ การมีแผนรองรับจึงเป็นเรื่องดี ขณะเดียวกัน การดึงแพทย์ ยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มค่าตอบแทน เพื่อดึงแพทย์อยู่ในระบบด้วย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในภารกิจของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแพทย์ ที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งหลังจากเรื่องอัตรากำลังผ่านพ้น จะมีการพิจารณาเรื่องนี้อีก” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนกรอบความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุขระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2555-2560 เพื่อแก้ปัญหาบุคลากรสาธารณสุขไม่เพียงพอ ว่า ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เห็นชอบแผนดังกล่าวแล้ว และส่งเรื่องไปยังเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยแผนดังกล่าวจะแบ่งออกเป็นวิชาชีพต่างๆ ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เกสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด รวมกรอบกำลังคนทั้งสิ้น 76,000 ตำแหน่ง แบ่งเป็นระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2555-2557 จำนวน 51,000 ตำแหน่ง และระยะยาวตั้งแต่ปี 2558-2560 อยู่ที่ 25,000 ตำแหน่ง
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาถึงความจำเป็นของแต่ละสาขาวิชาชีพ อาทิ 1.แพทย์ ความต้องการใน 5 ปีจะต้องมีแพทย์ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2,500 ประชากร คาดการณ์ว่า ในปี 2560 จะต้องมีแพทย์ 25,963 คน แต่ปัจจุบันมีแพทย์อยู่ 14,956 คน ยังขาดอีก 11,007 คน 2.ทันตแพทย์ มีความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ 8,740 ประชากร คาดการณ์ว่า ในปี 2560 ต้องมีทันตแพทย์จำนวน 7,426 คน ปัจจุบันมี 4,437 คน ยังขาด 2,989 คน 3.เภสัชกร ความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ6,200 ประชากร คาดการณ์ในปี 2560 ต้องมีเภสัชกร 7,328 คน ปัจจุบันมี 6,994 คน ยังขาดอีก 334 คน
4.พยาบาลวิชาชีพ ความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ 550 ประชากร คาดการณ์ในปี 2560 ต้องมีพยาบาลวิชาชีพ 118,013 คน ปัจจุบันมี 100,783 คน ยังขาด 17,230 คน 5.นักเทคนิคการแพทย์ ความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ 11,000 ประชากร คาดการณ์ปี 2560 ต้องมี 4,130 ปัจจุบันมี 3,135 คน ยังขาด 995 คน และ 6.นักกายภาพบำบัด มีความต้องการในอัตราส่วน 1 ต่อ10,000 ประชากร คาดการณ์ปี 2560 ต้องมี4,543 คน ปัจจุบันมี 1,995 คน ยังขาดอีก2,548 คน
“อัตรากำลังคนถือว่าสำคัญมาก ยิ่งในระบอบสาธารณสุข ประกอบกับยิ่งใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ยิ่งเสี่ยงกับปัญหาแพทย์ไหลนอกระบบ การมีแผนรองรับจึงเป็นเรื่องดี ขณะเดียวกัน การดึงแพทย์ ยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มค่าตอบแทน เพื่อดึงแพทย์อยู่ในระบบด้วย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในภารกิจของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแพทย์ ที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งหลังจากเรื่องอัตรากำลังผ่านพ้น จะมีการพิจารณาเรื่องนี้อีก” รองปลัด สธ.กล่าว