“หมอเกษม” แนะปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต้องสร้างระบบให้ครูสอนได้ดี นักเรียนเรียนได้ดี เลิกหลักสูตรผลิตครูเป็นเอกปฐมวัย ประถมศึกษา แต่เป็นเอกตามรายวิชา เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยให้มีหลักสูตรผลิตครู 6 ปี จบแล้วเงินเดือนเท่าแพทย์ วางระบบพัฒนาครูให้เก่งขึ้นเป็น “ครูเทวดา” อย่างต่อเนื่อง จี้ผู้บริหารกำจัดการทุจริตอย่างจริงจัง กำหนดบทลงโทษให้หนักขึ้น สร้างโรงเรียนเป็นเขตปลอดฉ้อราษฎรณ์บังหลวง เพื่อให้เหลืองบฯ ลงไปที่เด็กเต็มเม็ดเต็มหน่วย วางการศึกษาที่จะสร้างอุปนิสัยให้คนไทยรักความถูกต้องชอบธรรมเป็นนิสัยติดตัว
วันนี้ (24 ธ.ค.) นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานในการเสวนาจัดเสวนาระดมความคิดเห็น เรื่อง ทิศทางเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในการเสวนา
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวว่า นิยามคำว่าปฏิรูปการศึกษาในมุมมองของตน คือ การปรับเปลี่ยนระบบและนโยบายการศึกษาของชาติ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและนอกประเทศ โดยต้องไม่ติดกรอบเรื่องระยะเวลา เนื่องจากสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราต้องเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนระบบและนโยบายการศึกษาของชาติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งประเทศจีนมีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่น่าสนใจ และปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยจีนมีนโยบายเอาการศึกษาภาคบังคับไปสู่ชาวนาชาวไร่ ไม่เน้นเฉพาะเด็กและเยาวชนเท่านั้น โดยใช้หลักสูตรสามัญศึกษาพ่วงด้วยหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชากร แต่ไทยจะพูดถึงนโยบายการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนเป็นหลัก ขณะที่จีนก็ประสบปัญหาคล้ายไทย คือ นักศึกษาอาชีวศึกษาเรียนจบแล้วทำงานไม่เป็น จีนจึงมุ่งการผลิตนักศึกษาอาชีวศึกษาให้ออกมาตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ แต่ของไทยยังติดเรื่องทำอย่างไรให้คนเข้าเรียนอาชีวศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งการอาชีวศึกษาควรต้องทำมาตรฐานกลางวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาจบออกมาเป็นช่างฝีมือที่มีคุณภาพ หากสามารถทำได้เช่นนั้นคนจะเข้ามาเรียนสายอาชีวศึกษาเอง
องคมนตรี กล่าวอีกว่า จุดแตกหักของการปฏิรูปการศึกษาในช่วงเวลา 2552-2560 คือเรื่องคุณภาพการศึกษา ที่เราต้องเพิ่มในการศึกษาทุกประเภททุกระดับ อย่างไรก็ตาม เรื่องคุณภาพการศึกษานั้น ต้องคำนึงถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และการศึกษาที่จะสร้างอุปนิสัยคนในชาติที่เราต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะนักเรียนต้องเติบโตและอยู่ในสังคมเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น เราควรกำหนดว่าเราจะสร้างนิสัยพลเมืองไทยอย่างไร คุณลักษณะเก่ง ดี มีสุขเป็นอย่างไร ตนเห็นว่าอุปนิสัยสำคัญที่เราต้องสร้างคือ การสร้างนักเรียนที่มีความดี ยึดความถูกต้องชอบธรรมเพื่อให้เป็นนิสัยที่ติดตัวคนไทย
“เรื่องสำคัญที่สุดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ ครู เราต้องหาคนที่เหมาะสมมาเป็นครู โดยหลักสูตรผลิตครูนั้น ควรยกเลิกระบบผลิตครูเอกปฐมวัย เอกประถมศึกษา แต่เปลี่ยนเป็นเอกภาษาไทย เอกคอมพิวเตอร์ตามวิชาแทน เพื่อให้มีครูที่เก่งเฉพาะวิชา ไม่ใช่ครูคนเดียวสามารถสอนทุกวิชาเหมือนอดีตที่ผ่านมา ซึ่งหลักสูตรการผลิตครูควรเรียน 6 ปีเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาที่ศึกษา จบออกมาแล้วได้รับเงินเดือนเช่นเดียวกับแพทย์ จะทำให้เราได้คนดี คนเก่งมาเป็นครู นอกจากนี้เราต้องพัฒนาครูประจำการให้ดีและเก่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นครูเทวดา แต่ระบบพัฒนาครูปัจจุบันไม่ได้ให้การพัฒนาที่เป็นเรื่องเป็นราว ครูเสียเวลากับการเขียนผลงานวิชาการขอตำแหน่งให้ตนเอง ทำให้ไม่มีเวลาสอนหนังสือ ซึ่งการพัฒนาครูก็ต้องรับฟังเสียงจากครูทั่วประเทศด้วย”ศ.นพ.เกษมกล่าว
องคมนตรี กล่าวต่อไปว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องออกแบบการศึกษาให้ครูสอนได้ดีที่สุด และนักเรียนเรียนได้ดีที่สุด ไม่ใช่ออกแบบระบบให้ผู้บริหารได้เลื่อนระดับสูงขึ้น เพื่อให้ครูมีความสุขกับการเป็นครู และเกิดการพัฒนาตนเอง หลักสูตรการสอนต้องเปลี่ยนเป็นหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ ครูต้องสอนเพื่อการเรียนรู้ของเด็กไม่ใช่เพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ที่สำคัญการจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงความทั่วถึงในการรับศึกษาของคนไทย ไม่ใช่การจัดการศึกษาให้ทั่วถึง เพราะทุกวันนี้รัฐถือว่าจัดการศึกษาให้แล้ว แต่หากจะไม่มาเรียนก็ไม่สนใจ รัฐต้องดูเรื่องความเต็มใจในการรับการศึกษา โดยให้คนไทยทุกกลุ่มทั้งในเมือง ชนบท คนทำงาน ผู้สูงอายุ และกลุ่มเด็กพิเศษ เกิดความเต็มใจที่จะรับการศึกษาด้วย
“ตนเสนอให้ผู้บริหาร ศธ.ไปดูเรื่องการศึกษาชายแดนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จย่าทรงออกแบบไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาเรื่องการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนไม่อยู่ในความคิดของผู้บริหารการศึกษาเท่าไหร่ ขอให้เปลี่ยนการดูงานต่างประเทศไปเป็นดูงานพื้นที่ชายแดนไทย เพื่อนำสิ่งที่ได้ไปพบเห็นมาปรับเรื่องการศึกษาซึ่งจะช่วยเรื่องความมั่นคงของชาติได้ดีที่สุด”
“สิ่งสำคัญ คือ เรื่องงบประมาณด้านการศึกษา ที่ผ่านมางบฯ การศึกษาที่ได้รับมามีฉ้อราษฎร์บังหลวงไปเท่าไหร่ เหลือสำหรับการพัฒนาการศึกษาเท่าไหร่ เพราะมีการกินกันทุกจุด ทำให้ระบบการศึกษาไปไม่รอด ดังนั้น ต้องพัฒนาระบบให้เป็นระบบธรรมาภิบาลปฏิบัติให้ลงไปสู่ทุกภาคส่วนของระบบการศึกษา ผมอยากให้มีป้ายทุกโรงเรียนว่าเขตปลอดการฉ้อราษฎร์บังหลวงด้วยซ้ำ และฝากผู้บริหารองค์กรหลักทั้ง 5แท่งขอให้เอาจริงกับการลงโทษครูที่ทุจริตคอร์รัปชัน หากต้องเอาออกก็ขอให้เอาออก และให้กำหนดบทลงโทษให้หนักสำหรับเรื่องนี้แล้วไปเพิ่มเรื่องคุณธรรม เพื่อให้งบประมาณลงไปถึงระบบการศึกษาอย่างแท้จริง”ศ.นพ.เกษมกล่าว
ด้าน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบสองควรมีการลงทุนการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ โดยเน้นการเท่าเทียมทางการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนมีบทบาททางการศึกษามากขึ้น ทั้งนี้ ข้อเสนอเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตนั้น ปรัชญาและแนวคิดการจัดการศึกษาต้องสมดุลกับคนส่วนใหญ่ โดยเน้นการสร้างคนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ให้มีสัมมาอาชีวะ มีความสามารถในการปรับตัว สามารถดำรงชีวิตได้ตามอัตภาพ เน้นการจัดการศึกษาให้เข้าถึงความรู้มากกว่าการจดจำเนื้อหา นอกจากให้ความสำคัญกับความเป็นไทยแล้ว การจัดการศึกษายังต้องเน้นไปที่การเป็นสังคมโลกด้วย
“การปฏิรูปรอบใหม่ควรมีปรัชญาหลักว่าเราจะมุ่งเรื่องใด ซึ่งในส่วนของผู้เรียนนั้น ควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและต้องเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งต้องเน้นการมีส่วนร่วม บทบาทครู ผู้ปกครอง ครอบครัว ท้องถิ่น และการบริหารจัดการต้องกระจายอำนาจมีอิสระในการจัดการศึกษา เข้าถึงท้องถิ่นและประชากรระดับต่างๆ ขณะเดียวกันการติดตามประเมินผลก็ต้องมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงการศึกษาในสามมิติ โดยพิจารณาว่า ปฏิรูปอะไร เพื่ออะไร และมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ใช้อะไรเป็นตัวกำหนด”ศ.ดร.ยงยุทธกล่าว
ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวอีกว่า จุดสำคัญการศึกษาต้องให้ผู้เรียนรู้เนื้อหา ไม่ใช่อ่านเป็นเขียนเป็นเท่านั้น ส่วนครูก็ต้องได้รับการเชิดชู โดยเฉพาะเรื่องรายได้ต้องเหมาะสม
การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ต้องเพิ่มในเชิงคุณภาพไม่ใช่เพิ่มเชิงปริมาณอย่างเดียว สำหรับการผลิตและพัฒนาคน สังคมไทยต้องเปลี่ยนจากการเป็นแรงงานฝีมือไปสู่การใช้สมองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รัฐต้องช่วยลดภาระการศึกษาของผู้เรียน ดังนั้น เรื่องการกู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา นอกจากนี้ ต้องสร้างคนให้ใช้เทคโนโลยีเป็น เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น
ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ผ่านมาตั้งโจทย์ผิด ดังนั้น การตั้งโจทย์ปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ต้องตั้งโจทย์ให้ถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการหากไม่ปฏิรูประบบราชการก็จะไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้ เพราะคนที่มาทำการศึกษาคือข้าราชการ ดังนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 คือ ปฏิรูประบบราชการ จะออกแบบการเรียนรู้อย่างไร การปฏิรูประบบการเงินเพื่อให้งบประมาณด้านการศึกษาลงไปถึงโรงเรียนกับเด็กอย่างแท้จริง
ที่สำคัญการศึกษาจะต้องไม่กลับไปกลับมาตามการเมือง เพราะทำให้นโยบายเรื่องการศึกษาไม่ต่อเนื่อง และควรต้องทบทวนองค์กรมหาชนต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาทำเรื่องการศึกษา เนื่องจากใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ไม่รู้ว่าเกิดผลกับคุณภาพเด็กแค่ไหน ตนขอฝากให้รัฐบาลชุดนี้นำข้อสรุปเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และพิจารณาว่าทำอย่างไรองค์กรหลักจึงจะมีขนาดเล็กลง โดยให้เอาเด็กและวิธีการเรียนการสอนเป็นตัวตั้ง
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังการเสวนาฯ ว่า จากการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ พอสรุปแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ได้ตรงกันว่า จะต้องเน้นหนักไปที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพครู ทำอย่างไรให้ได้ครูที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาครูประจำการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยให้ครูมีขวัญกำลังใจและภาคภูมิใจในการเป็นครู 2.การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ทั่วถึงไม่มีเด็กตกหล่นอยู่นอกระบบการศึกษา ซึ่งเด็กต้องได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค
และ 3.การจัดการบริหารจัดการงบประมาณให้เน้นไปที่ตัวครูและเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งหากสามารถดำเนินเรื่องดังกล่าวได้ คุณภาพการศึกษาไทยก็ดีขึ้นโดยสะท้อนผ่านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ที่สำคัญกว่าคือ เด็กต้องเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตเพื่อดูแลตนเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการคนใหม่ได้ให้ไว้ ว่าจะเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษา ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย ทั้งนี้ สกศ.จะจัดประชุมอย่างเป็นทางการร่วมกับ รมว.ศึกษาธิการ และเปิดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้เดินหน้าต่อไป
ด้าน ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมวศึกษาธิการ กล่าวว่า การปฏิรูปรอบแรกยึดหลักปฏิรูปผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายด้าน ลำพังการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างเดียวคงทำได้ไม่เต็มที่ ต้องมีการปรับการบริหารจัดการ จึงนำมาสู่การปฏิรูป 3 เรื่อง คือ โครงสร้าง ครูและบุคลากร และทรัพยากร แต่ต้องยอมรับว่าด้านครูและบุคลากรซึ่งเป็นส่วนสำคัญ แต่มีการขับเคลื่อนได้น้อย ดังนั้นตนเห็นว่าในการปฏิรูปรอบต่อไปนั้น สามารถยึดแนวทางส่วนใหญ่จากการปฏิรูปรอบแรกได้ แต่ควรมีการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญ โดยสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญคือ การแก้ปัญหาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยจะต้องยกเรื่องการพัฒนาคุณภาพเป็นพระเอกในเรื่องนี้
วันนี้ (24 ธ.ค.) นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานในการเสวนาจัดเสวนาระดมความคิดเห็น เรื่อง ทิศทางเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในการเสวนา
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวว่า นิยามคำว่าปฏิรูปการศึกษาในมุมมองของตน คือ การปรับเปลี่ยนระบบและนโยบายการศึกษาของชาติ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและนอกประเทศ โดยต้องไม่ติดกรอบเรื่องระยะเวลา เนื่องจากสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราต้องเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนระบบและนโยบายการศึกษาของชาติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งประเทศจีนมีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่น่าสนใจ และปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยจีนมีนโยบายเอาการศึกษาภาคบังคับไปสู่ชาวนาชาวไร่ ไม่เน้นเฉพาะเด็กและเยาวชนเท่านั้น โดยใช้หลักสูตรสามัญศึกษาพ่วงด้วยหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชากร แต่ไทยจะพูดถึงนโยบายการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนเป็นหลัก ขณะที่จีนก็ประสบปัญหาคล้ายไทย คือ นักศึกษาอาชีวศึกษาเรียนจบแล้วทำงานไม่เป็น จีนจึงมุ่งการผลิตนักศึกษาอาชีวศึกษาให้ออกมาตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ แต่ของไทยยังติดเรื่องทำอย่างไรให้คนเข้าเรียนอาชีวศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งการอาชีวศึกษาควรต้องทำมาตรฐานกลางวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาจบออกมาเป็นช่างฝีมือที่มีคุณภาพ หากสามารถทำได้เช่นนั้นคนจะเข้ามาเรียนสายอาชีวศึกษาเอง
องคมนตรี กล่าวอีกว่า จุดแตกหักของการปฏิรูปการศึกษาในช่วงเวลา 2552-2560 คือเรื่องคุณภาพการศึกษา ที่เราต้องเพิ่มในการศึกษาทุกประเภททุกระดับ อย่างไรก็ตาม เรื่องคุณภาพการศึกษานั้น ต้องคำนึงถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และการศึกษาที่จะสร้างอุปนิสัยคนในชาติที่เราต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะนักเรียนต้องเติบโตและอยู่ในสังคมเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น เราควรกำหนดว่าเราจะสร้างนิสัยพลเมืองไทยอย่างไร คุณลักษณะเก่ง ดี มีสุขเป็นอย่างไร ตนเห็นว่าอุปนิสัยสำคัญที่เราต้องสร้างคือ การสร้างนักเรียนที่มีความดี ยึดความถูกต้องชอบธรรมเพื่อให้เป็นนิสัยที่ติดตัวคนไทย
“เรื่องสำคัญที่สุดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ ครู เราต้องหาคนที่เหมาะสมมาเป็นครู โดยหลักสูตรผลิตครูนั้น ควรยกเลิกระบบผลิตครูเอกปฐมวัย เอกประถมศึกษา แต่เปลี่ยนเป็นเอกภาษาไทย เอกคอมพิวเตอร์ตามวิชาแทน เพื่อให้มีครูที่เก่งเฉพาะวิชา ไม่ใช่ครูคนเดียวสามารถสอนทุกวิชาเหมือนอดีตที่ผ่านมา ซึ่งหลักสูตรการผลิตครูควรเรียน 6 ปีเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาที่ศึกษา จบออกมาแล้วได้รับเงินเดือนเช่นเดียวกับแพทย์ จะทำให้เราได้คนดี คนเก่งมาเป็นครู นอกจากนี้เราต้องพัฒนาครูประจำการให้ดีและเก่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นครูเทวดา แต่ระบบพัฒนาครูปัจจุบันไม่ได้ให้การพัฒนาที่เป็นเรื่องเป็นราว ครูเสียเวลากับการเขียนผลงานวิชาการขอตำแหน่งให้ตนเอง ทำให้ไม่มีเวลาสอนหนังสือ ซึ่งการพัฒนาครูก็ต้องรับฟังเสียงจากครูทั่วประเทศด้วย”ศ.นพ.เกษมกล่าว
องคมนตรี กล่าวต่อไปว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องออกแบบการศึกษาให้ครูสอนได้ดีที่สุด และนักเรียนเรียนได้ดีที่สุด ไม่ใช่ออกแบบระบบให้ผู้บริหารได้เลื่อนระดับสูงขึ้น เพื่อให้ครูมีความสุขกับการเป็นครู และเกิดการพัฒนาตนเอง หลักสูตรการสอนต้องเปลี่ยนเป็นหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ ครูต้องสอนเพื่อการเรียนรู้ของเด็กไม่ใช่เพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ที่สำคัญการจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงความทั่วถึงในการรับศึกษาของคนไทย ไม่ใช่การจัดการศึกษาให้ทั่วถึง เพราะทุกวันนี้รัฐถือว่าจัดการศึกษาให้แล้ว แต่หากจะไม่มาเรียนก็ไม่สนใจ รัฐต้องดูเรื่องความเต็มใจในการรับการศึกษา โดยให้คนไทยทุกกลุ่มทั้งในเมือง ชนบท คนทำงาน ผู้สูงอายุ และกลุ่มเด็กพิเศษ เกิดความเต็มใจที่จะรับการศึกษาด้วย
“ตนเสนอให้ผู้บริหาร ศธ.ไปดูเรื่องการศึกษาชายแดนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จย่าทรงออกแบบไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาเรื่องการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนไม่อยู่ในความคิดของผู้บริหารการศึกษาเท่าไหร่ ขอให้เปลี่ยนการดูงานต่างประเทศไปเป็นดูงานพื้นที่ชายแดนไทย เพื่อนำสิ่งที่ได้ไปพบเห็นมาปรับเรื่องการศึกษาซึ่งจะช่วยเรื่องความมั่นคงของชาติได้ดีที่สุด”
“สิ่งสำคัญ คือ เรื่องงบประมาณด้านการศึกษา ที่ผ่านมางบฯ การศึกษาที่ได้รับมามีฉ้อราษฎร์บังหลวงไปเท่าไหร่ เหลือสำหรับการพัฒนาการศึกษาเท่าไหร่ เพราะมีการกินกันทุกจุด ทำให้ระบบการศึกษาไปไม่รอด ดังนั้น ต้องพัฒนาระบบให้เป็นระบบธรรมาภิบาลปฏิบัติให้ลงไปสู่ทุกภาคส่วนของระบบการศึกษา ผมอยากให้มีป้ายทุกโรงเรียนว่าเขตปลอดการฉ้อราษฎร์บังหลวงด้วยซ้ำ และฝากผู้บริหารองค์กรหลักทั้ง 5แท่งขอให้เอาจริงกับการลงโทษครูที่ทุจริตคอร์รัปชัน หากต้องเอาออกก็ขอให้เอาออก และให้กำหนดบทลงโทษให้หนักสำหรับเรื่องนี้แล้วไปเพิ่มเรื่องคุณธรรม เพื่อให้งบประมาณลงไปถึงระบบการศึกษาอย่างแท้จริง”ศ.นพ.เกษมกล่าว
ด้าน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบสองควรมีการลงทุนการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ โดยเน้นการเท่าเทียมทางการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนมีบทบาททางการศึกษามากขึ้น ทั้งนี้ ข้อเสนอเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตนั้น ปรัชญาและแนวคิดการจัดการศึกษาต้องสมดุลกับคนส่วนใหญ่ โดยเน้นการสร้างคนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ให้มีสัมมาอาชีวะ มีความสามารถในการปรับตัว สามารถดำรงชีวิตได้ตามอัตภาพ เน้นการจัดการศึกษาให้เข้าถึงความรู้มากกว่าการจดจำเนื้อหา นอกจากให้ความสำคัญกับความเป็นไทยแล้ว การจัดการศึกษายังต้องเน้นไปที่การเป็นสังคมโลกด้วย
“การปฏิรูปรอบใหม่ควรมีปรัชญาหลักว่าเราจะมุ่งเรื่องใด ซึ่งในส่วนของผู้เรียนนั้น ควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและต้องเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งต้องเน้นการมีส่วนร่วม บทบาทครู ผู้ปกครอง ครอบครัว ท้องถิ่น และการบริหารจัดการต้องกระจายอำนาจมีอิสระในการจัดการศึกษา เข้าถึงท้องถิ่นและประชากรระดับต่างๆ ขณะเดียวกันการติดตามประเมินผลก็ต้องมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงการศึกษาในสามมิติ โดยพิจารณาว่า ปฏิรูปอะไร เพื่ออะไร และมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ใช้อะไรเป็นตัวกำหนด”ศ.ดร.ยงยุทธกล่าว
ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวอีกว่า จุดสำคัญการศึกษาต้องให้ผู้เรียนรู้เนื้อหา ไม่ใช่อ่านเป็นเขียนเป็นเท่านั้น ส่วนครูก็ต้องได้รับการเชิดชู โดยเฉพาะเรื่องรายได้ต้องเหมาะสม
การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ต้องเพิ่มในเชิงคุณภาพไม่ใช่เพิ่มเชิงปริมาณอย่างเดียว สำหรับการผลิตและพัฒนาคน สังคมไทยต้องเปลี่ยนจากการเป็นแรงงานฝีมือไปสู่การใช้สมองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รัฐต้องช่วยลดภาระการศึกษาของผู้เรียน ดังนั้น เรื่องการกู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา นอกจากนี้ ต้องสร้างคนให้ใช้เทคโนโลยีเป็น เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น
ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ผ่านมาตั้งโจทย์ผิด ดังนั้น การตั้งโจทย์ปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ต้องตั้งโจทย์ให้ถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการหากไม่ปฏิรูประบบราชการก็จะไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้ เพราะคนที่มาทำการศึกษาคือข้าราชการ ดังนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 คือ ปฏิรูประบบราชการ จะออกแบบการเรียนรู้อย่างไร การปฏิรูประบบการเงินเพื่อให้งบประมาณด้านการศึกษาลงไปถึงโรงเรียนกับเด็กอย่างแท้จริง
ที่สำคัญการศึกษาจะต้องไม่กลับไปกลับมาตามการเมือง เพราะทำให้นโยบายเรื่องการศึกษาไม่ต่อเนื่อง และควรต้องทบทวนองค์กรมหาชนต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาทำเรื่องการศึกษา เนื่องจากใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ไม่รู้ว่าเกิดผลกับคุณภาพเด็กแค่ไหน ตนขอฝากให้รัฐบาลชุดนี้นำข้อสรุปเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และพิจารณาว่าทำอย่างไรองค์กรหลักจึงจะมีขนาดเล็กลง โดยให้เอาเด็กและวิธีการเรียนการสอนเป็นตัวตั้ง
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังการเสวนาฯ ว่า จากการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ พอสรุปแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ได้ตรงกันว่า จะต้องเน้นหนักไปที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพครู ทำอย่างไรให้ได้ครูที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาครูประจำการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยให้ครูมีขวัญกำลังใจและภาคภูมิใจในการเป็นครู 2.การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ทั่วถึงไม่มีเด็กตกหล่นอยู่นอกระบบการศึกษา ซึ่งเด็กต้องได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค
และ 3.การจัดการบริหารจัดการงบประมาณให้เน้นไปที่ตัวครูและเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งหากสามารถดำเนินเรื่องดังกล่าวได้ คุณภาพการศึกษาไทยก็ดีขึ้นโดยสะท้อนผ่านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ที่สำคัญกว่าคือ เด็กต้องเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตเพื่อดูแลตนเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการคนใหม่ได้ให้ไว้ ว่าจะเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษา ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย ทั้งนี้ สกศ.จะจัดประชุมอย่างเป็นทางการร่วมกับ รมว.ศึกษาธิการ และเปิดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้เดินหน้าต่อไป
ด้าน ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมวศึกษาธิการ กล่าวว่า การปฏิรูปรอบแรกยึดหลักปฏิรูปผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายด้าน ลำพังการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างเดียวคงทำได้ไม่เต็มที่ ต้องมีการปรับการบริหารจัดการ จึงนำมาสู่การปฏิรูป 3 เรื่อง คือ โครงสร้าง ครูและบุคลากร และทรัพยากร แต่ต้องยอมรับว่าด้านครูและบุคลากรซึ่งเป็นส่วนสำคัญ แต่มีการขับเคลื่อนได้น้อย ดังนั้นตนเห็นว่าในการปฏิรูปรอบต่อไปนั้น สามารถยึดแนวทางส่วนใหญ่จากการปฏิรูปรอบแรกได้ แต่ควรมีการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญ โดยสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญคือ การแก้ปัญหาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยจะต้องยกเรื่องการพัฒนาคุณภาพเป็นพระเอกในเรื่องนี้