อบต.-เทศบาล ขานรับตั้งกองทุนสุขภาพชุมชนดูแลคนแก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนพิการ กว่า 20 ล้านคน ร่วมมือกับสถานีอนามัย และ รพ.ในพื้นที่ ตั้งเป้าเข้าสู่ปีที่ 4 ในปี 52 มีท้องถิ่นเข้าร่วมกว่าพันแห่ง เพิ่มกองทุนสุขภาพชุมชนเกือบ 4 พันแห่ง
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คอยเป็นพี่เลี้ยง โดยในหลายพื้นที่สามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข และ สปสช.สนับสนุน อปท.ในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และคนพิการในรูปแบบของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น หรือกองทุนสุขภาพชุมชน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 โดยจัดสรรงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นรายปี ตามจำนวนประชากรในอัตรา 37.50 บาท/คน และมีเงินสมทบจาก อบต./เทศบาลนั้นๆ ในอัตราไม่น้อยกว่า 10-50% รวมถึงเงินสมทบจากชุมชนด้วย
“จากการดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันซึ่งกำลังจะก้าวสู่ปีที่ 4 นั้น มี อบต.และเทศบาลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ 2,692 แห่ง ครอบคลุมประชากรกว่า 20 ล้านคน สปสช.สมทบงบประมาณ 753 ล้านบาท ขณะที่ อบต./เทศบาลสมทบ 69 ล้านบาท และในปี 2552 ตั้งเป้าขยายเพิ่มอีก 1,243 แห่ง ซึ่งจะส่งผลให้มีกองทุนสุขภาพชุมชนจำนวน 3,935 แห่ง โดยที่ สปสช.มีการพัฒนาศักยภาพ การร่วมจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนในพื้นที่เพื่อดำเนินการ ซึ่งจะมีทั้งสถานีอนามัยและโรงพยาบาลในพื้นที่เข้าร่วม”รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
นายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายนี้ทำให้ อปท.มีความตื่นตัว สนใจการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ภูมิใจที่ได้เป็นกรณีนำร่อง เห็นว่า เป็นการพัฒนาแนวทางการทำงานใหม่ของ อปท.ที่เน้นคุณภาพชีวิตของประชาชน บางแห่งยังต้องการขยายการทำงาน เช่น การจัดสวัสดิการภาคประชาชน เมื่อเจ็บป่วยให้การช่วยเหลือ การให้มีแพทย์มาประจำสถานีอนามัย การให้บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน มีนวัตกรรมการบริหารจัดการในท้องถิ่นเกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น การทำสมุดบันทึกสุขภาพของประชาชน การริเริ่มให้มีแพทย์/ทันตแพทย์ มาให้บริการที่สถานีอนามัยตามวันเวลาที่กำหนด การมีรถพยาบาลเพื่อการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การทำให้ชุมชนปลอดจากการจำหน่ายสุรา มีการจัดทำข้อมูลชุมชน แผนสุขภาพชุมชน การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรค เรื้อรัง และคนพิการในชุมชน การป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ วัณโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คอยเป็นพี่เลี้ยง โดยในหลายพื้นที่สามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข และ สปสช.สนับสนุน อปท.ในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และคนพิการในรูปแบบของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น หรือกองทุนสุขภาพชุมชน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 โดยจัดสรรงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นรายปี ตามจำนวนประชากรในอัตรา 37.50 บาท/คน และมีเงินสมทบจาก อบต./เทศบาลนั้นๆ ในอัตราไม่น้อยกว่า 10-50% รวมถึงเงินสมทบจากชุมชนด้วย
“จากการดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันซึ่งกำลังจะก้าวสู่ปีที่ 4 นั้น มี อบต.และเทศบาลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ 2,692 แห่ง ครอบคลุมประชากรกว่า 20 ล้านคน สปสช.สมทบงบประมาณ 753 ล้านบาท ขณะที่ อบต./เทศบาลสมทบ 69 ล้านบาท และในปี 2552 ตั้งเป้าขยายเพิ่มอีก 1,243 แห่ง ซึ่งจะส่งผลให้มีกองทุนสุขภาพชุมชนจำนวน 3,935 แห่ง โดยที่ สปสช.มีการพัฒนาศักยภาพ การร่วมจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนในพื้นที่เพื่อดำเนินการ ซึ่งจะมีทั้งสถานีอนามัยและโรงพยาบาลในพื้นที่เข้าร่วม”รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
นายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายนี้ทำให้ อปท.มีความตื่นตัว สนใจการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ภูมิใจที่ได้เป็นกรณีนำร่อง เห็นว่า เป็นการพัฒนาแนวทางการทำงานใหม่ของ อปท.ที่เน้นคุณภาพชีวิตของประชาชน บางแห่งยังต้องการขยายการทำงาน เช่น การจัดสวัสดิการภาคประชาชน เมื่อเจ็บป่วยให้การช่วยเหลือ การให้มีแพทย์มาประจำสถานีอนามัย การให้บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน มีนวัตกรรมการบริหารจัดการในท้องถิ่นเกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น การทำสมุดบันทึกสุขภาพของประชาชน การริเริ่มให้มีแพทย์/ทันตแพทย์ มาให้บริการที่สถานีอนามัยตามวันเวลาที่กำหนด การมีรถพยาบาลเพื่อการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การทำให้ชุมชนปลอดจากการจำหน่ายสุรา มีการจัดทำข้อมูลชุมชน แผนสุขภาพชุมชน การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรค เรื้อรัง และคนพิการในชุมชน การป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ วัณโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน