สกศ.ชี้ สวีเดนมีระบบคุณภาพการศึกษาสูง เผย มีศูนย์เรียนเสริมสำหรับผู้เรียนอ่อนฟรีก่อน-หลังเลิกเรียน ลดค่าใช้จ่ายเรียนกวดวิชา เผยเตรียมสรุปผลรายงานเสนอ ศธ.เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาไทย
นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาสกศ.) เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดทำเรื่อง “ระบบการศึกษาของราชอาณาจักรสวีเดน” ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตนเองจากประเทศเกษตรกรรม มาเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ รวมทั้งมีคุณภาพระบบการศึกษาสูง โดยสวีเดนมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถม จนถึงอุดมศึกษา มีทั้งการจัดการศึกษาในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาตามปกติแบบเต็มเวลา และการศึกษาทางไกลที่จัดการศึกษาพิเศษสำหรับผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ และร่างกาย ชนกลุ่มน้อย และคนเข้าเมือง โดยงบประมาณการจัดการศึกษาส่วนใหญ่มาจากเทศบาล และรัฐบาลกลาง เก็บค่าเล่าเรียนจากผู้เรียนเพียงบางส่วนเท่านั้น และให้เบี้ยเลี้ยงแก่เด็กทุกคน รวมถึงให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ใหญ่ที่ต้องการเรียน โดยรัฐสภาและรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบทางการศึกษา มีกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยเป็นหัวเรือใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ประเมิน ติดตาม และกำกับการจัดการศึกษา หากโรงเรียนมีปัญหาก็จะมีหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือและทำหน้าที่ปรับปรุงการศึกษา ขณะที่ระดับอุดมศึกษาจะมีหน่วยงานกลางเข้าไปประเมินรายวิชา และโปรแกรมวิชา รวมถึงควบคุมงบ ให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบุคลากรตรงตามนโยบายการพัฒนาประเทศอีกด้วย
“สิ่งที่แตกต่าง คือ สวีเดนมีศูนย์การศึกษาให้นักเรียนไปเรียนเสริมในวิชาที่ยังมีปัญหา จัดเวลาก่อน-หลังเลิกเรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าไทยจัดหรืออนุญาตให้จัดศูนย์การศึกษาลักษณะนี้ขึ้น เพื่อติวเฉพาะผู้ที่เรียนอ่อน และโรงเรียนเสนอแนะไป เชื่อว่า จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองจากการกวดวิชาลงได้จำนวนมาก ขณะที่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูของสวีเดนไม่ได้กำหนดเป็นกฎหมาย หรือระเบียบของกระทรวงศึกษาฯ แต่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูในภาพรวมใกล้เคียงกัน คือ นักเรียน 12.35 คนต่อครู 1 คน ยกเว้นในโรงเรียนที่อยู่ในท้องที่ห่างไกล ที่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูมีประมาณครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั่วไป”
นายธงทอง กล่าวอีกว่า ระบบอุดมศึกษาสวีเดน ได้ปรับเข้าระบบการศึกษาของประชาคมยุโรป ทำให้เกิดการเลื่อนไหลของครู นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น ชาวสวีเดนหางานทำนอกประเทศได้มากขึ้น และสามารถแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในระดับโลกได้สูงขึ้นด้วย
ที่สำคัญ ยังได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยค่อนข้างมาก ประสานงานกับสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด โดยการจัดการศึกษาทุกระดับ และวางแผนล่วงหน้าอย่างดี มุ่งความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ทำให้ประชากรของสวีเดนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างมาก ทั้งนี้ สกศ.จะสรุปผลจากรายงานเสนอผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยต่อไป
นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาสกศ.) เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดทำเรื่อง “ระบบการศึกษาของราชอาณาจักรสวีเดน” ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตนเองจากประเทศเกษตรกรรม มาเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ รวมทั้งมีคุณภาพระบบการศึกษาสูง โดยสวีเดนมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถม จนถึงอุดมศึกษา มีทั้งการจัดการศึกษาในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาตามปกติแบบเต็มเวลา และการศึกษาทางไกลที่จัดการศึกษาพิเศษสำหรับผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ และร่างกาย ชนกลุ่มน้อย และคนเข้าเมือง โดยงบประมาณการจัดการศึกษาส่วนใหญ่มาจากเทศบาล และรัฐบาลกลาง เก็บค่าเล่าเรียนจากผู้เรียนเพียงบางส่วนเท่านั้น และให้เบี้ยเลี้ยงแก่เด็กทุกคน รวมถึงให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ใหญ่ที่ต้องการเรียน โดยรัฐสภาและรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบทางการศึกษา มีกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยเป็นหัวเรือใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ประเมิน ติดตาม และกำกับการจัดการศึกษา หากโรงเรียนมีปัญหาก็จะมีหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือและทำหน้าที่ปรับปรุงการศึกษา ขณะที่ระดับอุดมศึกษาจะมีหน่วยงานกลางเข้าไปประเมินรายวิชา และโปรแกรมวิชา รวมถึงควบคุมงบ ให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบุคลากรตรงตามนโยบายการพัฒนาประเทศอีกด้วย
“สิ่งที่แตกต่าง คือ สวีเดนมีศูนย์การศึกษาให้นักเรียนไปเรียนเสริมในวิชาที่ยังมีปัญหา จัดเวลาก่อน-หลังเลิกเรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าไทยจัดหรืออนุญาตให้จัดศูนย์การศึกษาลักษณะนี้ขึ้น เพื่อติวเฉพาะผู้ที่เรียนอ่อน และโรงเรียนเสนอแนะไป เชื่อว่า จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองจากการกวดวิชาลงได้จำนวนมาก ขณะที่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูของสวีเดนไม่ได้กำหนดเป็นกฎหมาย หรือระเบียบของกระทรวงศึกษาฯ แต่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูในภาพรวมใกล้เคียงกัน คือ นักเรียน 12.35 คนต่อครู 1 คน ยกเว้นในโรงเรียนที่อยู่ในท้องที่ห่างไกล ที่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูมีประมาณครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั่วไป”
นายธงทอง กล่าวอีกว่า ระบบอุดมศึกษาสวีเดน ได้ปรับเข้าระบบการศึกษาของประชาคมยุโรป ทำให้เกิดการเลื่อนไหลของครู นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น ชาวสวีเดนหางานทำนอกประเทศได้มากขึ้น และสามารถแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในระดับโลกได้สูงขึ้นด้วย
ที่สำคัญ ยังได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยค่อนข้างมาก ประสานงานกับสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด โดยการจัดการศึกษาทุกระดับ และวางแผนล่วงหน้าอย่างดี มุ่งความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ทำให้ประชากรของสวีเดนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างมาก ทั้งนี้ สกศ.จะสรุปผลจากรายงานเสนอผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยต่อไป