ตะลึง!! ผลสำรวจ 50 โรงเรียนทั่วกรุงพบ แหล่งอบายมุขล้อมรอบ 34 ร.ร.ดังเข้าข่ายโซนอันตราย ร้านเหล้าปั่น ร้านเกม คาราโอเกะ อาบอบนวดอยู่ใกล้แค่เดินถึง ยิ่งดังยิ่งแน่น ร.ร.สายน้ำทิพย์-สตรีวิทยา 2-สายน้ำผึ้ง-เทพลีลา ติดอันดับแวดล้อมด้วยแหล่งอบาย เครือข่ายเยาวชนร้องผู้ใหญ่จัดการ วอนผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมหนุนเยาวชนแสดงออกทางสร้างสรรค์เพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่
วันนี้ (18 ก.ย.) ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ เครือข่ายเยาวชนเพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมแถลงข่าว “ผลสำรวจแหล่งมอมเมารอบรัศมี 500 เมตรที่โรงเรียน 50 แห่งในเขต กทม.”
โดย นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล หัวหน้าผู้สำรวจข้อมูล เปิดเผยว่า การสำรวจในครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2- 12 ก.ย. 51 ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจพบว่า มีแหล่งมอมเมา ยั่วยุเยาวชนอยู่ใกล้สถานศึกษาทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านอินเทอร์เน็ตประเภทเกมซึ่งขายเหล้าพ่วงด้วย ร้านชำหรือมินิมาร์ทที่เปิดขายเหล้า บุหรี่ และร้านคาราโอเกะ ทั้งนี้ การสำรวจสามารถแบ่งกลุ่มโรงเรียนเป็น 3 โซน คือ Red Zone จะเป็นกลุ่มโรงเรียนที่มีร้านเหล้า ผับ บาร์ อาบอบนวด ร้านเกมในรัศมีไม่เกิน 200 เมตร และตั้งอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนดังที่ได้รับความนิยม Yellow Zone เป็นกลุ่มโรงเรียนขนาดกลางที่มีสถานที่อบายมุขหนาแน่นรองลงมา และอยู่ในรัศมี 200-500 เมตร สุดท้าย คือ กลุ่ม Green Zone ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก หรือเป็นโรงเรียนพิเศษ (สอนคนพิการ) ซึ่งมิใช่เป้าหมายของผู้ประกอบการ
น.ส.มณทิพย์ หลินธารา นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.ศึกษานารี เยาวชนอาสาสมัคร Youth Ranger เผยสถิติจากการสำรวจว่า มีร้านขายเหล้าในรัศมี 500 เมตร 34 แห่งหรือ 68% มีร้านเกมในรัศมี 500 เมตร 31 แห่ง หรือ 62% พบแผ่นโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้โรงเรียน 24 แห่ง หรือ 48% มีร้านชำที่ขายเหล้า บุหรี่ให้นักเรียน 29 แห่ง คิดเป็น 58% ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มโรงเรียน 50 แห่งในเขต กทม. นอกจากนี้ยังได้จัดอันดับโรงเรียนที่มีแหล่งมอมเมามากที่สุด 5 แห่ง คือ โรงเรียนสายน้ำทิพย์ 27 แห่ง โรงเรียนศรีอยุธยา 15 แห่ง โรงเรียนสตรีวิทยา 2 มี 12 แห่ง โรงเรียนบ้านหนองบอนและเทพลีลามี 7 แห่ง และโรงเรียนสายน้ำผึ้ง 6 แห่ง
“ส่วนใหญ่โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่ม Red Zone มีทั้งร้านเหล้าปั่น ยาดอง มีป้ายโฆษณาเหล้าที่เราพบใกล้สุดเพียง 1 เมตรเท่านั้นที่ห่างจากโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีอาบอบนวดที่อยู่ใกล้โรงเรียนมากด้วย และโดยส่วนใหญ่รายชื่อของกลุ่มนี้จะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ดัง ได้รับความนิยม เรียกว่ายิ่งดังยิ่งมีร้านเหล้ามากซึ่งมีจำนวน 34 แห่ง ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนหอวัง สายน้ำทิพย์ สายน้ำผึ้ง มัธยมดุสิตาราม เป็นต้น” น.ส.มณทิพย์ กล่าว
ด้าน นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า กรณีการขึ้นป้ายโฆษณาเหล้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา 32 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และในวรรค 2 ระบุว่า ห้ามให้เห็นขวด ผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากพบเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ทันที และนอกจากนี้หากนักเรียนพบเห็นโฆษณาดังกล่าวอยู่ใกล้บริเวณโรงเรียนก็สามารถแจ้งให้อาจารย์ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการได้
“การหวังจิตสำนึกจากผู้ผลิต หรือร้านเหล้าคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าเหล่านี้ต้องให้กฎหมายจัดการ ซึ่งร้านเหล้าปั่นที่ใกล้โรงเรียนมากๆ นั้นน่าเป็นห่วงเพราะมีจำนวนมาก และแนวโน้มจะมีมากขึ้น ดังนั้น ทางโรงเรียนต้องเร่งตรวจสอบและร้านที่กำลังอยู่ในขั้นการขอใบอนุญาต กระทรวงศึกษาธิการต้องประสานไปที่กระทรวงการคลังเพื่อไม่ออกใบอนุญาตให้ขายสุราง่ายๆ โดยต้องไม่ต่อใบขออนุญาตให้ร้านค้าที่อยู่ใกล้โรงเรียนมากกว่า 500 เมตร” นายสงกรานต์ กล่าว
ในงานเดียวกัน นายประจักษ์ จงเยือกกลาง ตัวแทนเครือข่ายเยาวชนเพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ได้ยื่นสารจากเยาวชนเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ (20 ก.ย.) เรื่อง สภาวะมอมเมาเยาวชนรอบสถานศึกษา กับ นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ ที่ปรึกษาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยคำร้องขอจากเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันมิให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ มีทั้งสิ้น 5 ข้อ ได้แก่ 1.ขอให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ 2.ให้สังคมเปิดพื้นที่ให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้มีโอกาสแสดงออก 3.สนับสนุนงบประมาณให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรที่สร้างสรรค์ 4.เรียกร้องให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน และ 5.ให้กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายโรงเรียนปลอดเหล้า 100 เปอร์เซ็นต์
นายสุชาติ กล่าวว่า ตามที่เยาวชนได้เรียกร้องนั้นขณะนี้ สพฐ.ได้ตระหนักและคำนึงเรื่องสุราและแหล่งอบายมุขใกล้สถานศึกษาอยู่แล้ว ในบางโครงการที่ตรงกับข้อเรียกร้องกำลังผลักดันขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมและทำการขยายผลให้มากขึ้น โดยสิ่งที่ทำไปบ้างแล้วก็คือ การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดให้โทษกับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเป็นนักดื่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละบุคคล แต่ สพฐ.ก็เห็นด้วยกับเยาวชนที่ว่าให้เปิดพื้นที่ให้เยาวชนแสดงออก โดยเห็นได้ชัดว่าสังคมขณะนี้หลายองค์กรให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าว
“จากสถิติของ สพฐ.พบว่า นักเรียนในการดูแล 6-7 ล้านคนทั่วประเทศ มีที่สูบบุหรี่และกินเหล้า 2.04 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นหน้าที่ของ สพฐ.ที่กำลังเฝ้าระวัง ซึ่งขณะนี้ก็มีการจัดกิจกรรมและเปิดเวทีให้เด็กนักเรียนได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์” ที่ปรึกษา สพฐ.กล่าว
วันนี้ (18 ก.ย.) ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ เครือข่ายเยาวชนเพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมแถลงข่าว “ผลสำรวจแหล่งมอมเมารอบรัศมี 500 เมตรที่โรงเรียน 50 แห่งในเขต กทม.”
โดย นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล หัวหน้าผู้สำรวจข้อมูล เปิดเผยว่า การสำรวจในครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2- 12 ก.ย. 51 ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจพบว่า มีแหล่งมอมเมา ยั่วยุเยาวชนอยู่ใกล้สถานศึกษาทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านอินเทอร์เน็ตประเภทเกมซึ่งขายเหล้าพ่วงด้วย ร้านชำหรือมินิมาร์ทที่เปิดขายเหล้า บุหรี่ และร้านคาราโอเกะ ทั้งนี้ การสำรวจสามารถแบ่งกลุ่มโรงเรียนเป็น 3 โซน คือ Red Zone จะเป็นกลุ่มโรงเรียนที่มีร้านเหล้า ผับ บาร์ อาบอบนวด ร้านเกมในรัศมีไม่เกิน 200 เมตร และตั้งอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนดังที่ได้รับความนิยม Yellow Zone เป็นกลุ่มโรงเรียนขนาดกลางที่มีสถานที่อบายมุขหนาแน่นรองลงมา และอยู่ในรัศมี 200-500 เมตร สุดท้าย คือ กลุ่ม Green Zone ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก หรือเป็นโรงเรียนพิเศษ (สอนคนพิการ) ซึ่งมิใช่เป้าหมายของผู้ประกอบการ
น.ส.มณทิพย์ หลินธารา นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.ศึกษานารี เยาวชนอาสาสมัคร Youth Ranger เผยสถิติจากการสำรวจว่า มีร้านขายเหล้าในรัศมี 500 เมตร 34 แห่งหรือ 68% มีร้านเกมในรัศมี 500 เมตร 31 แห่ง หรือ 62% พบแผ่นโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้โรงเรียน 24 แห่ง หรือ 48% มีร้านชำที่ขายเหล้า บุหรี่ให้นักเรียน 29 แห่ง คิดเป็น 58% ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มโรงเรียน 50 แห่งในเขต กทม. นอกจากนี้ยังได้จัดอันดับโรงเรียนที่มีแหล่งมอมเมามากที่สุด 5 แห่ง คือ โรงเรียนสายน้ำทิพย์ 27 แห่ง โรงเรียนศรีอยุธยา 15 แห่ง โรงเรียนสตรีวิทยา 2 มี 12 แห่ง โรงเรียนบ้านหนองบอนและเทพลีลามี 7 แห่ง และโรงเรียนสายน้ำผึ้ง 6 แห่ง
“ส่วนใหญ่โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่ม Red Zone มีทั้งร้านเหล้าปั่น ยาดอง มีป้ายโฆษณาเหล้าที่เราพบใกล้สุดเพียง 1 เมตรเท่านั้นที่ห่างจากโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีอาบอบนวดที่อยู่ใกล้โรงเรียนมากด้วย และโดยส่วนใหญ่รายชื่อของกลุ่มนี้จะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ดัง ได้รับความนิยม เรียกว่ายิ่งดังยิ่งมีร้านเหล้ามากซึ่งมีจำนวน 34 แห่ง ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนหอวัง สายน้ำทิพย์ สายน้ำผึ้ง มัธยมดุสิตาราม เป็นต้น” น.ส.มณทิพย์ กล่าว
ด้าน นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า กรณีการขึ้นป้ายโฆษณาเหล้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา 32 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และในวรรค 2 ระบุว่า ห้ามให้เห็นขวด ผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากพบเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ทันที และนอกจากนี้หากนักเรียนพบเห็นโฆษณาดังกล่าวอยู่ใกล้บริเวณโรงเรียนก็สามารถแจ้งให้อาจารย์ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการได้
“การหวังจิตสำนึกจากผู้ผลิต หรือร้านเหล้าคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าเหล่านี้ต้องให้กฎหมายจัดการ ซึ่งร้านเหล้าปั่นที่ใกล้โรงเรียนมากๆ นั้นน่าเป็นห่วงเพราะมีจำนวนมาก และแนวโน้มจะมีมากขึ้น ดังนั้น ทางโรงเรียนต้องเร่งตรวจสอบและร้านที่กำลังอยู่ในขั้นการขอใบอนุญาต กระทรวงศึกษาธิการต้องประสานไปที่กระทรวงการคลังเพื่อไม่ออกใบอนุญาตให้ขายสุราง่ายๆ โดยต้องไม่ต่อใบขออนุญาตให้ร้านค้าที่อยู่ใกล้โรงเรียนมากกว่า 500 เมตร” นายสงกรานต์ กล่าว
ในงานเดียวกัน นายประจักษ์ จงเยือกกลาง ตัวแทนเครือข่ายเยาวชนเพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ได้ยื่นสารจากเยาวชนเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ (20 ก.ย.) เรื่อง สภาวะมอมเมาเยาวชนรอบสถานศึกษา กับ นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ ที่ปรึกษาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยคำร้องขอจากเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันมิให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ มีทั้งสิ้น 5 ข้อ ได้แก่ 1.ขอให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ 2.ให้สังคมเปิดพื้นที่ให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้มีโอกาสแสดงออก 3.สนับสนุนงบประมาณให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรที่สร้างสรรค์ 4.เรียกร้องให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน และ 5.ให้กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายโรงเรียนปลอดเหล้า 100 เปอร์เซ็นต์
นายสุชาติ กล่าวว่า ตามที่เยาวชนได้เรียกร้องนั้นขณะนี้ สพฐ.ได้ตระหนักและคำนึงเรื่องสุราและแหล่งอบายมุขใกล้สถานศึกษาอยู่แล้ว ในบางโครงการที่ตรงกับข้อเรียกร้องกำลังผลักดันขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมและทำการขยายผลให้มากขึ้น โดยสิ่งที่ทำไปบ้างแล้วก็คือ การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดให้โทษกับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเป็นนักดื่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละบุคคล แต่ สพฐ.ก็เห็นด้วยกับเยาวชนที่ว่าให้เปิดพื้นที่ให้เยาวชนแสดงออก โดยเห็นได้ชัดว่าสังคมขณะนี้หลายองค์กรให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าว
“จากสถิติของ สพฐ.พบว่า นักเรียนในการดูแล 6-7 ล้านคนทั่วประเทศ มีที่สูบบุหรี่และกินเหล้า 2.04 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นหน้าที่ของ สพฐ.ที่กำลังเฝ้าระวัง ซึ่งขณะนี้ก็มีการจัดกิจกรรมและเปิดเวทีให้เด็กนักเรียนได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์” ที่ปรึกษา สพฐ.กล่าว