เครือข่ายต้านเหล้าฯ ฉุน “เบียร์สิงห์” เล่นกล ปลดป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่ต่างจังหวัดยังโชว์หรา ถามหาจริยธรรมมีไหม ลั่นจะสู้ถึงที่สุด ต้องแก้ไขทั้งประเทศ เผยมีไม้เด็ดจัดการทุกบริษัทที่แหกกฎหมาย ด้าน สธ. ฟัน “เบียร์สิงห์” ผิดจริง โทษคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 5 แสน แถมปรับรายวันอีกวันละ 5 หมื่น
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตามที่เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือถึงบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้แก้ไขป้ายโฆษณาเบียร์สิงห์ ระหว่างทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ ใกล้ด่านเก็บค่าผ่านทางทับช้าง ที่ผิดกฎหมาย เพราะแสดงภาพบางส่วนของบรรจุภัณฑ์ จากการตรวจสอบพบบริษัท สิงห์ ได้ปลดป้ายดังกล่าวลงแล้วเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่น่าเสียใจคือป้ายโฆษณาอื่นๆ ของบริษัทสิงห์ฯ ที่ผิดกฎหมายในลักษณะเดียวกัน อาทิ บริเวณ ถ.เชียงใหม่-หางดง จ.เชียงใหม่ ยังคงติดตั้งอยู่เช่นเดิม ไม่มีการแก้ไขใดๆ ขณะเดียวกันยังมีการลงโฆษณาแสดงภาพขวดเบียร์ในลักษณะตัดหัวตัดท้าย ปรากฎอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ด้วย
“การกระทำของบริษัท สิงห์ ถือเป็นการจงใจท้าทายกฎหมายอย่างรุนแรง ยอมแก้ไขเฉพาะความผิดซึ่งหน้าที่มีคนไปร้องเรียน แต่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่แก้ไขจุดอื่น ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าผิดกฎหมายเหมือนกัน เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องหาจริยธรรมของบริษัทสิงห์ฯ ให้แก้ไขป้ายโฆษณาที่ฝ่าฝืนทั่วทั้งประเทศ อย่าประมาทพลังภาคประชาชน พวกเรายืนยันที่จะเกาะติดเรื่องนี้ และจะมีมาตราการทางสังคม รวมถึงดำเนินคดีกับทุกบริษัทที่ฝ่าฝืนกฎหมาย การบุกไปร้องเรียนที่หน้าบริษัท สิงห์ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น” นายคำรณ กล่าว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ป้ายโฆษณาเบียร์สิงห์ ของบริษัทสิงห์ฯ ที่แสดงบางส่วนของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะลงในสื่อใดก็ตามผิดกฎหมายทั้งสิ้น ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 32 ที่ระบุว่า ห้ามแสดงรูปผลิตภัณฑ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษปรับอีกวันละ 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
“ความจริงเรื่องการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า แบบใดทำได้แบบใดทำไม่ได้ กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงมาตลอด ตั้งแต่ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ จนตอนนี้บังคับมา 8 เดือนแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสงสัย สำนักงานคณะกรรมการจะทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ยืนยันว่า ป้ายโฆษณาที่มีการแสดงภาพบางส่วนของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะติดตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม ผิดแน่นอนตามกฎหมาย พร้อมทั้งให้รายละเอียดเรื่องการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งไปถึงบริษัทสิงห์ฯ ด้วย และฝากเตือนไปถึงบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวอีกว่า กฎหมายระบุชัดว่า ห้ามมีภาพของสินค้าหรือภาพบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ให้ปรากฏสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตต้องไม่มีลักษณะเป็นภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตามที่เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือถึงบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้แก้ไขป้ายโฆษณาเบียร์สิงห์ ระหว่างทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ ใกล้ด่านเก็บค่าผ่านทางทับช้าง ที่ผิดกฎหมาย เพราะแสดงภาพบางส่วนของบรรจุภัณฑ์ จากการตรวจสอบพบบริษัท สิงห์ ได้ปลดป้ายดังกล่าวลงแล้วเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่น่าเสียใจคือป้ายโฆษณาอื่นๆ ของบริษัทสิงห์ฯ ที่ผิดกฎหมายในลักษณะเดียวกัน อาทิ บริเวณ ถ.เชียงใหม่-หางดง จ.เชียงใหม่ ยังคงติดตั้งอยู่เช่นเดิม ไม่มีการแก้ไขใดๆ ขณะเดียวกันยังมีการลงโฆษณาแสดงภาพขวดเบียร์ในลักษณะตัดหัวตัดท้าย ปรากฎอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ด้วย
“การกระทำของบริษัท สิงห์ ถือเป็นการจงใจท้าทายกฎหมายอย่างรุนแรง ยอมแก้ไขเฉพาะความผิดซึ่งหน้าที่มีคนไปร้องเรียน แต่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่แก้ไขจุดอื่น ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าผิดกฎหมายเหมือนกัน เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องหาจริยธรรมของบริษัทสิงห์ฯ ให้แก้ไขป้ายโฆษณาที่ฝ่าฝืนทั่วทั้งประเทศ อย่าประมาทพลังภาคประชาชน พวกเรายืนยันที่จะเกาะติดเรื่องนี้ และจะมีมาตราการทางสังคม รวมถึงดำเนินคดีกับทุกบริษัทที่ฝ่าฝืนกฎหมาย การบุกไปร้องเรียนที่หน้าบริษัท สิงห์ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น” นายคำรณ กล่าว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ป้ายโฆษณาเบียร์สิงห์ ของบริษัทสิงห์ฯ ที่แสดงบางส่วนของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะลงในสื่อใดก็ตามผิดกฎหมายทั้งสิ้น ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 32 ที่ระบุว่า ห้ามแสดงรูปผลิตภัณฑ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษปรับอีกวันละ 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
“ความจริงเรื่องการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า แบบใดทำได้แบบใดทำไม่ได้ กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงมาตลอด ตั้งแต่ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ จนตอนนี้บังคับมา 8 เดือนแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสงสัย สำนักงานคณะกรรมการจะทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ยืนยันว่า ป้ายโฆษณาที่มีการแสดงภาพบางส่วนของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะติดตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม ผิดแน่นอนตามกฎหมาย พร้อมทั้งให้รายละเอียดเรื่องการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งไปถึงบริษัทสิงห์ฯ ด้วย และฝากเตือนไปถึงบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวอีกว่า กฎหมายระบุชัดว่า ห้ามมีภาพของสินค้าหรือภาพบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ให้ปรากฏสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตต้องไม่มีลักษณะเป็นภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์