ปลัด สธ.เตรียมเสนอ คกก.แพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ขึ้นค่าปรับหมอออกก่อนใช้ทุน 4-10 ล.พร้อมสร้างแรงจูงใจจัดกิจกรรมค่าย นศ.แพทย์ ขณะที่แพทย์สภาค้าน จี้แก้ปัญหาที่ระบบ
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ในเดือน ส.ค.นี้ โดยมีคณบดีจากคณะแพทยศาสตร์ของสถาบันการศึกษาทุกแห่งของไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ แพทยสภา ฯลฯ เข้าร่วมประชุมด้วย โดยประเด็นหลักการในประชุมครั้งนี้ สธ.จะเสนอขอขึ้นเงินค่าปรับแทนการใช้ทุนของนักศึกษาแพทย์ ซึ่งลาออกจากราชการก่อนการใช้ทุน 3 ปี จะต้องเสียค่าชดเชยจำนวน 4 แสนบาท เป็น 4-10 ล้านบาท แต่ยังไม่สรุปว่าเป็นจำนวนเท่าใด คาดว่า จะสามารถสรุปยอดค่าปรับได้ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณที่รัฐได้สนับสนุนในการเรียนแพทย์ รวมถึงให้นักศึกษาแพทย์ที่คิดไตรตรองก่อนจะออกจากระบบไปสู่ภาคเอกชน
“เดิมทีค่าปรับแทนการใช้ทุนแพทย์จบใหม่ประมาณ 4 แสนบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ที่แพทย์จบใหม่เหล่านี้ไปอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนเพียงแค่ 1-2 เดือนเท่านั้น ทำให้หมอใหม่ไม่คิดมาก และออกจากระบบไปสมองไหลอยู่ที่ภาคเอกชนกันมากขึ้น ทั้งที่ภาครัฐได้ลงทุนงบประมาณในการสนับสนุนให้นักศึกษาแพทย์คนละ 3 แสนบาทต่อปี เท่ากับเมื่อจะจบเป็นแพทย์ 6 ปี รัฐต้องเสียงบไป 1.8 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมามีการปรับเพียง 4 แสนบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่างกันมาก ซึ่งหน่วยงานอื่นๆ น่าจะเห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว” นพ.ปราชญ์ กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า นอกจากแนวความคิดเรื่องการขึ้นค่าปรับแทนการใช้ทุนของแพทย์จบใหม่แล้ว ปัจจุบันแนวโน้มความนิยมของการเรียนแพทย์ของนักศึกษาในขณะนี้มีลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการใดออกมาเพื่อให้แพทย์จบใหม่คงอยู่ในระบบมากที่สุด และไม่ให้ขาดแคลน ที่ผ่านมา จึงได้จัดค่ายกิจกรรมให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันหลอมใจให้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้เกิดแรงจูงใจให้แพทย์จบใหม่ยินดีที่จะใช้ทุนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
“ที่ผ่านมา แทบไม่มีแพทย์จบใหม่สมัครใจไปใช้ทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เลย แต่หลังจากมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้ปีที่ผ่านมา มีแพทย์จบใหม่สมัครใจลงพื้นที่ถึง 26 คน จากทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ขณะนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงอาจไม่ใช่แพทย์จบใหม่ลาออก แต่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อาวุโสซี6-8 ที่ขณะนี้มีแนวโน้มถูกซื้อตัวมากกว่าการซื้อตัวของแพทย์จบใหม่แล้วด้วย”นพ.ปราชญ์ กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า เหตุที่แพทย์อาวุโสเริ่มหนีจากระบบเป็นเพราะถูกซื้อตัว อีกด้านก็เป็นแรงจูงใจ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ 2 ส่วน คือ เรื่องค่าตอบแทน ที่จำเป็นต้องเพิ่มให้มากขึ้นกว่าเดิม แม้อาจจะไม่เท่ากับภาคเอกชน แต่ก็ควรได้รับตามความเหมาะสม และเรื่องเกียรติยศศักดิ์ศรี เมื่อแพทย์อาวุโสปฏิบัติหน้าที่มาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังไม่ได้ตำแหน่งระดับ 9 ทำให้ขาดแรงจูงใจ ขาดเกียรติยศและศักดิ์ศรี ซึ่ง สธ.จะเร่งผลักดันเพื่อรักษาจำนวนแพทย์ในระบบให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
ด้านนพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาการบังคับแพทย์ให้ทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาลไม่ได้ผล การบังคับคนให้ทำงานโดยความไม่เต็มใจ เมื่อทำหน้าที่เสร็จก็หนีทันที การแก้ปัญหาแพทย์สมองไหลไปภาคเอกชนจึงควรแก้ปัญหาที่ระบบ ด้วยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เงินเดือนสูงขึ้น ฝึกอบรมความรู้ต่างๆ ช่วยให้ภาระของแพทย์ไม่มากจนเกินไป ในทางกลับกันการปรับเงินค่าชดเชยให้กับภาครัฐในอัตราที่สูงขึ้นนั้น จะทำให้ค่าตัวแพทย์เพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การถอนทุนคืน และถือเป็นการลงโทษ แพทย์มากกว่า แก้ปัญหา ที่สำคัญแนวคิดนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการลบ มากกว่าทางบวก
ทั้งนี้ การที่แพทย์หันไปทำงานกับภาคเอกชนนั้น เงินก็ไม่ใช่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะหากให้เงินเยอะจริงแต่ทำงานอย่างไม่มีความสุขก็ไม่อยู่ อย่างไรก็ตาม สภาพความเป็นอยู่ของแพทย์ในต่างจังหวัดแทบไม่มีอะไรเลย บางแห่งบ้านก็ไม่มีอยู่ ไม่มีมุ้งลวด มีแต่เสียกำลังใจ ทั้งยังต้องทำงานหนัก อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่พร้อม บุคคลกรไม่เพียงพอ ทำให้ต้องอยู่เวรทั้งวันทั้งคืน แถมยังเกรงว่าจะถูกร้องเรียนจากคนไข้ ขณะที่ภาคเอกชนแพทย์มีการทำงานเป็นทีมได้รับการอำนวยความสะดวกทุกสิ่งอย่าง ดังนั้น หากจัดระบบงานให้เหมาะสม แก้ระบบใหม่ ไม่ใช่แค่ปรับเงินเพิ่มขึ้น จึงจะเป็นทางแก้ปัญหา
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ในเดือน ส.ค.นี้ โดยมีคณบดีจากคณะแพทยศาสตร์ของสถาบันการศึกษาทุกแห่งของไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ แพทยสภา ฯลฯ เข้าร่วมประชุมด้วย โดยประเด็นหลักการในประชุมครั้งนี้ สธ.จะเสนอขอขึ้นเงินค่าปรับแทนการใช้ทุนของนักศึกษาแพทย์ ซึ่งลาออกจากราชการก่อนการใช้ทุน 3 ปี จะต้องเสียค่าชดเชยจำนวน 4 แสนบาท เป็น 4-10 ล้านบาท แต่ยังไม่สรุปว่าเป็นจำนวนเท่าใด คาดว่า จะสามารถสรุปยอดค่าปรับได้ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณที่รัฐได้สนับสนุนในการเรียนแพทย์ รวมถึงให้นักศึกษาแพทย์ที่คิดไตรตรองก่อนจะออกจากระบบไปสู่ภาคเอกชน
“เดิมทีค่าปรับแทนการใช้ทุนแพทย์จบใหม่ประมาณ 4 แสนบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ที่แพทย์จบใหม่เหล่านี้ไปอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนเพียงแค่ 1-2 เดือนเท่านั้น ทำให้หมอใหม่ไม่คิดมาก และออกจากระบบไปสมองไหลอยู่ที่ภาคเอกชนกันมากขึ้น ทั้งที่ภาครัฐได้ลงทุนงบประมาณในการสนับสนุนให้นักศึกษาแพทย์คนละ 3 แสนบาทต่อปี เท่ากับเมื่อจะจบเป็นแพทย์ 6 ปี รัฐต้องเสียงบไป 1.8 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมามีการปรับเพียง 4 แสนบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่างกันมาก ซึ่งหน่วยงานอื่นๆ น่าจะเห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว” นพ.ปราชญ์ กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า นอกจากแนวความคิดเรื่องการขึ้นค่าปรับแทนการใช้ทุนของแพทย์จบใหม่แล้ว ปัจจุบันแนวโน้มความนิยมของการเรียนแพทย์ของนักศึกษาในขณะนี้มีลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการใดออกมาเพื่อให้แพทย์จบใหม่คงอยู่ในระบบมากที่สุด และไม่ให้ขาดแคลน ที่ผ่านมา จึงได้จัดค่ายกิจกรรมให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันหลอมใจให้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้เกิดแรงจูงใจให้แพทย์จบใหม่ยินดีที่จะใช้ทุนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
“ที่ผ่านมา แทบไม่มีแพทย์จบใหม่สมัครใจไปใช้ทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เลย แต่หลังจากมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้ปีที่ผ่านมา มีแพทย์จบใหม่สมัครใจลงพื้นที่ถึง 26 คน จากทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ขณะนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงอาจไม่ใช่แพทย์จบใหม่ลาออก แต่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อาวุโสซี6-8 ที่ขณะนี้มีแนวโน้มถูกซื้อตัวมากกว่าการซื้อตัวของแพทย์จบใหม่แล้วด้วย”นพ.ปราชญ์ กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า เหตุที่แพทย์อาวุโสเริ่มหนีจากระบบเป็นเพราะถูกซื้อตัว อีกด้านก็เป็นแรงจูงใจ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ 2 ส่วน คือ เรื่องค่าตอบแทน ที่จำเป็นต้องเพิ่มให้มากขึ้นกว่าเดิม แม้อาจจะไม่เท่ากับภาคเอกชน แต่ก็ควรได้รับตามความเหมาะสม และเรื่องเกียรติยศศักดิ์ศรี เมื่อแพทย์อาวุโสปฏิบัติหน้าที่มาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังไม่ได้ตำแหน่งระดับ 9 ทำให้ขาดแรงจูงใจ ขาดเกียรติยศและศักดิ์ศรี ซึ่ง สธ.จะเร่งผลักดันเพื่อรักษาจำนวนแพทย์ในระบบให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
ด้านนพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาการบังคับแพทย์ให้ทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาลไม่ได้ผล การบังคับคนให้ทำงานโดยความไม่เต็มใจ เมื่อทำหน้าที่เสร็จก็หนีทันที การแก้ปัญหาแพทย์สมองไหลไปภาคเอกชนจึงควรแก้ปัญหาที่ระบบ ด้วยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เงินเดือนสูงขึ้น ฝึกอบรมความรู้ต่างๆ ช่วยให้ภาระของแพทย์ไม่มากจนเกินไป ในทางกลับกันการปรับเงินค่าชดเชยให้กับภาครัฐในอัตราที่สูงขึ้นนั้น จะทำให้ค่าตัวแพทย์เพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การถอนทุนคืน และถือเป็นการลงโทษ แพทย์มากกว่า แก้ปัญหา ที่สำคัญแนวคิดนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการลบ มากกว่าทางบวก
ทั้งนี้ การที่แพทย์หันไปทำงานกับภาคเอกชนนั้น เงินก็ไม่ใช่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะหากให้เงินเยอะจริงแต่ทำงานอย่างไม่มีความสุขก็ไม่อยู่ อย่างไรก็ตาม สภาพความเป็นอยู่ของแพทย์ในต่างจังหวัดแทบไม่มีอะไรเลย บางแห่งบ้านก็ไม่มีอยู่ ไม่มีมุ้งลวด มีแต่เสียกำลังใจ ทั้งยังต้องทำงานหนัก อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่พร้อม บุคคลกรไม่เพียงพอ ทำให้ต้องอยู่เวรทั้งวันทั้งคืน แถมยังเกรงว่าจะถูกร้องเรียนจากคนไข้ ขณะที่ภาคเอกชนแพทย์มีการทำงานเป็นทีมได้รับการอำนวยความสะดวกทุกสิ่งอย่าง ดังนั้น หากจัดระบบงานให้เหมาะสม แก้ระบบใหม่ ไม่ใช่แค่ปรับเงินเพิ่มขึ้น จึงจะเป็นทางแก้ปัญหา