รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มศว ไม่เห็นด้วยเรียกค่าปรับแพทย์ใหม่ใช้ทุนคืน 4-10 ล้าน แจงไม่ใช่หนทางที่จะแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนในชนบท แนะสธ.คิดใหม่อย่างแก้ปัญหาแบบส่วนๆ มองปัญหาแบบองค์รวม
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอปรับเพิ่มค่าชดเชยแทนการใช้ทุนของนิสิต นักศึกษาแพทย์ในกรณีที่ลาออกจากราชการก่อนการใช้ทุนครบ 3 ปี โดยขอเพิ่มเป็นคนละ 4-10 ล้านบาท จากเดิมที่เรียกเก็บเพียงคนละ 400,000 บาท ว่าตนไม่เห็นด้วยที่ สธ.ขอเพิ่มค่าปรับเป็นคนละ 4-10 ล้านบาท เป็นการปรับเกินความเป็นจริง อยากเสนอการเรียกค่าปรับจากนิสิตแพทย์ที่ไม่ไปใช้ทุนเป็นแพทย์ชนบทว่า ควรจะดูจากต้นทุนที่เราผลิตแพทย์จริง ซึ่งขณะนี้ต้นทุนการผลิตแพทย์โดยเฉลี่ยในโรงเรียนแพทย์เกือบทุกแห่งอยู่ที่ 1.4 ล้านบาท โดยในชั้นปีที่ 1 เด้กจะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ต้องใช้งบประมาณประมาณ 1 แสนบาท ส่วนการเรียนแพทย์ในชั้นปีที่ 2-6 ต้นทุนในการผลิตใช้ปีละ 3 แสนบาทต่อคนต่อปี รวมเงินทั้งสิ้นในการผลิตแพทย์ รัฐต้องจ่ายงบประมาณ 1.6 ล้านบาท การเรียกค่าปรับจากนิสิตนักศึกษาแพทย์จึงอยากให้เป็นธรรมแก่นิสิตนักศึกษาแพทย์ด้วย
“ผมอยากให้ยึดเกณฑ์สำนักงาน ก.พ.ที่ส่งคนไปเรียนต่อในต่างประเทศ ยกตัวอย่างไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เงินไปประมาณ 1.4 ล้าน เมื่อเขากลับมาและไม่ทำงานตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด เราปรับเขาอย่างไร ผมอยากเสนอให้ปรับนิสิต นักศึกษาแพทย์ในลักษณะนั้น มันถึงจะเป็นธรรม ถ้าเรามีต้นทุนการผลิตแพทย์ต่อคน 1.4 ล้าน ก็ควรจะยึดตัวเลข 1.4 ล้าน เมื่อไม่เป็นแพทย์ในชนบท ข้อกำหนดต้องจ่ายเงินชดเชยเป็น 2 เท่า นิสิตนักศึกษาแพทย์ต้องชดใช้เงินคืนเพียงแค่ 2.8 ล้านซึ่งถือว่าเพียงพอแล้ว ไม่ใช่ขอเพิ่มเป็น 4-10 ล้าน โดยเฉพาะตัวเลข 10 ล้านนั้นดูเกินความเป็นจริงอย่างมาก ส่วนบางคนอาจเสนอว่าเราต้องคิดงบลงทุนซึ่งเป็นการสร้างตึก อาคารให้นิสิตแพทย์ได้เรียน อยากถามว่าแล้วนิสิต นักศึกษาคณะอื่นเราได้คิดงบลงทุนเหล่านี้กับนิสิตคณะอื่นๆ หรือไม่ ถ้าเราไม่คิดงบลงทุนในคณะอื่นๆ คณะแพทย์เองก็ไม่ควรคิด มันถึงจะเกิดความเป็นธรรมแก่นิสิตแพทย์”
“ผมเข้าใจ สธ.ที่ต้องการให้แพทย์ไปอยู่ชนบทเพื่อใช้ทุน แต่วิธีการที่จะเรียกค่าชดเชย 4-10 ล้านนั้นอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ผมเห็นด้วยที่แพทย์ทุกคนต้องไปใช้ทุนในต่างจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี การเพิ่มเงินค่าปรับตามที่ สธ.กำหนดนั้นจะทำให้แพทย์ที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่มีความสุข เขาอยู่เพราะถูกบังคับให้อยู่ ถ้าเราปรับเป็นตัวเลข 2.8 ล้านบาท บางคนก็ยังยอมชดใช้เงิน และบางคนก็ไม่มีเงินชดใช้ก็ต้องอยู่เป็นแพทย์ในชนบท แต่เมื่อครบ 3 ปี เขาก็ออกจากพื้นที่อยู่ดี ผมอยากเสนอว่าการที่จะทำให้คนไปทำงานในต่างจังหวัดเป็นเวลานานๆ สิ่งสำคัญเขาต้องมีจิตอาสา ต้องมีสำนึกที่เขาอยากทำจริงๆ การไปอยู่ในชนบทนั้นเขาต้องมีความสุขและอยู่ได้จริงๆ ต้องทำให้เขามีความภาคภูมิใจ อยู่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดในตัวตนของนิสิต นักศึกษาแพทย์นั้นต้องช่วยกันหลายฝ่าย เริ่มจากโรงเรียนแพทย์ซึ่งมีคณะแพทย์ ต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนในชั้น ม.ปลายได้ต้นพบตัวเองโดยการเปิดบ้านให้ชมว่าชอบและสนใจเรียนแพทย์จริงๆ หรือไม่ ซึ่งโรงเรียนแพทย์หลายแห่งก็ทำอยู่แล้ว ส่วนการรับแพทย์เข้าเรียนซึ่งเป็นการรับตรงทั้งประเทศเพื่อให้ได้คนเก่งเข้ามาเรียน อีกส่วนหนึ่งรับเด็กในพื้นที่ซึ่งเพื่อให้กลับไปเป็นแพทย์ในชนบท การรับเด็กในพื้นที่เพื่อเข้าเรียนยังมีจุดอ่อนอยู่มาก อยากบอกว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ได้รับโควตาส่วนนี้จะเป็นลูกหลานข้าราชการ นักธุรกิจที่อยู่ในตัวจังหวัด ผมอยากให้ระบุให้ชัดว่าแพทย์ชนบทต้องได้จากอำเภอ ตำบลที่ห่างไกลจริงๆ ไม่ใช่ระบุว่าโควตาจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ สุดท้ายเราก็ได้คนที่มาเรียนแพทย์ซึ่งเป็นลูกคนรวยที่อยู่ในตัวจังหวัด”
การรับแพทย์ชนบทต้องระบุให้ชัดว่าเป็นเด็กจากตำบลนั้น ตำบลนี้ที่อยู่ห่างไกล เราถึงจะได้คนที่อยากกลับไปในท้องถิ่นตัวเองจริงๆ เมื่อเด็กเข้ามาเรียน เราต้องทำให้เขามีความรู้สึกและมีอารมณ์ร่วมในการทำงานเพื่อรับใช้สังคมจริงๆ ผมอยากนำเสนอโมเดลของ มศว ที่เราผลิตบัณฑิตคืนถิ่น และบัณฑิตเพชรในตม ซึ่งเป็นการผลิตบัณฑิตเพื่อจบออกไปเป็นครู เป็นนักพัฒนา กลับคืนสู่ถิ่นฐานตัวเองในต่างจังหวัด โมเดลตรงนี้ทาง มศว กำลังปรับใช้กับนิสิตแพทย์มศว อยู่ เรายินดีเป็นเครือข่ายเพื่อให้คณะแพทย์จากสถาบันอื่นๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะสถาบันที่ผลิตแพทย์ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากๆ ความเป็นครู ความเป็นสังคมศาสตร์อาจจะไม่เข้มแข็งเต็มที่ แต่ มศว เรามีจุดแข็งตรงนี้ และเรามีโครงการที่เป็นรูปธรรมที่อยากร่วมแลกเปลี่ยน
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า แม้มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนแพทย์จะผลิตนิสิตนักศึกษาแพทย์ให้มีจิตอาสาอย่างไรก็ตาม หาก สธ.ต้องปรับวิธีการดูแลแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ด้วย ถ้า สธ.บอกว่าดำเนินการแล้ว ผมคิดว่ามันยังไม่พอ ถ้าทำได้ดีและเพียงพอแพทย์คงไม่คิดจะย้ายออกจากพื้นที่ อยากเสนอว่าการปรับสภาพโรงพยาบาลให้เหมาะกับแพทย์ใหม่ๆ ที่เพิ่งจบออกไปนั้นมีความสำคัญ การเตรียมแพทย์พี่เลี้ยงอาจจะยังไม่เพียงพอ การแวะไปเยี่ยมเยียนหรือไปโค้ชชิ่งเพียงเวลาสั้นๆ อาจไม่ได้อีกแล้ว ต้องอยู่ด้วยกันจริงๆ หรือเปล่า
การจะให้แพทย์พี่เลี้ยงอยู่ทำงานร่วมกับแพทย์จบใหม่ก็ต้องมีขวัญกำลังใจ ค่าตอบแทน เงินเดือนที่เขาสามารถอยู่ได้จริง การอยู่เวนก็ต้องจัดสรรให้ดี ให้แพทย์ได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง แพทย์บางคนถึงแม้จะอยากอยู่ช่วยทำงานในชนบท แต่เงินเดือนไม่เพียงพอ ภรรยาและลูกเรียกร้องให้กลับบ้าน หรือพ่อแม่เรียกร้องให้กลับ แพทย์คนนั้นก็ต้องตัดสินใจ อย่าลืมว่าการแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนในชนบทต้องมองอย่างเป็นองค์รวม ไม่ใช่มองแบบแยกส่วน มาร่วมกันแก้ปัญหาทั้งหมด ปรับปรุงโรงพยาบาลอำเภอใหม่ วางอัตรากำลังบุคลากรใหม่ จัดสรรค่าตอบแทนที่เป็นธรรม จัดระบบสนับสนุนจัดระบบช่วยฝึกอบรม สธ.ต้องดำเนินการเรื่องเหล่านี้ให้เข้มข้นและเป็นจริงเป็นจังให้มากขึ้นจึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนในชนบทได้ ซึ่งไม่ใช่จะแก้โดยการเรียกค่าปรับเพิ่มเป็น 4-10 ล้านอย่างแน่นอน
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอปรับเพิ่มค่าชดเชยแทนการใช้ทุนของนิสิต นักศึกษาแพทย์ในกรณีที่ลาออกจากราชการก่อนการใช้ทุนครบ 3 ปี โดยขอเพิ่มเป็นคนละ 4-10 ล้านบาท จากเดิมที่เรียกเก็บเพียงคนละ 400,000 บาท ว่าตนไม่เห็นด้วยที่ สธ.ขอเพิ่มค่าปรับเป็นคนละ 4-10 ล้านบาท เป็นการปรับเกินความเป็นจริง อยากเสนอการเรียกค่าปรับจากนิสิตแพทย์ที่ไม่ไปใช้ทุนเป็นแพทย์ชนบทว่า ควรจะดูจากต้นทุนที่เราผลิตแพทย์จริง ซึ่งขณะนี้ต้นทุนการผลิตแพทย์โดยเฉลี่ยในโรงเรียนแพทย์เกือบทุกแห่งอยู่ที่ 1.4 ล้านบาท โดยในชั้นปีที่ 1 เด้กจะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ต้องใช้งบประมาณประมาณ 1 แสนบาท ส่วนการเรียนแพทย์ในชั้นปีที่ 2-6 ต้นทุนในการผลิตใช้ปีละ 3 แสนบาทต่อคนต่อปี รวมเงินทั้งสิ้นในการผลิตแพทย์ รัฐต้องจ่ายงบประมาณ 1.6 ล้านบาท การเรียกค่าปรับจากนิสิตนักศึกษาแพทย์จึงอยากให้เป็นธรรมแก่นิสิตนักศึกษาแพทย์ด้วย
“ผมอยากให้ยึดเกณฑ์สำนักงาน ก.พ.ที่ส่งคนไปเรียนต่อในต่างประเทศ ยกตัวอย่างไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เงินไปประมาณ 1.4 ล้าน เมื่อเขากลับมาและไม่ทำงานตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด เราปรับเขาอย่างไร ผมอยากเสนอให้ปรับนิสิต นักศึกษาแพทย์ในลักษณะนั้น มันถึงจะเป็นธรรม ถ้าเรามีต้นทุนการผลิตแพทย์ต่อคน 1.4 ล้าน ก็ควรจะยึดตัวเลข 1.4 ล้าน เมื่อไม่เป็นแพทย์ในชนบท ข้อกำหนดต้องจ่ายเงินชดเชยเป็น 2 เท่า นิสิตนักศึกษาแพทย์ต้องชดใช้เงินคืนเพียงแค่ 2.8 ล้านซึ่งถือว่าเพียงพอแล้ว ไม่ใช่ขอเพิ่มเป็น 4-10 ล้าน โดยเฉพาะตัวเลข 10 ล้านนั้นดูเกินความเป็นจริงอย่างมาก ส่วนบางคนอาจเสนอว่าเราต้องคิดงบลงทุนซึ่งเป็นการสร้างตึก อาคารให้นิสิตแพทย์ได้เรียน อยากถามว่าแล้วนิสิต นักศึกษาคณะอื่นเราได้คิดงบลงทุนเหล่านี้กับนิสิตคณะอื่นๆ หรือไม่ ถ้าเราไม่คิดงบลงทุนในคณะอื่นๆ คณะแพทย์เองก็ไม่ควรคิด มันถึงจะเกิดความเป็นธรรมแก่นิสิตแพทย์”
“ผมเข้าใจ สธ.ที่ต้องการให้แพทย์ไปอยู่ชนบทเพื่อใช้ทุน แต่วิธีการที่จะเรียกค่าชดเชย 4-10 ล้านนั้นอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ผมเห็นด้วยที่แพทย์ทุกคนต้องไปใช้ทุนในต่างจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี การเพิ่มเงินค่าปรับตามที่ สธ.กำหนดนั้นจะทำให้แพทย์ที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่มีความสุข เขาอยู่เพราะถูกบังคับให้อยู่ ถ้าเราปรับเป็นตัวเลข 2.8 ล้านบาท บางคนก็ยังยอมชดใช้เงิน และบางคนก็ไม่มีเงินชดใช้ก็ต้องอยู่เป็นแพทย์ในชนบท แต่เมื่อครบ 3 ปี เขาก็ออกจากพื้นที่อยู่ดี ผมอยากเสนอว่าการที่จะทำให้คนไปทำงานในต่างจังหวัดเป็นเวลานานๆ สิ่งสำคัญเขาต้องมีจิตอาสา ต้องมีสำนึกที่เขาอยากทำจริงๆ การไปอยู่ในชนบทนั้นเขาต้องมีความสุขและอยู่ได้จริงๆ ต้องทำให้เขามีความภาคภูมิใจ อยู่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดในตัวตนของนิสิต นักศึกษาแพทย์นั้นต้องช่วยกันหลายฝ่าย เริ่มจากโรงเรียนแพทย์ซึ่งมีคณะแพทย์ ต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนในชั้น ม.ปลายได้ต้นพบตัวเองโดยการเปิดบ้านให้ชมว่าชอบและสนใจเรียนแพทย์จริงๆ หรือไม่ ซึ่งโรงเรียนแพทย์หลายแห่งก็ทำอยู่แล้ว ส่วนการรับแพทย์เข้าเรียนซึ่งเป็นการรับตรงทั้งประเทศเพื่อให้ได้คนเก่งเข้ามาเรียน อีกส่วนหนึ่งรับเด็กในพื้นที่ซึ่งเพื่อให้กลับไปเป็นแพทย์ในชนบท การรับเด็กในพื้นที่เพื่อเข้าเรียนยังมีจุดอ่อนอยู่มาก อยากบอกว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ได้รับโควตาส่วนนี้จะเป็นลูกหลานข้าราชการ นักธุรกิจที่อยู่ในตัวจังหวัด ผมอยากให้ระบุให้ชัดว่าแพทย์ชนบทต้องได้จากอำเภอ ตำบลที่ห่างไกลจริงๆ ไม่ใช่ระบุว่าโควตาจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ สุดท้ายเราก็ได้คนที่มาเรียนแพทย์ซึ่งเป็นลูกคนรวยที่อยู่ในตัวจังหวัด”
การรับแพทย์ชนบทต้องระบุให้ชัดว่าเป็นเด็กจากตำบลนั้น ตำบลนี้ที่อยู่ห่างไกล เราถึงจะได้คนที่อยากกลับไปในท้องถิ่นตัวเองจริงๆ เมื่อเด็กเข้ามาเรียน เราต้องทำให้เขามีความรู้สึกและมีอารมณ์ร่วมในการทำงานเพื่อรับใช้สังคมจริงๆ ผมอยากนำเสนอโมเดลของ มศว ที่เราผลิตบัณฑิตคืนถิ่น และบัณฑิตเพชรในตม ซึ่งเป็นการผลิตบัณฑิตเพื่อจบออกไปเป็นครู เป็นนักพัฒนา กลับคืนสู่ถิ่นฐานตัวเองในต่างจังหวัด โมเดลตรงนี้ทาง มศว กำลังปรับใช้กับนิสิตแพทย์มศว อยู่ เรายินดีเป็นเครือข่ายเพื่อให้คณะแพทย์จากสถาบันอื่นๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะสถาบันที่ผลิตแพทย์ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากๆ ความเป็นครู ความเป็นสังคมศาสตร์อาจจะไม่เข้มแข็งเต็มที่ แต่ มศว เรามีจุดแข็งตรงนี้ และเรามีโครงการที่เป็นรูปธรรมที่อยากร่วมแลกเปลี่ยน
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า แม้มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนแพทย์จะผลิตนิสิตนักศึกษาแพทย์ให้มีจิตอาสาอย่างไรก็ตาม หาก สธ.ต้องปรับวิธีการดูแลแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ด้วย ถ้า สธ.บอกว่าดำเนินการแล้ว ผมคิดว่ามันยังไม่พอ ถ้าทำได้ดีและเพียงพอแพทย์คงไม่คิดจะย้ายออกจากพื้นที่ อยากเสนอว่าการปรับสภาพโรงพยาบาลให้เหมาะกับแพทย์ใหม่ๆ ที่เพิ่งจบออกไปนั้นมีความสำคัญ การเตรียมแพทย์พี่เลี้ยงอาจจะยังไม่เพียงพอ การแวะไปเยี่ยมเยียนหรือไปโค้ชชิ่งเพียงเวลาสั้นๆ อาจไม่ได้อีกแล้ว ต้องอยู่ด้วยกันจริงๆ หรือเปล่า
การจะให้แพทย์พี่เลี้ยงอยู่ทำงานร่วมกับแพทย์จบใหม่ก็ต้องมีขวัญกำลังใจ ค่าตอบแทน เงินเดือนที่เขาสามารถอยู่ได้จริง การอยู่เวนก็ต้องจัดสรรให้ดี ให้แพทย์ได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง แพทย์บางคนถึงแม้จะอยากอยู่ช่วยทำงานในชนบท แต่เงินเดือนไม่เพียงพอ ภรรยาและลูกเรียกร้องให้กลับบ้าน หรือพ่อแม่เรียกร้องให้กลับ แพทย์คนนั้นก็ต้องตัดสินใจ อย่าลืมว่าการแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนในชนบทต้องมองอย่างเป็นองค์รวม ไม่ใช่มองแบบแยกส่วน มาร่วมกันแก้ปัญหาทั้งหมด ปรับปรุงโรงพยาบาลอำเภอใหม่ วางอัตรากำลังบุคลากรใหม่ จัดสรรค่าตอบแทนที่เป็นธรรม จัดระบบสนับสนุนจัดระบบช่วยฝึกอบรม สธ.ต้องดำเนินการเรื่องเหล่านี้ให้เข้มข้นและเป็นจริงเป็นจังให้มากขึ้นจึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนในชนบทได้ ซึ่งไม่ใช่จะแก้โดยการเรียกค่าปรับเพิ่มเป็น 4-10 ล้านอย่างแน่นอน