“ไชยา” ฟิวส์ขาด ฉุนโรงพยาบาลหัวหินอืด สร้างห้องประทับชั้น 10 ไม่เสร็จ ลั่นยอมไม่ได้ อับอายขายหน้า สั่งเร่งก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน ก.ย.นี้ เตรียมตั้งกรรมการสอบคน สธ.โก่งราคากลางก่อสร้าง จาก 42 ล้าน เป็น 48 ล้าน พร้อมประสาน “เฉลิม” ล่า อดีตรองผู้ว่าฯ ประจวบคีรีขันธ์ ไต่สวน ชี้ มีนอกมีใน ตัวการ ทำให้ล่าช้า
วันนี้ (19 มิ.ย.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้เดินทางมาตรวจความก้าวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ ที่โรงพยาบาลหัวหิน ซึ่งบริเวณชั้น 10 ของโรงพยาบาล ได้มีการออกแบบไว้เพื่อเป็นสถานที่ห้องทรงประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังไม่มีการตกแต่งใดๆ ทั้งๆ ที่ได้เริ่มก่อสร้างอาคารตั้งแต่ปี 2548 เนื่องมาจากปัญหาการลดงบประมาณการก่อสร้างจาก 42 ล้านบาท เป็น 35 ล้านบาท บริษัทที่รับผิดชอบชะลอโครงการ อย่างไรก็ตาม ได้หารือทางโทรศัพท์กับบริษัทผู้รับเหมารายดังกล่าวแล้ว ซึ่งบริษัทยินดีจะมาลงนามกับผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 20 มิ.ย.และจะดำเนินการต่อภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งมีกำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน 70 วัน ประมาณต้นเดือนกันยายนนี้
“บริษัทยินดีที่จะดำเนินการต่อ โดยไม่ต้องพูดถึงเรื่องราคา เพื่อถวายพระองค์ท่าน และไม่เกิน 2 สัปดาห์จะรีบนำพิมพ์เขียวมา เพื่อตกแต่งทันที โดยต้นเดือนกันยายนนี้ น่าจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ หากผู้ดำเนินการบริษัทเดียวไม่สามารถทำได้ก็ให้จ้างบริษัทแยกส่วนกันได้ หรือหากมีปัญหาอะไรให้บอกจะหาบริษัทมาเอง จะทำทุกวิถีทางให้เสร็จ และหากค่าใช้จ่ายเกินกว่า 42 ล้านบาท ผมก็จะนำเงินส่วนตัวออกเพื่อให้การก่อสร้างสมบูรณ์แบบ” นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวต่อว่า เรื่องนี้น่าจะมีนอกมีใน จึงประสานงานแจ้งไปยัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย (มท.) ดำเนินการสอบสวน นายสนิท บุญก่อสกุล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนกรณีที่นผู้ว่าฯประจวบคีรีขันธ์ ระบุว่า มีข้าราชการใน สธ.ต้องการให้ราคากลางเพิ่มขึ้นเป็น 48 ล้านบาทนั้น เห็นว่า ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงว่าใครเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ เพราะถือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ทั้งนี้ ต่อจากนี้จะมอบหมายให้ พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัด สธ.และ นพ.นรานาค วัฒนานุกูล ผู้ตรวจราชการ ติดตามความคืบหน้าทุกสัปดาห์
“ผมยอมไม่ได้ เป็นเรื่องของสูงระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินไม่ใช่เรื่องล้อเล่น พอ นพ.ไชยอนันต์ ทยาวิวัฒน์ ผอ.รพ.หัวหิน แจ้งว่า ต้องใช้เวลาตกแต่งนาน 200 วัน หรือ 6-7 เดือน ถึงจะเสร็จ ฟิวส์ขาดเลย เพราะไม่เกิน 70 วันก็พอ แค่ตกแต่ง ไม่ต้องใช้เวลานานขนาดนั้น หากดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง ก็เหมือนทำ 120 วัน อีกทั้งพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมใจของไทยทั้งชาติ เจ้าหน้าที่จะต้องใส่เกล้าใส่กระหม่อม รีบดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากพระองค์ทรงไว้พระทัย จึงแปรพระราชฐานมาประทับอยู่ที่ อ.หัวหิน ดังนั้น จะต้องทำทุกอย่างให้พร้อมโดยไม่มีข้อยกเว้น และหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจะไม่มีใครรอดพ้นความรับผิดชอบได้ อีกทั้งแพทย์ประจำพระองค์ยังบอกว่า ได้ติดตามเรื่องมากับ 4 รมว.สธ.ก็ยังไม่เสร็จ เป็นเรื่องน่าอายมาก”นายไชยา กล่าว
ด้าน นายปานชัย บวรรัตนปราณ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯ ได้ 47 วัน ที่ผ่านมาจึงไม่ทราบปัญหา ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างมีการใช้วิธีพิเศษดำเนินการ แต่อำนาจของผู้ว่าสามารถลงนามอนุมัติงบได้ไม่เกิน 25 ล้านบาท จึงส่งเรื่องให้ปลัดลงนามอนุมัติงบประมาณ แต่เมื่อออกแบบสร้างอาคารเสร็จ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ตั้งราคากลาง 42 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งผู้ว่าคนเดิมให้รองผู้ว่าฯ เป็นผู้ดำเนินการ จึงมีการกำหนดราคากลางใหม่ เป็น 35 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า สธ.ตั้งราคากลางสูงเกินไป กรมบัญชีกลางก็อนุมัติ แต่บริษัทได้ทำสัญญาไว้ก่อนหน้าแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ดำเนินการก่อสร้างต่อ
“ถ้าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ ไม่ตีเรื่องกลับไปกลับมา ทำให้เรื่องค้าง เกิดความล่าช้า ซึ่งตั้งแต่มาดำรงตำแหน่งผมก็ฟันธงให้ดำเนินการเร่งด่วนแต่เท่าที่ได้ยินมีข้าราชการ สธ.ไม่แฮปปี้ หากให้งบประมาณโครงการ 42 ล้านบาทเหมือนเดิม เพราเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงค่าวัสดุขึ้น และจะเสียหน้า จึงควรเพิ่มเป็น 48 ล้านบาท แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ซึ่งหากรัฐมนตรีจะหาบริษัทมาดำเนินการก็ส่งมาได้เลย 60 วัน เสร็จก็ดี อยากให้เสร็จพรุ่งนี้ด้วยซ้ำ” นายปานชัย กล่าว
ขณะที่นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์ประจำพระองค์ที่ได้เข้าร่วมในการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ กล่าวว่า ได้ดำเนินการโครงการตั้งแต่ นายกร ทัพพะรังสี เป็น รมว.สธ.และติดตามมา 4 รมต.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล นพ.มงคล ณ สงขลา ซึ่งเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ว่าอาคารยังไม่เสร็จแต่ดูแผนรองรับพิจารณาเห็นว่าเป็นแผนที่ดี ยอมรับได้
“นายไชยา ลงดูเป็นเรื่องดี ทำให้คนทำงานกล้าตัดสินใจ เพราะหลายฝ่ายเจตนาดีแต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ ขอให้ นายไชยา สบายใจ แม้ว่าการตกแต่งอาจแต่ยังไม่เป็นสัดส่วน เท่าใด และคนที่เกี่ยวข้องก็กลัวเกี่ยวกับเรื่องราคากลาง ค่าครองชีพที่เปลี่ยนไปเป็นอุปสรรค นอกจากนี้ฝากให้เตรียมพร้อมเครื่องมือ ส่วนลานจอดเฮลิคอปเตอร์นั้นไม่จำเป็น ซึ่งการก่อสร้างลานจอนอาจต้องรับน้ำหนักอาจทำให้กระทบกับตัวอาคาร เนื่องจากได้ทำการซ้อมแผนกับสนามบินรองรับแล้ว อีกทั้งทีมแพทย์ มีการเตรียมพร้อมแผนปฏิบัติการทุกสัปดาห์” นพ.สงคราม กล่าว
นพ.ไชยอนันต์ ทยาวิวัฒน์ ผอ.รพ.หัวหิน กล่าวว่า การก่อสร้างที่ล่าช้าเป็นเพราะการตัดสินใจเกินอำนาจหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเมื่อครั้งที่อดีตรองผู้ว่าฯ เสนอราคากลางใหม่ ก็ได้ยืนยันในที่ประชุมว่า ได้ทักท้วงในเรื่องดังกล่าวและให้ทำสัญญาแนบท้ายแทนในการทำสัญญาแต่รองผู้ว่าฯไม่ยอม และให้เหตุผลว่า เรื่องดังกล่าวต้องใช้ความชำนาญการโดยเฉพาะ ฉะนั้น ราคากลางที่ สธ.ตั้งขึ้นจะต้องมีคนนอกเข้ามาดูเพื่อความโปร่งใส แต่รองผู้ว่าฯ ตั้งคณะกรรมการราคากลางใหม่โดยไม่มีตัวแทนจาก สธ.เลย เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน ไม่สามารถพิจารณาราคากลางได้ ไม่มีตัวแทน สธ.จนเวลาล่วง 9 เดือน จึงตั้งคนจากสธ.มาจึงมีการพิจารณาได้
“ส่วนตัวเชื่อว่าราชการทุกคนทุ่มเทถวายชีวิตเพื่อให้โครงการดังกล่าวสำเร็จให้ได้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลมีปัญหาติดลบมาตลอด เนื่องจากเดิมเป็นโรงพยาบาลชุมชน การก้าวเป็นโรงพยาบาลศูนย์จึงมีหลายปัจจัยที่ทำให้ล่าช้า ไม่ใช้เพียงการก่อสร้างเท่นั้น แต่มีปัญหาเรื่องกำลังคนซึ่งไม่มีความพร้อมด้วย” นพ.ไชยอนันต์ กล่าว
อนึ่ง โครงการพัฒนาโรงพยาบาลหัวหินจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 300 เตียง โดย ครม.อนุมัติงบประมาณการพัฒนาโรงพยาบาลจำนวน 660 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 2546-2550 โดยระยะที่ 1 เป็นการปรับปรุงอาคารเก่า ด้านการก่อสร้าง จำนวน 55.3 ล้านบาท ครุภัณฑ์จำนวน 32 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 การก่อสร้างอาคารศูนย์อุบัติเหตุและศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 10 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรองบุคคลสำคัญ วีไอพี 1, 2 ตั้งแต่ปี 2547-2550 งบประมาณ 405 ล้านบาท
วันนี้ (19 มิ.ย.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้เดินทางมาตรวจความก้าวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ ที่โรงพยาบาลหัวหิน ซึ่งบริเวณชั้น 10 ของโรงพยาบาล ได้มีการออกแบบไว้เพื่อเป็นสถานที่ห้องทรงประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังไม่มีการตกแต่งใดๆ ทั้งๆ ที่ได้เริ่มก่อสร้างอาคารตั้งแต่ปี 2548 เนื่องมาจากปัญหาการลดงบประมาณการก่อสร้างจาก 42 ล้านบาท เป็น 35 ล้านบาท บริษัทที่รับผิดชอบชะลอโครงการ อย่างไรก็ตาม ได้หารือทางโทรศัพท์กับบริษัทผู้รับเหมารายดังกล่าวแล้ว ซึ่งบริษัทยินดีจะมาลงนามกับผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 20 มิ.ย.และจะดำเนินการต่อภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งมีกำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน 70 วัน ประมาณต้นเดือนกันยายนนี้
“บริษัทยินดีที่จะดำเนินการต่อ โดยไม่ต้องพูดถึงเรื่องราคา เพื่อถวายพระองค์ท่าน และไม่เกิน 2 สัปดาห์จะรีบนำพิมพ์เขียวมา เพื่อตกแต่งทันที โดยต้นเดือนกันยายนนี้ น่าจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ หากผู้ดำเนินการบริษัทเดียวไม่สามารถทำได้ก็ให้จ้างบริษัทแยกส่วนกันได้ หรือหากมีปัญหาอะไรให้บอกจะหาบริษัทมาเอง จะทำทุกวิถีทางให้เสร็จ และหากค่าใช้จ่ายเกินกว่า 42 ล้านบาท ผมก็จะนำเงินส่วนตัวออกเพื่อให้การก่อสร้างสมบูรณ์แบบ” นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวต่อว่า เรื่องนี้น่าจะมีนอกมีใน จึงประสานงานแจ้งไปยัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย (มท.) ดำเนินการสอบสวน นายสนิท บุญก่อสกุล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนกรณีที่นผู้ว่าฯประจวบคีรีขันธ์ ระบุว่า มีข้าราชการใน สธ.ต้องการให้ราคากลางเพิ่มขึ้นเป็น 48 ล้านบาทนั้น เห็นว่า ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงว่าใครเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ เพราะถือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ทั้งนี้ ต่อจากนี้จะมอบหมายให้ พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัด สธ.และ นพ.นรานาค วัฒนานุกูล ผู้ตรวจราชการ ติดตามความคืบหน้าทุกสัปดาห์
“ผมยอมไม่ได้ เป็นเรื่องของสูงระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินไม่ใช่เรื่องล้อเล่น พอ นพ.ไชยอนันต์ ทยาวิวัฒน์ ผอ.รพ.หัวหิน แจ้งว่า ต้องใช้เวลาตกแต่งนาน 200 วัน หรือ 6-7 เดือน ถึงจะเสร็จ ฟิวส์ขาดเลย เพราะไม่เกิน 70 วันก็พอ แค่ตกแต่ง ไม่ต้องใช้เวลานานขนาดนั้น หากดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง ก็เหมือนทำ 120 วัน อีกทั้งพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมใจของไทยทั้งชาติ เจ้าหน้าที่จะต้องใส่เกล้าใส่กระหม่อม รีบดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากพระองค์ทรงไว้พระทัย จึงแปรพระราชฐานมาประทับอยู่ที่ อ.หัวหิน ดังนั้น จะต้องทำทุกอย่างให้พร้อมโดยไม่มีข้อยกเว้น และหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจะไม่มีใครรอดพ้นความรับผิดชอบได้ อีกทั้งแพทย์ประจำพระองค์ยังบอกว่า ได้ติดตามเรื่องมากับ 4 รมว.สธ.ก็ยังไม่เสร็จ เป็นเรื่องน่าอายมาก”นายไชยา กล่าว
ด้าน นายปานชัย บวรรัตนปราณ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯ ได้ 47 วัน ที่ผ่านมาจึงไม่ทราบปัญหา ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างมีการใช้วิธีพิเศษดำเนินการ แต่อำนาจของผู้ว่าสามารถลงนามอนุมัติงบได้ไม่เกิน 25 ล้านบาท จึงส่งเรื่องให้ปลัดลงนามอนุมัติงบประมาณ แต่เมื่อออกแบบสร้างอาคารเสร็จ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ตั้งราคากลาง 42 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งผู้ว่าคนเดิมให้รองผู้ว่าฯ เป็นผู้ดำเนินการ จึงมีการกำหนดราคากลางใหม่ เป็น 35 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า สธ.ตั้งราคากลางสูงเกินไป กรมบัญชีกลางก็อนุมัติ แต่บริษัทได้ทำสัญญาไว้ก่อนหน้าแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ดำเนินการก่อสร้างต่อ
“ถ้าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ ไม่ตีเรื่องกลับไปกลับมา ทำให้เรื่องค้าง เกิดความล่าช้า ซึ่งตั้งแต่มาดำรงตำแหน่งผมก็ฟันธงให้ดำเนินการเร่งด่วนแต่เท่าที่ได้ยินมีข้าราชการ สธ.ไม่แฮปปี้ หากให้งบประมาณโครงการ 42 ล้านบาทเหมือนเดิม เพราเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงค่าวัสดุขึ้น และจะเสียหน้า จึงควรเพิ่มเป็น 48 ล้านบาท แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ซึ่งหากรัฐมนตรีจะหาบริษัทมาดำเนินการก็ส่งมาได้เลย 60 วัน เสร็จก็ดี อยากให้เสร็จพรุ่งนี้ด้วยซ้ำ” นายปานชัย กล่าว
ขณะที่นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์ประจำพระองค์ที่ได้เข้าร่วมในการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ กล่าวว่า ได้ดำเนินการโครงการตั้งแต่ นายกร ทัพพะรังสี เป็น รมว.สธ.และติดตามมา 4 รมต.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล นพ.มงคล ณ สงขลา ซึ่งเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ว่าอาคารยังไม่เสร็จแต่ดูแผนรองรับพิจารณาเห็นว่าเป็นแผนที่ดี ยอมรับได้
“นายไชยา ลงดูเป็นเรื่องดี ทำให้คนทำงานกล้าตัดสินใจ เพราะหลายฝ่ายเจตนาดีแต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ ขอให้ นายไชยา สบายใจ แม้ว่าการตกแต่งอาจแต่ยังไม่เป็นสัดส่วน เท่าใด และคนที่เกี่ยวข้องก็กลัวเกี่ยวกับเรื่องราคากลาง ค่าครองชีพที่เปลี่ยนไปเป็นอุปสรรค นอกจากนี้ฝากให้เตรียมพร้อมเครื่องมือ ส่วนลานจอดเฮลิคอปเตอร์นั้นไม่จำเป็น ซึ่งการก่อสร้างลานจอนอาจต้องรับน้ำหนักอาจทำให้กระทบกับตัวอาคาร เนื่องจากได้ทำการซ้อมแผนกับสนามบินรองรับแล้ว อีกทั้งทีมแพทย์ มีการเตรียมพร้อมแผนปฏิบัติการทุกสัปดาห์” นพ.สงคราม กล่าว
นพ.ไชยอนันต์ ทยาวิวัฒน์ ผอ.รพ.หัวหิน กล่าวว่า การก่อสร้างที่ล่าช้าเป็นเพราะการตัดสินใจเกินอำนาจหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเมื่อครั้งที่อดีตรองผู้ว่าฯ เสนอราคากลางใหม่ ก็ได้ยืนยันในที่ประชุมว่า ได้ทักท้วงในเรื่องดังกล่าวและให้ทำสัญญาแนบท้ายแทนในการทำสัญญาแต่รองผู้ว่าฯไม่ยอม และให้เหตุผลว่า เรื่องดังกล่าวต้องใช้ความชำนาญการโดยเฉพาะ ฉะนั้น ราคากลางที่ สธ.ตั้งขึ้นจะต้องมีคนนอกเข้ามาดูเพื่อความโปร่งใส แต่รองผู้ว่าฯ ตั้งคณะกรรมการราคากลางใหม่โดยไม่มีตัวแทนจาก สธ.เลย เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน ไม่สามารถพิจารณาราคากลางได้ ไม่มีตัวแทน สธ.จนเวลาล่วง 9 เดือน จึงตั้งคนจากสธ.มาจึงมีการพิจารณาได้
“ส่วนตัวเชื่อว่าราชการทุกคนทุ่มเทถวายชีวิตเพื่อให้โครงการดังกล่าวสำเร็จให้ได้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลมีปัญหาติดลบมาตลอด เนื่องจากเดิมเป็นโรงพยาบาลชุมชน การก้าวเป็นโรงพยาบาลศูนย์จึงมีหลายปัจจัยที่ทำให้ล่าช้า ไม่ใช้เพียงการก่อสร้างเท่นั้น แต่มีปัญหาเรื่องกำลังคนซึ่งไม่มีความพร้อมด้วย” นพ.ไชยอนันต์ กล่าว
อนึ่ง โครงการพัฒนาโรงพยาบาลหัวหินจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 300 เตียง โดย ครม.อนุมัติงบประมาณการพัฒนาโรงพยาบาลจำนวน 660 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 2546-2550 โดยระยะที่ 1 เป็นการปรับปรุงอาคารเก่า ด้านการก่อสร้าง จำนวน 55.3 ล้านบาท ครุภัณฑ์จำนวน 32 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 การก่อสร้างอาคารศูนย์อุบัติเหตุและศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 10 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรองบุคคลสำคัญ วีไอพี 1, 2 ตั้งแต่ปี 2547-2550 งบประมาณ 405 ล้านบาท