สถาบันไทยคดีศึกษาธรรมศาสตร์ออกแถลงการณ์ “ประสาทพระวิหาร” ประณามรัฐบาล “หมัก” ยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียว ยอมรับแผนที่และแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดน เรียกร้องคนไทยทั้งชาติยับยั้ง ฟันธงต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง
ข้อแถลงจากคณะวิจัย
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18 มิถุนายน 2551
1.ในเบื้องต้นนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่แท้จริงมิใช่ราชอาณาจักรไทยหรือราชอาณาจักรกัมพูชา แต่เป็นรัฐบาลไทยกับประชาชนไทย ดังนั้น ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนทุกคนจะต้องตัดสินใจแล้วว่า ตนกำลังปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือไม่ หรือของใคร ฉะนั้น
*อย่านำเกียรติยศ ศักดิ์ศรีและเสรีภาพของตนมาแลกกับสิ่งที่ไม่ควรแลก ตลอดจนพิจารณาให้ถ่องแท้ที่จะอยู่ใต้การครอบงำของนักการเมือง
*อย่าหลงเชื่อให้มีผู้นำวาทกรรมเรื่องคลั่งชาติหรือชาตินิยมในเชิงลบมาเบี่ยงเบนประเด็น หรือครอบงำการตัดสินใจของตน ในกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
2.สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้ คือ รัฐบาลไปยอมให้ราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียว ไปยอมรับแผนที่ของกัมพูชาที่ไม่ยอมรับอธิปไตยตามมติคณะรัฐมนตรี 2505 และยังยอมไปทำแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดนแม้แต่น้อย ผลเสียตามกฎหมายปิดปากก็จะเกิดขึ้น
เมื่อรัฐบาลไทยไม่ยับยั้งหรือคัดค้าน ประชาชนคนไทยควรร่วมกันยับยั้งหรือคัดค้านโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิชุมชน และส่งเรื่องไปตามขั้นตอนและเวลาอย่างเร่งด่วนผ่านองค์การยูเนสโกในประเทศไทย ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก
จึงขอความร่วมมือของนักวิชากร ข้าราชการประจำองค์กรภาคประชาชน สื่อและประชาชนทุกคนมาร่วมกัน
*ศึกษาพิจารณาดูข้ออ้างที่จะมาใช้เพื่อให้มีการเลื่อนการพิจารณา
(เรียกร้องความร่วมมือ เช่นจาก ICOMOS ไทย คณะกรรมาธิการ/คณะทำงานชุดต่างๆ ที่มีอยู่)
*ทางชายแดนขอให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐอีกฝ่ายเหนือดินแดนไทย
หน่วยงานที่มีหน้าที่ทุกหน่วยให้สอดส่องบันทึกการกระทำที่ไม่ยอมรับมติคณะรัฐมนตรี 2505 เรื่องเขตแดนไทยตามวิธีการในระบอบประชาธิปไตย ในทางคู่ขนานต้องนำเข้าเจรจาในคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา ส่งเรื่องเข้ารัฐสภา และ/หรือดำเนินการทางการทูตอื่น ๆ
(เรียกร้องหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามชายแดนและกระทรวงการต่างประเทศ)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องขึ้นอยู่กับความเสมอภาคและเคารพอธิปไตยของทั้งสองฝ่ายอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
คณะวิจัยมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยมีเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้า
ข้อควรระลึก คือ 1) หากไม่ยืนยันเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 ไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา 2) แผนที่ใหม่ของกัมพูชามีนัยเป็นการยืนยันท่าทีของกัมพูชาที่ไม่ยึดถือเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 3) เมื่อไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้ชัดเจนเสียก่อน แต่เลือกแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมและออกแถลงการณ์ร่วม ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเสียดินแดนให้กัมพูชาในที่สุด
นักวิชาการ ข้าราชการประจำ องค์กรภาคมหาชน สื่อ และประชาชนทุกคน ควรตั้งสติ ใช้เหตุผล และใช้ประโยชน์จากเบาะแสของคณะวิจัย พิจารณาให้หลุดพ้นจากการถูกบิดเบือน เบี่ยงเบน หลุมพราง และภาพที่ถูกสร้างขึ้น ค่าแห่งความทรงจำเรื่องปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกอารยธรรมของมนุษยชาติจะได้ไม่เป็นเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือดินแดนไทย รับรองว่าไม่ใช่ Win-Win อย่างแน่นอน
สำหรับรายละเอียดของการแถลงข่าว “ผู้จัดการออนไลน์” จะนำเสนอต่อไป
ข้อแถลงจากคณะวิจัย
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18 มิถุนายน 2551
1.ในเบื้องต้นนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่แท้จริงมิใช่ราชอาณาจักรไทยหรือราชอาณาจักรกัมพูชา แต่เป็นรัฐบาลไทยกับประชาชนไทย ดังนั้น ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนทุกคนจะต้องตัดสินใจแล้วว่า ตนกำลังปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือไม่ หรือของใคร ฉะนั้น
*อย่านำเกียรติยศ ศักดิ์ศรีและเสรีภาพของตนมาแลกกับสิ่งที่ไม่ควรแลก ตลอดจนพิจารณาให้ถ่องแท้ที่จะอยู่ใต้การครอบงำของนักการเมือง
*อย่าหลงเชื่อให้มีผู้นำวาทกรรมเรื่องคลั่งชาติหรือชาตินิยมในเชิงลบมาเบี่ยงเบนประเด็น หรือครอบงำการตัดสินใจของตน ในกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
2.สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้ คือ รัฐบาลไปยอมให้ราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียว ไปยอมรับแผนที่ของกัมพูชาที่ไม่ยอมรับอธิปไตยตามมติคณะรัฐมนตรี 2505 และยังยอมไปทำแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดนแม้แต่น้อย ผลเสียตามกฎหมายปิดปากก็จะเกิดขึ้น
เมื่อรัฐบาลไทยไม่ยับยั้งหรือคัดค้าน ประชาชนคนไทยควรร่วมกันยับยั้งหรือคัดค้านโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิชุมชน และส่งเรื่องไปตามขั้นตอนและเวลาอย่างเร่งด่วนผ่านองค์การยูเนสโกในประเทศไทย ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก
จึงขอความร่วมมือของนักวิชากร ข้าราชการประจำองค์กรภาคประชาชน สื่อและประชาชนทุกคนมาร่วมกัน
*ศึกษาพิจารณาดูข้ออ้างที่จะมาใช้เพื่อให้มีการเลื่อนการพิจารณา
(เรียกร้องความร่วมมือ เช่นจาก ICOMOS ไทย คณะกรรมาธิการ/คณะทำงานชุดต่างๆ ที่มีอยู่)
*ทางชายแดนขอให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐอีกฝ่ายเหนือดินแดนไทย
หน่วยงานที่มีหน้าที่ทุกหน่วยให้สอดส่องบันทึกการกระทำที่ไม่ยอมรับมติคณะรัฐมนตรี 2505 เรื่องเขตแดนไทยตามวิธีการในระบอบประชาธิปไตย ในทางคู่ขนานต้องนำเข้าเจรจาในคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา ส่งเรื่องเข้ารัฐสภา และ/หรือดำเนินการทางการทูตอื่น ๆ
(เรียกร้องหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามชายแดนและกระทรวงการต่างประเทศ)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องขึ้นอยู่กับความเสมอภาคและเคารพอธิปไตยของทั้งสองฝ่ายอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
คณะวิจัยมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยมีเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้า
ข้อควรระลึก คือ 1) หากไม่ยืนยันเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 ไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา 2) แผนที่ใหม่ของกัมพูชามีนัยเป็นการยืนยันท่าทีของกัมพูชาที่ไม่ยึดถือเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 3) เมื่อไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้ชัดเจนเสียก่อน แต่เลือกแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมและออกแถลงการณ์ร่วม ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเสียดินแดนให้กัมพูชาในที่สุด
นักวิชาการ ข้าราชการประจำ องค์กรภาคมหาชน สื่อ และประชาชนทุกคน ควรตั้งสติ ใช้เหตุผล และใช้ประโยชน์จากเบาะแสของคณะวิจัย พิจารณาให้หลุดพ้นจากการถูกบิดเบือน เบี่ยงเบน หลุมพราง และภาพที่ถูกสร้างขึ้น ค่าแห่งความทรงจำเรื่องปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกอารยธรรมของมนุษยชาติจะได้ไม่เป็นเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือดินแดนไทย รับรองว่าไม่ใช่ Win-Win อย่างแน่นอน
สำหรับรายละเอียดของการแถลงข่าว “ผู้จัดการออนไลน์” จะนำเสนอต่อไป