“ม.ล.วัลย์วิภา” ยันไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามข้อผูกพันในแถลงการณ์ร่วมที่ “นพดล ปัทมะ” ลงนามกับกัมพูชาในการขอขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เผย การกระทำของนพดลและรัฐบาลชุดนี้ขัดมติ ครม.ปี 2505 ชี้ “สมัคร” พูดง่ายๆ ทั้งที่ไทยจะเสียดินแดน แนะคนไทยร่วมกันทำหนังสือคัดค้านไปถึงคณะกรรมการมรดกโลก และส่งไปยังสถานทูตกัมพูชา พร้อมนัดระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน 24 มิ.ย.นี้ ที่สถาบันไทยคดีศึกษา
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 9 ตึกอเนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา เปิดเผยข้อมูลในประเด็นที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา (Joint Communique) และแผนผังที่แนบท้ายแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2551 ซึ่งมีทั้งหมด 6 ข้อด้วยกันแต่ที่น่าสนใจ ก็คือ ในข้อที่ 1.ที่ระบุว่าไทยสนับสนุนการลงทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการพิจารณามรดกโลกครั้งที่ 32 เมื่อเดือน ก.ค.2551 ณ Quebec ประเทศแคนาดา โดยการกำหนดเขตรอบดินแดนนั้นระบุตามหมายเลข 1 ในแผนที่ซึ่งจัดทำโดยกัมพูชา รวมถึงหมายเลข 2 คือ ด้านตะวันออกและด้านใต้ของปราสาทก็ถูกรวมเข้าไปในแผนที่ดังกล่าวด้วย
และในข้อที่ 2.ที่ระบุว่า เพื่อเห็นแก่ความปรองดอง กัมพูชาจะยอมรับการเสนอให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยละเว้นการระบุว่าพื้นที่บริเวณด้านเหนือและด้านตะวันตกของตัวปราสาทว่าเป็นของใคร และในข้อที่ 5 ที่ระบุว่า การลงทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกจะต้องปราศจากการละเมิดสิทธิของกัมพูชาและไทย ในการกำหนดเขตแดนในการทำงานของคณะทำงานร่วม The Joint Commission for Land Boundary (JBC) ของทั้งสองประเทศ ซึ่งแถลงการณ์ร่วมทั้ง 3 ข้อนั้นบ่งชี้ว่าไทยยอมรับแผนที่ปักปันที่ทางกัมพูชาทำเสนอในขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในมาตรการส่วน 1:200,000 โดยไม่ได้ยอมรับแผนที่ของฝ่ายไทยที่ยึดถือแผนที่มาตรส่วน 1:50,000 ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2505 ซึ่งถือเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี และการที่ไทยยอมรับพื้นที่ตามแผนผังจะถือว่าเป็นการยอมรับพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาเท่ากับว่าไทยต้องเสียดินแดนที่เป็นปัญหาทับซ้อนกันให้กับกัมพูชาถึง 4.6 ตารางกิโลเมตร
“ที่นายกฯสมัคร ในรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อเช้านี้โดยบอกว่าเป็นเรื่องของเขา ไม่ได้มีการชี้แจงอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างดูง่ายไปหมด ทั้งที่มันเป็นเรื่องเสียดินแดน และที่พูดก็พูดจากความเข้าใจพื้นฐานจากรูปภาพเท่านั้น ซึ่งรูปภาพที่พูดถึงกันนี้ไม่มีผลอะไรนอกจากความเข้าใจ ซึ่งเรื่องเส้นเขตแดนจะต้องมีการรับรองทางกฎหมาย เวลามีกรณีพิพาทจะไม่มีผลเลย และครั้งนี้มีการกระทำที่รองรับจาก รมว.ต่างประเทศ ของไทยเราก็จะไม่มีประเด็นที่สามารถโต้แย้งได้อีกเพราะเราได้ยอมรับเส้นเขตแดนของกัมพูชาไปในตัวจากแถลงการณ์ร่วมนี้แล้ว ดังนั้น การเจรจาต่อไปต้องยึดตามที่ลงนามไว้ และจะมีผลต่อการพัฒนาร่วมกัน หลังจากการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว ส่วนที่มีการออกมาระบุว่าแถลงการณ์ร่วมนี้เป็นเพียงบันทึกเท่านั้นคงต้องให้นักกฎหมายมาตีความแต่หากดูตามข้อ 5 ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าห้ามละเมิดสิทธิของกัมพูชา” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว
ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ตนอยากให้ภาคประชาชนรวมตัวกันทำหนังสือคัดค้านผ่านยูเนสโก ไทยไปถึงคณะกรรมการมรดกโลกรวมถึงส่งหนังสือคัดค้านไปยังสถานทูตกัมพูชา หรือขอความร่วมมือไปยังอีโคโมส ประเทศไทย เพื่อให้แจ้งต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่าประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วย หรืออาจจะมีกลไกตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อทำให้เรื่องนี้ตกเป็นโมฆะ
อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารที่ 24 มิถุนายนนี้ เวลา 13.00 น.ที่สถาบันไทยคดีศึกษา ตนอยากเชิญชวนนักกฎหมาย นักวิชา องค์กรภาคเอกชน และผู้ที่มีความสนใจเรื่องเขาพระวิหารร่วมระดมความคิดเห็นและศึกษาแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา และเอกสารการยื่นขอจดทะเบียนมรดกโลก เพื่อดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนในการคัดค้านการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อไป
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 9 ตึกอเนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา เปิดเผยข้อมูลในประเด็นที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา (Joint Communique) และแผนผังที่แนบท้ายแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2551 ซึ่งมีทั้งหมด 6 ข้อด้วยกันแต่ที่น่าสนใจ ก็คือ ในข้อที่ 1.ที่ระบุว่าไทยสนับสนุนการลงทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการพิจารณามรดกโลกครั้งที่ 32 เมื่อเดือน ก.ค.2551 ณ Quebec ประเทศแคนาดา โดยการกำหนดเขตรอบดินแดนนั้นระบุตามหมายเลข 1 ในแผนที่ซึ่งจัดทำโดยกัมพูชา รวมถึงหมายเลข 2 คือ ด้านตะวันออกและด้านใต้ของปราสาทก็ถูกรวมเข้าไปในแผนที่ดังกล่าวด้วย
และในข้อที่ 2.ที่ระบุว่า เพื่อเห็นแก่ความปรองดอง กัมพูชาจะยอมรับการเสนอให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยละเว้นการระบุว่าพื้นที่บริเวณด้านเหนือและด้านตะวันตกของตัวปราสาทว่าเป็นของใคร และในข้อที่ 5 ที่ระบุว่า การลงทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกจะต้องปราศจากการละเมิดสิทธิของกัมพูชาและไทย ในการกำหนดเขตแดนในการทำงานของคณะทำงานร่วม The Joint Commission for Land Boundary (JBC) ของทั้งสองประเทศ ซึ่งแถลงการณ์ร่วมทั้ง 3 ข้อนั้นบ่งชี้ว่าไทยยอมรับแผนที่ปักปันที่ทางกัมพูชาทำเสนอในขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในมาตรการส่วน 1:200,000 โดยไม่ได้ยอมรับแผนที่ของฝ่ายไทยที่ยึดถือแผนที่มาตรส่วน 1:50,000 ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2505 ซึ่งถือเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี และการที่ไทยยอมรับพื้นที่ตามแผนผังจะถือว่าเป็นการยอมรับพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาเท่ากับว่าไทยต้องเสียดินแดนที่เป็นปัญหาทับซ้อนกันให้กับกัมพูชาถึง 4.6 ตารางกิโลเมตร
“ที่นายกฯสมัคร ในรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อเช้านี้โดยบอกว่าเป็นเรื่องของเขา ไม่ได้มีการชี้แจงอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างดูง่ายไปหมด ทั้งที่มันเป็นเรื่องเสียดินแดน และที่พูดก็พูดจากความเข้าใจพื้นฐานจากรูปภาพเท่านั้น ซึ่งรูปภาพที่พูดถึงกันนี้ไม่มีผลอะไรนอกจากความเข้าใจ ซึ่งเรื่องเส้นเขตแดนจะต้องมีการรับรองทางกฎหมาย เวลามีกรณีพิพาทจะไม่มีผลเลย และครั้งนี้มีการกระทำที่รองรับจาก รมว.ต่างประเทศ ของไทยเราก็จะไม่มีประเด็นที่สามารถโต้แย้งได้อีกเพราะเราได้ยอมรับเส้นเขตแดนของกัมพูชาไปในตัวจากแถลงการณ์ร่วมนี้แล้ว ดังนั้น การเจรจาต่อไปต้องยึดตามที่ลงนามไว้ และจะมีผลต่อการพัฒนาร่วมกัน หลังจากการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว ส่วนที่มีการออกมาระบุว่าแถลงการณ์ร่วมนี้เป็นเพียงบันทึกเท่านั้นคงต้องให้นักกฎหมายมาตีความแต่หากดูตามข้อ 5 ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าห้ามละเมิดสิทธิของกัมพูชา” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว
ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ตนอยากให้ภาคประชาชนรวมตัวกันทำหนังสือคัดค้านผ่านยูเนสโก ไทยไปถึงคณะกรรมการมรดกโลกรวมถึงส่งหนังสือคัดค้านไปยังสถานทูตกัมพูชา หรือขอความร่วมมือไปยังอีโคโมส ประเทศไทย เพื่อให้แจ้งต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่าประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วย หรืออาจจะมีกลไกตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อทำให้เรื่องนี้ตกเป็นโมฆะ
อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารที่ 24 มิถุนายนนี้ เวลา 13.00 น.ที่สถาบันไทยคดีศึกษา ตนอยากเชิญชวนนักกฎหมาย นักวิชา องค์กรภาคเอกชน และผู้ที่มีความสนใจเรื่องเขาพระวิหารร่วมระดมความคิดเห็นและศึกษาแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา และเอกสารการยื่นขอจดทะเบียนมรดกโลก เพื่อดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนในการคัดค้านการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อไป