“ไชยา” ประกาศลั่นไทยไม่ต้องทำซีแอลเพิ่มอีก เหตุทำซีแอลยาจำเป็นครบแล้ว แถมห่วงจะเสียมารยาทกับเพื่อนร่วมโลก เพราะบริษัทยาลงทุนวิจัยแพงหลายพันล้าน ด้านเอ็นจีโอ นักวิชาการ จวก “ไชยา” 4 เดือน ผ่านไป ยังไม่เข้าใจเรื่องซีแอลอยู่ดี ทำแต่เรื่องขวางผลประโยชน์สังคม
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงอนาคตการดำเนินการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ว่า จากนี้หากมีหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) หรือองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เสนอให้ประกาศซีแอลเพิ่ม ก็คงต้องนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ พิจารณาความเหมาะสมก่อน เพราะยาที่จำเป็นก็ได้ทำซีแอลแล้ว ทั้งโรคเอดส์ หัวใจ และมะเร็ง อย่างไรก็ตาม คงไม่จำเป็นต้องการประกาศซีแอลยาเพิ่ม เพราะไทยได้ประกาศซีแอลยาที่มีความจำเป็นครบถ้วนหมดแล้ว และการทำซีแอลเป็นการเสียมารยาทกับเพื่อนร่วมโลก โดยเฉพาะบริษัทยาที่ได้ลงทุนศึกษาวิจัยไปหลายพันล้านบาท
นายไชยา กล่าวต่อถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาแก้ปัญหาการเข้าถึงยา ว่า เพิ่งทราบเรื่องจากสื่อมวลชน ว่า ตนเป็นประธานคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งเท่านั้น และขณะนี้ยังไม่มีการประชุมหารือใดๆ ทั้งสิ้น
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การปฏิเสธที่จะประกาศซีแอลยาเพิ่ม เป็นการท้าทายกลุ่มองค์กรด้านสุขภาพอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ ต้องระมัดระวังที่จะไม่ทำอะไรขัดขวางกับประโยชน์ของสาธารณะ เพราะสังคมจะลุกขึ้นมาติดตามและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการทำซีแอลเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับบริษัทยาให้ลดราคายา และช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชนได้เป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่ถูกต้องและทั่วโลกให้การยอมรับ ดังนั้น นโยบายดีๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ควรจะสานต่อ
“4 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า นายไชยา ไม่เข้าใจเรื่องซีแอลเลย และต้องโทษข้าราชการประจำ ที่ไม่ให้ข้อมูลเรื่องซีแอลที่ถูกต้องให้ทราบ การประกาศว่าจะไม่ทำซีแอลอีก จะให้ตีความว่า นายไชยา จะไม่อยู่ไม่เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขแล้วใช่หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา นายไชยา ได้ทำให้กลไกการทำซีแอลขาดหายไป แถมยังตั้งคณะกรรมการร่วมฯ 3 ฝ่าย ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามีหน้าที่อะไรกันแน่” น.ส.สารี กล่าว
ขณะที่ ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คงต้องถามนายไชยา ว่า ขณะนี้ผู้ป่วยทุกระบบประกันสุขภาพ สามารถเข้าถึงยาครอบคลุมทุกโรคแล้วจริงหรือ สิ่งที่ นายไชยา พูด ต้องตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยเฉพาะผู้ป่วยบัตรทองที่งบประมาณรายหัว แทบจะไม่เพียงพอ ในทางตรงกันข้าม ยาที่จำหน่ายในประเทศไทย แทบทุกชนิดเป็นยาที่ติดสิทธิบัตร ซึ่งมีราคาแพง แต่ไทยกลับไม่สามารถควบคุมกลไกทางตลาดในการกำหนดราคาได้เลย ถือเป็นปัญหาที่รัฐบาลควรจะสนใจ เข้ามาศึกษาและหาทางแก้ปัญหา ทางออกที่สามารถทำได้คือ การทำซีแอล ที่จะช่วยให้ราคายาถูกลง เพราะจากการศึกษายังมียาอีกหลายประเภทที่มีปัญหาการเข้าไม่ถึง เช่น ยาจิตเวช ที่ระบบประกันสุขภาพไม่ครอบคลุม
“รัฐบาลควรจะปกป้องคนไทย โดยคำนึงถึงฐานะของคนไทย ไม่ใช่ดูเฉพาะข้อมูลของบริษัทยาอย่างเดียว หรือมองแต่ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่บริษัทยา มีกำลังต่อรองและกดดันไทยได้ ที่สำคัญการทำซีแอล ไม่ได้เป็นการเสียมารยาท เพราะเป็นการทำถูกต้องตามกฎหมาย นักวิชาการระหว่างประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา มีความพยายามนำซีแอลมาใช้” ภญ.จิราพร กล่าว
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงอนาคตการดำเนินการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ว่า จากนี้หากมีหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) หรือองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เสนอให้ประกาศซีแอลเพิ่ม ก็คงต้องนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ พิจารณาความเหมาะสมก่อน เพราะยาที่จำเป็นก็ได้ทำซีแอลแล้ว ทั้งโรคเอดส์ หัวใจ และมะเร็ง อย่างไรก็ตาม คงไม่จำเป็นต้องการประกาศซีแอลยาเพิ่ม เพราะไทยได้ประกาศซีแอลยาที่มีความจำเป็นครบถ้วนหมดแล้ว และการทำซีแอลเป็นการเสียมารยาทกับเพื่อนร่วมโลก โดยเฉพาะบริษัทยาที่ได้ลงทุนศึกษาวิจัยไปหลายพันล้านบาท
นายไชยา กล่าวต่อถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาแก้ปัญหาการเข้าถึงยา ว่า เพิ่งทราบเรื่องจากสื่อมวลชน ว่า ตนเป็นประธานคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งเท่านั้น และขณะนี้ยังไม่มีการประชุมหารือใดๆ ทั้งสิ้น
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การปฏิเสธที่จะประกาศซีแอลยาเพิ่ม เป็นการท้าทายกลุ่มองค์กรด้านสุขภาพอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ ต้องระมัดระวังที่จะไม่ทำอะไรขัดขวางกับประโยชน์ของสาธารณะ เพราะสังคมจะลุกขึ้นมาติดตามและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการทำซีแอลเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับบริษัทยาให้ลดราคายา และช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชนได้เป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่ถูกต้องและทั่วโลกให้การยอมรับ ดังนั้น นโยบายดีๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ควรจะสานต่อ
“4 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า นายไชยา ไม่เข้าใจเรื่องซีแอลเลย และต้องโทษข้าราชการประจำ ที่ไม่ให้ข้อมูลเรื่องซีแอลที่ถูกต้องให้ทราบ การประกาศว่าจะไม่ทำซีแอลอีก จะให้ตีความว่า นายไชยา จะไม่อยู่ไม่เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขแล้วใช่หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา นายไชยา ได้ทำให้กลไกการทำซีแอลขาดหายไป แถมยังตั้งคณะกรรมการร่วมฯ 3 ฝ่าย ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามีหน้าที่อะไรกันแน่” น.ส.สารี กล่าว
ขณะที่ ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คงต้องถามนายไชยา ว่า ขณะนี้ผู้ป่วยทุกระบบประกันสุขภาพ สามารถเข้าถึงยาครอบคลุมทุกโรคแล้วจริงหรือ สิ่งที่ นายไชยา พูด ต้องตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยเฉพาะผู้ป่วยบัตรทองที่งบประมาณรายหัว แทบจะไม่เพียงพอ ในทางตรงกันข้าม ยาที่จำหน่ายในประเทศไทย แทบทุกชนิดเป็นยาที่ติดสิทธิบัตร ซึ่งมีราคาแพง แต่ไทยกลับไม่สามารถควบคุมกลไกทางตลาดในการกำหนดราคาได้เลย ถือเป็นปัญหาที่รัฐบาลควรจะสนใจ เข้ามาศึกษาและหาทางแก้ปัญหา ทางออกที่สามารถทำได้คือ การทำซีแอล ที่จะช่วยให้ราคายาถูกลง เพราะจากการศึกษายังมียาอีกหลายประเภทที่มีปัญหาการเข้าไม่ถึง เช่น ยาจิตเวช ที่ระบบประกันสุขภาพไม่ครอบคลุม
“รัฐบาลควรจะปกป้องคนไทย โดยคำนึงถึงฐานะของคนไทย ไม่ใช่ดูเฉพาะข้อมูลของบริษัทยาอย่างเดียว หรือมองแต่ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่บริษัทยา มีกำลังต่อรองและกดดันไทยได้ ที่สำคัญการทำซีแอล ไม่ได้เป็นการเสียมารยาท เพราะเป็นการทำถูกต้องตามกฎหมาย นักวิชาการระหว่างประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา มีความพยายามนำซีแอลมาใช้” ภญ.จิราพร กล่าว