ศธ.เตรียมให้ 2 ขั้น จูงใจข้าราชการครูที่ทำงานส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรม ไม่เคยถูกลงโทษทางกฎหมายทางวินัย โดยให้สถานศึกษาคัดเลือกกันเอง พร้อมส่งชื่อเข้าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่วน สอศ.ส่งชื่อให้ ผอ.อาชีวศึกษาจังหวัด และมหาวิทยาลัยส่งชื่อให้อธิการบดี เป็นผู้พิจารณา
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายที่จะสร้างระบบจูงใจให้กับข้าราชการครูที่ทำงานส่งเสริมคุณธรรม และศีลธรรมในสถานศึกษา เพื่อให้ข้าราชการครูทำงานด้วยความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ว่า สำนักงานปลัด ศธ.จึงได้ตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่าง 5 องค์กรหลัก เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบกรณีพิเศษ โดยใช้แนวทางใกล้เคียงกับของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ป.ป.ส.) ที่ให้ความดีความชอบ 2 ขั้นกับผู้ที่มีผลงานต่อสู้กับยาเสพติดดีเด่น
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของ ศธ.ได้กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะรับการพิจารณาไว้ โดยต้องเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สังกัด ศธ.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร หรือเป็นข้าราชการครูจากทุกสังกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มครูที่สอนวิชาเกี่ยวกับคุณธรรม และศีลธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา และกลุ่มที่ 4 ครูผู้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยต้องเป็นผู้มีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับ ประพฤติตนไม่ขัดศีลธรรม ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่เคยถูกลงโทษทางกฎหมาย หรือถูกลงโทษทางวินัย
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับกระบวนการประเมินผลงาน เบื้องต้นจะสำรวจจำนวนครู และผู้บริหารที่ดำเนินโครงการ หรือจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมหลักสูตร ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) หรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งกระทรวงอื่นๆ ที่มีข้าราชการครู เพื่อให้ได้ตัวเลขยอดรวมครูที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด โดยจะขอตัวเลขประจำตัว 13 หลัก เพื่อใช้ตรวจสอบว่ามีตัวตน และมีผลงานดีเด่นจริง จากนั้นจะกำหนดเป็นโควตาให้ความดีความชอบร้อยละ 1 จากจำนวนครูที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
โดยจะจัดระบบให้โรงเรียนคัดเลือกข้าราชการครูกันเองในสถานศึกษา จากนั้นส่งชื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาในภาพรวมของแต่ละเขตพื้นที่ ส่วนของ สอศ.ให้ส่งรายชื่อให้ผู้อำนวยการอาชีวศึกษาจังหวัดพิจารณา ส่วนมหาวิทยาลัยให้อิสระอธิการบดีเป็นผู้พิจารณา
ทั้งนี้ จะให้ผู้ปฏิบัติงานจัดทำสมุดสะสมความดีในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ไฟล์ โดยมีแบบฟอร์มที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้บังคับบัญชารับรอง โดยจะใช้รอบเวลา 12 เดือน ในการพิจารณาความดีความชอบ เนื่องจากการขอความดีความชอบทั่วไปจะใช้เวลา 6 เดือน อย่างไรก็ตาม หลังจากจัดทำรายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จะต้องนำเสนอต่อ ครม.เพื่อเห็นชอบโครงการต่อไป
โดยขณะนี้ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ www.moe.go.th เพื่อให้ข้าราชการได้มีส่วนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ของคนทำงานด้านคุณธรรม ศีลธรรม และขอเชิญทุกคนส่งความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2552 โดยผลตอบแทนที่ให้กับกลุ่มข้าราชการครูที่ได้รับรางวัลจะขอจัดสรรเป็นงบพิเศษจากงบประมาณกลาง
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายที่จะสร้างระบบจูงใจให้กับข้าราชการครูที่ทำงานส่งเสริมคุณธรรม และศีลธรรมในสถานศึกษา เพื่อให้ข้าราชการครูทำงานด้วยความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ว่า สำนักงานปลัด ศธ.จึงได้ตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่าง 5 องค์กรหลัก เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบกรณีพิเศษ โดยใช้แนวทางใกล้เคียงกับของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ป.ป.ส.) ที่ให้ความดีความชอบ 2 ขั้นกับผู้ที่มีผลงานต่อสู้กับยาเสพติดดีเด่น
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของ ศธ.ได้กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะรับการพิจารณาไว้ โดยต้องเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สังกัด ศธ.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร หรือเป็นข้าราชการครูจากทุกสังกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มครูที่สอนวิชาเกี่ยวกับคุณธรรม และศีลธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา และกลุ่มที่ 4 ครูผู้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยต้องเป็นผู้มีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับ ประพฤติตนไม่ขัดศีลธรรม ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่เคยถูกลงโทษทางกฎหมาย หรือถูกลงโทษทางวินัย
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับกระบวนการประเมินผลงาน เบื้องต้นจะสำรวจจำนวนครู และผู้บริหารที่ดำเนินโครงการ หรือจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมหลักสูตร ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) หรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งกระทรวงอื่นๆ ที่มีข้าราชการครู เพื่อให้ได้ตัวเลขยอดรวมครูที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด โดยจะขอตัวเลขประจำตัว 13 หลัก เพื่อใช้ตรวจสอบว่ามีตัวตน และมีผลงานดีเด่นจริง จากนั้นจะกำหนดเป็นโควตาให้ความดีความชอบร้อยละ 1 จากจำนวนครูที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
โดยจะจัดระบบให้โรงเรียนคัดเลือกข้าราชการครูกันเองในสถานศึกษา จากนั้นส่งชื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาในภาพรวมของแต่ละเขตพื้นที่ ส่วนของ สอศ.ให้ส่งรายชื่อให้ผู้อำนวยการอาชีวศึกษาจังหวัดพิจารณา ส่วนมหาวิทยาลัยให้อิสระอธิการบดีเป็นผู้พิจารณา
ทั้งนี้ จะให้ผู้ปฏิบัติงานจัดทำสมุดสะสมความดีในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ไฟล์ โดยมีแบบฟอร์มที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้บังคับบัญชารับรอง โดยจะใช้รอบเวลา 12 เดือน ในการพิจารณาความดีความชอบ เนื่องจากการขอความดีความชอบทั่วไปจะใช้เวลา 6 เดือน อย่างไรก็ตาม หลังจากจัดทำรายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จะต้องนำเสนอต่อ ครม.เพื่อเห็นชอบโครงการต่อไป
โดยขณะนี้ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ www.moe.go.th เพื่อให้ข้าราชการได้มีส่วนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ของคนทำงานด้านคุณธรรม ศีลธรรม และขอเชิญทุกคนส่งความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2552 โดยผลตอบแทนที่ให้กับกลุ่มข้าราชการครูที่ได้รับรางวัลจะขอจัดสรรเป็นงบพิเศษจากงบประมาณกลาง