สปสช.โอด สำนักงบฯ หั่นงบเหมาจ่ายรายหัวผู้ป่วยบัตรทอง เสนอขอ 2,312 บาทต่อหัว แต่ได้ 2,202 บาทต่อหัว ทำให้การบริหารจัดการยากลำบากขึ้น ขณะที่ “ไชยา” สั่งให้เจรจาขอเงินเพิ่มอีก ก่อนเสนอ ครม. ด้าน “อัมมาร” จวก สำนักงบฯ ตัดงบเหมาจ่ายรายหัวไม่เหมาะสม ไม่บอกเหตุผลที่แท้จริง แต่เล่นโยนบาปให้ สปสช.ลดสิทธิประโยชน์รักษาผู้ป่วยแทน คาดโครงการผ่าตัดต้อกระจก ข้อเข่าเทียม ฟันเทียม หาย เน้นบริการสุขภาพหลักๆ มะเร็ง ไตวาย หัวใจ เอดส์
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณอัตราเหมาจ่ายรายหัวของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ประจำปี 2552 ซึ่งเดิมได้เสนอขอสำนักงบประมาณอยู่ที่ 2,312 บาทต่อหัวนั้น ภายหลังจากได้มีการประชุมหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ ได้มีการสรุปงบเหมาจ่ายรายหัวของผู้ป่วยบัตรทองแล้วอยู่ที่ 2,202 บาทต่อหัว ซึ่งลดลงจากที่เสนอขอไว้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ได้นี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาผู้แทนราษฎร์พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้ สปสช.เร่งเจรจากับสำนักงบประมาณใหม่เพื่อขอเพิ่มงบรายหัวได้มากขึ้น
“ต้องยอมรับว่า เป็นไปได้ยากที่จะเจรจาให้สำนักงบประมาณเพิ่มเงินให้ได้ตามที่สปสช.เสนอขอไป คือ 2,312 บาทต่อหัว แต่ก็จะพยายามชี้แจงเหตุผลให้ได้งบเหมาจ่ายให้ใกล้เคียงกับที่ได้เสนอขอไปให้มากที่สุด ซึ่งงบประมาณที่เสนอขอเพิ่มไปนั้นได้คำนวณให้ตรงกับข้อมูลความเป็นจริงที่สุด แม้จะไม่มีการขยายสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยเพิ่ม แต่ต้องยอมรับว่ามีอัตราการรักษาเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนขอบผู้ป่วยในและผู้ป่วนอก รวมถึงเงินเดือน ค่าตอบแทนของบุคลากรที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งหาก สปสช.ได้ไม่งบประมาณตามที่เสนอขอไปจะส่งผลกระทบให้การบริการจัดการทำได้ยากลำบากมากขึ้น”นพ.วินัย กล่าว
อนึ่ง สปสช.ได้รับงบประมาณ ในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัวในปี 2551 อยู่ที่ 2,100 บาทต่อหัวต่อปี ซึ่งครอบคลุมการรักษาในทุกโรคแล้ว โดยได้ขยายสิทธิประโยชน์ล่าสุด คือ ครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไตผ่านช่องท้องฟรี และให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฟรีในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรัง และไม่มีผู้ดูแล
ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะคณะกรรมการบริหาร สปสช.กล่าวว่า ไม่ทราบสาเหตุที่ถูกตัดงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว เพราะสำนักงบประมาณไม่แจ้งสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งการตัดงบประมาณส่วนนี้ถือว่าไม่เหมาะสม สำนักงบประมาณควรจัดลำดับความสำคัญของการใช้งบประมาณจากระทรวงต่างๆ
“สำนักงบประมาณสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินหรือไม่ให้ แต่ยอมไม่ทำให้ถูกต้อง กลับมาให้ สปสช.เป็นผู้รับบาปแทน ว่าจะให้หรือไม่ให้บริการสุขภาพอะไรกับผู้ป่วยเอง อย่างไรก็ตาม หาก สปสช.ได้งบรายหัวเพียง 2,202 บาท ก็ถือว่ายังพออยู่ได้ แต่อาจต้องลดการให้บริการสุขภาพเร่งด่วนบางรายการ เช่น โครงการผ่าตัดต้อกระจก ข้อเข่าเทียม ฟันเทียม ฯลฯ และเน้นการให้บริการสุขภาพเรื่องหลักๆ ให้คงอยู่ต่อไป เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ไตวาย โรคหัวใจ เอดส์ แทน” ศ.ดร.อัมมาร กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณอัตราเหมาจ่ายรายหัวของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ประจำปี 2552 ซึ่งเดิมได้เสนอขอสำนักงบประมาณอยู่ที่ 2,312 บาทต่อหัวนั้น ภายหลังจากได้มีการประชุมหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ ได้มีการสรุปงบเหมาจ่ายรายหัวของผู้ป่วยบัตรทองแล้วอยู่ที่ 2,202 บาทต่อหัว ซึ่งลดลงจากที่เสนอขอไว้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ได้นี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาผู้แทนราษฎร์พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้ สปสช.เร่งเจรจากับสำนักงบประมาณใหม่เพื่อขอเพิ่มงบรายหัวได้มากขึ้น
“ต้องยอมรับว่า เป็นไปได้ยากที่จะเจรจาให้สำนักงบประมาณเพิ่มเงินให้ได้ตามที่สปสช.เสนอขอไป คือ 2,312 บาทต่อหัว แต่ก็จะพยายามชี้แจงเหตุผลให้ได้งบเหมาจ่ายให้ใกล้เคียงกับที่ได้เสนอขอไปให้มากที่สุด ซึ่งงบประมาณที่เสนอขอเพิ่มไปนั้นได้คำนวณให้ตรงกับข้อมูลความเป็นจริงที่สุด แม้จะไม่มีการขยายสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยเพิ่ม แต่ต้องยอมรับว่ามีอัตราการรักษาเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนขอบผู้ป่วยในและผู้ป่วนอก รวมถึงเงินเดือน ค่าตอบแทนของบุคลากรที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งหาก สปสช.ได้ไม่งบประมาณตามที่เสนอขอไปจะส่งผลกระทบให้การบริการจัดการทำได้ยากลำบากมากขึ้น”นพ.วินัย กล่าว
อนึ่ง สปสช.ได้รับงบประมาณ ในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัวในปี 2551 อยู่ที่ 2,100 บาทต่อหัวต่อปี ซึ่งครอบคลุมการรักษาในทุกโรคแล้ว โดยได้ขยายสิทธิประโยชน์ล่าสุด คือ ครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไตผ่านช่องท้องฟรี และให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฟรีในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรัง และไม่มีผู้ดูแล
ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะคณะกรรมการบริหาร สปสช.กล่าวว่า ไม่ทราบสาเหตุที่ถูกตัดงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว เพราะสำนักงบประมาณไม่แจ้งสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งการตัดงบประมาณส่วนนี้ถือว่าไม่เหมาะสม สำนักงบประมาณควรจัดลำดับความสำคัญของการใช้งบประมาณจากระทรวงต่างๆ
“สำนักงบประมาณสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินหรือไม่ให้ แต่ยอมไม่ทำให้ถูกต้อง กลับมาให้ สปสช.เป็นผู้รับบาปแทน ว่าจะให้หรือไม่ให้บริการสุขภาพอะไรกับผู้ป่วยเอง อย่างไรก็ตาม หาก สปสช.ได้งบรายหัวเพียง 2,202 บาท ก็ถือว่ายังพออยู่ได้ แต่อาจต้องลดการให้บริการสุขภาพเร่งด่วนบางรายการ เช่น โครงการผ่าตัดต้อกระจก ข้อเข่าเทียม ฟันเทียม ฯลฯ และเน้นการให้บริการสุขภาพเรื่องหลักๆ ให้คงอยู่ต่อไป เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ไตวาย โรคหัวใจ เอดส์ แทน” ศ.ดร.อัมมาร กล่าว