xs
xsm
sm
md
lg

ทีดีอาร์ไอเสนอรัฐเก็บภาษีพิเศษล่วงหน้าใช้โครงการ 30 บาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทีดีอาร์ไอเสนอรัฐเก็บภาษีพิเศษล่วงหน้า เพื่อใช้ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ระบุจะไม่ทำให้แต่ละคนต้องกังวลว่า เมื่อเจ็บป่วยต้องจ่ายเงินที่จุดบริการจำนวนมาก ส่วน “ไชยา” ค้านจัดเก็บค่าธรรมเนียมบัตรทอง

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง หัวหน้าโครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงผลการวิจัยปัญหาในโครงการหลักประกันสุขภาพ หรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาลว่า ปัญหาใหญ่ที่พบในประเทศไทยสำหรับโครงการนี้ สำหรับคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เห็นว่า เงิน 100 บาทไม่แพงมากนัก ที่จะใช้ในการรักษาสุขภาพ แต่คนที่อยู่ชนบทเงินจำนวน 30บาท ยังเป็นประเด็น เพราะประเทศไทยพบว่า มีกลุ่มบุคคลที่กำลังใกล้จะเป็นคนจนจำนวนมาก

ทั้งนี้ พบว่าโครงการหลักประกันสุขภาพ ถือเป็นโครงการที่ใช้ภาษีจากประชาชน โดยหลักการแล้วเป็นภาษีเงินได้บุคลธรรมดาและก็เป็นภาษีที่ก้าวหน้า อย่างอาชีพเกษตรกรก็จะเสียภาษีค่อนข้างน้อย ซึ่งก็เป็นไปตามรายได้ ส่วนทางด้านรายจ่ายทุกคน อาจจะเป็นภาษีที่ถอยหลังบ้าง

นักวิชาการผู้นี้ระบุว่า ทีดีอาร์ไอเสนอว่าหากต้องเก็บเงินหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นภาษีพิเศษ พบว่าบางประเทศก็มีการเก็บเป็นค่าประกันสุขภาพอย่างประเทศแคนาดา ซึ่งจัดเก็บเป็นรายเดือนแต่ต้นทุนในการเก็บที่ยังไม่รวมถึงคนที่ถึงเวลาจ่ายแล้วไม่ยอมจ่าย แค่ต้นทุนในการเก็บมีมากถึง10-15%ของเงินที่เก็บได้ แต่ถ้าประเทศไทยเก็บระบบภาษีที่เป็นธรรมก็ควรที่จะเก็บรวมไปในภาษี

อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมการจัดเก็บอัตราภาษีของประเทศไทยเป็นอัตราภาษีแบบก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย มีความเป็นธรรมกับผู้เข้าหลักประกันบ้าง ส่วนทางด้านการบริการพบว่าอาจจะเป็นประเด็นมากกว่า เพราะคนจนหรือว่าคนที่มีฐานะไม่ดีที่เข้ามาใช้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนส่วนใหญ่จะพอใจ แต่คนชั้นกลางในเมืองใหญ่กลับไม่ไว้ใจโครงการนี้มากนัก แต่คนจนกลับยังมีความกังวลว่า 30 บาทจะได้ยารักษาโรที่ดีเท่าโครงการอื่นหรือไม่

**เก็บค่าธรรมเนียมล่วงหน้าสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ถ้ามองถึงอนาคต การที่จะเดินหน้าโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สำหรับระบบประกันสุขภาพที่ดี ควรจะเป็นหลักประกันที่ทุกคนอาจจะจ่ายเงินล่วงหน้า โดยการเก็บภาษีหรือการเก็บค่าธรรมเนียมจ่ายไปล่วงหน้า แต่ละคนจึงไม่ควรกังวลว่าถ้าป่วยหนักจะต้องจ่ายมากเท่าใด เพราะปกติถ้ามีคนป่วยแล้วครอบครัวก็จะเริ่มขาดรายได้ หรือถ้าหากจะช่วยเฉพาะคนจน แต่สำหรับคนชั้นกลางที่ป่วยแล้วขาดรายได้ก็จะจนได้ด้วยความรวดเร็ว ถ้าเป็นระบบในอุดมคติจึงไม่ควรจะเก็บค่าบริการ ในจุดรับบริการ ถ้าจะให้เกิดความเป็นธรรม ควรเก็บค่าบริการล่วงหน้า


ทั้งนี้ โครงการหลักประกันสุขภาพในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ได้รักษาทุกโรคตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะมีความกังวลเรื่องงบประมาณ ซึ่งชัดเจนที่สุดคือ การล้างไตและยาต้านไวรัส ซึ่งตอนหลังนี้ เรื่องของการล้างไตและการต้านไวรัส มีเข้าโครงการมาบ้างแต่อาจไม่ทุกกรณี แต่ในภาคปฏิบัติ จะรักษาทุกโรคอย่างโรคเล็กๆ น้อยๆ เช่น ไข้หวัดหรือโรคใหญ่ๆ เช่น มะเร็งโดยหลักการแล้วก็จะครอบคลุม อย่างถ้าเป็นโรคใหญ่ๆที่ต้องใช้เงินมาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคงต้องคิดหนักพอสมควร แต่ถ้าต้องส่งต่อไปตามกลไกแล้ว อาจต้องรอนานเพราะต้องส่งต่อๆกัน

**“ไชยา” ตะแบงค้านเก็บค่าธรรมเนียมบัตรทองเพิ่มอ้างฟังประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ปฏิเสธให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาทกับผู้ป่วยบัตรทองในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อเข้ารักษา ภายหลังจากที่มีการสั่งยกเลิกในสมัยของ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สาธารณสุข โดยอ้างว่าต้องฟังเสียงประชาชนก่อน

“แต่ในที่ประชุมกลับมีเสียงค้านให้มีการจัดเก็บ โดยอ้างว่าหากไม่เก็บ จะมีประชาชนที่ไม่มีความจำเป็นต้องมารับการรักษามาหาหมอบ่อยขึ้น ทำให้แพทย์เสียเวลาในการตรวจคนไข้ที่จำเป็น ทั้งนี้ในการจัดเก็บเงิน 30 บาทนั้น ในช่วงเริ่มต้นโครงการ 3-4 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ต่างพอใจ แต่เมื่อรัฐบาล คมช.เข้ามาบริหาร กลับเสนอไม่ให้จัดเจ็บเงินส่วนนี้จากประชาชน โดยให้ สปสช.จัดงบประมาณแทน”
กำลังโหลดความคิดเห็น