“ไชยา” โยนเผือกร้อน “ซีแอล” ให้พาณิชย์ ระบุคนยกเลิกซีแอลไม่ใช่นายไชยาแน่ ไล่สหภาพ อภ.ไปกดดันที่อื่น ลั่นหากมีคนเสียชีวิต เพราะไม่ได้รับยา ลาออกจากตำแหน่งแน่นอน
เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (3 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นำตัวแทนสมาชิกเกือบ 100 คน ชุมนุมสนับสนุนการดำเนินการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ยารักษาโรคมะเร็ง โดยมีตัวแทนผลัดกันขึ้นเวทีปราศรัยและใช้เครื่องขยายเสียง พร้อมธงและป้ายมีข้อความต่างๆ อาทิ “คน อภ.องค์กรแรงงานนานาชาติ ขอให้กำลังใจนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล นพ.วิชัย โชควิวัฒน “คนดีของแผ่นดิน คุณหมอหัวใจทระนง” “43 รัฐวิสาหกิจ ขอคัดค้านการทบทวนซีแอล”
จนกระทั่งเวลา 11.30 น.นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางเข้ามาทำงานที่ สธ.ตามปกติ เมื่อเห็นมีการชุมนุมและใช้เครื่องขยายเสียง ก็แสดงความไม่พอใจโดยสั่งการให้เจ้าหน้าที่ สธ.แจ้งตำรวจ และผู้บังคับการภาค 1 ให้มาดูแลความเรียบร้อยของการชุมนุม พร้อมสั่งการให้ นพ.จักรธรรม รองปลัด สธ.เข้าพบแกนนำผู้ชุมนุมเพื่อแจ้งเรื่องเสียงดังรบกวนการทำงานของข้าราชการ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมยอมลดเสียงลง 30%
ต่อมาเวลา 12.00 น.นายไชยา ได้เข้าประชุมร่วมกับแกนนำของสหภาพ อภ.จำนวน 10 คน โดย นายไชยา กล่าวในที่ประชุมว่า ยืนยันว่า จะไม่มีการยกเลิกซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ และยาสลายลิ่มเลือดหัวใจ ส่วนยารักษาโรคมะเร็งที่ได้สั่งการให้มีการทบทวนข้อมูลจำนวนผู้ป่วยและจะเดินหน้าทำซีแอลหรือไม่ อย่างไร นั้น ตนจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
“หากมีการประกาศยกเลิกซีแอล คนที่จะประกาศยกเลิก คือ กระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ไม่ใช่นายไชยาอย่างแน่นอน แต่หากรัฐบาลมีมติให้ยกเลิกจริง ก็ต้องไปกดดันที่อื่น ไม่ใช่ที่ สธ.เพราะถ้าผมจะทำให้พวกคุณรัก ผมก็ประกาศทำซีแอลไปแล้ว แต่วันนี้ทำซีแอลได้ยาราคาถูกต้องดูข้อมูลว่าถูกลงเท่าไหร่ แต่ยืนยันว่า จะรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น หากมีคนเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงยา ผมจะลาออกทันที” นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวด้วยว่า วันนี้ตนคงจะไม่พูดว่าทบทวนแล้ว แต่จะพูดว่าเรื่องนี้ใกล้จบลงแล้ว ใกล้เสร็จแล้ว และหากบริษัทยาไม่ลดราคายาหรือลดลงมาแต่ไม่ได้ราคาที่เรายอมรับได้ก็จะคงทำซีแอลเช่นเดิม อย่างไรก็ตามเครือข่ายฯจะกดดันอะไรนั้นต้องพูดให้ชัดเจน ตนมาจากการเมืองประชาชนเป็นคนเลือกเข้ามา ผมมีสำนึกความเป็นคนอยู่ ญาติผมก็มีที่เป็นมะเร็งไม่ใช่ไม่รู้เรื่องความรู้สึกนึกคิด และจะว่าผมอย่างไรก็ได้ แต่ในสถานที่ราชการก็ควรให้เกียรติกันบ้าง” นายไชยา กล่าว
ด้าน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในฐานะที่ นายไชยา เป็นเสนาบดีกระทรวงสาธารณสุข ควรต้องคำนึงถึงชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งการทำซีแอลทุกประเทศมีกฎหมายเปิดช่องให้ทุกประเทศใช้สิทธิ์นี้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ แต่ที่ผ่านมากลับมาให้สัมภาษณ์สร้างความสับสน ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำซีแอลยารายการอื่นด้วย ที่ผ่านมา อภ.ประมูลยารักษาโรคมะเร็งเสร็จแล้ว 1 รายการ แต่ยังไม่ได้มีการลงนามจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากเกรงถึงผลกระทบทางกฎหมายที่เกิดขึ้น เพราะการฟ้องร้องแต่ละครั้งมีมูลค่าเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท
ด้าน นพ.วิชัย ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคณะกรรมการบริหาร อภ.ลาออกจากตำแหน่งแล้ว 3 ราย ได้แก่ นายชูชัย ฤดีสุขสกุล รองประธานกรรมการบริหาร ลาออกไปดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานีไทยพีบีเอส นายประสาร มฤคพิทักษ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ส.ว.สรรหา และ นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกรรมการโดยตำแหน่งไม่ได้แจ้งเหตุผล อย่างไรก็ตาม ถือว่าคณะกรรมการบริหาร อภ.ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานแต่อย่างใด เพราะตามกฎหมายแล้วสามารถมีได้ 8-15 คน
“การลาออกนั้นจะเป็นการกดดันหรือไม่นั้น ผมคิดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อยากจะเข้ามาดูแล อภ.ด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นดุลพินิจของท่าน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐวิสาหกิจมีภารกิจสำคัญ และจำเป็นต้องมีเสถียรภาพ การเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยๆไม่เป็นผลดีกับองค์กร การปกครองของไทยเป็นแบบรัฐสภา ไม่ใช่ประธานาธิบดีเหมือนสหรัฐอเมริกาที่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐบาล และครั้งนี้รัฐบาลอาจมีเสถียรภาพ อยู่ไม่ครบ 4ปี หากเปลี่ยนแปลงแล้วไม่มีผลดีก็ไม่ควรทำ” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า อำนาจการตัดสินใจทำซีแอลหรือไม่นั้น ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ในมาตรา 51 ได้มอบอำนาจให้กับกระทรวง ทบวง กรมเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติตัดสินใจนั้นเป็นตามมาตรา 52 ซึ่งใช้ทำซีแอลเฉพาะกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ สงคราม ภาวะฉุกเฉิน ฯลฯ แต่หาก ครม.จะสั่งการให้มีนโยบายให้ยกเลิกไว้ก็สามารถทำได้ แต่นายไชยาได้ประกาศในประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขแห่งชาติ (สปสช.) ว่าจะเดินหน้าซีแอล
“การประกาศซีแอลยามะเร็งครั้งนี้ไม่ใช่อำนาจของ ครม.เป็นอำนาจหน้าที่ของ สธ.แต่ในทางบริหารอาจต้องหารือกับกระทรวงพาณิชย์ แต่อย่างไรก็เป็นหน้าที่ของ สธ.อย่างไรก็ตามหากมีการยกเลิกจริง ต้องถามว่าจะทำอย่างไร หากจะนำงบประมาณเพื่อมาซื้อยาแพง ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญในการบริหารประเทศที่ต้องมีประสิทธิภาพ เพราะมียาราคาถูก แต่ไม่ดำเนินการซื้อ กลับซื้อยาราคาแพง เพราะเหตุใด ขณะเดียวกัน ขัดต่อ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ต้องดำเนินการโดยมีหลัก คุณภาพ เสมอภาค และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังขัดต่อนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาที่ระบุว่าให้การบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพ ดังนั้น อย่านำซีแอลมาเป็นแพะรับบาป ทั้งที่กระทรวงพาณิชย์ก็ทราบดีว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เกิดจากเรื่องลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่สิทธิบัตร” นพ.วิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ปราชญ์ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ พร้อมผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน รวมถึง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งคัดค้านการดำเนินการของนายไชยาทั้งเรื่องการทบทวนซีแอล และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 เพื่อศึกษาดูงานเรื่องแพทย์ประจำครอบครัวตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดกลับถึงประเทศไทยในปลายสัปดาห์นี้
เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (3 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นำตัวแทนสมาชิกเกือบ 100 คน ชุมนุมสนับสนุนการดำเนินการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ยารักษาโรคมะเร็ง โดยมีตัวแทนผลัดกันขึ้นเวทีปราศรัยและใช้เครื่องขยายเสียง พร้อมธงและป้ายมีข้อความต่างๆ อาทิ “คน อภ.องค์กรแรงงานนานาชาติ ขอให้กำลังใจนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล นพ.วิชัย โชควิวัฒน “คนดีของแผ่นดิน คุณหมอหัวใจทระนง” “43 รัฐวิสาหกิจ ขอคัดค้านการทบทวนซีแอล”
จนกระทั่งเวลา 11.30 น.นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางเข้ามาทำงานที่ สธ.ตามปกติ เมื่อเห็นมีการชุมนุมและใช้เครื่องขยายเสียง ก็แสดงความไม่พอใจโดยสั่งการให้เจ้าหน้าที่ สธ.แจ้งตำรวจ และผู้บังคับการภาค 1 ให้มาดูแลความเรียบร้อยของการชุมนุม พร้อมสั่งการให้ นพ.จักรธรรม รองปลัด สธ.เข้าพบแกนนำผู้ชุมนุมเพื่อแจ้งเรื่องเสียงดังรบกวนการทำงานของข้าราชการ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมยอมลดเสียงลง 30%
ต่อมาเวลา 12.00 น.นายไชยา ได้เข้าประชุมร่วมกับแกนนำของสหภาพ อภ.จำนวน 10 คน โดย นายไชยา กล่าวในที่ประชุมว่า ยืนยันว่า จะไม่มีการยกเลิกซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ และยาสลายลิ่มเลือดหัวใจ ส่วนยารักษาโรคมะเร็งที่ได้สั่งการให้มีการทบทวนข้อมูลจำนวนผู้ป่วยและจะเดินหน้าทำซีแอลหรือไม่ อย่างไร นั้น ตนจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
“หากมีการประกาศยกเลิกซีแอล คนที่จะประกาศยกเลิก คือ กระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ไม่ใช่นายไชยาอย่างแน่นอน แต่หากรัฐบาลมีมติให้ยกเลิกจริง ก็ต้องไปกดดันที่อื่น ไม่ใช่ที่ สธ.เพราะถ้าผมจะทำให้พวกคุณรัก ผมก็ประกาศทำซีแอลไปแล้ว แต่วันนี้ทำซีแอลได้ยาราคาถูกต้องดูข้อมูลว่าถูกลงเท่าไหร่ แต่ยืนยันว่า จะรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น หากมีคนเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงยา ผมจะลาออกทันที” นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวด้วยว่า วันนี้ตนคงจะไม่พูดว่าทบทวนแล้ว แต่จะพูดว่าเรื่องนี้ใกล้จบลงแล้ว ใกล้เสร็จแล้ว และหากบริษัทยาไม่ลดราคายาหรือลดลงมาแต่ไม่ได้ราคาที่เรายอมรับได้ก็จะคงทำซีแอลเช่นเดิม อย่างไรก็ตามเครือข่ายฯจะกดดันอะไรนั้นต้องพูดให้ชัดเจน ตนมาจากการเมืองประชาชนเป็นคนเลือกเข้ามา ผมมีสำนึกความเป็นคนอยู่ ญาติผมก็มีที่เป็นมะเร็งไม่ใช่ไม่รู้เรื่องความรู้สึกนึกคิด และจะว่าผมอย่างไรก็ได้ แต่ในสถานที่ราชการก็ควรให้เกียรติกันบ้าง” นายไชยา กล่าว
ด้าน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในฐานะที่ นายไชยา เป็นเสนาบดีกระทรวงสาธารณสุข ควรต้องคำนึงถึงชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งการทำซีแอลทุกประเทศมีกฎหมายเปิดช่องให้ทุกประเทศใช้สิทธิ์นี้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ แต่ที่ผ่านมากลับมาให้สัมภาษณ์สร้างความสับสน ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำซีแอลยารายการอื่นด้วย ที่ผ่านมา อภ.ประมูลยารักษาโรคมะเร็งเสร็จแล้ว 1 รายการ แต่ยังไม่ได้มีการลงนามจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากเกรงถึงผลกระทบทางกฎหมายที่เกิดขึ้น เพราะการฟ้องร้องแต่ละครั้งมีมูลค่าเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท
ด้าน นพ.วิชัย ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคณะกรรมการบริหาร อภ.ลาออกจากตำแหน่งแล้ว 3 ราย ได้แก่ นายชูชัย ฤดีสุขสกุล รองประธานกรรมการบริหาร ลาออกไปดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานีไทยพีบีเอส นายประสาร มฤคพิทักษ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ส.ว.สรรหา และ นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกรรมการโดยตำแหน่งไม่ได้แจ้งเหตุผล อย่างไรก็ตาม ถือว่าคณะกรรมการบริหาร อภ.ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานแต่อย่างใด เพราะตามกฎหมายแล้วสามารถมีได้ 8-15 คน
“การลาออกนั้นจะเป็นการกดดันหรือไม่นั้น ผมคิดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อยากจะเข้ามาดูแล อภ.ด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นดุลพินิจของท่าน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐวิสาหกิจมีภารกิจสำคัญ และจำเป็นต้องมีเสถียรภาพ การเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยๆไม่เป็นผลดีกับองค์กร การปกครองของไทยเป็นแบบรัฐสภา ไม่ใช่ประธานาธิบดีเหมือนสหรัฐอเมริกาที่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐบาล และครั้งนี้รัฐบาลอาจมีเสถียรภาพ อยู่ไม่ครบ 4ปี หากเปลี่ยนแปลงแล้วไม่มีผลดีก็ไม่ควรทำ” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า อำนาจการตัดสินใจทำซีแอลหรือไม่นั้น ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ในมาตรา 51 ได้มอบอำนาจให้กับกระทรวง ทบวง กรมเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติตัดสินใจนั้นเป็นตามมาตรา 52 ซึ่งใช้ทำซีแอลเฉพาะกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ สงคราม ภาวะฉุกเฉิน ฯลฯ แต่หาก ครม.จะสั่งการให้มีนโยบายให้ยกเลิกไว้ก็สามารถทำได้ แต่นายไชยาได้ประกาศในประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขแห่งชาติ (สปสช.) ว่าจะเดินหน้าซีแอล
“การประกาศซีแอลยามะเร็งครั้งนี้ไม่ใช่อำนาจของ ครม.เป็นอำนาจหน้าที่ของ สธ.แต่ในทางบริหารอาจต้องหารือกับกระทรวงพาณิชย์ แต่อย่างไรก็เป็นหน้าที่ของ สธ.อย่างไรก็ตามหากมีการยกเลิกจริง ต้องถามว่าจะทำอย่างไร หากจะนำงบประมาณเพื่อมาซื้อยาแพง ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญในการบริหารประเทศที่ต้องมีประสิทธิภาพ เพราะมียาราคาถูก แต่ไม่ดำเนินการซื้อ กลับซื้อยาราคาแพง เพราะเหตุใด ขณะเดียวกัน ขัดต่อ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ต้องดำเนินการโดยมีหลัก คุณภาพ เสมอภาค และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังขัดต่อนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาที่ระบุว่าให้การบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพ ดังนั้น อย่านำซีแอลมาเป็นแพะรับบาป ทั้งที่กระทรวงพาณิชย์ก็ทราบดีว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เกิดจากเรื่องลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่สิทธิบัตร” นพ.วิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ปราชญ์ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ พร้อมผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน รวมถึง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งคัดค้านการดำเนินการของนายไชยาทั้งเรื่องการทบทวนซีแอล และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 เพื่อศึกษาดูงานเรื่องแพทย์ประจำครอบครัวตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดกลับถึงประเทศไทยในปลายสัปดาห์นี้