นักวิชาการไม่เชื่อกำหนดเกณฑ์จบ ม.ปลาย ให้ GPAX สูงขึ้นจาก 1.00 เป็น 1.50 จะทำให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น แต่ห่วงจะทำให้โรงเรียนปล่อยเกรดเฟ้อมากขึ้น เพื่อให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น
จากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เสนอให้มีการปรับเกณฑ์วัดผลการเรียนเพื่อจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใหม่ โดยนักเรียนที่จบชั้น ม.6 ได้ จะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPAX รวม 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 1.5 จากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 1.00 เพื่อเพิ่มคุณภาพนักเรียนที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษานั้น
นายวีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในเชิงคณิตศาสตร์ การขยับ GPAX เป็น 1.5 น่าจะดีขึ้น แต่ในเชิงคุณภาพถือว่าพิสูจน์ได้ยากว่าการขยับเพิ่มเป็น 1.5 แล้วจะยกคุณภาพขึ้นได้จริงหรือไม่ เพราะ GPAX ของนักเรียนชั้น ม.6 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่พบว่าเมื่อเด็กเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว บางคณะมีเด็กถูกรีไทร์มากขึ้น แม้ส่วนหนึ่งจะวิจารณ์ว่าเกิดจากระบบกลางการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ไม่เข้มแข็งพอ แต่ก็มีอีกส่วนแย้งว่าเกิดจากพื้นฐานของนักเรียนค่อนข้างอ่อน ฉะนั้น การถูกรีไทร์ คงมีหลายสาเหตุ จะโทษสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งคงไม่ได้
“ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ เมื่อปรับเกณฑ์การจบ ม.ปลาย เป็น 1.5 แล้วจะทำให้โรงเรียนปล่อยเกรดขึ้น เพื่อให้เด็กของตนจบหลักสูตรหรือไม่ ซึ่งคนที่ไม่อยู่ในเมืองไทย อาจไม่เข้าใจว่าทำไมเด็กที่มีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ม.ปลาย แค่ 1.00 ทำไมเรียนจบได้ ขณะที่มหาวิทยาลัย กำหนดอยู่ที่ 2.00 ฉะนั้น อาจจะเห็นด้วยกับการขยับเพิ่มดังกล่าว แต่ผมเห็นว่าประเด็นที่สำคัญกว่า คือ คุณภาพของการจัดการเรียนการสอนและข้อสอบ เป็นต้น ฉะนั้นอย่าให้ความสำคัญกับเกรดมากเกินกว่าคุณภาพ”
ด้านนางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สทศ. กล่าวว่า การขยับเกณฑ์จบ เป็น 1.5 คงไม่มีผลทำให้คุณภาพดีขึ้นได้เพราะปัญหาอยู่ที่การวัดผลประเมินผลของโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน โรงเรียนจะให้เกรดเท่าไหร่ก็ได้ เพราะไม่มีมาตรฐานของการวัดผล เรื่องนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุควรต้องพัฒนาการวัดผลของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกรดที่ออกมาน่าเชื่อถือ ซึ่งมีข้อสังเกตของนักวิชาการมหาวิทยาลัยว่าเด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยทุกวันนี้ มีความรู้ความสามารถลดลง ถึงแม้จะจบด้วยเกรดเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าอดีตก็ตาม ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมาสอบเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษของชั้นม.ปลายกันใหม่ ทั้งนี้ สทศ.ได้นำเกรดเฉลี่ยของโรงเรียนทั่วประเทศย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2550 มาศึกษา พบว่า มีโรงเรียนถึง 47% ที่ให้เกรดเฉลี่ยสูงขึ้น
“เชื่อว่า การขยับเกณฑ์จบ ม.ปลาย ของ GPAX เป็น 1.5 จะกระตุ้นให้โรงเรียนปล่อยเกรดมากขึ้น โรงเรียนไหนเคยปล่อยเกรดมาแล้วก็จะปล่อยต่อไป เพื่อให้เด็กตนเองจบหลักสูตร รวมถึงเพื่อให้เข้ามหาวิทยาลัยได้ยิ่งปี 2553 มีการกำหนดค่าน้ำหนักองค์ประกอบแอดมิชชันในส่วนของ GPAX เพิ่มขึ้นเป็น 20% ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงปัญหาปล่อยเกรด”
ด้าน นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ตนอยากมองในแง่ดีว่าเป็นความพยายามของ สพฐ.ที่จะปรับมาตรฐานการศึกษา ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีข้อวิพากษ์วิจารณ์บ้าง แต่ตนก็อยากให้ สพฐ.ลองทำ เพราะเกณฑ์จบ 1.00 ต่ำมาก ใครก็จบได้ จึงควรขยับเป็น 1.5 แต่ก็ต้องกำกับดูแลมาตรฐานการให้เกรดของโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับด้วย ส่วนที่วิตกกังวลกันเรื่องเกรดเฟ้อนั้น อยู่ที่การบริหารจัดการ ตนมองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้เกรดโดยไม่มีเหตุผล
จากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เสนอให้มีการปรับเกณฑ์วัดผลการเรียนเพื่อจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใหม่ โดยนักเรียนที่จบชั้น ม.6 ได้ จะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPAX รวม 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 1.5 จากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 1.00 เพื่อเพิ่มคุณภาพนักเรียนที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษานั้น
นายวีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในเชิงคณิตศาสตร์ การขยับ GPAX เป็น 1.5 น่าจะดีขึ้น แต่ในเชิงคุณภาพถือว่าพิสูจน์ได้ยากว่าการขยับเพิ่มเป็น 1.5 แล้วจะยกคุณภาพขึ้นได้จริงหรือไม่ เพราะ GPAX ของนักเรียนชั้น ม.6 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่พบว่าเมื่อเด็กเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว บางคณะมีเด็กถูกรีไทร์มากขึ้น แม้ส่วนหนึ่งจะวิจารณ์ว่าเกิดจากระบบกลางการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ไม่เข้มแข็งพอ แต่ก็มีอีกส่วนแย้งว่าเกิดจากพื้นฐานของนักเรียนค่อนข้างอ่อน ฉะนั้น การถูกรีไทร์ คงมีหลายสาเหตุ จะโทษสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งคงไม่ได้
“ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ เมื่อปรับเกณฑ์การจบ ม.ปลาย เป็น 1.5 แล้วจะทำให้โรงเรียนปล่อยเกรดขึ้น เพื่อให้เด็กของตนจบหลักสูตรหรือไม่ ซึ่งคนที่ไม่อยู่ในเมืองไทย อาจไม่เข้าใจว่าทำไมเด็กที่มีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ม.ปลาย แค่ 1.00 ทำไมเรียนจบได้ ขณะที่มหาวิทยาลัย กำหนดอยู่ที่ 2.00 ฉะนั้น อาจจะเห็นด้วยกับการขยับเพิ่มดังกล่าว แต่ผมเห็นว่าประเด็นที่สำคัญกว่า คือ คุณภาพของการจัดการเรียนการสอนและข้อสอบ เป็นต้น ฉะนั้นอย่าให้ความสำคัญกับเกรดมากเกินกว่าคุณภาพ”
ด้านนางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สทศ. กล่าวว่า การขยับเกณฑ์จบ เป็น 1.5 คงไม่มีผลทำให้คุณภาพดีขึ้นได้เพราะปัญหาอยู่ที่การวัดผลประเมินผลของโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน โรงเรียนจะให้เกรดเท่าไหร่ก็ได้ เพราะไม่มีมาตรฐานของการวัดผล เรื่องนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุควรต้องพัฒนาการวัดผลของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกรดที่ออกมาน่าเชื่อถือ ซึ่งมีข้อสังเกตของนักวิชาการมหาวิทยาลัยว่าเด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยทุกวันนี้ มีความรู้ความสามารถลดลง ถึงแม้จะจบด้วยเกรดเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าอดีตก็ตาม ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมาสอบเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษของชั้นม.ปลายกันใหม่ ทั้งนี้ สทศ.ได้นำเกรดเฉลี่ยของโรงเรียนทั่วประเทศย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2550 มาศึกษา พบว่า มีโรงเรียนถึง 47% ที่ให้เกรดเฉลี่ยสูงขึ้น
“เชื่อว่า การขยับเกณฑ์จบ ม.ปลาย ของ GPAX เป็น 1.5 จะกระตุ้นให้โรงเรียนปล่อยเกรดมากขึ้น โรงเรียนไหนเคยปล่อยเกรดมาแล้วก็จะปล่อยต่อไป เพื่อให้เด็กตนเองจบหลักสูตร รวมถึงเพื่อให้เข้ามหาวิทยาลัยได้ยิ่งปี 2553 มีการกำหนดค่าน้ำหนักองค์ประกอบแอดมิชชันในส่วนของ GPAX เพิ่มขึ้นเป็น 20% ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงปัญหาปล่อยเกรด”
ด้าน นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ตนอยากมองในแง่ดีว่าเป็นความพยายามของ สพฐ.ที่จะปรับมาตรฐานการศึกษา ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีข้อวิพากษ์วิจารณ์บ้าง แต่ตนก็อยากให้ สพฐ.ลองทำ เพราะเกณฑ์จบ 1.00 ต่ำมาก ใครก็จบได้ จึงควรขยับเป็น 1.5 แต่ก็ต้องกำกับดูแลมาตรฐานการให้เกรดของโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับด้วย ส่วนที่วิตกกังวลกันเรื่องเกรดเฟ้อนั้น อยู่ที่การบริหารจัดการ ตนมองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้เกรดโดยไม่มีเหตุผล