ผอ.สำนักวิชาการ เผยผลรับฟังความคิดเห็นร่างหลักสูตร เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย พร้อมหนุนให้เด็กทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพราะสามารถทำได้ทันที ขณะที่ ให้เด็ก ม.ปลายจบ เกรด 1.5 เสียงแตก เพราะเป็นห่วงโรงเรียนชายขอบ โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ขณะที่ คุณหญิงกษมา แย้มให้จัดโต๊ะกลมเชิญผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อร่วมกันหาข้อสรุป
นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า สพฐ.ได้นำร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง ไปประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นในส่วนกลาง ระหว่างวันที่ 26-27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ ตัวแทนครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการเห็นด้วยกับร่างหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่มีการปรับตัวชี้วัดจากรายช่วงชั้นเป็นรายปี และลดตัวชี้วัดจาก 76 ตัวชี้วัดเหลือ 74 ตัว โดยตัดตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนออก ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเจาะลงลึกรายละเอียด 8 กลุ่มสาระวิชาแล้ว ตัวชี้วัดของบางกลุ่มสาระยังซ้ำซ้อนกันบ้าง อีกทั้งยังไม่ร้อยรับกัน
สำหรับประเด็นการกำหนดให้นักเรียนแต่ละระดับ ต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม ระดับประถมศึกษา กำหนด 60 ชั่วโมง มัธยมศึกษาตอนต้น 45 ชั่วโมง และมัธยมศึกษาปลาย 60 ชั่วโมง จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ จึงอยากให้ สพฐ.จัดทำคู่มือชี้แจงและแนะนำครู ผู้ปกครองในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพราะผู้ปกครองตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาเรียนวิชาการรึเปล่า
นางเบญจลักษณ์ กล่าวว่า การกำหนดให้นักเรียนม.ปลาย ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 1.5 จึงจะสามารถจบการศึกษาได้นั้น ในที่ประชุมอภิปรายเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง ถึงแม้โรงเรียนจะเห็นด้วยว่า ที่ สพฐ.กำหนดเช่นนี้เพราะต้องการเพิ่มคุณภาพของนักเรียน แต่ร.ร.ยอมรับว่า ปฏิบัติได้ยาก โดยเฉพาะ ร.ร.ชายขอบ หรือ ร.ร.ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล แค่จะทำให้นักเรียนของตัวเองจบการศึกษาได้โดยการประเมินทุกวิชาก็เป็นเรื่องที่ยากมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงต้องการให้ สพฐ.ทำตัวช่วยสำหรับดูแลร.ร.กลุ่มนี้ และเลขา กพฐ.เอง คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
“เรื่องนี้คงต้องศึกษาก่อน เพราะ ร.ร.บอกว่าทำได้ยาก แต่ สพฐ. มีเจตนาให้เด็กไทยมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งในอนาคต มหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ผลการเรียนขั้นต่ำของผู้มีสมัครเข้าศึกษาไว้ สำหรับการกำหนดให้นักเรียนต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม มีแนวโน้มที่จะนำมาปฏิบัติได้ทันที เพราะเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย อีกทั้งยังเป็นฐานสำหรับการคิดคะแนนคุณธรรมเพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่เคยพูดถึง”
นางเบญจลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องร่างหลักสูตรนี้ จะต้องมีออกรับฟังความเห็นจาก 4 ภาค อย่างไรก็ตาม เลขา กพฐ.เสนอให้จัดโต๊ะกลมรับฟังความเห็นจากผู้ปกครองและเยาวชนด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการกำหนดผลการเรียน 1.5 นั้น อยากให้รับฟังจากเด็กโดยตรง เมื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายมาแล้ว จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่า สามารถจะทำเรื่องใดได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การรับฟังความเห็นจะต้องเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นจะนำเอาข้อติติง ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มารวบรวม แล้วนำไปปรับปรุงร่างฯก่อนนำมาใช้จริงในปี 52
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า เกณฑ์การจบ ม.ปลาย เกรด 1 หรือ 1.5 นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ เราได้ให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปศึกษาวิจัยโดยการนำผลโอเน็ต มาวิเคราะห์คะแนน ส่วนเรื่องจำนวนชั่วโมงกิจกรรมอยากให้มีการกำหนดอย่างชัดเจน เพราะเด็กสามารถทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน เพียงแต่กิจกรรมสามารถยืดหยุ่นได้
นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า สพฐ.ได้นำร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง ไปประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นในส่วนกลาง ระหว่างวันที่ 26-27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ ตัวแทนครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการเห็นด้วยกับร่างหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่มีการปรับตัวชี้วัดจากรายช่วงชั้นเป็นรายปี และลดตัวชี้วัดจาก 76 ตัวชี้วัดเหลือ 74 ตัว โดยตัดตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนออก ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเจาะลงลึกรายละเอียด 8 กลุ่มสาระวิชาแล้ว ตัวชี้วัดของบางกลุ่มสาระยังซ้ำซ้อนกันบ้าง อีกทั้งยังไม่ร้อยรับกัน
สำหรับประเด็นการกำหนดให้นักเรียนแต่ละระดับ ต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม ระดับประถมศึกษา กำหนด 60 ชั่วโมง มัธยมศึกษาตอนต้น 45 ชั่วโมง และมัธยมศึกษาปลาย 60 ชั่วโมง จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ จึงอยากให้ สพฐ.จัดทำคู่มือชี้แจงและแนะนำครู ผู้ปกครองในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพราะผู้ปกครองตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาเรียนวิชาการรึเปล่า
นางเบญจลักษณ์ กล่าวว่า การกำหนดให้นักเรียนม.ปลาย ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 1.5 จึงจะสามารถจบการศึกษาได้นั้น ในที่ประชุมอภิปรายเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง ถึงแม้โรงเรียนจะเห็นด้วยว่า ที่ สพฐ.กำหนดเช่นนี้เพราะต้องการเพิ่มคุณภาพของนักเรียน แต่ร.ร.ยอมรับว่า ปฏิบัติได้ยาก โดยเฉพาะ ร.ร.ชายขอบ หรือ ร.ร.ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล แค่จะทำให้นักเรียนของตัวเองจบการศึกษาได้โดยการประเมินทุกวิชาก็เป็นเรื่องที่ยากมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงต้องการให้ สพฐ.ทำตัวช่วยสำหรับดูแลร.ร.กลุ่มนี้ และเลขา กพฐ.เอง คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
“เรื่องนี้คงต้องศึกษาก่อน เพราะ ร.ร.บอกว่าทำได้ยาก แต่ สพฐ. มีเจตนาให้เด็กไทยมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งในอนาคต มหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ผลการเรียนขั้นต่ำของผู้มีสมัครเข้าศึกษาไว้ สำหรับการกำหนดให้นักเรียนต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม มีแนวโน้มที่จะนำมาปฏิบัติได้ทันที เพราะเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย อีกทั้งยังเป็นฐานสำหรับการคิดคะแนนคุณธรรมเพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่เคยพูดถึง”
นางเบญจลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องร่างหลักสูตรนี้ จะต้องมีออกรับฟังความเห็นจาก 4 ภาค อย่างไรก็ตาม เลขา กพฐ.เสนอให้จัดโต๊ะกลมรับฟังความเห็นจากผู้ปกครองและเยาวชนด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการกำหนดผลการเรียน 1.5 นั้น อยากให้รับฟังจากเด็กโดยตรง เมื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายมาแล้ว จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่า สามารถจะทำเรื่องใดได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การรับฟังความเห็นจะต้องเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นจะนำเอาข้อติติง ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มารวบรวม แล้วนำไปปรับปรุงร่างฯก่อนนำมาใช้จริงในปี 52
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า เกณฑ์การจบ ม.ปลาย เกรด 1 หรือ 1.5 นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ เราได้ให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปศึกษาวิจัยโดยการนำผลโอเน็ต มาวิเคราะห์คะแนน ส่วนเรื่องจำนวนชั่วโมงกิจกรรมอยากให้มีการกำหนดอย่างชัดเจน เพราะเด็กสามารถทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน เพียงแต่กิจกรรมสามารถยืดหยุ่นได้