ศธ.เห็นชอบร่างกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมผู้เรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษา โดยกำหนดการตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือ 4 ระดับ เตรียมเสนอ ทปอ.พิจารณาเพื่อใช้รับเด็กปีการศึกษา 2552 ระบุ เป็นการเปลี่ยนแปลงของวงการศึกษาครั้งใหญ่ ที่ให้ที่ยืนกับคนดี เพราะที่ผ่านมาระบบการศึกษาเน้นแต่คนเก่ง
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการกำหนดกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน ที่จะใช้ในการประเมินนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียนเสนอต่อที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งที่ประชุมได้มีความคิดเห็นเพิ่มเติมและเห็นชอบตามตามแนวทางที่เสนอไป
ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินดังกล่าวได้กำหนดแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ไปถึงระดับมัธยมศึกษา โดยใน กลุ่มที่ 1 ระดับปฐมวัยจะเน้นคุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน ให้สามารถพึ่งพาตนเองและเชื่อมั่นในตนเอง มีความสนใจใฝ่รู้ หลีกเลี่ยงอบายมุข รักษาหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่ตนเองนับถือ และรักสะอาด
ส่วนในกลุ่มที่ 2 ระดับประถมศึกษา เน้นคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน ให้มีน้ำใจ ความอุตสาหะ ประหยัด มีวินัย รับผิดชอบและซื่อสัตย์
กลุ่มที่ 3 ระดับมัธยมศึกษา เน้นคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้มีความกตัญญูกตเวที เสียสละ สามัคคี มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเป็นประชาธิปไตย และมีจิตสาธารณะ ซึ่งคุณลักษณะพิเศษของเด็กในด้านคุณธรรมนั้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็พร้อมจะรองรับการนำเรื่องคุณธรรมไปใช้ในการรับนักศึกษาเข้าเรียน โดยเด็กสามารถสะสมความดีได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการประเมินคุณธรรมฯ จะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน โดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้ร่างเกณฑ์การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลในแฟ้มสะสมผลงานไว้ตั้งแต่ระดับ 1-4 หากหลักฐานและข้อมูลต่างๆ ไม่สอดคล้องกัน ไม่มีคำรับรองของบุคคลต่างๆ ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะอยู่ที่ระดับ 1 เท่านั้น แต่หากหลักฐานและข้อมูลมีความสอดคล้องกันเป็นส่วนน้อย มีคำรับรองจากผู้ปกครอง ญาติ หรือคนใกล้ชิด หรือบุคคลที่เคยร่วมกิจกรรม ระดับความน่าเชื่อถือจะอยู่ที่ 2 หากหลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีความสอดคล้องกัน และยืนยันสภาพจริงเป็นส่วนใหญ่ มีคำรับรองของบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืองานราชการ หรือเอกชนในระดับตำบล หรืออำเภอ ระดับความน่าชื่อถือจะอยู่ที่ระดับ 3 และหากหลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีความสอดคล้องกันทั้งหมด และยืนยันสภาพความเป็นจริง มีคำรับรองของบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรม และร่วมอยู่ในกระบวนการทำกิจกรรมนั้น หรือหน่วยงานราชการ หรือเอกชนในระดับจังหวัด ระดับความน่าเชื่อถือก็จะอยู่ในระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
ส่วนการประเมินจะมีตั้งแต่ระดับ “ดีเยี่ยม” คือ ได้ผลการประเมินระดับ 4 ทุกคุณธรรม หรือได้ผลการประเมินระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 4 คุณธรรม และไม่มีคุณธรรมใดได้ต่ำกว่าระดับ 3 “ดี” คือ ได้ผลประเมินระดับ 4 ตั้งแต่ 1 คุณธรรมขึ้นไป และไม่มีคุณธรรมใดได้ระดับต่ำกว่า 3 หรือได้ผลการประเมินระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 4 คุณธรรมและได้ระดับ 2 จำนวน 1 คุณธรรม โดยไม่มีคุณธรรมใดได้ต่ำกว่า 2 หรือได้ผลการประเมินระดับ 3 ทุกคุณธรรม “ผ่านเกณฑ์” คือ ได้ผลการประเมินระดับ 3 หรือ 4 ตั้งแต่ 1 คุณธรรมขึ้นไป และไม่มีคุณธรรมใดได้ต่ำกว่าระดับ 2 หรือได้ผลการประเมินระดับ 3 หรือ 4 ไม่น้อยกว่า 4 คุณธรรม และได้ระดับ 1 ไม่เกิน 2 คุณธรรม หรือ ได้ผลการประเมินระดับ 2 ทุกคุณธรรม “ไม่ผ่านเกณฑ์” คือ ได้ผลการประเมินระดับ 1 ตั้งแต่ 3 คุณธรรมขึ้นไปหรือ ไม่เข้าเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม ดี และผ่านเกณฑ์
รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า กรอบแนวทางคุณธรรมดังกล่าว สพฐ.จะใช้เพื่อประเมินนักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยจะนำกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมฯ เสนอต่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อพิจารณาปรับแก้หรือเพิ่มเติมอื่นๆ และนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2552 อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2551 มีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่เริ่มดำเนินการนำคะแนนความดีมาพิจารณารับเด็กเข้าเรียนในการรับตรงบ้างแล้ว ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาครั้งใหญ่
“เด็กบางคนเห็นว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ถ้ามีช่องทาง ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ช่องการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ เมื่อก่อนคนที่ได้คะแนนน้อยก็จะไม่มีตัวช่วยอื่นเลย แต่ครั้งนี้ถ้ามีผลการเรียนอยู่ระดับปานกลาง แต่มีผลงานด้านคุณธรรมที่ดีก็จะมีโอกาสที่จะเข้าหมาวิทยาลัยได้ จึงเป็นการให้ที่ยืนสำหรับคนทำความดีอย่างสง่าผ่าเผย เพราะระบบการศึกษาที่ผ่านมามันมีที่ยืนสำหรับคนเก่ง แต่ไม่ได้ดูเรื่องความดี เชื่อว่าถ้าทำดีๆ มันจะเป็นจุดเปลี่ยนของการปฏิรูปการศึกษาอันหนึ่ง” นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการกำหนดกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน ที่จะใช้ในการประเมินนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียนเสนอต่อที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งที่ประชุมได้มีความคิดเห็นเพิ่มเติมและเห็นชอบตามตามแนวทางที่เสนอไป
ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินดังกล่าวได้กำหนดแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ไปถึงระดับมัธยมศึกษา โดยใน กลุ่มที่ 1 ระดับปฐมวัยจะเน้นคุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน ให้สามารถพึ่งพาตนเองและเชื่อมั่นในตนเอง มีความสนใจใฝ่รู้ หลีกเลี่ยงอบายมุข รักษาหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่ตนเองนับถือ และรักสะอาด
ส่วนในกลุ่มที่ 2 ระดับประถมศึกษา เน้นคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน ให้มีน้ำใจ ความอุตสาหะ ประหยัด มีวินัย รับผิดชอบและซื่อสัตย์
กลุ่มที่ 3 ระดับมัธยมศึกษา เน้นคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้มีความกตัญญูกตเวที เสียสละ สามัคคี มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเป็นประชาธิปไตย และมีจิตสาธารณะ ซึ่งคุณลักษณะพิเศษของเด็กในด้านคุณธรรมนั้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็พร้อมจะรองรับการนำเรื่องคุณธรรมไปใช้ในการรับนักศึกษาเข้าเรียน โดยเด็กสามารถสะสมความดีได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการประเมินคุณธรรมฯ จะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน โดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้ร่างเกณฑ์การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลในแฟ้มสะสมผลงานไว้ตั้งแต่ระดับ 1-4 หากหลักฐานและข้อมูลต่างๆ ไม่สอดคล้องกัน ไม่มีคำรับรองของบุคคลต่างๆ ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะอยู่ที่ระดับ 1 เท่านั้น แต่หากหลักฐานและข้อมูลมีความสอดคล้องกันเป็นส่วนน้อย มีคำรับรองจากผู้ปกครอง ญาติ หรือคนใกล้ชิด หรือบุคคลที่เคยร่วมกิจกรรม ระดับความน่าเชื่อถือจะอยู่ที่ 2 หากหลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีความสอดคล้องกัน และยืนยันสภาพจริงเป็นส่วนใหญ่ มีคำรับรองของบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืองานราชการ หรือเอกชนในระดับตำบล หรืออำเภอ ระดับความน่าชื่อถือจะอยู่ที่ระดับ 3 และหากหลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีความสอดคล้องกันทั้งหมด และยืนยันสภาพความเป็นจริง มีคำรับรองของบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรม และร่วมอยู่ในกระบวนการทำกิจกรรมนั้น หรือหน่วยงานราชการ หรือเอกชนในระดับจังหวัด ระดับความน่าเชื่อถือก็จะอยู่ในระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
ส่วนการประเมินจะมีตั้งแต่ระดับ “ดีเยี่ยม” คือ ได้ผลการประเมินระดับ 4 ทุกคุณธรรม หรือได้ผลการประเมินระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 4 คุณธรรม และไม่มีคุณธรรมใดได้ต่ำกว่าระดับ 3 “ดี” คือ ได้ผลประเมินระดับ 4 ตั้งแต่ 1 คุณธรรมขึ้นไป และไม่มีคุณธรรมใดได้ระดับต่ำกว่า 3 หรือได้ผลการประเมินระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 4 คุณธรรมและได้ระดับ 2 จำนวน 1 คุณธรรม โดยไม่มีคุณธรรมใดได้ต่ำกว่า 2 หรือได้ผลการประเมินระดับ 3 ทุกคุณธรรม “ผ่านเกณฑ์” คือ ได้ผลการประเมินระดับ 3 หรือ 4 ตั้งแต่ 1 คุณธรรมขึ้นไป และไม่มีคุณธรรมใดได้ต่ำกว่าระดับ 2 หรือได้ผลการประเมินระดับ 3 หรือ 4 ไม่น้อยกว่า 4 คุณธรรม และได้ระดับ 1 ไม่เกิน 2 คุณธรรม หรือ ได้ผลการประเมินระดับ 2 ทุกคุณธรรม “ไม่ผ่านเกณฑ์” คือ ได้ผลการประเมินระดับ 1 ตั้งแต่ 3 คุณธรรมขึ้นไปหรือ ไม่เข้าเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม ดี และผ่านเกณฑ์
รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า กรอบแนวทางคุณธรรมดังกล่าว สพฐ.จะใช้เพื่อประเมินนักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยจะนำกรอบแนวทางการประเมินคุณธรรมฯ เสนอต่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อพิจารณาปรับแก้หรือเพิ่มเติมอื่นๆ และนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2552 อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2551 มีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่เริ่มดำเนินการนำคะแนนความดีมาพิจารณารับเด็กเข้าเรียนในการรับตรงบ้างแล้ว ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาครั้งใหญ่
“เด็กบางคนเห็นว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ถ้ามีช่องทาง ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ช่องการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ เมื่อก่อนคนที่ได้คะแนนน้อยก็จะไม่มีตัวช่วยอื่นเลย แต่ครั้งนี้ถ้ามีผลการเรียนอยู่ระดับปานกลาง แต่มีผลงานด้านคุณธรรมที่ดีก็จะมีโอกาสที่จะเข้าหมาวิทยาลัยได้ จึงเป็นการให้ที่ยืนสำหรับคนทำความดีอย่างสง่าผ่าเผย เพราะระบบการศึกษาที่ผ่านมามันมีที่ยืนสำหรับคนเก่ง แต่ไม่ได้ดูเรื่องความดี เชื่อว่าถ้าทำดีๆ มันจะเป็นจุดเปลี่ยนของการปฏิรูปการศึกษาอันหนึ่ง” นายสมเกียรติ กล่าว