“ครูประถมฯ” สบช่องอาศัยจังหวะ สกศ.ไฟเขียวตั้งเขตพื้นที่มัธยมฯ ดันตั้ง “ทบวงพื้นฐาน” ชี้ ปฏิรูปศึกษา 8 ปี ปัญหาไม่จบ คาดร่างรายละเอียดทบวงพื้นฐานเสร็จในเดือนตุลาคมนี้ เตรียมนำให้ครูมัธยมฯ ดู พร้อมหารือ “ธงทอง” ด้วย
นายเพิ่ม หลวงแก้ว ประธานสหภาพครูแห่งชาติ (ส.ค.ช.) กล่าวถึงข้อเสนอที่จะให้มีการจัดตั้งทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู (คอท.) เสนอต่อนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการเสนอให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ออกมาเพื่อจัดตั้งเป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีกรมการมัธยมศึกษา กรมการประถมศึกษา กรมวิชาการ และกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหามาก ซึ่งเท่าที่คุยกับแกนนำครูและผู้บริหารฝ่ายมัธยมศึกษาบางคนก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ แต่จะขอดูรายละเอียดก่อน
นายเพิ่ม กล่าวอีกว่า ที่ต้องมีการเสนอตั้งเป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะการปฏิรูปการศึกษา 8 ปีมานี้ มีปัญหาเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด เช่น กรณีเขตพื้นที่การศึกษาต้องมีการตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเวลานี้ทางมัธยมศึกษาก็ขอให้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดอีก เพราะฉะนั้นถึงเวลาที่จะต้องมาทบทวนว่าสิ่งที่ได้ทำไปมันสำเร็จหรือไม่ ถ้าไม่ดีก็จำเป็นต้องปฏิรูปกันใหม่
นายเพิ่ม กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ก็ต้องปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งก็สอดคล้องกับที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษารอบสอง
“อาจจะมีคนถามว่า การแยกตั้งเป็นทบวงเหมือนเป็นการย้อนกลับไปสู่อดีต เรื่องนี้มันเป็นเพียงหลักคิด แต่ก็ต้องทำเพื่อให้มีความเป็นอิสระในการบริหาร เพราะถ้าเราเปรียบเทียบองค์กรหลัก 5 แท่ง จะเห็นว่า ทั้ง 4 แท่งเสมอกันได้เป็นสำนักเล็กๆ แต่ สพฐ.มีบุคลากร 4-5 แสนคน แล้วจะมาเป็นสำนักเล็กๆ เหมือนกันก็ทำงานลำบาก การบริหารงานก็ยาก เปรียบเสมือนกับขวดน้ำเมื่อน้ำเต็มก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ใส่อะไรลงไปก็มีแต่ล้น ก็ควรมาตั้งเป็นขวดใหม่ ส่วนจะเรียกว่าเป็นกรมประถมฯ กรมมัธยมฯ หรืออย่างอื่น ก็ค่อยมาหารือกันใหม่ แต่ตอนนี้ควรแยกออกมาก่อน และเมื่อแยกออกมาแล้วรับรองว่าใหญ่กว่ากระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงแรงงาน ด้วยซ้ำไป เพราะ สพฐ.มีบุคลากรมาก จะตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงก็สามารถทำได้” นายเพิ่ม กล่าว
นายเพิ่ม กล่าวต่อว่า เวลานี้สภาการศึกษาก็กำลังทำเรื่องการแยกประถมฯ และมัธยมฯ ซึ่งก็ต้องแก้ไขกฎหมายหลัก 3 ฉบับดังกล่าว เพราะฉะนั้นก็ควรจะทำเรื่องนี้ไปพร้อมกันเลย คาดว่า ร่างรายละเอียดการตั้งทบวงจะเป็นรูปเป็นร่างประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเราจะเสนอให้ทางมัธยมฯดูว่าเห็นด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะนำไปหารือกับ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา ด้วย
นายเพิ่ม หลวงแก้ว ประธานสหภาพครูแห่งชาติ (ส.ค.ช.) กล่าวถึงข้อเสนอที่จะให้มีการจัดตั้งทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู (คอท.) เสนอต่อนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการเสนอให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ออกมาเพื่อจัดตั้งเป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีกรมการมัธยมศึกษา กรมการประถมศึกษา กรมวิชาการ และกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหามาก ซึ่งเท่าที่คุยกับแกนนำครูและผู้บริหารฝ่ายมัธยมศึกษาบางคนก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ แต่จะขอดูรายละเอียดก่อน
นายเพิ่ม กล่าวอีกว่า ที่ต้องมีการเสนอตั้งเป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะการปฏิรูปการศึกษา 8 ปีมานี้ มีปัญหาเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด เช่น กรณีเขตพื้นที่การศึกษาต้องมีการตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเวลานี้ทางมัธยมศึกษาก็ขอให้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดอีก เพราะฉะนั้นถึงเวลาที่จะต้องมาทบทวนว่าสิ่งที่ได้ทำไปมันสำเร็จหรือไม่ ถ้าไม่ดีก็จำเป็นต้องปฏิรูปกันใหม่
นายเพิ่ม กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ก็ต้องปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งก็สอดคล้องกับที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษารอบสอง
“อาจจะมีคนถามว่า การแยกตั้งเป็นทบวงเหมือนเป็นการย้อนกลับไปสู่อดีต เรื่องนี้มันเป็นเพียงหลักคิด แต่ก็ต้องทำเพื่อให้มีความเป็นอิสระในการบริหาร เพราะถ้าเราเปรียบเทียบองค์กรหลัก 5 แท่ง จะเห็นว่า ทั้ง 4 แท่งเสมอกันได้เป็นสำนักเล็กๆ แต่ สพฐ.มีบุคลากร 4-5 แสนคน แล้วจะมาเป็นสำนักเล็กๆ เหมือนกันก็ทำงานลำบาก การบริหารงานก็ยาก เปรียบเสมือนกับขวดน้ำเมื่อน้ำเต็มก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ใส่อะไรลงไปก็มีแต่ล้น ก็ควรมาตั้งเป็นขวดใหม่ ส่วนจะเรียกว่าเป็นกรมประถมฯ กรมมัธยมฯ หรืออย่างอื่น ก็ค่อยมาหารือกันใหม่ แต่ตอนนี้ควรแยกออกมาก่อน และเมื่อแยกออกมาแล้วรับรองว่าใหญ่กว่ากระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงแรงงาน ด้วยซ้ำไป เพราะ สพฐ.มีบุคลากรมาก จะตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงก็สามารถทำได้” นายเพิ่ม กล่าว
นายเพิ่ม กล่าวต่อว่า เวลานี้สภาการศึกษาก็กำลังทำเรื่องการแยกประถมฯ และมัธยมฯ ซึ่งก็ต้องแก้ไขกฎหมายหลัก 3 ฉบับดังกล่าว เพราะฉะนั้นก็ควรจะทำเรื่องนี้ไปพร้อมกันเลย คาดว่า ร่างรายละเอียดการตั้งทบวงจะเป็นรูปเป็นร่างประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเราจะเสนอให้ทางมัธยมฯดูว่าเห็นด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะนำไปหารือกับ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา ด้วย