xs
xsm
sm
md
lg

“ตำรับยาอ้วก” ยังเป็นความลับ! ผลประเมิน “ถํ้ากระบอก” มท.ยกระดับ “ศูนย์บำบัดยาฯระดับชาติ” พบผู้ป่วย 50% ภาวะจิตเวช

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ปส.มท.” เปิดผลประเมิน “วัดถํ้ากระบอก” หลังยกระดับเป็น “ศูนย์บำบัดยาเสพติดระดับชาติ” เผยคณะแพทย์-คณะทำงาน-จ.สระบุรี เสนอ 9 ข้อ หลัง พบผู้ป่วย 50% อยู่ในภาวะจิตเวช ส่วน “ตำรับยาสมุนไพร” ยังให้เป็นชั้นความลับ แต่จะแจ้งหัวหน้าคณะใช้เป็นข้อมูลตรวจเยี่ยมเท่านั้น โดยห้ามให้ข้อมูลแหล่งอื่น หรือนำสูตรไปเผยแพร่

วันนี้ (11 มิ.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงมหาดไทย (ศอ.ปส.มท.)

เวียนหนังสือผลการเข้าตรวจเยี่ยมสถานฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด “ศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ระดับจังหวัด”

ณ สถานพักพิงถํ้ากระบอก ภายใน สำนักสงฆ์ถํ้ากระบอก ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ถึง ศอ.ปส.ระดับจังหวัด ทั่วประทศ เพื่อพิจารณาใช้ประโยชน์กับศูนย์ฯในพื้นที่

ภายหลังเมื่อ เดือน เม.ย. 2566 และ พ.ค. 2566 สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ร่วมกับคณะทำงานจัดตั้งสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานบันฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รับรองคุณภาพ ที่ได้เข้าตรวยเยี่ยม

โดย กรมการปกครอง (ปค.) ได้ ประเดิม Re-Xray และจัดสรรงบประมาณ “นำร่อง” จัดสรรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สระบุรี จำนวน 5 ล้านบาท บำบัดรักษาผู้ป่วย 150 คน

จัดสรรให้เทศบาลเมืองสระบุรี ประสานกับวัดถ้ำกระบอก จำนวน 1 แสนบาท บำบัดรักษาผู้ป่วย 25 คน และ จัดสรรให้ตำรวจภูธร จ.สระบุรี บำบัดรักษาผู้ป่วย 1,033 คน เมื่อปี 2565

ล่าสุด มีการจัดทำรายงาน จัดส่ง ให้กระทรวงมหาดไทย รับทราบและพิจารณา

โดยสรุปคณะตรวจเยี่ยม ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่มีผู้ป่วย เข้าบำบัดรักษา จำนวน 150 คน พบว่า มีบุคลากร เป็นพระภิกษุ จำนวน 7 รูป

มีการประเมินว่า สถานที่ตั้งและระบบสุขาภิบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เวชภัณฑ์และวัสดุอำนวยความสะดวก

รวมทั้งแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดการบำบัดกิจกรรม ในระยะ 15 วัน การนำส่ง การบันทึกข้อมูล แบบประเมินการฟื้นฟู มีความเหมาะสมระดับ "ยอดเยี่ยม"

อย่างไรก็ตาม ในรายงานข้อเสนอแนะ 9 ข้อ พบว่า ยังมี “ช่องโหว่” ในหลายประเด็น ที่ทางจังหวัดสระบุรี และสถานพักพิงถํ้ากระบอก จะร่วมการดำเนินการแก้ไข ให้เหมาะสมต่อไป ประกอบด้วย

1. ควรกำหนดเกณฑ์การรับผู้ป่วยยาเสพติด โดยทุกคนที่จะเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูฯ ต้องได้รับการประเมินคัดกรองจากศูนย์คัดกรอง หรือสถานพยาบาลยาเสพติด

เช่น รพ.สต.ซับชะอม หรือ โรงพยาบาลพระพุทธบาท เป็นต้น ว่าสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพได้

2. ขอให้ทางสถานพักฟื้นถํ้ากระบอก เปิดเผยตำหรับยาสมุนไพร ทั้งชนิดเม็ดและนํ้า ในการบำบัด (ในระยะ 5 วันแรกของการบำบัด) โดยส่งข้อมูลให้กับ สบยช. เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ สอ.ปส..มท ต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อไปเป็นตามแนวทางการฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพตดและให้เกิดความปลอดภัยกับผู้รับบริการ

(สำหรับกรณีนี้ “ตำรับยาสมุนไพร” จะแจ้งให้กับหัวหน้าคณะตรวจเยี่ยม เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบ โดยห้ามให้ข้อมูลแหล่งอื่น หรือนำสูตรยาสมุนไพร ไปเผยแพร่ที่อื่น เป็นข้อมุลในการตรวจเยี่ยมสถานพื้นฟูฯเท่านั้น)

3. ขอให้จัดทำข้อกำหนดเกณฑ์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาสนุนไพรถอนพิษ และดื่มน้ำเพื่ออาเจียน ในช่วง 5 วันแรกในการบำบัดๆ

ตลอดจนจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในระยะดังกล่าว เป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน และถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อปลอดภัยของผู้รับบริการ

4. ควรจัดทำแนวทางหรือคู่มือในการพื้นคู่สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้ชัดเจน สอดคล้องกับประมวล กฎหมายยาเสพติดกำหนด

5. บุคลากร “ทุกรูป/คน” ควรผ่านการอบรมตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด ได้แก่ ที่ปรึกษา ผู้ดำเนินการและผู้ให้การบำบัดพื้นฟูฯ

สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ที่ให้การบำบัดฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่ง “ยึดหลักพระธรรมวินัย” ไม่เดินทางด้วยยานพาหนะ

“อาจไม่สะดวกต่อเดินทางมาอบรมฯ ให้หน่วยงานทำหนังสือประสาน สบยช. เพื่อขอสนับสนุนวิทยากรจัดอบรม หรือเข้ารับอบรมผ่านหลักสูตร E-leaming ที่จัดตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการกำหนด”

6. ควรมีการบันทึก การประเมินอาการ พฤติกรรม และการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งต่อการดูแลหรือเป็นหลักฐานในการดูแล

7. จากการบำบัดฯ ของสถานพักฟื้นถํ้ากระบอกที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทางจิตเวชหรือโรคร่วมทางจิตเวช มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด

“จึงควรมีการแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจิตร่วม กับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ให้และผู้รับบริการ”

8. ควรเพิ่มการติดตามผู้ป่วยหลังบำบัด เพื่อประเมินผลลัพธ์การบำบัดพื้นคู่สมรรถภาพ

9. พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้การดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ป่วยยาเสพติด ให้ส่งเอกสารสำเนาใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพเพิ่มเติม

เมื่อปี 2565 กระทรวงมหาดไทย มีข้อสั่งการไปสั่งท้องถิ่น ให้จัดการยาเสพติดแบบ “ครบวงจร” ด้วยการจัดตั้งศูนย์คัดกรอง/ฟื้นฟู ของตัวเอง ด้วยการ "เพิ่มเติม" การจัดตั้งงบประมาณในบัญญัติเทศบัญญัติ

“หากไม่ได้ตั้ง ให้ไปขอบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ที่มีอยู่แล้ว เช่น รพ. วัด หรือ เอกชน หรือหากไม่มีอีก ให้ไปขอรับบริจาคจากเอกชน/วัด ได้”

ขณะที่เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่ติดตาม วัดถ้ำกระบอก พบว่า กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณารับรองและยกฐานะ “ศูนย์บำบัดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี”

ให้เป็น “ศูนย์บำบัดยาเสพติดที่ได้รับการรับรองที่ถูกต้อง และยังได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ให่เป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด”

โดยความรู้ (Know-how) ของคณะสงฆ์วัดถ้ำกระบอก ได้ช่วยให้ประชาชนผู้หลงผิดจากทั่วประเทศได้หายจากการติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน

ขณะที่ มูลนิธิถ้ำกระบอก จะเป็น “กลุ่มสีแดง” ที่จะต้องเฝ้าระวัง ผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องส่งเข้ามาบำบัด บำบัดแล้ว ให้อาชีพแล้ว เมื่อกลับสู่ชุมชน กลับไปสู่อ้อมกอดชุมชน/ชุมชนจะเยียวยา ไม่ใช่การตั้งกำแพงกั้น


กำลังโหลดความคิดเห็น