xs
xsm
sm
md
lg

การเมืองขั้วหลัก พปชร.จับมือภูมิใจไทย !?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ - อนุทิน ชาญวีรกูล
เมืองไทย 360 องศา

แน่นอนว่าเวลานี้ปี่กลองการเมือง การเลือกตั้งกำลังเริ่มเชิดกันแล้ว ทำให้ได้เห็นบรรยากาศคึกคักมากขึ้น และจะยิ่งเข้มข้นดุเดือดขึ้นอีกหลายเท่า เนื่องจากแต่ละฝ่ายล้วนมีเดิมพันสูงลิ่วด้วยกันทั้งนั้น ขณะที่บางพรรค บางคน อยู่ใน ลักษณะที่ “แพ้ไม่ได้” เพราะถือว่ามีโอกาสลุ้นเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตแล้ว ดังนั้นก็ต้องสู้สุดหัวใจ ส่วนจะเป็นไปได้แค่ไหนนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

ขณะเดียวกัน ยังได้เห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนขึ้นกับการ “จับขั้ว” เป็นพันธมิตรระหว่างพรรคการเมือง โดยมีเป้าหมายเป็นรัฐบาลร่วมกันหลังการเลือก ตั้งที่กำ ลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุการยุบสภาฯ ที่หากมีก็น่าจะเกิดในช่วงปลายปีหรือครบวาระก็จะเลือกตั้งในต้นเดือนพฤษภาคมปีหน้า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้กำ หนดไทม์ไลน์เอาไว้แล้ว

อย่างไรก็ดีเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นถึงเรื่องการ “จับขั้ว” ที่พวกเขาเรียกว่า “ขั้วอำ นาจ” มาจากท่าทีที่ชัดเจนมากขึ้น จากหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผยล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา

โดยหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงอนาคตของพรรคภูมิใจไทย ภายหลังกระแสข่าวเรื่องความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาล ปม พ.ร.บ.กัญชา ว่า เมื่อสภาฯบอกให้กลับไปแก้ก็ต้องแก้แม้จะมีเรื่องให้สงสัย แต่ก็เล่นตามกติกา และเรื่องนี้จะพยายามอย่างเต็มที่สุดความสามารถแน่นอน สำ หรับพรรคภูมิใจไทย ตอนนี้มีความพร้อมเลือกตั้งอยู่แล้ว เพราะไม่ได้เป็นผู้กำ หนดวันเลือกตั้ง เมื่อคาดเดาไม่ได้การเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งสำ คัญมาก เป้าหมายของพรรคภูมิใจไทยรอบนี้คือการทำ ให้ดีกว่าเดิม และเรามองไปถึงการเป็นพรรคหลักของขั้วการเมือง พรรคเราใช้นโยบายนำ เราเชื่อมั่นว่าเรามีของดีทำ ได้ไม่ขายฝัน ที่สำ คัญคือ ความเอาจริงความตั้งใจและที่ผ่านมาก็ทำ ได้ลุล่วงในหลายนโยบาย จะเสร็จช้า เสร็จเร็วเท่านั้นแต่ไม่ยอมปล่อยมือ

ในฐานะของการเป็นรัฐบาล จะเห็นว่า สามารถจำ กัดวงความสูญเสียจาก โควิด-19จนนานาชาติยอมรับ ชื่นชม ขณะที่ระบบคมนาคม มีการยกระดับมาโดยตลอด เมื่อเปิดประเทศ ระบบการเดินทางก็พร้อมใช้พอดีเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องมันพิสูจน์ว่าเราทำงานได้จริง มีประสบการณ์งานพื้นที่ ทางพรรคให้สมาชิกลงไปพบประชาชน ฟังเสียงประชาชน รับทราบปัญหาหาทางแก้ไขและต้องทำ ให้เกิดเป็นรูปธรรม “เราอยากเป็นต้นขั้วการเมืองอันนี้คือเป้าหมายเราแต่มันต้องดูด้วยว่าถึงเวลาแล้วเราจะได้รับความไว้วางใจขนาดไหน การเป็นต้นขั้วการเมือง เป็นพรรคหลักของขั้วการเมือง ถ้าเป็นรัฐบาลก็สามารถ ผลักดันนโยบายได้มากขึ้นไปอีก แรงผลักดันมันสูงกว่า หรือถ้าเป็นฝ่ายค้าน การตรวจสอบก็มีความเข้มข้นขึ้น การทำงานเพื่อประชาชน มันจะมาผ่อนเครื่องกันไม่ได้เหมือนกับเวลาลงพื้นที่หาเสียง เราก็ลุยเต็มสูบ”

ถามว่า ความสัมพันธ์กับพรรคร่วมตอนนี้เหมือนจะมีปัญหา จะกลับมาจับมือเป็นรัฐบาลได้หรือไม่นายอนุทิน ตอบว่าแต่ละพรรคก็มีทิศทางของพรรคอย่างเรื่องการดำ เนินนโยบาย อาทิประเด็น กยศ.ไม่มีดอกเบี้ย พรรคภูมิใจไทยสนับสนุนเรื่องนี้และอีกหลายพรรคก็เอาด้วย ชนะในชั้นส.ส. ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เขาไม่โอเคกับเรื่องนี้ก็ไม่มีใครไปบอกว่าขัดแย้ง แต่พอมาเป็นเรื่องกัญชา กลับมองว่าทะเลาะกันแล้ว บาดหมางกันแล้วซึ่งในความเป็นจริงคือ ต่างฝ่ายต่างก็มีจุดยืนเป็นของตัวเอง

สำหรับพรรคภูมิใจไทย เวลาจะโหวต ต้องคิดมาแล้วว่าประชาชนได้ประโยชน์ประเทศชาติได้ประโยชน์อาทิการโหวต ม.272ที่ฝ่ายค้านเสนอให้ตัดอำ นาจ ส.ว.เลือกนายกฯ พรรคก็โหวตด้วย จะเห็นว่าพรรคภูมิใจไทย ไม่ได้มองว่าแกนนำรัฐบาลจะโหวตอย่างไรแล้วหวานเจี๊ยบไปโหวตตามเขาทุกเรื่อง เพราะเราก็มีแนวทางของพรรค ส่วนเรื่องนายกฯของพรรค เราก็มีกติกาของเรา ใครเป็นหัวหน้าพรรคก็ต้องได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ และต้องเป็นชื่อเดียว ไม่มีเบอร์2-3

“พรรคภูมิใจไทยการตัดสินใจแต่ละครั้ง ต้องผ่านการหารือกันมาก่อน ถ้าเสียงแตก ก็โหวตกันในพรรค ได้ผลอย่างไร ก็ยอมรับตามนั้น วิธีการตรงไป ตรงมา และเราใช้วิธีนี้แก้ปัญหามาตลอด จะเห็นว่าพรรคมีเอกภาพ ไม่มีมุ้ง ไม่มีกลุ่มเพราะกติกาของพรรคชัดเจน”

ถามว่า หลังเลือกตั้งวางแผนไว้หรือไม่ว่าจะจับมือกับใคร นายอนุทิน ตอบว่า ต้องรอดูผลการเลือกตั้งแต่จะจับมือกับใคร มันก็ต้องเอานโยบายไปคุย ซึ่งทุกพรรคก็มีนโยบาย มีเงื่อนไขของเขา ถ้าหารือกันได้ก็ทำงานร่วมกัน แต่ถ้าอีกฝ่ายมีเงื่อนไขที่เรารับไม่ได้จริงๆ ถึงฝ่ายนั้นจะเป็นรัฐบาล เราก็พร้อมจะเป็นฝ่ายค้าน...

นั่นเป็นท่าทีล่าสุดของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่จะเป็น “ขั้วหลัก” ทางการเมือง ซึ่งก็มีเป้าหมายชัดเจนก็คือเป็นรัฐบาลผสม ที่มีพรรคภูมิใจไทยเป็น “แกนหลัก” นั่นเอง อย่างไรก็ดีหากพิจารณาถึงความเป็นไปได้ก็ต้องยอมรับด้วยศักยภาพในเวลานี้รวมไปถึงแนวโน้มหลังการเลือกตั้งมันก็เป็นไปได้สูง ที่พรรคนี้จะกลายเป็นพรรคขนาดกลาง ค่อนไปทางพรรคใหญ่

เพราะอย่างที่รับรู้กันดีแล้วว่า พรรคนี้สะสม “กระสุน” ไว้เต็มหน้าตัก จนถูกมองว่ามี“พลังดูด” มหาศาล ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีส.ส.และนักการเมืองระดับ“บิ๊กเนม” หรือระดับที่เรียกว่า “ดาวฤกษ์” ย้ายเข้ามาซบอย่างต่อเนื่อง บางครั้งมาแบบยกจังหวัดก็มีและยังเชื่อว่าเมื่อมีการปลดล็อกช่วงเก้าสิบวันสุดท้าย ส.ส.สามารถพ้นสภาพโดยไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม เชื่อว่าน่าจะไหลเข้ามาอีกไม่น้อย

ขณะที่ความเคลื่อนไหวเรื่องการรุกพื้นที่ทั้งในภาคอีสาน และล่าสุดมีความเคลื่อนไหวอย่างเต็มสูบในภาคใต้ยิ่งทำ ให้พรรคภูมิใจไทย ถูกจับตามากขึ้น ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งการรุกคืบแบบนี้มันก็ทำ ให้เกิดแรงต่อต้านจากอีกฝ่ายที่ครองพื้นที่เดิมที่ต้องการรักษาที่มั่นเดิมเอาไว้ให้ได้ซึ่งกำ ลังขบเหลี่ยมกับพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในเวลานี้

สำหรับการ “อัปเกรด” ขึ้นมาเป็น “ขั้วหลัก” นั้น หากมองกันในความเป็นจริงมันก็มีโอกาสเป็นไปได้ไม่น้อย เมื่อพิจารณาจากศักยภาพดังกล่าว รวมไปถึงความมั่นใจในเรื่องหลักประกันในการ “เป็นรัฐบาล” มากกว่าฝ่ายค้าน ก็ย่อมเป็นแม่เหล็กที่เป็นพลังดูดเข้ามาเพิ่ม

อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการ “จับขั้ว” นอกเหนือจากการเป็นพันธมิตรกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิมแล้ว หากโฟกัสให้กระชับเข้ามาอีกก็น่าจะเป็น “พรรคพลังประชารัฐ” ของ “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด แม้ว่าพันธมิตรกลุ่มนี้ถึงเวลาอาจรวมเอาพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาด้วย แต่นาทีนี้เมื่อแนวโน้มการแข่งขันในพื้นที่ยังส่อเค้าดุเดือดแบบนี้ก็ต้องมาพิจารณาหลังการเลือกตั้ง

แต่สำหรับกับพรรคพลังประชารัฐ ที่มองว่ามีความเป็นไปได้มากกว่า เนื่องจากนอกเหนือจาก “แบ็กกราวนด์” ระหว่างร่วมรัฐบาลกันมาในรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา ถือว่าถ้อยทีถ้อยอาศัยและมีลักษณะพึ่งพากันมาแบบไม่ค่อยมีปัญหาปีนเกลียวอย่างชัดเจน

อีกทั้งในระดับพื้นที่ ก็ต้องถือว่ามีการแบ่งเขตกันอย่างชัดเจน เพราะทั้งสองพรรคในระดับ ส.ส.เขต โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน หลายจังหวัดล้วนเป็น“บ้านใหญ่” ที่ผูกขาดกันมานาน ดังนั้นหากจับมือกันหรือแบ่งกันไป อีกด้านหนึ่งมันก็เหมือนกับการสกัดกั้นความฝัน “แลนด์สไลด์”ของพรรคเพื่อไทยไปในตัวด้วยดังนั้น หากพิจารณาถึงการจับขั้ว หรือการเป็น “ขั้วหลัก” และมีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็น่าจะเป็นการจับขั้วกันระหว่างสองพรรคหลัก นั่นคือ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคภูมิใจไทย ส่วนใครจะเป็นพรรคหลักพรรครอง รวมไปถึงดึงพรรคใดมาเพิ่มอีก ค่อยมาว่ากันหลังเลือกตั้ง ซึ่งหากโฟกัสแบบตัดตอนห้วนๆ กันลงสนามจริงมันก็น่าจะออกมาประมาณนี้!!.


กำลังโหลดความคิดเห็น