xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กตู่” ติดดาบ ปปง.จัดระเบียบทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน-คุมสถาบันการเงิน-รายงานธุรกรรมใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“บิ๊กตู่” ลงนาม 9 ระเบียบ-กฎกระทรวง ติดดาบให้ ปปง.แก้ไขระเบียบสำนักนายกฯ “การจัดการทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน” พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์กรณีส่วนราชการจะนำใช้ประโยชน์ ส่วน 8 กฎกระทรวงฉบับใหม่สั่งปรับปรุงฐานข้อมูลธุรกรรมสถาบันการเงิน กำหนดเวลาให้สถาบันการเงินรายงาน ปปง.โดยไม่ชักช้า พร้อมกำหนดมูลค่า-วงเงินธุรกรรมใหม่ ที่สถาบันการเงินต้องรายงาน-ลูกค้าทำธุรกรรมต้องแสดงตนเอง สั่งตรวจสอบ “ผู้ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว” ในระดับที่เข้มข้นที่สุด หากพบร่องรอยความต่อเนื่องของมูลค่าเงินมีความเสี่ยง ส่วน “บริษัทรับแลกเงิน” ต้องแจ้ง ปปง.ทุกกรณีแลกเงิน

วันนี้ (22 พ.ย.) มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ระเบียบ และกฎกระทรวง ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยมีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ปฏิบัติ จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย

ฉบับที่ 1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการกับทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 โดยเป็นการแก้ไข ระเบียบฯ พ.ศ.2556 มีการแก้ไขข้อความ เช่น “ทรัพย์สิน” ให้หมายความว่า ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ไม่ใช่เงินสดและเงินที่เกิดจากการบริหารจัดการทรัพย์สิน ที่ยึดหรืออายัด และศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน รวมทั้งดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวที่เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน”

“(3) กรณีทรัพย์สินเป็นสิทธิการเช่า สิทธิตามสัญญาอื่น หรือสิทธิเรียกร้องที่ไม่ได้เกิดจากสัญญาและอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในศาลอื่น ให้ดำเนินการตามหมวด 2 วิธีการเก็บรักษาทรัพย์สิน และหมวด 3 วิธีการจัดการทรัพย์สิน แห่งระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการเก็บรักษาและการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด พ.ศ. 2543 และให้นำเงินที่ได้จาก การจัดการทรัพย์สินนั้นส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

ในกรณีที่สิทธิการเช่า สิทธิตามสัญญาอื่น หรือสิทธิเรียกร้องที่ไม่ได้เกิดจากสัญญาที่มิได้มีการ ดำเนินคดีในศาลอื่น ให้นำสิทธิการเช่า สิทธิตามสัญญาอื่น หรือสิทธิเรียกร้องที่ไม่ได้เกิดจากสัญญาดังกล่าว ส่งมอบให้กระทรวงการคลังตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ปลัดกระทรวงการคลังและเลขาธิการกำหนดเพื่อจัดการต่อไป”

“(6) กรณีทรัพย์สินเป็นทรัพย์สินที่ส่วนราชการนำไปใช้ประโยชน์ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการเก็บรักษาและการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด พ.ศ. 2543ให้แจ้งไปยังส่วนราชการดังกล่าวให้ส่งคืนทรัพย์สินแก่สำนักงานเพื่อดำเนินการตาม (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี

หากส่วนราชการใดประสงค์จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งต่อไป ให้มีหนังสือขออนุมัติ จากกระทรวงการคลังโดยตรงและแจ้งสำนักงานทราบ

การอนุมัติและการส่งคืนทรัพย์สินที่ได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังกับส่วนราชการที่ขออนุมัติ แต่ในกรณีที่กระทรวงการคลัง ไม่อนุมัติให้ส่วนราชการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินต่อไป ให้ส่วนราชการดังกล่าวส่งคืนทรัพย์สิน แก่สำนักงานเพื่อดำเนินการตาม (4) หรือ (5) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุมัติ

ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจส่งคืนทรัพย์สินได้ภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม ให้ขยายระยะเวลาการส่งคืนทรัพย์สินออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน”

ฉบับที่ 2 กฎกระทรวง กำหนดแบบ รายการ หลักเกณฑ์ และวิธีการบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรม พ.ศ. 2559 โดยเป็นปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมของสถาบันการเงิน เสียใหม่ โดยบัญญัติให้การบันทึกข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับธุรกรรมตามมาตรา 13 ที่สถาบันการเงิน ต้องบันทึกให้เป็นไปตามแบบ รายการ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ฉบับที่ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยบัญญัติให้ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าธุรกรรมใดที่ได้กระทำไปแล้ว โดยมิได้มีการรายงานตามมาตรา 13 (3) เป็นธุรกรรมที่สถาบันการเงิน ต้องรายงานตามมาตรา 13 ให้สถาบันการเงินรายงานให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทราบ โดยไม่ชักช้า และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (10) มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งให้นำความในมาตรา 14 มาใช้บังคับกับผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 16 ด้วย นอกจากนี้ มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 บัญญัติให้การรายงานดังกล่าว ให้เป็นไปตามแบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ฉบับที่ 4 กฎกระทรวง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เนื่องจากหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อทราบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2556 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวยังไม่มีความเหมาะสม เช่น

“(2) มีการทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว (ก) ไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายครั้งที่มีร่องรอยความต่อเนื่องรวมกันมีมูลค่าตั้งแต่ หนึ่งแสนบาทขึ้นไป หรือ (ข) ที่เป็นการโอนเงินหรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในแต่ละครั้งมีมูลค่าตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป”

“ข้อ 32 /1 ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) และ (9) ดำเนินการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายสำหรับ ผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวที่มีความเสี่ยงสูง โดยต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวดังกล่าวในระดับที่เข้มข้นที่สุด ข้อ 32/2 การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวในระดับที่เข้มข้นที่สุดสำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวที่มีความเสี่ยงสูงตามข้อ 32/1 อย่างน้อยต้องดำเนินการ

ฉบับที่ 5 กฎกระทรวง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าสำหรับผู้ประกอบอาชีพ ตามมาตรา 16 (ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ หรือตาม กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศ กระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยง ด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า)

โดยกฎกระทรวงนี้ให้ตรวจสอบสำหรับลูกค้าความเสี่ยงสูง การบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าสำหรับลูกค้าความเสี่ยงต่ำ การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า การพึ่งพาบุคคลที่สามในการตรวจสอบลูกค้า และการกำหนดนโยบายสำหรับสำนักงาน สาขา หรือบริษัทในเครือ การกำกับและตรวจสอบ

ทั้งนี้ เพื่อมาใช้บังคับกับผู้ประกอบอาชีพ ตามมาตรา 16 ด้วยโดยอนุโลม แต่จะใช้กับผู้ประกอบอาชีพที่มีลักษณะอย่างใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยต้องมิให้มีลักษณะเป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยและประชาชนที่เกี่ยวข้องจนเกินสมควร และต้องดำเนินการ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น

ฉบับที่ 6 กฎกระทรวง กำหนดจำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สิน ในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2559 เป็นกายกเลิกกฎกระทรวง พ.ศ. 2554 บัญญัติให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรม ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่อปรากฏว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด มีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กำหนดใน กฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันการกำหนดจำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสม และอาจใช้เป็นช่องทางให้ผู้กระทำความผิดมูลฐานนำไปใช้ในการฟอกเงิน

(1) ธุรกรรมตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (1) มีจำนวนเงินสดตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป เว้นแต่ธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงธุรกรรมที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ ตาม (2) ด้วย ให้รายงานเมื่อมีจำนวนเงินสดตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป

(2) ธุรกรรมตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (2) มีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป เว้นแต่ธุรกรรมที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้รายงาน เมื่อมีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่เจ็ดแสนบาทขึ้นไป

โดยการรายงานการทำธุรกรรมตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (1) ของสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินต่อสำนักงานตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (1) เฉพาะธุรกรรมการซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ให้รายงานเมื่อมีจำนวนเงินสดตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป

ฉบับที่ 7 กฎกระทรวง กำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เพิ่มความของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงิน ในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2554 “(4) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (10) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป

ฉบับที่ 8 กฎกระทรวง กำหนดผู้ประกอบอาชีพที่ดำเนินธุรกิจทางการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่มิใช่เป็นสถาบันการเงิน ที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2559 ให้ผู้ประกอบอาชีพที่ดำเนินธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม การแลกเปลี่ยนเงินที่มิใช่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้รับอนุญาตตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุม การแลกเปลี่ยนเงิน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต เป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

ฉบับที่ 9 กฎกระทรวง กำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพ ตามมาตรา 16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. 2559 ให้สถาบันการเงินจัดให้ลูกค้าแสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม เว้นแต่ผู้ที่ทำธุรกรรม เป็นครั้งคราวให้แสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป จัดให้ลูกค้าแสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม เว้นแต่ผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวให้แสดงตน ทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (6) และ (8) จัดให้ลูกค้าแสดงตน ทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม

ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (7) และ (7) จัดให้ลูกค้าแสดงตน ทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม เว้นแต่ผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวให้แสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม ดังต่อไปนี้ (1) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป (2) การโอนเงินหรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ข้อ 8 สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องกำหนดมาตรการและ ควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้มีการปฏิบัติอันเป็นอุปสรรคในการแสดงตนของคนพิการหรือทุพพลภาพ


กำลังโหลดความคิดเห็น