xs
xsm
sm
md
lg

“อภิสิทธิ์” รับ ส.ว.ตัวแปรเลือกนายกฯ แต่ต้องฟัง ปชช. ชี้ดูคดี “หมอเลี้ยบ” เป็นอุทาหรณ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (แฟ้มภาพ)
หัวหน้า ปชป.มองแนวทาง กรธ.ดีที่สุด แก้ให้ ส.ว.เห็นชอบนายกฯ จี้สมาชิกอย่าจมกับกติกามุ่งหน้าเข้าหา ปชช. รับ ส.ว.ตัวแปรเลือกนายกฯ แต่เป็นสุญญากาศไม่ได้ต้องฟัง ปชช. แนะนักการเมืองดูคดี “หมอเลี้ยบ” เป็นอุทาหรณ์ ทำผิด กม.เอื้อพรรคพวก ท้ายสุดต้องรับผิดชอบเอง อดพึ่ง รธน.ใหม่ เหตุต้องอุทธรณ์ใน 30 วัน



วันนี้ (26 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เตรียมแก้ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงโดยให้ ส.ว.มีส่วนร่วมในการเห็นชอบนายกรัฐมนตรีว่า เท่าที่เห็น กรธ.พยายามยึดบทหลัก จึงคิดว่าจะเป็นแนวทางที่มีข้อโต้แย้งน้อย จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด และหลังจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง

ส่วนเมื่อกติกานี้ออกมาบังคับใช้จะมีผลกระทบทางการเมืองอย่างไรนั้นก็ต้องยอมรับเพราะเป็นแนวทางที่ประชาชนให้ความเห็นชอบ แต่ถ้าพรรคการเมืองอยากมีบทบาทก็ต้องสร้างศรัทธากับประชาชน จึงได้พยายามย้ำกับสมาชิกพรรคว่าอย่าจมกับกติกา แต่ให้มุ่งหน้าเข้าหาประชาชนว่าคาดหวังอะไรกับรัฐบาลชุดต่อไป และพรรคการเมืองถ้าเราตอบสนองได้ไม่ว่ากติกาจะเป็นอย่างไร เสียงสะท้อนที่ประชาชนสนับสนุนพรรคการเมืองจะมีความหมาย สำหรับกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อ ส.ว.เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบจะทำให้ต้องใช้เสียงถึง 375 เสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรี จะทำให้ ส.ว.กลายเป็นตัวแปรในการเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การเลือกนายกรัฐมนตรีต้องเริ่มจากกรอบในบัญชีซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีปัญหาในเรื่องของคะแนนเสียง เพราะกว่าจะไปถึงตัวเลขว่าใครมีเท่าไหร่ต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่ต้องสื่อสารกับประชาชน

“ผมจึงไม่เชื่อว่า ส.ว.จะไม่ฟังเลยว่าประชาชนคิดอย่างไร แต่ในทางตัวเลขก็เป็นไปได้ที่ ส.ว.จะกลายเป็นตัวแปรในเรื่องนี้ แต่ ส.ว.ต้องไม่อยู่ในสุญญากาศ เพราะต้องอยู่ในสังคม เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วก็ต้องรับฟังว่าประชาชนคิดอย่างไร” นายอภิสิทธิ์กล่าว

นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาจำคุก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีต รมว.ไอซีที 1 ปีโดยไม่รอลงอาญา ว่าเป็นอุทาหรณ์สำหรับคนที่ทำงานการเมือง ต้องเตือนตัวเองเสมอว่าการไปทำอะไรเพื่อตอบสนองพรรคพวก หรือหัวหน้า แต่ไม่ทำในสิ่งที่มีปัญหาทางกฎหมาย สุดท้ายความรับผิดชอบก็ย้อนกลับไปที่ตัวเองซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เป็นการตอบสนองนโยบายที่ขัดกับกฎหมายในเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน จึงต้องย้ำถึงทุกคนที่ทำงานว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนกรณีการยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้น่าจะยังต้องเป็นไปตามกติกาเดิม เพราะต้องยื่นภายใน 30 วัน ในช่วงนั้นรัฐธรรมนูญใหม่น่าจะยังไม่มีผลบังคับใช้


มีชัยหักสนช. ไม่ให้ส.ว.เสนอชื่อนายกฯ ก๊อก1ก๊อก2มีสิทธิ์แค่โหวต
มีชัยหักสนช. ไม่ให้ส.ว.เสนอชื่อนายกฯ ก๊อก1ก๊อก2มีสิทธิ์แค่โหวต
กรธ.แก้ร่างรธน. เคาะ ส.ว.ไม่มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นก๊อก1 ก๊อก 2 ให้ร่วมโหวตได้อย่างเดียว ระบุต้องยึดตามร่างรธน. ที่การแต่งตั้งนายกฯ ของประเทศที่ปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องมาจากการดำเนินการของสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการสนับสนุนจากส.ส. เพื่อให้การดำเนินการบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น ด้านวิษณุ ยัน ครม.-คสช.ไม่ติดใจใครเสนอชื่อนายกฯ แต่ย้ำคำพูด บิ๊กตู่ ต้องมาอย่างสง่างาม แจง 3 ขั้นตอน ตามความเข้าใจรัฐบาล ย้ำ ส.ว. มีสิทธิโหวตตลอด 5 ปี
กำลังโหลดความคิดเห็น