xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.ขวาง ช.การช่าง ซัดรัฐบาลเอื้อประโยชน์ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” ส่วนต่อขยาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

วิลาศ จันทร์พิทักษ์ (ภาพจากแฟ้ม)
อดีต ส.ส. ปชป. จับผิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย รัฐบาลส่อใช้วิธีให้เอกชนลงทุนเอง เอื้อประโยชน์ “กลุ่ม ช.การช่าง” เพราะไม่ต้องประมูล อนาคตได้ต่ออายุสัมปทานอีก ประชาชนจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น รัฐบาลควบคุมไม่ได้ บี้ “สมคิด” ทบทวนมติ คกก. นโยบายร่วมทุนรัฐ - เอกชน พร้อมถามกลับ “อาคม” มีบริษัทเที่ยวไปขอทีโออาร์ แอบมุมมิบให้ใครหรือไม่

วันนี้ (3 ก.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวโดยตั้งข้อสังเกตถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแนวทาง จากเดิมเอกชนร่วมทุนกับรัฐ และจ้างเอกชนมาบริหาร เป็นให้เอกชนลงทุนเอง บริหารเอง ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนในอนาคต ที่อาจต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น เนื่องจากเมื่อเอกชนลงทุนก็หวังผลกำไรที่สูงตามมา และรัฐจะไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่ส่อว่าอาจเอื้อประโยชน์ให้กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม จากกรณีที่รัฐบาลมีแนวทางแก้ปัญหาช่วงต่อระหว่างสถานีบางซื่อ กับ เตาปูน ซึ่งเบื้องต้นจะต้องใช้รถบัสบริการ หรือต้องเดินกินลมดูทางที่ไม่มีรถไฟวิ่ง ซี่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี จึงจะมีการเชื่อมต่อทั้งสองสถานีได้ ในระหว่างให้มีการเจรจากับบริษัท บีอีเอ็ม ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล หรือ หัวลำโพง - บางซื่อ ให้เดินรถในช่วงต่อขยายเตาปูน - บางซื่อ ซึ่งเท่ากับทำให้บริษัทดังกล่าวได้ประโยชน์ เพราะไม่ต้องผ่านการประมูลแข่งขัน ขัดกับนโยบายเดิมที่สภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ เคยให้ความเห็นชอบไว้ว่า ในส่วนต่อขยายดังกล่าวควรเปิดประมูลการเดินรถใหม่ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

นายวิลาศ กล่าวต่อว่า ยังมีมติ ครม. เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ให้นำเอาส่วนต่อขยายเตาปูน - บางซื่อ ไปรวมกับสายสีน้ำเงินต่อขยาย ช่วงเตาปูน - ท่าพระ โดยให้เอกชนลงทุนเอง จากนั้นคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการรัฐ มีมติในวันที่ 11 พ.ค. 2559 ให้ความเห็นชอบให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า เหมือนกับมีการตกลงกับใครล่วงหน้าหรือไม่ มีการเอื้อประโยชน์กับเอกชนรายใดหรือเปล่า และการให้เจรจากับบริษัทเดิมจะเข้าข่ายการล็อกสเปกขัดกฎหมายฮั้วหรือไม่ เพราะเวลานี้มีการใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน อ้างว่า เพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชน จำเป็นต้องเจรจากับรายเดิมให้เดินรถ

นายวิลาศ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากดำเนินการเช่นนี้ บริษัท บีอีเอ็ม ย่อมมีแนวโน้มที่อาจจะได้ประโยชน์จากการต่ออายุสัมปทานสายหัวลำโพง - บางซื่อ ซึ่งจะครบกำหนดในปี 2572 ไปด้วย เพราะเมื่อบริษัทดังกล่าวได้เดินรถส่วนต่อขยายเตาปูน - บางซื่อ จะมีสัมปทานเป็นเวลา 30 ปี หมดอายุประมาณปี 2592 จึงมีโอกาสที่จะทำให้การเจรจาเพื่อต่ออายุสัมปทานสายหัวลำโพง - บางซื่อ จะไม่มีการเปิดประมูลแข่งขัน แต่เป็นการเจรจากับรายเดิม อีกทั้งยังอาจมีผลไปถึงสายหัวลำโพง - บางแค ให้บริษัทเดิมได้รับสัมปทานไปด้วย เนื่องจากเป็นโครงการที่เชื่อมโยงกัน

“หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง ก็จะทำให้เกิดการผูกขาดการเดินรถสายสีน้ำเงินทั้งระบบ ไม่สอดคล้องกับนโยบายที่นายกรัฐมนตรี ต้องการจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน เพราะรัฐบาลเอกชนร่วมทุนจะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากกว่า เนื่องจาก รฟม. จะมีสิทธิเป็นผู้บริหารจัดการ แต่เมื่อให้เอกชนบริหารเอง กำหนดราคาเอง จะกระทบประชาชน เพราะเอกชนย่อมคำนึงถึงผลกำไรมากกว่า” นายวิลาศ กล่าว

อดีต ส.ส. กทม. กล่าวต่อว่า เมื่อไม่นานมานี้ ยังมีการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของบริษัท บีอีเอ็ม เพราะเดิม คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งที่ผ่านมา มีผลขาดทุนสะสมอยู่หมื่นกว่าล้าน ได้ควบรวมบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีซีแอล ซึ่งมีกลุ่ม ช.การช่าง เป็นบริษัทแม่ มีกำไรกว่าหมื่นล้านบาท การควบรวมดังกล่าวจะทำให้บริษัท บีเอ็มซีแอล มีสถานะการเงินที่ดีขึ้น สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินโครงการอะไรหรือไม่ สอดรับกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า

“ผมขอฝากไปยังคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐที่จะประชุมเร็ว ๆ นี้ทบทวนเรื่องดังกล่าว เพราะทราบมาว่ามีการเสนอขออนุมัติให้ใช้วิธีการเจรจา หากไม่เล่นกลกันในวันที่ก่อสร้างสถานีเสร็จเพื่ออำนวยความสะดวกของประชาชน ควรให้มีการวิ่งทะลุไปถึงเตาปูนแทนที่จะสิ้นสุดแค่ที่สถานีบางซื่อ ก็จะไม่เสียเวลาเหมือนที่เป็นอยู่ และขอตั้งคำถามถึง นายอาคม เติมพิทยาไพสิษฐ์ รมว.คมนาคม ที่เคยเป็นเลขาสภาพัฒน์มาก่อนด้วยว่าจะทักท้วงเรื่องนี้อย่างไร ผมทราบว่ามีที่ปรึกษาบริษัทหนึ่ง เที่ยวไปขอทีโออาร์เพื่อศึกษา ไม่รู้จะเอาไว้เจรจากับใครหรือไม่ และในระยะหลังแนวทางการบริหารของรัฐบาลจะออกลักษณะผูกขาดให้ไปเจรจากับคนนั้นคนนี้” นายวิลาศ กล่าว

ส่วนกรณีที่ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้สัมภาษณ์ว่าจะจัดรถบัส และรถไฟบริการใช้งบประมาณปีละ 174 ล้านบาทนั้น นายวิลาศ กล่าวว่า แทนที่จะเอาเงินดังกล่าวไปจ้างรถบัส หรือ รถไฟ นำมาทำระบบเดินรถไฟฟ้าช่วงระหว่างสองสถานีนี้ ซึ่งจะเป็นสมบัติของ รฟม. แทนที่จะเสียเป็นค่าจ้างก็จะประหยัดเงินและได้ประโยชน์ทุกส่วน

อดีต ส.ส. ปชป. จับผิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย รัฐบาลส่อใช้วิธีให้เอกชนลงทุนเอง เอื้อประโยชน์ “กลุ่ม ช.การช่าง” เพราะไม่ต้องประมูล อนาคตได้ต่ออายุสัมปทานอีก ประชาชนจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น รัฐบาลควบคุมไม่ได้ บี้ “สมคิด” ทบทวนมติ คกก. นโยบายร่วมทุนรัฐ - เอกชน พร้อมถามกลับ “อาคม” มีบริษัทเที่ยวไปขอทีโออาร์ แอบมุมมิบให้ใครหรือไม่

วันนี้ (3 ก.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวโดยตั้งข้อสังเกตถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแนวทาง จากเดิมเอกชนร่วมทุนกับรัฐ และจ้างเอกชนมาบริหาร เป็นให้เอกชนลงทุนเอง บริหารเอง ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนในอนาคต ที่อาจต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น เนื่องจากเมื่อเอกชนลงทุนก็หวังผลกำไรที่สูงตามมา และรัฐจะไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่ส่อว่าอาจเอื้อประโยชน์ให้กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม จากกรณีที่รัฐบาลมีแนวทางแก้ปัญหาช่วงต่อระหว่างสถานีบางซื่อกับเตาปูน ซึ่งเบื้องต้นจะต้องใช้รถบัสบริการ หรือต้องเดินกินลมดูทางที่ไม่มีรถไฟวิ่ง ซี่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี จึงจะมีการเชื่อมต่อทั้งสองสถานีได้ ในระหว่างให้มีการเจรจากับบริษัทบีอีเอ็ม ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล หรือ หัวลำโพง-บางซื่อ ให้เดินรถในช่วงต่อขยายเตาปูน-บางซื่อ ซึ่งเท่ากับทำให้บริษัทดังกล่าวได้ประโยชน์ เพราะไม่ต้องผ่านการประมูลแข่งขัน ขัดกับนโยบายเดิมที่สภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณเคยให้ความเห็นชอบไว้ว่า ในส่วนต่อขยายดังกล่าวควรเปิดประมูลการเดินรถใหม่ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

นายวิลาศ กล่าวต่อว่า ยังมีมติ ครม. เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ให้นำเอาส่วนต่อขยายเตาปูน-บางซื่อ ไปรวมกับสายสีน้ำเงินต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ โดยให้เอกชนลงทุนเอง จากนั้นคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการรัฐวัมีมติในวันที่ 11 พ.ค. 2559 ให้ความเห็นชอบให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง จึงขอตั้งข้อสังเกตว่าเหมือนกับมีการตกลงกับใครล่วงหน้าหรือไม่ มีการเอื้อประโยชน์กับเอกชนรายใดหรือเปล่า และการให้เจรจากับบริษัทเดิมจะเข้าข่ายการล็อกสเปกขัดกฎหมายฮั้วหรือไม่ เพราะเวลานี้มีการใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน อ้างว่าเพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชน จำเป็นต้องเจรจากับรายเดิมให้เดินรถ

นายวิลาศ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากดำเนินการเช่นนี้ บริษัท บีอีเอ็ม ย่อมมีแนวโน้มที่อาจจะได้ประโยชน์จากการต่ออายุสัมปทานสายหัวลำโพง-บางซื่อซึ่งจะครบกำหนดในปี 2572 ไปด้วย เพราะเมื่อบริษัทดังกล่าวได้เดินรถส่วนต่อขยายเตาปูน-บางซื่อจะมีสัมปทานเป็นเวลา 30 ปี หมดอายุประมาณปี 2592 จึงมีโอกาสที่จะทำให้การเจรจาเพื่อต่ออายุสัมปทานสายหัวลำโพง-บางซื่อจะไม่มีการเปิดประมูลแข่งขัน แต่เป็นการเจรจากับรายเดิม อีกทั้งยังอาจมีผลไปถึงสายหัวลำโพง-บางแค ให้บริษัทเดิมได้รับสัมปทานไปด้วย เนื่องจากเป็นโครงการที่เชื่อมโยงกัน

“หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง ก็จะทำให้เกิดการผูกขาดการเดินรถสายสีน้ำเงินทั้งระบบ ไม่สอดคล้องกับนโยบายที่นายกรัฐมนตรี ต้องการจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะรัฐบาลเอกชนร่วมทุนจะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากกว่า เนื่องจาก รฟม. จะมีสิทธิเป็นผู้บริหารจัดการ แต่เมื่อให้เอกชนบริหารเอง กำหนดราคาเอง จะกระทบประชาชน เพราะเอกชนย่อมคำนึงถึงผลกำไรมากกว่า” นายวิลาศกล่าว

อดีต ส.ส. กทม. กล่าวต่อว่า เมื่อไม่นานมานี้ยังมีการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของบริษัทบีอีเอ็ม เพราะเดิมคือบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งที่ผ่านมามีผลขาดทุนสะสมอยู่หมื่นกว่าล้าน ได้ควบรวมบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีซีแอล ซึ่งมีกลุ่ม ช. การช่าง เป็นบริษัทแม่ มีกำไรกว่าหมื่นล้านบาท การควบรวมดังกล่าวจะทำให้บริษัทบีเอ็มซีแอลมีสถานะการเงินที่ดีขึ้น สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินโครงการอะไรหรือไม่ สอดรับกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า

“ผมขอฝากไปยังคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐที่จะประชุมเร็ว ๆ นี้ทบทวนเรื่องดังกล่าว เพราะทราบมาว่ามีการเสนอขออนุมัติให้ใช้วิธีการเจรจา หากไม่เล่นกลกันในวันที่ก่อสร้างสถานีเสร็จเพื่ออำนวยความสะดวกของประชาชน ควรให้มีการวิ่งทะลุไปถึงเตาปูนแทนที่จะสิ้นสุดแค่ที่สถานีบางซื่อ ก็จะไม่เสียเวลาเหมือนที่เป็นอยู่ และขอตั้งคำถามถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิษฐ์ รมว.คมนาคม ที่เคยเป็นเลขาสภาพัฒน์ฯ มาก่อนด้วยว่าจะทักท้วงเรื่องนี้อย่างไร ผมทราบว่ามีที่ปรึกษาบริษัทหนึ่ง เที่ยวไปขอทีโออาร์เพื่อศึกษา ไม่รู้จะเอาไว้เจรจากับใครหรือไม่ และในระยะหลังแนวทางการบริหารของรัฐบาลจะออกลักษณะผูกขาดให้ไปเจรจากับคนนั้นคนนี้” นายวิลาศ กล่าว

ส่วนกรณีที่ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้สัมภาษณ์ว่าจะจัดรถบัสและรถไฟบริการใช้งบประมาณปีละ 174 ล้านบาทนั้น นายวิลาศ กล่าวว่า แทนที่จะเอาเงินดังกล่าวไปจ้างรถบัส หรือรถไฟ นำมาทำระบบเดินรถไฟฟ้าช่วงระหว่างสองสถานีนี้ ซึ่งจะเป็นสมบัติของ รฟม. แทนที่จะเป็นเสียเป็นค่าจ้างก็จะประหยัดเงินและได้ประโยชน์ทุกส่วน


กำลังโหลดความคิดเห็น