ความเห็นของ คณะรัฐมนตรีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ข้อที่ 16 ทำให้คำว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ถูกเอ่ยอ้างถึงอีกครั้งหนึง
ประชาธิปไตยครึ่งใบ หมายถึง ระบอบการปกครองที่ประชาชนไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจเป็นของทหาร ข้าราชการ คือ มีการเลือกตั้ง สส. แต่ สส. หรือพรรคการเมือง ไม่ได้เป็นคนตั้งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล กองทัพเป็นคนตั้ง
ข้อเสนอข้อที่ 16 ของ ครม. เสนอให้คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ( กรธ.) พิจารณาขยายช่วงเวลาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญออกเป็นสองช่วง ช่วงแรก ให้คงอำนาจพิเศษไว้หลังเลือกตั้ง เพราะเป็นช่วง “ เปลี่ยนผ่าน” ซึ่งอาจมีปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่สงบเรียบร้อย ที่กระทบต่อความมั่นคง อย่างเช่น เหตุการณ์ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และกลไกปกติในรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ต้องใช้ อำนาจพิเศษ
อำนาจพิเศษนี้ จะอยู่นานแค่ไหน พลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรีเฉลยแล้วว่า ประม่าณ 5 ปี แม้จะไม่ได้ระบุว่า อำนาจพิเศษนี้ หน้าตาเป็นอย่างไร แต่เป็นที่ร็กันว่า คือ คสช. นั่นแหละ
ภายใต้ข้อเสนอนี้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง . จะอยู่ภายใต้การกำกับของ คสช.เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งในช่วงเวลา 5 ปีนี้ จะมีรัฐบาลมากกว่า 1 ชุดแน่ เพราะอายุรัฐบาลอยู่ได้เพียง 4 ปี
ประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้น หากว่า กรธ. แก้ไขร่าง รธน ตามข้อเสนอของ ครม. และ ประชาชนลงปชะชามติเห็นด้วย ก็จะเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐบาล คือ คสช. ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นการถอยหลังเข้าคลอง พาบ้านเมืองย้อนหลังกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน
การเมืองไทย ยุคที่เรียกกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ อยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2522 -2530 หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีการร่าง รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2521 ซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง มี สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีเหมือน สส. ข้าราชการ เป็นรัฐมนตรี หรือรับตำแหน่งการเมืองได้
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกฯคนแรกในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ คนต่อมาคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ใขณะที่ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และลงจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2531 รวมเวลาที่เป็นนายก 8 ปี โดยไม่ได้ลงเลือกตั้ง แต่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทัพ
ในยุคประชาธิปไตย กระทรวงสำคัญๆ โดยเฉพาะกระทรวงเศรษฐกิจ รวมทั้งเรื่องพลังงาน ถูกคุมโดยคนของพลเอกเปรม ทั้งที่เป็นข้าราชการ และมาจากภาคเอกชน เข่น นายสมหมาย ฮุนตระกูล นายสุธี สิงห์เสน่ห์ นายศุล มหาสันทนะ พลอากาศเอกสิทธเ เศวตศิลาฯลฯ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญในการวางแผนยุทธศาสตร์ และโครงการขนาดใหญ่
นักการเมืองถูกกันอยู่วงนอก เป็นได้อย่างมากแค่รัฐมนตรีช่วย ไม่มีโอกาสเข้าถึงการจัดสรรงบประมาณ จะเสนอโครงการอะไร ก็ถูกสภาพัฒนื กลั่นกรอง ตรวจสอย่างเข้มงวด
ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ สิ้นสุดลงในปี 2531 เมื่อพลเอกเปรม เอ่ยปากว่า “ ผมพอแล้ว” กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นก็เป็นยุคของ ประชาธิปไตย เต็มใบ มีนายกรัฐมนนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง คนแรก คือ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ แม้ว่า กองทัพ ซึ่งอยู่ใต้การนำของ จปร. รุ่น 5 จะพยายามนำระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบกลับมาอีก ในยุค รสช. ที่ต้องการสืบทอดอำนาจ ด้วยการดัน พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้มาจาก สส. แต่ถูกประชาชนคัดค้าน จนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535
ประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มใบอีกครั้ง หลังการเลือกตั้งกลางปี 2535 มีนายกรัฐมนตรีที่เป็น สส มาจากการเลือกตั้งติดต่อกันตั้งแต่ปี 2535-2548 จากชวน หลีกภัย ถึง ทักษิณ ชินวัตร นักการเมืองต่างจับจองกระทรวงสำคัญๆ บรรดา สส. ได้รับการจัดสรรงบประมาณกันทั่วหน้า ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจโดยคณะ คมช เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แต่เพียงปีเศษ ก็รีบส่งคืนประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเริ่มผลิดอกออกใบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ คสช. จะหักกิ่งทิ้ง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
รวมเวลาที่ประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มใบ เกือบ 2 ทศวรรษ เทียบกับระยะเวลาที่เหลือประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบ 10 ปี
แบบเต็มใบ หรือ แบบครึ่งใบ ที่เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง แบบเต็มใบ หรือครึ่งใบที่แก้วิกฤติของประเทศชาติได้
ประชาธิปไตยครึ่งใบแบบเมื่อ 30 ปีก่อน อาจไม่เหมาะกับยุคสมัย อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ได้ ต้องรอดูกัน แต่ประชาธิปไตยแบบเต็มใบ ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศชาติได้
ประชาธิปไตยครึ่งใบ หมายถึง ระบอบการปกครองที่ประชาชนไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจเป็นของทหาร ข้าราชการ คือ มีการเลือกตั้ง สส. แต่ สส. หรือพรรคการเมือง ไม่ได้เป็นคนตั้งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล กองทัพเป็นคนตั้ง
ข้อเสนอข้อที่ 16 ของ ครม. เสนอให้คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ( กรธ.) พิจารณาขยายช่วงเวลาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญออกเป็นสองช่วง ช่วงแรก ให้คงอำนาจพิเศษไว้หลังเลือกตั้ง เพราะเป็นช่วง “ เปลี่ยนผ่าน” ซึ่งอาจมีปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่สงบเรียบร้อย ที่กระทบต่อความมั่นคง อย่างเช่น เหตุการณ์ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และกลไกปกติในรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ต้องใช้ อำนาจพิเศษ
อำนาจพิเศษนี้ จะอยู่นานแค่ไหน พลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรีเฉลยแล้วว่า ประม่าณ 5 ปี แม้จะไม่ได้ระบุว่า อำนาจพิเศษนี้ หน้าตาเป็นอย่างไร แต่เป็นที่ร็กันว่า คือ คสช. นั่นแหละ
ภายใต้ข้อเสนอนี้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง . จะอยู่ภายใต้การกำกับของ คสช.เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งในช่วงเวลา 5 ปีนี้ จะมีรัฐบาลมากกว่า 1 ชุดแน่ เพราะอายุรัฐบาลอยู่ได้เพียง 4 ปี
ประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้น หากว่า กรธ. แก้ไขร่าง รธน ตามข้อเสนอของ ครม. และ ประชาชนลงปชะชามติเห็นด้วย ก็จะเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐบาล คือ คสช. ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นการถอยหลังเข้าคลอง พาบ้านเมืองย้อนหลังกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน
การเมืองไทย ยุคที่เรียกกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ อยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2522 -2530 หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีการร่าง รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2521 ซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง มี สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีเหมือน สส. ข้าราชการ เป็นรัฐมนตรี หรือรับตำแหน่งการเมืองได้
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกฯคนแรกในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ คนต่อมาคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ใขณะที่ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และลงจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2531 รวมเวลาที่เป็นนายก 8 ปี โดยไม่ได้ลงเลือกตั้ง แต่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทัพ
ในยุคประชาธิปไตย กระทรวงสำคัญๆ โดยเฉพาะกระทรวงเศรษฐกิจ รวมทั้งเรื่องพลังงาน ถูกคุมโดยคนของพลเอกเปรม ทั้งที่เป็นข้าราชการ และมาจากภาคเอกชน เข่น นายสมหมาย ฮุนตระกูล นายสุธี สิงห์เสน่ห์ นายศุล มหาสันทนะ พลอากาศเอกสิทธเ เศวตศิลาฯลฯ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญในการวางแผนยุทธศาสตร์ และโครงการขนาดใหญ่
นักการเมืองถูกกันอยู่วงนอก เป็นได้อย่างมากแค่รัฐมนตรีช่วย ไม่มีโอกาสเข้าถึงการจัดสรรงบประมาณ จะเสนอโครงการอะไร ก็ถูกสภาพัฒนื กลั่นกรอง ตรวจสอย่างเข้มงวด
ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ สิ้นสุดลงในปี 2531 เมื่อพลเอกเปรม เอ่ยปากว่า “ ผมพอแล้ว” กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นก็เป็นยุคของ ประชาธิปไตย เต็มใบ มีนายกรัฐมนนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง คนแรก คือ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ แม้ว่า กองทัพ ซึ่งอยู่ใต้การนำของ จปร. รุ่น 5 จะพยายามนำระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบกลับมาอีก ในยุค รสช. ที่ต้องการสืบทอดอำนาจ ด้วยการดัน พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้มาจาก สส. แต่ถูกประชาชนคัดค้าน จนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535
ประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มใบอีกครั้ง หลังการเลือกตั้งกลางปี 2535 มีนายกรัฐมนตรีที่เป็น สส มาจากการเลือกตั้งติดต่อกันตั้งแต่ปี 2535-2548 จากชวน หลีกภัย ถึง ทักษิณ ชินวัตร นักการเมืองต่างจับจองกระทรวงสำคัญๆ บรรดา สส. ได้รับการจัดสรรงบประมาณกันทั่วหน้า ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจโดยคณะ คมช เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แต่เพียงปีเศษ ก็รีบส่งคืนประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเริ่มผลิดอกออกใบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ คสช. จะหักกิ่งทิ้ง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
รวมเวลาที่ประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มใบ เกือบ 2 ทศวรรษ เทียบกับระยะเวลาที่เหลือประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบ 10 ปี
แบบเต็มใบ หรือ แบบครึ่งใบ ที่เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง แบบเต็มใบ หรือครึ่งใบที่แก้วิกฤติของประเทศชาติได้
ประชาธิปไตยครึ่งใบแบบเมื่อ 30 ปีก่อน อาจไม่เหมาะกับยุคสมัย อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ได้ ต้องรอดูกัน แต่ประชาธิปไตยแบบเต็มใบ ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศชาติได้