ไม่ยากแก่การเดาปฏิกิริยาของฝ่ายต่างๆ ในพื้นที่สังคมการเมือง เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ “ฉบับมีชัย” เผยโฉมแรกขึ้นมา ซึ่งเป็นร่างเพื่อรับฟังความคิดเห็น ก่อนนำไปปรับปรุงแก้ไขอีกรอบ และนำมาให้ประชาชนลงประชามติ
กล่าวคือ ใครที่ “เอา” ก็จะเอา ใครที่ “ไม่เอา” รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายเสื้อแดง กลุ่มนักวิชาการ คอลัมนิสต์ นักเขียน สื่อฝ่ายที่ใกล้ชิดกับเสื้อแดง หรือกลุ่มที่เรียกร้องประชาธิปไตยแต่ไม่เอารัฐประหาร ต่างก็ทยอยกันออกมาประสานเสียงปลุกระดมให้คว่ำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งกลุ่มเดิมนี้ ก็เป็นกลุ่มที่ไม่แฮปปี้กับรัฐธรรมนูญของ อ.บวรศักดิ์เมื่อกลางปีที่ผ่านมาเช่นกัน
ประเด็นหลักๆ เป็นที่โจมตีของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ได้แก่ เรื่องที่มาของนายกฯ และที่มาของ ส.ว.รวมถึงระบบเลือกตั้ง
เรื่องที่มาของนายกฯ นั้นออกจะเป็นเรื่องใหญ่หน่อย เพราะเรื่อง “นายกฯ คนกลาง” หรือ “นายกฯ ไม่ได้มาจาก ส.ส. (ที่มาจากการเลือกตั้ง)” นั้น เป็นเหมือน “แผลเป็น” ทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย
คือชนวนเหตุที่มาของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรีคนกลางที่มาจากคณะทหารชุดที่ทำรัฐประหารไปก่อนหน้านั้น
ยิ่งทำให้บางกลุ่มนำไปโยงกันใหญ่ว่า หรือนี่จะเป็นการซ้ำกับพฤษภาทมิฬโมเดล โดยเฉพาะหากประเมินร่วมกับระบบการเลือกตั้ง ที่จะทำให้ไม่มีพรรคไหนได้เสียงเด็ดขาด จึงมีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน ที่อาจจะไม่สามารถหานายกรัฐมนตรีจาก ส.ส.ในสภาฯ ได้ จึงอาจจะต้องเป็นคนนอกคนใดคนหนึ่งที่พรรคเสนอไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ตามเงื่อนไขของร่างรัฐธรรมนูญนี้
อันนี้ก็มีข้อพิจารณาว่า การที่ให้พรรคประกาศชื่อบุคคลที่จะเชิญมาเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็น ส.ส.หรือสังกัดพรรคนั้นหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกว่า ถ้าเลือกพรรคนี้ จะมีใครมีโอกาสเป็นนายกฯ บ้างนั้น ก็จะถือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ล่วงหน้านั้น ก็มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมได้หรือไม่?
เพียงแต่ไม่ได้มาในตำแหน่ง ส.ส.เท่านั้นเอง
ปัญหาอีกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ก็ได้แก่เรื่องระบบเลือกตั้ง ส.ส.ที่เปลี่ยนจากการกาบัตรสองใบ ส.ส.เขตหนึ่งใบ แบบบัญชีรายชื่ออีกหนึ่งใบ ให้เป็นการกาเลือก ส.ส.เขตใบเดียว แต่เอาคะแนนทั้งหมดมาคิดรวม และปรับที่นั่ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ตามคะแนนเสียงจริงที่รวบรวมคิดจากคะแนนเสียงเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตทั่วประเทศมารวมกัน
พรรคไหนได้ ส.ส.เขตเกินจำนวนสัดส่วนเสียงทั่วประเทศแล้วก็ไม่ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเพิ่ม ส่วนพรรคไหนที่คะแนนเสียงระดับประเทศมีสัดส่วนคิดแล้วควรมี ส.ส.มากกว่าที่ได้ ส.ส.เขตไป ก็จะได้ที่นั่งในระบบปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มขึ้น
ระบบนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเขาบอกว่า เพื่อให้จำนวนที่นั่งของ ส.ส.นั้นสะท้อนความนิยมของคะแนนเสียงระดับประเทศอย่างแท้จริงตามสัดส่วน แต่ก็ถูกโจมตีจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นการทำให้เกิดระบบพรรคเล็กพรรคน้อย เพราะจะไม่มีพรรคไหนได้คะแนนชนะขาดกันแบบครึ่งสภาฯ ได้ง่ายๆ ซึ่งก็ต้องมาคิดกันว่า ฐานคิดว่าสมาชิกสภาฯ คือผู้แทนของประชาชนนั้น ควรจะยึดถืออย่างไร ในสภาฯ ควรจะมีสมาชิกพรรคในสัดส่วนเท่ากับความนิยมของคนทั้งประเทศหรือไม่ หรือจะมองว่า คะแนนนิยมของพรรคแยกกับคะแนนนิยมของตัวตน ส.ส.ที่ลงพื้นที่ได้
ส่วนเรื่องของที่มา ส.ว.จากการสรรหานั้นก็ไม่แปลกใจที่จะถูกโจมตี เพราะว่าฝ่าย “ประชาธิปไตย” จ๋านั้น เห็นว่าอะไรๆ ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย
แต่โดยธรรมชาติของวุฒิสภา หรือ “สภาสูง” ที่เป็นทั้งสภากลั่นกรอง และสภาตรวจสอบนั้น ก็ควรจะมีที่มาหรือมี “ฐานคิด” ที่แตกต่างจาก “สภาล่าง” หรือสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นสภาฯ ที่ประชาชนเลือกมาโดยตรงหรือไม่ ?
เพราะถ้าเลือกตั้งโดยตรงเหมือนกันทั้งสองสภา ก็เท่ากับเป็นสภาผู้แทนราษฎรที่สองเท่านั้น และก็จะปรากฏปัญหาเดิมๆ ตามมา เหมือนในรัฐธรรมนูญ 40 ว่าเท่ากับเป็นสภาที่พรรคการเมืองก็แบ่งคนของตนไปลงสมัครในวุฒิสภาได้ กลายเป็น “อีกสนามเลือกตั้ง” หนึ่งเท่านั้นเอง
ประเด็นสุดท้ายที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ก็ได้แก่เรื่องที่ให้อำนาจ “ศาลรัฐธรรมนูญ” มาเป็นพิเศษกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ทั้งให้เป็นศาลที่พิจารณาตัดสินใจกรณีที่มีวิกฤต รวมทั้งที่ให้ถอดถอนหรือควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังคงจะต้องถกเถียงกันต่อไป และก็คงจะมีการเอากลับไปแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง แต่แน่นอนว่าคงไม่ใช่การรื้อหลักการใหญ่อะไรออกไปแน่ๆ อย่างมากก็อาจจะมีเพิ่มหรือปรับบางถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น
หรือถ้าจะเพิ่มหน่อย ก็อาจจะยอมรับฟังเสียงของบางกลุ่มเรื่องสิทธิชุมชน หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นำกลับมาบัญญัติไว้อีกก็ได้
แต่เรื่องระบบการเลือกตั้ง ที่มาของนายกฯ อำนาจหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเนื้อหาระดับแกนกลาง หรือ Core ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คงไม่มีการแตะต้องอะไรแน่
ต่อไปนี้ก็คงเป็นการแย่งเวที ชิงพื้นที่สื่อของทั้งกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มคัดค้านรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มหลังคงจะตีขลุมไปในทางว่า ไม่เอารัฐธรรมนูญ คือไม่เอารัฐประหารโดย คสช.ด้วยก็ได้
หรือแม้แต่การ “มั่ว” เอาเรื่องปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาราคายาง ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งรุมล้อมรัฐบาลอยู่ มาประสมโรงเข้ากับเรื่องการลงประชามติรับ หรือไม่รับรัฐธรรมนูญด้วยก็ได้ ซึ่งในต่างประเทศก็เคยมีบทเรียนแล้วว่า หลายครั้งที่ความนิยมของรัฐบาลส่งผลต่อประชามติในเรื่องรัฐธรรมนูญ หรือในเรื่องกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐบาล แต่เป็นการ “สั่งสอนทางอ้อม” ของประชาชนผ่านกระบวนการลงประชามตินั่นเอง
สงครามชิงพื้นที่สื่อและการรณรงค์ประชามติ เมื่อถึงช่วง “ลงสนามจริง” คือหลังจากการแจกร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายไปให้ประชาชนศึกษา ก่อนลงมตินั้น ทาง คสช.คงจะต้องรอรับศึกนั้นอย่างช่วยไม่ได้
เพราะน่าจะเป็นครั้งแรกเลยจริงๆ หลังการรัฐประหารมาสองปี ที่จะได้สอบดูว่า “เสียง” ของฝ่ายที่นิยมอำนาจเก่านั้นยังมีมากแค่ไหนในระบบลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง.
กล่าวคือ ใครที่ “เอา” ก็จะเอา ใครที่ “ไม่เอา” รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายเสื้อแดง กลุ่มนักวิชาการ คอลัมนิสต์ นักเขียน สื่อฝ่ายที่ใกล้ชิดกับเสื้อแดง หรือกลุ่มที่เรียกร้องประชาธิปไตยแต่ไม่เอารัฐประหาร ต่างก็ทยอยกันออกมาประสานเสียงปลุกระดมให้คว่ำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งกลุ่มเดิมนี้ ก็เป็นกลุ่มที่ไม่แฮปปี้กับรัฐธรรมนูญของ อ.บวรศักดิ์เมื่อกลางปีที่ผ่านมาเช่นกัน
ประเด็นหลักๆ เป็นที่โจมตีของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ได้แก่ เรื่องที่มาของนายกฯ และที่มาของ ส.ว.รวมถึงระบบเลือกตั้ง
เรื่องที่มาของนายกฯ นั้นออกจะเป็นเรื่องใหญ่หน่อย เพราะเรื่อง “นายกฯ คนกลาง” หรือ “นายกฯ ไม่ได้มาจาก ส.ส. (ที่มาจากการเลือกตั้ง)” นั้น เป็นเหมือน “แผลเป็น” ทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย
คือชนวนเหตุที่มาของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรีคนกลางที่มาจากคณะทหารชุดที่ทำรัฐประหารไปก่อนหน้านั้น
ยิ่งทำให้บางกลุ่มนำไปโยงกันใหญ่ว่า หรือนี่จะเป็นการซ้ำกับพฤษภาทมิฬโมเดล โดยเฉพาะหากประเมินร่วมกับระบบการเลือกตั้ง ที่จะทำให้ไม่มีพรรคไหนได้เสียงเด็ดขาด จึงมีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน ที่อาจจะไม่สามารถหานายกรัฐมนตรีจาก ส.ส.ในสภาฯ ได้ จึงอาจจะต้องเป็นคนนอกคนใดคนหนึ่งที่พรรคเสนอไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ตามเงื่อนไขของร่างรัฐธรรมนูญนี้
อันนี้ก็มีข้อพิจารณาว่า การที่ให้พรรคประกาศชื่อบุคคลที่จะเชิญมาเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็น ส.ส.หรือสังกัดพรรคนั้นหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกว่า ถ้าเลือกพรรคนี้ จะมีใครมีโอกาสเป็นนายกฯ บ้างนั้น ก็จะถือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ล่วงหน้านั้น ก็มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมได้หรือไม่?
เพียงแต่ไม่ได้มาในตำแหน่ง ส.ส.เท่านั้นเอง
ปัญหาอีกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ก็ได้แก่เรื่องระบบเลือกตั้ง ส.ส.ที่เปลี่ยนจากการกาบัตรสองใบ ส.ส.เขตหนึ่งใบ แบบบัญชีรายชื่ออีกหนึ่งใบ ให้เป็นการกาเลือก ส.ส.เขตใบเดียว แต่เอาคะแนนทั้งหมดมาคิดรวม และปรับที่นั่ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ตามคะแนนเสียงจริงที่รวบรวมคิดจากคะแนนเสียงเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตทั่วประเทศมารวมกัน
พรรคไหนได้ ส.ส.เขตเกินจำนวนสัดส่วนเสียงทั่วประเทศแล้วก็ไม่ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเพิ่ม ส่วนพรรคไหนที่คะแนนเสียงระดับประเทศมีสัดส่วนคิดแล้วควรมี ส.ส.มากกว่าที่ได้ ส.ส.เขตไป ก็จะได้ที่นั่งในระบบปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มขึ้น
ระบบนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเขาบอกว่า เพื่อให้จำนวนที่นั่งของ ส.ส.นั้นสะท้อนความนิยมของคะแนนเสียงระดับประเทศอย่างแท้จริงตามสัดส่วน แต่ก็ถูกโจมตีจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นการทำให้เกิดระบบพรรคเล็กพรรคน้อย เพราะจะไม่มีพรรคไหนได้คะแนนชนะขาดกันแบบครึ่งสภาฯ ได้ง่ายๆ ซึ่งก็ต้องมาคิดกันว่า ฐานคิดว่าสมาชิกสภาฯ คือผู้แทนของประชาชนนั้น ควรจะยึดถืออย่างไร ในสภาฯ ควรจะมีสมาชิกพรรคในสัดส่วนเท่ากับความนิยมของคนทั้งประเทศหรือไม่ หรือจะมองว่า คะแนนนิยมของพรรคแยกกับคะแนนนิยมของตัวตน ส.ส.ที่ลงพื้นที่ได้
ส่วนเรื่องของที่มา ส.ว.จากการสรรหานั้นก็ไม่แปลกใจที่จะถูกโจมตี เพราะว่าฝ่าย “ประชาธิปไตย” จ๋านั้น เห็นว่าอะไรๆ ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย
แต่โดยธรรมชาติของวุฒิสภา หรือ “สภาสูง” ที่เป็นทั้งสภากลั่นกรอง และสภาตรวจสอบนั้น ก็ควรจะมีที่มาหรือมี “ฐานคิด” ที่แตกต่างจาก “สภาล่าง” หรือสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นสภาฯ ที่ประชาชนเลือกมาโดยตรงหรือไม่ ?
เพราะถ้าเลือกตั้งโดยตรงเหมือนกันทั้งสองสภา ก็เท่ากับเป็นสภาผู้แทนราษฎรที่สองเท่านั้น และก็จะปรากฏปัญหาเดิมๆ ตามมา เหมือนในรัฐธรรมนูญ 40 ว่าเท่ากับเป็นสภาที่พรรคการเมืองก็แบ่งคนของตนไปลงสมัครในวุฒิสภาได้ กลายเป็น “อีกสนามเลือกตั้ง” หนึ่งเท่านั้นเอง
ประเด็นสุดท้ายที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ก็ได้แก่เรื่องที่ให้อำนาจ “ศาลรัฐธรรมนูญ” มาเป็นพิเศษกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ทั้งให้เป็นศาลที่พิจารณาตัดสินใจกรณีที่มีวิกฤต รวมทั้งที่ให้ถอดถอนหรือควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังคงจะต้องถกเถียงกันต่อไป และก็คงจะมีการเอากลับไปแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง แต่แน่นอนว่าคงไม่ใช่การรื้อหลักการใหญ่อะไรออกไปแน่ๆ อย่างมากก็อาจจะมีเพิ่มหรือปรับบางถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น
หรือถ้าจะเพิ่มหน่อย ก็อาจจะยอมรับฟังเสียงของบางกลุ่มเรื่องสิทธิชุมชน หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นำกลับมาบัญญัติไว้อีกก็ได้
แต่เรื่องระบบการเลือกตั้ง ที่มาของนายกฯ อำนาจหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเนื้อหาระดับแกนกลาง หรือ Core ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คงไม่มีการแตะต้องอะไรแน่
ต่อไปนี้ก็คงเป็นการแย่งเวที ชิงพื้นที่สื่อของทั้งกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มคัดค้านรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มหลังคงจะตีขลุมไปในทางว่า ไม่เอารัฐธรรมนูญ คือไม่เอารัฐประหารโดย คสช.ด้วยก็ได้
หรือแม้แต่การ “มั่ว” เอาเรื่องปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาราคายาง ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งรุมล้อมรัฐบาลอยู่ มาประสมโรงเข้ากับเรื่องการลงประชามติรับ หรือไม่รับรัฐธรรมนูญด้วยก็ได้ ซึ่งในต่างประเทศก็เคยมีบทเรียนแล้วว่า หลายครั้งที่ความนิยมของรัฐบาลส่งผลต่อประชามติในเรื่องรัฐธรรมนูญ หรือในเรื่องกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐบาล แต่เป็นการ “สั่งสอนทางอ้อม” ของประชาชนผ่านกระบวนการลงประชามตินั่นเอง
สงครามชิงพื้นที่สื่อและการรณรงค์ประชามติ เมื่อถึงช่วง “ลงสนามจริง” คือหลังจากการแจกร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายไปให้ประชาชนศึกษา ก่อนลงมตินั้น ทาง คสช.คงจะต้องรอรับศึกนั้นอย่างช่วยไม่ได้
เพราะน่าจะเป็นครั้งแรกเลยจริงๆ หลังการรัฐประหารมาสองปี ที่จะได้สอบดูว่า “เสียง” ของฝ่ายที่นิยมอำนาจเก่านั้นยังมีมากแค่ไหนในระบบลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง.