ยังต้องคุยเรื่องรัฐธรรมนูญกันอยู่ครับ ที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะรัฐธรรมนูญคือแบบแปลนการเมือง คืออนาคตที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้งตามโรดแมปในปีหน้า
และเราสามารถ “คาดการณ์” อนาคตได้จากการอ่านรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าการเมืองเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รัฐธรรมนูญก็เป็นเหมือน OS หรือระบบปฏิบัติการนั่นเอง
ความคืบหน้าล่าสุด สรุปว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. “ยอม” ฝ่าย คสช. และ ครม. แบบพบกันครึ่งทาง
แต่จะว่าพบกันครึ่งทางก็ไม่ค่อยถูกนัก เพราะเอาเข้าจริง สิ่งที่ กรธ.ยอมทำตามข้อเสนอ มีเพียงเรื่องการยอมให้มี ส.ว.จากการสรรหาชั่วคราว 250 คนเท่านั้น
นอกนั้น เรื่องระบบเลือกตั้งเขตใหญ่สามคนกาเบอร์เดียวใช้บัตรสองใบแยกปาร์ตี้ลิสต์ เรื่องการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า (ที่ คสช.ขอมาว่าอย่าเพิ่งใช้) ก็ปัดตกไปหมด บอกว่าทำไม่ได้ ขัดกับแนวทางของรัฐธรรมนูญที่ร่างมา
ส่วนเรื่อง ส.ว.สรรหา ที่ว่ายอม ก็ไม่ได้ยอมเสียเต็มที่ ก็ยังมีกั๊กๆ ไว้อยู่ เช่น ยอมให้สรรหา 200 คน ส่วนอีก 50 คน จะเป็นแบบเลือก 50 คนมาจากการเลือกกันเองของส่วนภูมิภาค ในรูปแบบเดิมกับที่ กรธ. คิดไว้ และนอกจากนั้น ถึงจะยอมให้ข้าราชการประจำเป็น ส.ว.ได้ แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจในการซักฟอกรัฐบาล
อีกทั้งที่ขอว่าจะให้มีผู้นำเหล่าทัพทั้ง 6 เข้าไปนั่งเป็น ส.ว.โดยตำแหน่งด้วย ก็ยังไม่ตอบรับปฏิเสธอะไรมาชัดเจน เรียกว่าไอ้ที่ให้ก็ให้ครึ่งๆ
ส่วนเรื่องการเปิดเผยชื่อนายกฯ คนกลางของพรรคการเมืองนั้น กรธ.ก็ยังคงยืนยันว่า จะไม่เว้นวรรค ยังคงมีอยู่ แต่ก็เปิดช่องว่า ถ้าสภาผู้แทนฯ ยังไม่สามารถเลือกนายกฯ ได้ภายในเวลา 90 วัน ก็จะสามารถเสนอชื่อบุคคลภายนอกได้
อันนี้ก็เป็นการพบกันครึ่งทาง ที่ถ้าจะมีใครอยากโผล่มา “เซอร์ไพรส์” ก็ยังทำได้
เพียงแต่มันอาจจะ “ยาก” ไปหน่อย เพราะเท่ากับสภาต้องมีเหตุผลว่า เกิดเหตุอันใดที่จะต้องเลือกบุคคลนอกรายชื่อที่เสนอไว้ต่อประชาชน เพราะเมื่อ “คัด” แล้วมาให้ประชาชนเห็นตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ก็แปลว่าทางพรรคก็ “ควร” สนับสนุนท่านผู้มีรายชื่อดังนั้นให้สุด จะมาปล่อยทิ้งกลางทางในสภาได้อย่างไร
เว้นแต่เป็นอย่างที่บางฝ่ายคาดไว้ว่า ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่นี้ เสียงจะไม่ขาด ไม่มีพรรคไหนได้เสียงข้างมาก ต้องจับกับพรรคอื่นเป็นรัฐบาล
ถ้าเช่นนั้นการตกลงกันแบบ “ไม่ลงตัว” จนต้องไปเชิญ “คนนอก” เข้ามาก็เป็นไปได้ เหมือนในยุคป๋าเปรม ที่ทำให้ท่านเป็นนายกฯ มายาวนาน แม้จะมีการเลือกตั้งมาหลายครั้งตลอดช่วงเวลานั้นนั่นเอง เพราะรัฐบาลผสมนั้น “ตกลงกันไม่ได้ ว่าจะให้ใครเป็นนายกฯ”
ก็ต้องรอดูกันไปว่าจะไปถึงขั้นนั้นหรือไม่ หรือถ้ามี “เซอร์ไพรส์” แล้วประชาชนจะรับได้แค่ไหน ในยุคปัจจุบันที่แตกต่างจากบริบททางการเมืองในยุค 30 กว่าปีก่อนมากนัก
ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.ดูแล้ว กรธ. ก็ยอมแค่ให้เป็นเหมือนสภาที่กำกับดูแลกระบวนการปฏิรูปที่เริ่มต้นขึ้นมาแล้วให้มีผู้สานต่อไปเท่านั้น กับอำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจเชิงการเมือง ซักฟอกถอดถอนรัฐบาล ซึ่ง กรธ.ได้ออกแบบไว้ให้เป็นกระบวนการทางศาล ผ่านศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ
กล่าวโดยสรุป “หน้าตา” ของรัฐธรรมนูญเฉพาะกิจช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ เว้นแต่จะมี ส.ว.สรรหาจำนวน 200 คน บวกกับ ส.ว.เลือกกันเองแบบสภาพลเมือง 50 คน
นายกฯ อาจจะเป็นคนนอกก็ได้ ถ้าไม่สามารถหาตัวนายกจากรายชื่อของพรรคการเมืองได้จริง
คสช. และทหารระดับแม่ทัพผู้บังคับบัญชาทั้งหลาย จะมาเป็น ส.ว.ก็ได้ไม่ห้าม แต่ไม่มีโควตาพิเศษให้ ก็ชิงกันเข้ามาเองตามโควตาของข้าราชการทหาร
ก็ไม่รู้ว่า ทาง คสช.จะว่าอย่างไรกันต่อไป แต่จะดึงดันมากไปนักก็อาจจะดูไม่สวยเท่าไร อาจจะถูกครหาว่าอยากได้ “อำนาจ” หรืออยากสืบทอดอำนาจเข้าจริงๆ ก็ได้ เพราะที่ทาง กรธ.ยอมปรับให้ ก็ต้องยอมรับว่า ก็พอเหมาะพอสม มีเหตุผลอธิบายได้ และถ้าจะว่าเพื่อให้ช่วงเปลี่ยนผ่านนั้นมีการสานต่อ ก็ยอมให้มี ส.ว.แต่งตั้งแล้วไง ให้ดูแลเรื่องการปฏิรูป แต่เรื่องฝ่ายการเมืองก็จะไปตรวจสอบไปอะไรเขาไม่ได้เพราะถือว่าไม่ได้มีที่มาจากประชาชน
ทั้งคุณมีชัยเอง ก็เล่นเล่านิทาน “ปริศนาธรรม” เรื่องเป็นผู้รับจ้างซ่อมแซมสร้างบ้านใหม่ แต่ถูกคนโน้นคนนี้ข่มขู่เอาแต่ใจ จะเอาโน่นไม่เอานี่ เอานี่ไม่เอาโน่น
และถ้าจะว่าไป “เครดิต” ของคุณมีชัยนั้นก็สูงพอที่ถ้าฝ่ายผู้มีอำนาจจะหักบังคับเอาแก่ใจจนเกินไป (ทั้งๆ ที่ท่านก็ถอยให้อย่างที่ว่า) แล้ว ก็อาจจะทำให้แรงกระเพื่อมสะท้อนกลับมา ทั้งจากฝ่ายที่ไม่เอาการปกครองของฝ่ายทหารอยู่แล้ว กับที่เป็นกลางๆ ตัดสินไปตามเนื้อผ้า ให้เกิดการตั้งคำถามได้ว่าท่านต้องการอะไรกันแน่
แต่นั่นแหละครับ ไม่ว่าจะอย่างไร ถ้าไม่มีอะไร “เซอร์ไพรส์” กันเสียก่อน ผู้เดียวที่จะมีอำนาจบอกว่าจะผ่านจะตกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ ประชาชนผู้ลงประชามติ
นอกจากต้องคอยจับตาดูว่า “ฐานเสียง” ของฝ่ายการเมืองจะว่าอย่างไร (ที่ผ่านมาส่วนใหญ่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วย ทั้งทางฟากเพื่อไทยหรือแม้แต่ ปชป.)
ยังต้องคอยดูว่า ท่าทีในการ “ประชาสัมพันธ์” ของทาง “รัฐ” จะเทไปในทางไหน จากเดิมมีการเตรียมตัวกันคึกครื้นคึกคัก ว่าจะประชาสัมพันธ์ให้คนออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง “เห็นชอบ” ให้มากที่สุดถึงขนาดจะจัด รด. จิตอาสา ไปเคาะประตู “ให้ความรู้” รัฐธรรมนูญกันถึงบ้านเลยทีเดียว
เมื่อท่าทีของ กรธ.ออกมาแบบ “ตามใจแต่ไม่สุด” อย่างนี้ ทางฝ่ายรัฐจะดำเนินท่าทีอย่างไรกับการลงประชามติ จะออกมาสนับสนุนอย่างที่เคยแสดงออกมา หรือว่าจะปล่อยไปตามสภาพ ไม่หนุน ไม่ช่วย แต่ก็ไม่ได้ขัดขวาง ใครจะอภิปราย หรือประชาชนจะเห็นชอบหรือไม่อย่างไรก็สุดแต่ใจเราท่าน
ก็ต้องรอดูกัน ว่าตกลงรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ จะได้ “ขึ้นพาน” ไปเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ฉบับที่ 11 (หรือถ้านับฉบับชั่วคราวด้วยก็จะเป็นฉบับที่ 20) หรือจะลงหลุมไปนอนข้างๆ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
สิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ก็ได้รู้กันแล้วครับ.
และเราสามารถ “คาดการณ์” อนาคตได้จากการอ่านรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าการเมืองเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รัฐธรรมนูญก็เป็นเหมือน OS หรือระบบปฏิบัติการนั่นเอง
ความคืบหน้าล่าสุด สรุปว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. “ยอม” ฝ่าย คสช. และ ครม. แบบพบกันครึ่งทาง
แต่จะว่าพบกันครึ่งทางก็ไม่ค่อยถูกนัก เพราะเอาเข้าจริง สิ่งที่ กรธ.ยอมทำตามข้อเสนอ มีเพียงเรื่องการยอมให้มี ส.ว.จากการสรรหาชั่วคราว 250 คนเท่านั้น
นอกนั้น เรื่องระบบเลือกตั้งเขตใหญ่สามคนกาเบอร์เดียวใช้บัตรสองใบแยกปาร์ตี้ลิสต์ เรื่องการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า (ที่ คสช.ขอมาว่าอย่าเพิ่งใช้) ก็ปัดตกไปหมด บอกว่าทำไม่ได้ ขัดกับแนวทางของรัฐธรรมนูญที่ร่างมา
ส่วนเรื่อง ส.ว.สรรหา ที่ว่ายอม ก็ไม่ได้ยอมเสียเต็มที่ ก็ยังมีกั๊กๆ ไว้อยู่ เช่น ยอมให้สรรหา 200 คน ส่วนอีก 50 คน จะเป็นแบบเลือก 50 คนมาจากการเลือกกันเองของส่วนภูมิภาค ในรูปแบบเดิมกับที่ กรธ. คิดไว้ และนอกจากนั้น ถึงจะยอมให้ข้าราชการประจำเป็น ส.ว.ได้ แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจในการซักฟอกรัฐบาล
อีกทั้งที่ขอว่าจะให้มีผู้นำเหล่าทัพทั้ง 6 เข้าไปนั่งเป็น ส.ว.โดยตำแหน่งด้วย ก็ยังไม่ตอบรับปฏิเสธอะไรมาชัดเจน เรียกว่าไอ้ที่ให้ก็ให้ครึ่งๆ
ส่วนเรื่องการเปิดเผยชื่อนายกฯ คนกลางของพรรคการเมืองนั้น กรธ.ก็ยังคงยืนยันว่า จะไม่เว้นวรรค ยังคงมีอยู่ แต่ก็เปิดช่องว่า ถ้าสภาผู้แทนฯ ยังไม่สามารถเลือกนายกฯ ได้ภายในเวลา 90 วัน ก็จะสามารถเสนอชื่อบุคคลภายนอกได้
อันนี้ก็เป็นการพบกันครึ่งทาง ที่ถ้าจะมีใครอยากโผล่มา “เซอร์ไพรส์” ก็ยังทำได้
เพียงแต่มันอาจจะ “ยาก” ไปหน่อย เพราะเท่ากับสภาต้องมีเหตุผลว่า เกิดเหตุอันใดที่จะต้องเลือกบุคคลนอกรายชื่อที่เสนอไว้ต่อประชาชน เพราะเมื่อ “คัด” แล้วมาให้ประชาชนเห็นตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ก็แปลว่าทางพรรคก็ “ควร” สนับสนุนท่านผู้มีรายชื่อดังนั้นให้สุด จะมาปล่อยทิ้งกลางทางในสภาได้อย่างไร
เว้นแต่เป็นอย่างที่บางฝ่ายคาดไว้ว่า ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่นี้ เสียงจะไม่ขาด ไม่มีพรรคไหนได้เสียงข้างมาก ต้องจับกับพรรคอื่นเป็นรัฐบาล
ถ้าเช่นนั้นการตกลงกันแบบ “ไม่ลงตัว” จนต้องไปเชิญ “คนนอก” เข้ามาก็เป็นไปได้ เหมือนในยุคป๋าเปรม ที่ทำให้ท่านเป็นนายกฯ มายาวนาน แม้จะมีการเลือกตั้งมาหลายครั้งตลอดช่วงเวลานั้นนั่นเอง เพราะรัฐบาลผสมนั้น “ตกลงกันไม่ได้ ว่าจะให้ใครเป็นนายกฯ”
ก็ต้องรอดูกันไปว่าจะไปถึงขั้นนั้นหรือไม่ หรือถ้ามี “เซอร์ไพรส์” แล้วประชาชนจะรับได้แค่ไหน ในยุคปัจจุบันที่แตกต่างจากบริบททางการเมืองในยุค 30 กว่าปีก่อนมากนัก
ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.ดูแล้ว กรธ. ก็ยอมแค่ให้เป็นเหมือนสภาที่กำกับดูแลกระบวนการปฏิรูปที่เริ่มต้นขึ้นมาแล้วให้มีผู้สานต่อไปเท่านั้น กับอำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจเชิงการเมือง ซักฟอกถอดถอนรัฐบาล ซึ่ง กรธ.ได้ออกแบบไว้ให้เป็นกระบวนการทางศาล ผ่านศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ
กล่าวโดยสรุป “หน้าตา” ของรัฐธรรมนูญเฉพาะกิจช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ เว้นแต่จะมี ส.ว.สรรหาจำนวน 200 คน บวกกับ ส.ว.เลือกกันเองแบบสภาพลเมือง 50 คน
นายกฯ อาจจะเป็นคนนอกก็ได้ ถ้าไม่สามารถหาตัวนายกจากรายชื่อของพรรคการเมืองได้จริง
คสช. และทหารระดับแม่ทัพผู้บังคับบัญชาทั้งหลาย จะมาเป็น ส.ว.ก็ได้ไม่ห้าม แต่ไม่มีโควตาพิเศษให้ ก็ชิงกันเข้ามาเองตามโควตาของข้าราชการทหาร
ก็ไม่รู้ว่า ทาง คสช.จะว่าอย่างไรกันต่อไป แต่จะดึงดันมากไปนักก็อาจจะดูไม่สวยเท่าไร อาจจะถูกครหาว่าอยากได้ “อำนาจ” หรืออยากสืบทอดอำนาจเข้าจริงๆ ก็ได้ เพราะที่ทาง กรธ.ยอมปรับให้ ก็ต้องยอมรับว่า ก็พอเหมาะพอสม มีเหตุผลอธิบายได้ และถ้าจะว่าเพื่อให้ช่วงเปลี่ยนผ่านนั้นมีการสานต่อ ก็ยอมให้มี ส.ว.แต่งตั้งแล้วไง ให้ดูแลเรื่องการปฏิรูป แต่เรื่องฝ่ายการเมืองก็จะไปตรวจสอบไปอะไรเขาไม่ได้เพราะถือว่าไม่ได้มีที่มาจากประชาชน
ทั้งคุณมีชัยเอง ก็เล่นเล่านิทาน “ปริศนาธรรม” เรื่องเป็นผู้รับจ้างซ่อมแซมสร้างบ้านใหม่ แต่ถูกคนโน้นคนนี้ข่มขู่เอาแต่ใจ จะเอาโน่นไม่เอานี่ เอานี่ไม่เอาโน่น
และถ้าจะว่าไป “เครดิต” ของคุณมีชัยนั้นก็สูงพอที่ถ้าฝ่ายผู้มีอำนาจจะหักบังคับเอาแก่ใจจนเกินไป (ทั้งๆ ที่ท่านก็ถอยให้อย่างที่ว่า) แล้ว ก็อาจจะทำให้แรงกระเพื่อมสะท้อนกลับมา ทั้งจากฝ่ายที่ไม่เอาการปกครองของฝ่ายทหารอยู่แล้ว กับที่เป็นกลางๆ ตัดสินไปตามเนื้อผ้า ให้เกิดการตั้งคำถามได้ว่าท่านต้องการอะไรกันแน่
แต่นั่นแหละครับ ไม่ว่าจะอย่างไร ถ้าไม่มีอะไร “เซอร์ไพรส์” กันเสียก่อน ผู้เดียวที่จะมีอำนาจบอกว่าจะผ่านจะตกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ ประชาชนผู้ลงประชามติ
นอกจากต้องคอยจับตาดูว่า “ฐานเสียง” ของฝ่ายการเมืองจะว่าอย่างไร (ที่ผ่านมาส่วนใหญ่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วย ทั้งทางฟากเพื่อไทยหรือแม้แต่ ปชป.)
ยังต้องคอยดูว่า ท่าทีในการ “ประชาสัมพันธ์” ของทาง “รัฐ” จะเทไปในทางไหน จากเดิมมีการเตรียมตัวกันคึกครื้นคึกคัก ว่าจะประชาสัมพันธ์ให้คนออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง “เห็นชอบ” ให้มากที่สุดถึงขนาดจะจัด รด. จิตอาสา ไปเคาะประตู “ให้ความรู้” รัฐธรรมนูญกันถึงบ้านเลยทีเดียว
เมื่อท่าทีของ กรธ.ออกมาแบบ “ตามใจแต่ไม่สุด” อย่างนี้ ทางฝ่ายรัฐจะดำเนินท่าทีอย่างไรกับการลงประชามติ จะออกมาสนับสนุนอย่างที่เคยแสดงออกมา หรือว่าจะปล่อยไปตามสภาพ ไม่หนุน ไม่ช่วย แต่ก็ไม่ได้ขัดขวาง ใครจะอภิปราย หรือประชาชนจะเห็นชอบหรือไม่อย่างไรก็สุดแต่ใจเราท่าน
ก็ต้องรอดูกัน ว่าตกลงรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ จะได้ “ขึ้นพาน” ไปเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ฉบับที่ 11 (หรือถ้านับฉบับชั่วคราวด้วยก็จะเป็นฉบับที่ 20) หรือจะลงหลุมไปนอนข้างๆ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
สิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ก็ได้รู้กันแล้วครับ.