พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงข้อเสนอของ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)บางส่วน ในการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า "ไม่รู้ ไม่รู้ ยังไม่ทราบ ผมยังไม่ได้มองตรงนั้น ผมมองและสนใจว่ารัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าไม่ผ่าน จะต้องเตรียมการอย่างไร ต้องตั้งกรรมาธิการฯ ขึ้นมาร่างใหม่ แล้วจะต้องทำอย่างไร รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างนี้ ผมจะไปอะไรกับเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ เขาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือเปล่า"
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่มีกลุ่มคนและทาง สปช. บางส่วนเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้อนถามว่า ใครเสนอ ถ้าบอกว่า สปช.เสนอ แล้วมีเรื่องนี้ที่เขาเสนอหรือไม่ แล้วรัฐธรรมนูญเขียนไว้หรือไม่ว่า สปช. ต้องเสนอเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ เมื่อถามว่า แต่มีการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนกลาง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ทำได้หรือไม่เล่า นายกรัฐมนตรีคนกลางเขาเขียนไว้อย่างไร นายกฯ คนกลางมาจากไหน อย่างไร แล้ววันนี้มันเลือกตั้งได้หรือยัง รู้กันหรือยังว่ามันเลือกไม่ได้ วันนี้รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ออกมา การเลือกตั้งก็ยังไม่เกิด แล้วจะมาบอกว่า ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ จะต้องมีนายกฯคนกลาง อย่ามาพูดกับผมตรงนี้ มันสร้างความขัดแย้ง ขี้เกียจตอบ"
เมื่อถามย้ำว่า แต่มีการเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนกลาง จะเป็นไปได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " มันจะเป็นได้อย่างไร ผมจะไปเป็นได้อย่างไร รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างไร นายกรัฐมนตรี ที่มาจากคนนอก จะต้องเป็นช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติ จะต้องได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 หรือ 4 ใน 5 ก็ว่ากันไป "
เมื่อถามว่า ดูเหมือนวันนี้นายกฯ จะแฮปปี้ (มีความสุข) ดีใช่ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนแฮปปี้ทุกวัน เพียงแต่ว่าพูดเสียงดังบ้างอะไรบ้างก็เป็นธรรมดาสำหรับชีวิตตน ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าไม่ปิดตัวเองจากข้อเสนอดังกล่าวในเรื่องนายกฯ คนกลาง ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอบทันทีว่า "ผมไม่อยากเป็นสักวันเลย" เมื่อถามว่า ถ้ามีการเสนอแสดงว่าไม่ขัดข้อง ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำว่า "ผมบอกว่าผมไม่ถ้า ไม่ต้องมาสมมติแบบนี้ ประเทศเราเสียหาย ผมไม่สมมติ " เมื่อถามว่าข้อเสนอดังกล่าวทำให้เสียหายหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ผมพูดทุกวัน ไม่เข้าใจอีกหรืออย่างไร" ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังพูดจบ พล.อ.ประยุทธ์ เดินขึ้นรถกลับจากทำเนียบฯ ไปทันที
**ยันรัฐบาลแห่งชาติไม่ใช่แนวคิด สปช.
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สปช. เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยยืนยันว่า สปช. ไม่ได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และไม่มีแนวคิดที่จะเสนอประเด็นนี้เป็นคำถามในการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการหารือประเด็นดังกล่าวในการประชุม สปช. เพราะไม่ใช่หน้าที่ของ สปช.
นายเทียนฉาย กล่าวอีกว่า สัปดาห์หน้า อาจมีการหารือกับวิป สปช. เพื่อปรับระยะเวลาในการดำเนินงานของ สปช. โดยอาจจะมีการประชุมในวันเสาร์ที่ 25 ก.ค. -วันอาทิตย์ที่ 26 ส.ค. นอกเหนือจากการประชุมตามปกติ ซึ่งจะนำวาระการประชุมที่เตรียมพิจารณาในต้นเดือน ส.ค. มาพิจารณาก่อน เพื่อให้การพิจารณาวาระการปฏิรูปแล้วเสร็จภายในวันที่ 6 ส.ค. ตามกรอบเวลาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 (ชั่วคราว) เดิม เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไข ที่มีการขยายกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ
**กมธ.ฯไม่ฟันธงเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีการเสนอให้มีรัฐบาลแห่งชาติว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงบทที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้ และที่ผ่านๆมา ก็ไม่มีการบัญญัติเรื่องนี้ในไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ถึง กฎ กติกา การได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี ส่วนข้อเสนอต่างๆ ตนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะในช่วงนี้เริ่มเข้มงวดแล้ว รัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ และเตรียมจะส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้ว เป็นเรื่องปกติ โดยตนมองว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ออกมาแสดงความคิดเห็นกันเช่นนี้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ กมธ.ยกร่างฯ และสปช. ต้องตัดสินใจ
ส่วนเรื่องที่ว่า การเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะเอื้อต่อการมีรัฐบาลแห่งชาติ หรือไม่นั้น ระบบสัดส่วนผสมที่นำมาใช้ในร่างรัฐธรรมนูญมีการใช้ในหลายประเทศ และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ไม่เกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลแห่งชาติ ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองแต่ละพรรค เพราะการจะได้ส.ส.ในสภาเข้ามาเกิดตามสัดส่วนที่ประชาชนเลือกทั้งนั้น โดยการเลือกตั้งหากเราดูที่ผ่านๆ มา พรรคอันดับหนึ่ง ที่ได้คะแนน 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ความนิยมของประชาชนที่ในแต่ละห้วงเวลา
ด้านนายคำนูณ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมองไม่ออกว่า รัฐธรรมนูญจะไปเขียนให้มีรัฐบาลแห่งชาติได้อย่างไร เพราะการจัดตั้งรัฐบาลเป็นเรื่องของส.ส.ที่จะรวบรวมเสียง ซึ่งก็จะเห็นได้จากตอนที่ยืนเลือกนายกรัฐมนตรี และเท่าที่มีการพิจารณารัฐธรรมนูญมา ก็ยังไม่เคยมีการพูดเรี่องดังกล่าว ส่วนจะบรรจุเรื่องนี้ไว้ในบทเฉพาะกาลหรือไม่นั้น ตอนนี้ยังไม่พิจารณาถึงบทเฉพาะกาล
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงเรื่องขบวนการสร้างความปรองดอง หลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้ง อาจจะกลับคืนมาหลังมีรัฐบาลใหม่ ในร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการหาวิธีการควบคุมหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์วิกฤต คือ แนวคิดที่ว่าการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วจะต้องมีหลักประกันที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงประเทศ ควบคู่กันไป ไม่ว่ารัฐบาลใหม่นั้นจะเป็นใคร จะเป็นรัฐบาลแห่งชาติ หรือไม่แห่งชาติก็ตาม แต่จะต้องมีกลไกการปฏิรูปประเทศเดินหน้าไปพร้อมกัน เพราะเราเล็งเห็นว่า รากฐานความขัดแย้ง ที่แท้จริงนั้นคงไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกลุ่มคนเท่านั้น แต่รากฐานที่แท้จริง คือ ประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลง และอีกอย่างที่จะต้องเดินหน้าควบคู่กันไปก็ คือ การสร้างความปรองดองที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะบัญญัติไว้ในภาคสี่ ส่วนเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ หรือไม่รัฐบาลแห่งชาตินั้น ยังไม่มีการพูดกันอย่างเป็นทางการ
เมื่อถามว่า เรื่องการประกาศใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2558 ประกาศใช้มีการเพิ่มบทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่ กมธ.ยกร่างฯ กลับลดบทลงโทษน้อยลง คำนูณ กล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บท แต่กฎหมายประกอบรัฐธรรนูญ สามารถไปบัญญัติมาตรการในรายละเอียดได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ขัด หรือแย้งแต่ประการใด แต่เป็นเรื่องเสริมซึ่งกันและกันมากกว่า เพราะว่ากฎหมายดังกล่าว ก็ใช้มาตั้งแต่แต่ปี 2540 มีการพัฒนายกระดับขึ้น ตามกฎหมายเฉพาะหรือตามรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องที่ชอบ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ก็จะนำมาพิจารณาในร่างรัฐธรรมนูญ และวางไว้ในหลักสำคัญๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่มีกลุ่มคนและทาง สปช. บางส่วนเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้อนถามว่า ใครเสนอ ถ้าบอกว่า สปช.เสนอ แล้วมีเรื่องนี้ที่เขาเสนอหรือไม่ แล้วรัฐธรรมนูญเขียนไว้หรือไม่ว่า สปช. ต้องเสนอเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ เมื่อถามว่า แต่มีการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนกลาง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ทำได้หรือไม่เล่า นายกรัฐมนตรีคนกลางเขาเขียนไว้อย่างไร นายกฯ คนกลางมาจากไหน อย่างไร แล้ววันนี้มันเลือกตั้งได้หรือยัง รู้กันหรือยังว่ามันเลือกไม่ได้ วันนี้รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ออกมา การเลือกตั้งก็ยังไม่เกิด แล้วจะมาบอกว่า ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ จะต้องมีนายกฯคนกลาง อย่ามาพูดกับผมตรงนี้ มันสร้างความขัดแย้ง ขี้เกียจตอบ"
เมื่อถามย้ำว่า แต่มีการเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนกลาง จะเป็นไปได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " มันจะเป็นได้อย่างไร ผมจะไปเป็นได้อย่างไร รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างไร นายกรัฐมนตรี ที่มาจากคนนอก จะต้องเป็นช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติ จะต้องได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 หรือ 4 ใน 5 ก็ว่ากันไป "
เมื่อถามว่า ดูเหมือนวันนี้นายกฯ จะแฮปปี้ (มีความสุข) ดีใช่ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนแฮปปี้ทุกวัน เพียงแต่ว่าพูดเสียงดังบ้างอะไรบ้างก็เป็นธรรมดาสำหรับชีวิตตน ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าไม่ปิดตัวเองจากข้อเสนอดังกล่าวในเรื่องนายกฯ คนกลาง ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอบทันทีว่า "ผมไม่อยากเป็นสักวันเลย" เมื่อถามว่า ถ้ามีการเสนอแสดงว่าไม่ขัดข้อง ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำว่า "ผมบอกว่าผมไม่ถ้า ไม่ต้องมาสมมติแบบนี้ ประเทศเราเสียหาย ผมไม่สมมติ " เมื่อถามว่าข้อเสนอดังกล่าวทำให้เสียหายหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ผมพูดทุกวัน ไม่เข้าใจอีกหรืออย่างไร" ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังพูดจบ พล.อ.ประยุทธ์ เดินขึ้นรถกลับจากทำเนียบฯ ไปทันที
**ยันรัฐบาลแห่งชาติไม่ใช่แนวคิด สปช.
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สปช. เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยยืนยันว่า สปช. ไม่ได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และไม่มีแนวคิดที่จะเสนอประเด็นนี้เป็นคำถามในการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการหารือประเด็นดังกล่าวในการประชุม สปช. เพราะไม่ใช่หน้าที่ของ สปช.
นายเทียนฉาย กล่าวอีกว่า สัปดาห์หน้า อาจมีการหารือกับวิป สปช. เพื่อปรับระยะเวลาในการดำเนินงานของ สปช. โดยอาจจะมีการประชุมในวันเสาร์ที่ 25 ก.ค. -วันอาทิตย์ที่ 26 ส.ค. นอกเหนือจากการประชุมตามปกติ ซึ่งจะนำวาระการประชุมที่เตรียมพิจารณาในต้นเดือน ส.ค. มาพิจารณาก่อน เพื่อให้การพิจารณาวาระการปฏิรูปแล้วเสร็จภายในวันที่ 6 ส.ค. ตามกรอบเวลาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 (ชั่วคราว) เดิม เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไข ที่มีการขยายกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ
**กมธ.ฯไม่ฟันธงเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีการเสนอให้มีรัฐบาลแห่งชาติว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงบทที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้ และที่ผ่านๆมา ก็ไม่มีการบัญญัติเรื่องนี้ในไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ถึง กฎ กติกา การได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี ส่วนข้อเสนอต่างๆ ตนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะในช่วงนี้เริ่มเข้มงวดแล้ว รัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ และเตรียมจะส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้ว เป็นเรื่องปกติ โดยตนมองว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ออกมาแสดงความคิดเห็นกันเช่นนี้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ กมธ.ยกร่างฯ และสปช. ต้องตัดสินใจ
ส่วนเรื่องที่ว่า การเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะเอื้อต่อการมีรัฐบาลแห่งชาติ หรือไม่นั้น ระบบสัดส่วนผสมที่นำมาใช้ในร่างรัฐธรรมนูญมีการใช้ในหลายประเทศ และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ไม่เกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลแห่งชาติ ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองแต่ละพรรค เพราะการจะได้ส.ส.ในสภาเข้ามาเกิดตามสัดส่วนที่ประชาชนเลือกทั้งนั้น โดยการเลือกตั้งหากเราดูที่ผ่านๆ มา พรรคอันดับหนึ่ง ที่ได้คะแนน 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ความนิยมของประชาชนที่ในแต่ละห้วงเวลา
ด้านนายคำนูณ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมองไม่ออกว่า รัฐธรรมนูญจะไปเขียนให้มีรัฐบาลแห่งชาติได้อย่างไร เพราะการจัดตั้งรัฐบาลเป็นเรื่องของส.ส.ที่จะรวบรวมเสียง ซึ่งก็จะเห็นได้จากตอนที่ยืนเลือกนายกรัฐมนตรี และเท่าที่มีการพิจารณารัฐธรรมนูญมา ก็ยังไม่เคยมีการพูดเรี่องดังกล่าว ส่วนจะบรรจุเรื่องนี้ไว้ในบทเฉพาะกาลหรือไม่นั้น ตอนนี้ยังไม่พิจารณาถึงบทเฉพาะกาล
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงเรื่องขบวนการสร้างความปรองดอง หลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้ง อาจจะกลับคืนมาหลังมีรัฐบาลใหม่ ในร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการหาวิธีการควบคุมหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์วิกฤต คือ แนวคิดที่ว่าการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วจะต้องมีหลักประกันที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงประเทศ ควบคู่กันไป ไม่ว่ารัฐบาลใหม่นั้นจะเป็นใคร จะเป็นรัฐบาลแห่งชาติ หรือไม่แห่งชาติก็ตาม แต่จะต้องมีกลไกการปฏิรูปประเทศเดินหน้าไปพร้อมกัน เพราะเราเล็งเห็นว่า รากฐานความขัดแย้ง ที่แท้จริงนั้นคงไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกลุ่มคนเท่านั้น แต่รากฐานที่แท้จริง คือ ประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลง และอีกอย่างที่จะต้องเดินหน้าควบคู่กันไปก็ คือ การสร้างความปรองดองที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะบัญญัติไว้ในภาคสี่ ส่วนเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ หรือไม่รัฐบาลแห่งชาตินั้น ยังไม่มีการพูดกันอย่างเป็นทางการ
เมื่อถามว่า เรื่องการประกาศใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2558 ประกาศใช้มีการเพิ่มบทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่ กมธ.ยกร่างฯ กลับลดบทลงโทษน้อยลง คำนูณ กล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บท แต่กฎหมายประกอบรัฐธรรนูญ สามารถไปบัญญัติมาตรการในรายละเอียดได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ขัด หรือแย้งแต่ประการใด แต่เป็นเรื่องเสริมซึ่งกันและกันมากกว่า เพราะว่ากฎหมายดังกล่าว ก็ใช้มาตั้งแต่แต่ปี 2540 มีการพัฒนายกระดับขึ้น ตามกฎหมายเฉพาะหรือตามรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องที่ชอบ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ก็จะนำมาพิจารณาในร่างรัฐธรรมนูญ และวางไว้ในหลักสำคัญๆ