xs
xsm
sm
md
lg

“วิษณุ” แจงลักหลับ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม หยันกลุ่มต้านอยากแก้ก็ไปเติมกฎหมายทีหลัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี (ภาพจากแฟ้ม)
รองนายกรัฐมนตรีแก้ตัวกรณี ครม.ปล่อยผีเห็นชอบ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมที่กระทรวงพลังงานยัดไส้ บอกแค่คนขัดแย้งกัน 3 กลุ่ม อ้างทลายข้อมูกมัดไว้แล้ว ถ้ากลุ่มต้านคิดอยากจะแก้ก็ไปเติมเอาเองได้ ลั่นถ้าผ่านแล้วเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ได้ พร้อมสั่งกระทรวงพลังงานไปบอกว่าไทยมีน้ำมันมาศาลไม่จริง

วันนี้ (8 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 15.30 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ว่า พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับเคยนำเข้าที่ประชุม ครม. มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่ง ครม.ก็ได้รับหลักการเหมือนกฎหมายทั่วไป ก่อนส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนนำเสนอเข้าสภาฯ อีกครั้ง ซึ่งวันเดียวกันนี้กฤษฎีกาได้รายงานมายัง ครม. ว่าตรวจสอบเสร็จแล้ว รวมถึงได้พิจารณาในประเด็นที่ยังมีความเห็นขัดแย้งกันเท่าที่จะทำได้ แต่ยังมีผู้ที่ยังไม่พอใจอยู่ จึงกลายเป็นว่ายังมีผู้ที่ยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกันระหว่างคน 3 กลุ่ม คือ 1. กรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้ล่วงหน้า 2. กระทรวงพลังงานซึ่งเป็นเจ้าของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และ 3. กลุ่มเอ็นจีโอ

นายวิษณุกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 อาจมีความเห็นสอดคล้องกันอยู่มาก แต่กระทรวงพลังงานก็ยังมีความเห็นขัดแย้งในหลายประเด็น จึงหารือกับ ครม. ว่าจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งเมื่อ ครม.ได้พิจารณาก็ได้แบ่งประเด็นขัดแย้งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 อยากให้เขียนบางเรื่องลงไป แต่กระทรวงพลังงานเห็นว่าไม่สามารถเขียนได้ เพราะไม่ทราบว่าสิ่งที่ต้องการให้เขียนคืออะไร ซึ่ง ครม.ได้เห็นชอบกับฝ่ายที่ต้องการให้เขียนบางเรื่องลงไป แล้วค่อยไปลงรายละเอียดอีกครั้งในกฎหมายลูก

2. กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เห็นตรงกันว่ามีบางเรื่องที่ควรจะเขียนในกฎหมาย แต่กระทรวงพลังงานระบุว่าไม่จำเป็นต้องเขียนก็สามารถปฏิบัติอย่างที่ต้องการได้ โดยสามารถปฏิบัติได้โดยนโยบาย ซึ่ง ครม.ไม่แน่ใจว่าความเห็นใครถูกใครผิด แต่ถ้ากระทรวงพลังงานแน่ใจว่าไม่ต้องเขียนเป็นกฎหมายก็ให้ไปชี้แจงประชาชนให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการมัดตัวเองเสียเอง และ 3. กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 ต้องการให้เขียนบางเรื่องแต่ติดที่กระทรวงพลังงานระบุว่าเรื่องดังกล่าวหลักการได้มัดเอาไว้ทำให้ไม่สามารถเขียนได้ ครม.จึงมีมติให้ไปทลายข้อผูกมัดให้สามารถยืดหยุ่นขึ้นเพื่อให้สามารถเขียนไปในกฎหมายได้ หลังจากนี้คงต้องนำร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ก่อนนำเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ซึ่งจะมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญที่ประกอบด้วยคนจากทุกฝ่าย เพราะหากพูดกันวันนี้ไม่มีวันจบ

“สิ่งที่ดีอีกอย่างหนึ่งที่กลุ่มคนซึ่งต่อต้านคัดค้านจะได้รับ คือ แต่เดิมหลักการได้เขียนมัดไว้จริง แต่พอทลายข้อจำกัดนี้ออกไป ก็แปลว่ามาตราไหนที่ไม่เคยคิดแก้ แต่กลุ่มต่อต้านคิดแก้ ก็สามารถไปเติมเอาได้ เทคนิคของสภาฯ พอเสนอกฎหมายแล้วในขั้นรับหลักการไประบุมาตรา ไม่สามารถไปแตะมาตราอื่นได้ แต่พอถูกทลายก็มาสามารถทำได้หมด” นายวิษณุกล่าว

นายวิษณุกล่าวว่า หากร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับผ่านการเห็นชอบจากสภาฯ ก็จะนำไปสู่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ เพราะหลายฝ่ายได้แต่งความหวังไว้อย่างนั้น แต่จะทำได้เมื่อไหร่อย่างไรยังไม่รู้ ส่วนกรณีกลุ่มเอ็นจีโอระบุว่าไทยมีน้ำมันเป็นจำนวนมากนั้นเรื่องนี้ ครม.ได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานไปทำความเข้าใจต่อประชาชนว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง


กำลังโหลดความคิดเห็น