ผู้จัดการรายวัน360- คปพ.มาตามนัด ร้อง"บิ๊กตู่" ค้าน 2 ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับกระทรวงพลังงาน ระบุชงเข้าครม.วันนี้ไม่เป็นไปตามผลศึกษาของกมธ.-สนช. "วิษณุ" แก้ตัวกรณี ครม.ปล่อยผี เห็นชอบ พ.ร.บ. ปิโตรเลียมที่กระทรวงพลังงานยัดไส้ บอกแค่คนขัดแย้งกัน 3 กลุ่ม ลั่นถ้าผ่านแล้วเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ได้ "ประยุทธ์"ย้ำ คนค้านหากเกิดวิกฤตในอนาคตก็ต้องร่วม รับผิดชอบ
วานนี้ในช่วงเช้า (8 ธ.ค.)ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ พร้อมด้วยผู้ประสานงานเครือข่ายฯและมวลชนกว่า 200 คน รวมตัวยื่นจดหมายเปิดผนึกผ่าน นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อเรียกร้องขอให้ยุติการพิจารณาร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.... ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพลังงาน ที่เข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครม. (8 ธ.ค.)
โดยร่างฯ ดังกล่าวไม่ได้แก้ไขปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ตามที่กรรมาธิการวิสามัญฯ ของสนช. ได้เสนอให้ปรับแก้กว่า 50 มาตรา ขณะที่สาระสำคัญในร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงานได้เพิ่มคำว่า “แบ่งปันผลผลิต”เข้ามา แต่ไม่ใช่ระบบแบ่งปันผลผลิตที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกจริง และร่างฯ ของกระทรวงพลังงาน ไม่ได้แก้ไขปัญหาต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในรายงานการศึกษาของ สนช. จึงนำไปสู่ปัญหาในภาคปฏิบัติมากยิ่งขึ้น
** "วิษณุ"ชี้ปมขัดแย้ง 3 กลุ่ม
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ว่า พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเคยถูกนำเข้าที่ประชุมครม.มาแล้วเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมครม.ได้รับหลักการเหมือนกฎหมายทั่วไปก่อนส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนนำเสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) อีกครั้ง ซึ่งในวานนี้ (8 ธ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รายงานมายัง ครม.ว่าตรวจสอบเสร็จแล้ว และได้พิจารณาในประเด็นที่ยังมีความเห็นขัดแย้งกันซึ่งมีทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ 1.กรรมาธิการของสนช.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้ล่วงหน้า2.กระทรวงพลังงานซึ่งเป็นเจ้าของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวและ3.กลุ่มเอ็นจีโอ
อย่างไรก็ตามกลุ่มที่1และกลุ่มที่3อาจมีความเห็นสอดคล้องกันอยู่มากแต่กระทรวงพลังงานก็ยังมีความเห็นขัดแย้งในหลายประเด็นจึงหารือกับครม.ว่าจะทำอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตาม หากร่างพ.ร.บ.ทั้ง2ฉบับผ่านการเห็นชอบจากสนช. ก็จะนำไปสู่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ เพราะหลายฝ่ายได้แต่งความหวังไว้อย่างนั้น แต่จะทำได้เมื่อไหร่อย่างไรยังไม่รู้
** นายกฯให้พวกคัดค้านร่วมรับผิดชอบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า สิ่งที่ตนเป็นกังวลคือ ถ้ามันทำไม่ได้ ทำไม่ทันทั้งหมด แล้วเรามีปัญหาพลังงานใน 5-6 ปีข้างหน้า แล้วจะทำอย่างไร ฉะนั้นต้องมีการรับผิดชอบกัน กระทั่งมันทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่าง มันต้องรับผิดชอบกันแล้วแหละ ต้องมีสัญญากันให้ชัดเจน ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ไม่อย่างนั้นตนก็รับอยู่คนเดียวไม่ไหวนะ
วานนี้ (8 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ว่า ตนได้นำความเห็นจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. รวม 26 ประเด็น แบ่งเป็นเรื่อง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 11 ประเด็น และ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จำนวน 15 ประเด็น เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ตนขอชี้แจงว่ายังไม่มีการพิจารณาในเรื่อง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมในวันนี้ มีเพียงการนำเสนอใน 26 ประเด็นข้างต้น ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวว่า ในเมื่อกระทรวงพลังงานพูดคุยกันเรียบร้อยแล้ว จึงอยากให้มีการทบทวนหรือปรับปรุงกฎหมายฉบับดังกล่าวให้ครบถ้วน เอาความเห็นกระทรวงพลังงานส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนกฎหมายต่อไป โดยให้แนวคิดว่าสิ่งใดใส่ลงไปในกฎหมายให้ใส่ลงไป เพื่อให้เกิดความสบายใจกับทุกฝ่าย และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา 3 วาระตามปกติ
วานนี้ในช่วงเช้า (8 ธ.ค.)ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ พร้อมด้วยผู้ประสานงานเครือข่ายฯและมวลชนกว่า 200 คน รวมตัวยื่นจดหมายเปิดผนึกผ่าน นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อเรียกร้องขอให้ยุติการพิจารณาร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.... ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพลังงาน ที่เข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครม. (8 ธ.ค.)
โดยร่างฯ ดังกล่าวไม่ได้แก้ไขปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ตามที่กรรมาธิการวิสามัญฯ ของสนช. ได้เสนอให้ปรับแก้กว่า 50 มาตรา ขณะที่สาระสำคัญในร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงานได้เพิ่มคำว่า “แบ่งปันผลผลิต”เข้ามา แต่ไม่ใช่ระบบแบ่งปันผลผลิตที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกจริง และร่างฯ ของกระทรวงพลังงาน ไม่ได้แก้ไขปัญหาต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในรายงานการศึกษาของ สนช. จึงนำไปสู่ปัญหาในภาคปฏิบัติมากยิ่งขึ้น
** "วิษณุ"ชี้ปมขัดแย้ง 3 กลุ่ม
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ว่า พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเคยถูกนำเข้าที่ประชุมครม.มาแล้วเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมครม.ได้รับหลักการเหมือนกฎหมายทั่วไปก่อนส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนนำเสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) อีกครั้ง ซึ่งในวานนี้ (8 ธ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รายงานมายัง ครม.ว่าตรวจสอบเสร็จแล้ว และได้พิจารณาในประเด็นที่ยังมีความเห็นขัดแย้งกันซึ่งมีทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ 1.กรรมาธิการของสนช.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้ล่วงหน้า2.กระทรวงพลังงานซึ่งเป็นเจ้าของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวและ3.กลุ่มเอ็นจีโอ
อย่างไรก็ตามกลุ่มที่1และกลุ่มที่3อาจมีความเห็นสอดคล้องกันอยู่มากแต่กระทรวงพลังงานก็ยังมีความเห็นขัดแย้งในหลายประเด็นจึงหารือกับครม.ว่าจะทำอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตาม หากร่างพ.ร.บ.ทั้ง2ฉบับผ่านการเห็นชอบจากสนช. ก็จะนำไปสู่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ เพราะหลายฝ่ายได้แต่งความหวังไว้อย่างนั้น แต่จะทำได้เมื่อไหร่อย่างไรยังไม่รู้
** นายกฯให้พวกคัดค้านร่วมรับผิดชอบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า สิ่งที่ตนเป็นกังวลคือ ถ้ามันทำไม่ได้ ทำไม่ทันทั้งหมด แล้วเรามีปัญหาพลังงานใน 5-6 ปีข้างหน้า แล้วจะทำอย่างไร ฉะนั้นต้องมีการรับผิดชอบกัน กระทั่งมันทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่าง มันต้องรับผิดชอบกันแล้วแหละ ต้องมีสัญญากันให้ชัดเจน ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ไม่อย่างนั้นตนก็รับอยู่คนเดียวไม่ไหวนะ
วานนี้ (8 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ว่า ตนได้นำความเห็นจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. รวม 26 ประเด็น แบ่งเป็นเรื่อง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 11 ประเด็น และ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จำนวน 15 ประเด็น เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ตนขอชี้แจงว่ายังไม่มีการพิจารณาในเรื่อง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมในวันนี้ มีเพียงการนำเสนอใน 26 ประเด็นข้างต้น ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวว่า ในเมื่อกระทรวงพลังงานพูดคุยกันเรียบร้อยแล้ว จึงอยากให้มีการทบทวนหรือปรับปรุงกฎหมายฉบับดังกล่าวให้ครบถ้วน เอาความเห็นกระทรวงพลังงานส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนกฎหมายต่อไป โดยให้แนวคิดว่าสิ่งใดใส่ลงไปในกฎหมายให้ใส่ลงไป เพื่อให้เกิดความสบายใจกับทุกฝ่าย และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา 3 วาระตามปกติ