xs
xsm
sm
md
lg

“วิลาศ” ชง 4 ข้อแก้โกง กรธ. กำหนดเวลาทำคดี เพิ่มอำนาจ สตง.ฟ้องแบบ ป.ป.ช.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

วิลาศ จันทรพิทักษ์  อดีตส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์(แฟ้มภาพ)
อดีต ส.ส.กทม.มาตามนัด ยื่น 4 ข้อเสนอ กรธ. แก้ปัญหาปราบทุจริต กำหนดเวลาพิจารณาคดีในระเบียบ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ยกเลิกหลักสูตรองค์กรอิสระ เพิ่มอำนาจ สตง.ยื่นฟ้องได้แบบ ป.ป.ช.

วันนี้ (9 พ.ย.) ที่หน้าห้องประชุมงบประมาณ อาคารรัฐสภา 3 นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตประธานคระกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร เข้ายื่นหนังสือเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. จำนวน 4 เรื่อง โดยนายวิลาศกล่าวว่า จากประสบการณ์ในการทำหน้าที่ประธาน กมธ.ป.ป.ช. สภาฯ พบว่ายังมีปัญหาในการปฏิบัติปราบปรามทุจริตอย่างน้อย 4 กรณี คือ 1. ขอให้ กรธ.พิจารณากำหนดระยะเวลาให้องค์กรอิสระทุกองค์กรที่มีหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามการทุจริต มีระเบียบรองรับโดยระบุระยะเวลาของขั้นตอนการพิจารณาให้ชัดเจน เพื่อมิให้พยานและหลักฐานถูกทำลาย ถูกข่มขู่ หรือถูกซื้อเพื่อให้กลับคำให้การ

2. ประชาชนที่จะร่วมในการป้องกันการโกงสามารถเข้าถึงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540 แม้จะทำเรื่องขอข้อมูลแต่ก็ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการส่งกลับข้อมูลให้ทราบ ซึ่งยังมีความล่าช้า ไม่เป็นบรรทัดฐาน 3. การเปิดหลักสูตรอบรมเพื่อรับประกาศนียบัตรขององค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาล ไม่มีความจำเป็น เพราะการเปิดหลักสูตรดังกล่าวเป็นการรวมกลุ่มคนหลากหลาย และอาจทำให้เกิดการแทรกแซงการทำหน้าที่จากผู้ไม่หวังดีที่หวังประโยชน์ โดยการสร้างสายสัมพันธ์เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในอนุกรรมการขององค์กรอิสระทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณา ขาดวามเที่ยงตรง จึงเห็นควรยกเลิกการจัดอบรมหลักสูตรพิเศษต่างๆ ขององค์กรอิสระ

4. ขอเสนอให้เพิ่มอำนาจของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้มีอำนาจเหมือนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หากเป็นกรณีตรวจสอบพบความผิดการใช้งบประมาณขององค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถยื่นให้อัยการฟ้องได้เลย แทนการส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช.นำไปสอบสวนใหม่จึงจะยื่นให้อัยการส่งฟ้องซึ่งจะล่าช้า ซ้ำซ้อน ทั้งนี้ นายมีชัยกล่าวภายหลังการรับยื่นข้อเสนอแนะโดยระบุว่าจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมไว้พิจารณาต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น