ผ่าประเด็นร้อน
ยังไม่มีใครกล้าฟันธงว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดทัพทีมงานใหม่เมื่อไรกันแน่
แต่ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า คราวนี้คงมีการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เสียที หลังจากมีกระแสเรียกร้องมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ “บิ๊กตู่” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลก็ยังนิ่ง จนมาถึงวันนี้ที่ใกล้ครบรอบขวบปีของ “ครม.ประยุทธ์” ทุกฝ่ายต่างเห็นว่า สถานการณ์ต่าง ๆ สุกงอมเต็มที ทั้งในเรื่องจังหวะเวลาที่ผ่านพ้นช่วง “ฮันนีมูน” มาพอสมควรแล้ว รวมไปถึงสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เป็นใจให้กับ “รัฐบาลขุนทหาร” เท่าไรนัก
ปัญหาต่าง ๆ ประดังประเดเข้าใส่อย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั้งโลก จนกระชากเศรษฐกิจไทยให้ดิ่งเหวไปด้วย ซ้ำร้ายยังมีวิกฤตภัยแล้ง ที่เดือดร้อนแสนสาหัสทั่วประเทศ ยังมีประเด็นใหญ่ที่ยังแก้ไม่ตก ทั้งผลจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ ที่ต้องลุ้นว่า เราจะหลุดพ้นระดับเลวร้ายที่สุด หรือ บัญชีเทียร์ 3 หรือไม่ในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะที่ทางสหภาพยุโรป ก็ยังคาดโทษให้ “ใบเหลือง” ในเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และมีข่าวหลุดออกมาว่า ประเทศไทยไม่น่ารอดอาจจะต้องโดน “ใบแดง” ในไม่ช้า
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ “รัฐบาลประยุทธ์” เดินหน้าบริหารประเทศได้ไม่เต็มสูบ แม้จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือก็ตาม จึงเป็นที่มาของข่าวการปรับ ครม. ในช่วงนี้ไม่เว้นแต่ละวัน เพราะเห็นว่ารัฐบาลใกล้ถึงทางตัน จำเป็นต้องมีการขยับเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว เรื่องนี้จะว่าสื่อ “มโน” กันไปเองก็คงไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะหากไม่มีมูล หมาคงไม่ขี้
สุดท้ายจะปรับหรือไม่ปรับ ปรับเมื่อไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับ “นายกฯประยุทธ์” ว่ากันว่าไทม์มิงที่เล็งไว้น่าจะเป็นช่วงปลายเดือนกันยายนต่อเนื่องถึงต้นเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ เพราะเป็นทั้งช่วงที่บรรดา “บิ๊กข้าราชการ” จะเกษียณอายุราชการ โดยเฉพาะในส่วนของ “บิ๊กทหาร” ซึ่งอาจต้องเตรียมที่นั่งสำคัญใน ครม. ไว้สำหรับบางคนเป็นพิเศษ รวมทั้งผ่านพ้นการโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ส่งผลให้ สปช. 200 กว่าคน จะหมดวาระลง
ถึงเวลา “บิ๊ก คสช.” ก็นำรายชื่อผู้เล่นมาใส่ตะกร้าจัดผังอำนาจใหม่ว่า ใครจะไปอยู่ในส่วนไหน ทั้ง ครม.- คสช. หรือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่มีอยู่ 200 ที่นั่ง
แต่ถามว่า “บิ๊กตู่” และรัฐบาล คสช. จะประคองสถานการณ์ และทนเสียงเรียกร้องของสังคมได้ถึงวันนั้นหรือไม่ เพราะจากการสำรวจความคิดเห็นหรือโพลในช่วงนี้ ก็สนับสนุนให้มีการปรับ ครม. โดยเร็ว จากปัญหาที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่
อารมณ์ขันของ “บิ๊กตู่” ที่เคยใช้กลบเกลื่อนเรื่องต่าง ๆ ได้ ก็ดูจะเอาไม่อยู่ จากคนที่เคยตวาดใส่สื่อว่า ชอบคิดแทนในเรื่องการรปรับ ครม. ก็ยังมีทีท่าที่เปลี่ยนไป บางช่วงบางตอนยังบอกว่า “ไม่รู้” แทนคำว่า “ไม่ปรับ” ที่เคยพูดอย่างหนักแน่น
หากมีการปรับ ครม.จริง บรรดาทีมเศรษฐกิจภายใต้การนำของ “หม่อมอุ๋ย”ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ คงไม่รอด ตั้งแต่ตัว “หม่อมอุ๋ย” เอง “สมหมาย ภาษี” รมว.คลัง “ณรงค์ชัย อัครเศรณี” รมว.พลังงาน “จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช” รมว.อุตสาหกรรม ตลอดจน “ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา” รมว.เกษตรฯ “อำนวย ปะติเส” รมช.เกษตรฯ รวมไปถึง “สายสังคม” อีกหลายคนที่ทำงานเงียบ ๆ จน “โลกลืม” และ “สอบตก” เพราะไม่มีผลงาน
ขณะที่ชื่อคนที่จะเข้ามาแทนที่ทีมเศรษฐกิจ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ปรึกษา คสช. และทีมงาน ซึ่งมีข่าวตั้งแต่ก่อนตั้ง “ครม. ประยุทธ์ 1” แต่ติดล็อกเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก่อนจะมีการปลดล็อกเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีข่าวมาตลอดว่า “สมคิด” เป็นมือเศรษฐกิจที่ “บิ๊กตู่” รวมทั้ง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ไว้วางใจอย่างสูง
ที่สำคัญกระแสข่าว “เกาเหลา” ระหว่าง “สมคิด - ปรีดิยาธร” ก็มีให้ได้ยินตลอด เนื่องจากแนวทางการทำงานมักจะขบเหลี่ยมสวนทางกัน การที่จะดึง “สมคิด” หรือทีมงานมาสานงานเศรษฐกิจต่อจาก “หม่อมอุ๋ย” จึงอาจจะส่งผลดีกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้ แต่ก็ห่วงกันว่า ถ้าไม่ดีกว่าที่เป็นอยู่ “บิ๊ก คสช.” ก็คงลำบาก จึงเป็นเหตุที่ยึกยัก ไม่เปลี่ยนแปลงเสียที
นอกจากผลสัมฤทธิ์ในการบริหารประเทศแล้ว การประคองสถานการณ์ทางการเมืองก็เป็นโจทย์สำคัญที่ “บิ๊ก คสช.” มองข้ามไม่ได้ จึงเห็นได้ว่ามีความพยายามของ “เครือข่าย คสช.” ในการโยนหินถามทางเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ - รัฐบาลปรองดอง” บ่อยครั้ง
แนวคิดนี้ไม่ได้เพิ่งมี แต่พูดถึงกันบ่อย โดยเฉพาะช่วงที่มีวิกฤต โดยเสนอให้ขั้วการเมืองร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล จัดสรรตำแหน่งกันให้ลงตัว จุดประสงค์ก็เพื่อสยบความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่เกิด เพราะไม่มีคนกลาง และฝ่ายการเมืองก็คุยกันคนละภาษา
มาวันนี้ มีการพูดถึง “รัฐบาลแห่งชาติ” ในแง่มุมที่จะให้มาสานต่อการทำงานของรัฐบาล คสช. โดยมี คสช. เป็น “คนกลาง” และคอยควบคุมการทำงานของรัฐบาลอีกที ซึ่งหากจะเกิดได้ก็ต้องไปกำหนดกลไกรูปแบบในรัฐธรรมนูญที่ร่างกันอยู่
แต่แนวโน้มที่จะมี “รัฐบาลแห่งชาติ - รัฐบาลปรองดอง” ในช่วงนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากกระแสข่าวที่มีการพูดคุยกันในระดับหนึ่งของ “บิ๊ก คสช.” กับฝ่ายการเมือง โดยคิดถึงมิติการเมือง - ความมั่นคงเป็นที่ตั้ง เพราะเวลานี้เรตติ้งของ คสช. และความนิยมส่วนตัวของ “บิ๊กตู่” เริ่มปักหัวลงจากปัญหาต่าง ๆ การดึงฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมรัฐบาล อาจช่วย “ปะผุ” รัฐนาวา คสช. ที่มีรอยรั่วจากปัญหาที่สะสมมานานในยามนี้ได้
ถามว่าเกิดขึ้นได้จริงไหม ต้องบอกว่า ยากมาก ถึงยากที่สุด
ดูได้จากรายชื่อนักการเมืองที่โผล่เข้ามาในโผ ครม. หรือกระทั่งมีข่าวว่าจะดึงมาเป็นที่ปรึกษา คสช. ดูแล้วก็มีแต่บรรดาพวกที่อิงแอบใกล้ชิดกับ “บิ๊ก คสช.” เป็นทุนเดิม นอกเหนือจาก “สมคิด” แล้ว ก็มี “สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ - พินิจ จารุสมบัติ - สรอรรถ กลิ่นประทุม” ซึ่งเป็นนักการเมืองอาชีพ แต่ก็ไม่ใช่ตัวแทนของขั้วการเมืองใหญ่ในตอนนี้ แม้ทั้งหมดจะเคยร่วมงานใน “รัฐบาลทักษิณ” แต่ก็หันหลังให้พรรคเพื่อไทย มานานพอสมควรแล้ว ชื่อที่ปรากฏออกมาก็เพราะคนเหล่านี้มีคอนเนกชันกับ “บิ๊กบราเธอร์ส” อย่าง “บิ๊กป้อม” มากกว่าที่จะถูกมองว่าเป็นตัวแทนฝ่ายการเมือง
เช่นเดียวกับชื่อของ “ศุภชัย พานิชภักดิ์ - สุรินทร์ พิศสุวรรณ” แม้จะเป็นสายเลือดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถือว่า “เลือดสีฟ้า” เจือจางไปมากแล้ว หลังจากไปทำงานระดับประเทศมาหลายปี ส่วนกระแสข่าวที่จะดึง “พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก - พงศ์เทพ เทพกาญจนา” จากซีกเพื่อไทย เข้ามาด้วยนั้น ก็ถูกปฏิเสธตีตกไปหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การดึงนักการเมืองเข้ามาร่วมงาน อาจเป็นความต้องการของ “บิ๊กป้อม” ที่มองในเรื่องมิติการเมือง และการเกลี่ยผลประโยชน์ในทางอำนาจ
แต่สำหรับ “บิ๊กตู่” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลนั้น ยึดหลักคิดในการวางมือทำงานในแง่ “ความใว้ใจ” จึงจะเห็นได้ว่า คสช. นิยมใช้งานทหาร และข้าราชการประจำมากกว่า การจะเปิดทางให้นักการเมืองเข้ามาสอดแทรก จึงเป็นไปได้ยาก เต็มที่ก็คงเป็น “แบ็กอัพ” อยู่เบื้องหลัง
สังเกตได้ว่า ชื่อรัฐมนตรีที่จะหลุดจากเก้าอี้ส่วนใหญ่เป็น “พลเรือน” มากกว่าทหาร ที่คาดว่าจะไม่มีการปรับมากนัก ขณะที่กระทรวงสำคัญอย่างกระทรวงเกษตรฯ ที่มีเรื่องภัยแล้ง และราคาพืชผลตกต่ำ รวมถึงกระทรวงพลังงาน ที่มีเรื่องโรงไฟฟ้าและสัมปทานพลังงาน กลับมีชื่อ “ทหาร” เข้ามาเป็นรัฐมนตรีแทน สะท้อนให้เห็นถึงหลักคิดในการตั้งคนทำงานของรัฐบาล คสช. ได้เป็นอย่างดี
ส่วนเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ - รัฐบาลปรองดอง” ถ้าจะมี ก็ค่อยไปว่ากันหลังมีการเลือกตั้งแล้ว แต่มีเงื่อนไขสำคัญที่ว่า “นายกฯคนกลาง” ต้องส่งเข้าประกวดโดย คสช. เท่านั้น
สำหรับวันนี้หากมีการปรับเปลี่ยนทีมงาน “ครม.ประยุทธ์” เพื่อ “ปะผุ” รัฐนาวา คสช. หน้าฉากก็คงเฟ้น “มือดี” จากบรรดา “ขุนทหาร - ข้าราชการ” มากกว่าที่จะนำพา “นักการเมือง” เข้ามามีเอี่ยว ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญเช่นนี้
ยังไม่มีใครกล้าฟันธงว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดทัพทีมงานใหม่เมื่อไรกันแน่
แต่ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า คราวนี้คงมีการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เสียที หลังจากมีกระแสเรียกร้องมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ “บิ๊กตู่” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลก็ยังนิ่ง จนมาถึงวันนี้ที่ใกล้ครบรอบขวบปีของ “ครม.ประยุทธ์” ทุกฝ่ายต่างเห็นว่า สถานการณ์ต่าง ๆ สุกงอมเต็มที ทั้งในเรื่องจังหวะเวลาที่ผ่านพ้นช่วง “ฮันนีมูน” มาพอสมควรแล้ว รวมไปถึงสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เป็นใจให้กับ “รัฐบาลขุนทหาร” เท่าไรนัก
ปัญหาต่าง ๆ ประดังประเดเข้าใส่อย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั้งโลก จนกระชากเศรษฐกิจไทยให้ดิ่งเหวไปด้วย ซ้ำร้ายยังมีวิกฤตภัยแล้ง ที่เดือดร้อนแสนสาหัสทั่วประเทศ ยังมีประเด็นใหญ่ที่ยังแก้ไม่ตก ทั้งผลจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ ที่ต้องลุ้นว่า เราจะหลุดพ้นระดับเลวร้ายที่สุด หรือ บัญชีเทียร์ 3 หรือไม่ในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะที่ทางสหภาพยุโรป ก็ยังคาดโทษให้ “ใบเหลือง” ในเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และมีข่าวหลุดออกมาว่า ประเทศไทยไม่น่ารอดอาจจะต้องโดน “ใบแดง” ในไม่ช้า
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ “รัฐบาลประยุทธ์” เดินหน้าบริหารประเทศได้ไม่เต็มสูบ แม้จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือก็ตาม จึงเป็นที่มาของข่าวการปรับ ครม. ในช่วงนี้ไม่เว้นแต่ละวัน เพราะเห็นว่ารัฐบาลใกล้ถึงทางตัน จำเป็นต้องมีการขยับเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว เรื่องนี้จะว่าสื่อ “มโน” กันไปเองก็คงไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะหากไม่มีมูล หมาคงไม่ขี้
สุดท้ายจะปรับหรือไม่ปรับ ปรับเมื่อไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับ “นายกฯประยุทธ์” ว่ากันว่าไทม์มิงที่เล็งไว้น่าจะเป็นช่วงปลายเดือนกันยายนต่อเนื่องถึงต้นเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ เพราะเป็นทั้งช่วงที่บรรดา “บิ๊กข้าราชการ” จะเกษียณอายุราชการ โดยเฉพาะในส่วนของ “บิ๊กทหาร” ซึ่งอาจต้องเตรียมที่นั่งสำคัญใน ครม. ไว้สำหรับบางคนเป็นพิเศษ รวมทั้งผ่านพ้นการโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ส่งผลให้ สปช. 200 กว่าคน จะหมดวาระลง
ถึงเวลา “บิ๊ก คสช.” ก็นำรายชื่อผู้เล่นมาใส่ตะกร้าจัดผังอำนาจใหม่ว่า ใครจะไปอยู่ในส่วนไหน ทั้ง ครม.- คสช. หรือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่มีอยู่ 200 ที่นั่ง
แต่ถามว่า “บิ๊กตู่” และรัฐบาล คสช. จะประคองสถานการณ์ และทนเสียงเรียกร้องของสังคมได้ถึงวันนั้นหรือไม่ เพราะจากการสำรวจความคิดเห็นหรือโพลในช่วงนี้ ก็สนับสนุนให้มีการปรับ ครม. โดยเร็ว จากปัญหาที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่
อารมณ์ขันของ “บิ๊กตู่” ที่เคยใช้กลบเกลื่อนเรื่องต่าง ๆ ได้ ก็ดูจะเอาไม่อยู่ จากคนที่เคยตวาดใส่สื่อว่า ชอบคิดแทนในเรื่องการรปรับ ครม. ก็ยังมีทีท่าที่เปลี่ยนไป บางช่วงบางตอนยังบอกว่า “ไม่รู้” แทนคำว่า “ไม่ปรับ” ที่เคยพูดอย่างหนักแน่น
หากมีการปรับ ครม.จริง บรรดาทีมเศรษฐกิจภายใต้การนำของ “หม่อมอุ๋ย”ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ คงไม่รอด ตั้งแต่ตัว “หม่อมอุ๋ย” เอง “สมหมาย ภาษี” รมว.คลัง “ณรงค์ชัย อัครเศรณี” รมว.พลังงาน “จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช” รมว.อุตสาหกรรม ตลอดจน “ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา” รมว.เกษตรฯ “อำนวย ปะติเส” รมช.เกษตรฯ รวมไปถึง “สายสังคม” อีกหลายคนที่ทำงานเงียบ ๆ จน “โลกลืม” และ “สอบตก” เพราะไม่มีผลงาน
ขณะที่ชื่อคนที่จะเข้ามาแทนที่ทีมเศรษฐกิจ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ปรึกษา คสช. และทีมงาน ซึ่งมีข่าวตั้งแต่ก่อนตั้ง “ครม. ประยุทธ์ 1” แต่ติดล็อกเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก่อนจะมีการปลดล็อกเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีข่าวมาตลอดว่า “สมคิด” เป็นมือเศรษฐกิจที่ “บิ๊กตู่” รวมทั้ง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ไว้วางใจอย่างสูง
ที่สำคัญกระแสข่าว “เกาเหลา” ระหว่าง “สมคิด - ปรีดิยาธร” ก็มีให้ได้ยินตลอด เนื่องจากแนวทางการทำงานมักจะขบเหลี่ยมสวนทางกัน การที่จะดึง “สมคิด” หรือทีมงานมาสานงานเศรษฐกิจต่อจาก “หม่อมอุ๋ย” จึงอาจจะส่งผลดีกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้ แต่ก็ห่วงกันว่า ถ้าไม่ดีกว่าที่เป็นอยู่ “บิ๊ก คสช.” ก็คงลำบาก จึงเป็นเหตุที่ยึกยัก ไม่เปลี่ยนแปลงเสียที
นอกจากผลสัมฤทธิ์ในการบริหารประเทศแล้ว การประคองสถานการณ์ทางการเมืองก็เป็นโจทย์สำคัญที่ “บิ๊ก คสช.” มองข้ามไม่ได้ จึงเห็นได้ว่ามีความพยายามของ “เครือข่าย คสช.” ในการโยนหินถามทางเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ - รัฐบาลปรองดอง” บ่อยครั้ง
แนวคิดนี้ไม่ได้เพิ่งมี แต่พูดถึงกันบ่อย โดยเฉพาะช่วงที่มีวิกฤต โดยเสนอให้ขั้วการเมืองร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล จัดสรรตำแหน่งกันให้ลงตัว จุดประสงค์ก็เพื่อสยบความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่เกิด เพราะไม่มีคนกลาง และฝ่ายการเมืองก็คุยกันคนละภาษา
มาวันนี้ มีการพูดถึง “รัฐบาลแห่งชาติ” ในแง่มุมที่จะให้มาสานต่อการทำงานของรัฐบาล คสช. โดยมี คสช. เป็น “คนกลาง” และคอยควบคุมการทำงานของรัฐบาลอีกที ซึ่งหากจะเกิดได้ก็ต้องไปกำหนดกลไกรูปแบบในรัฐธรรมนูญที่ร่างกันอยู่
แต่แนวโน้มที่จะมี “รัฐบาลแห่งชาติ - รัฐบาลปรองดอง” ในช่วงนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากกระแสข่าวที่มีการพูดคุยกันในระดับหนึ่งของ “บิ๊ก คสช.” กับฝ่ายการเมือง โดยคิดถึงมิติการเมือง - ความมั่นคงเป็นที่ตั้ง เพราะเวลานี้เรตติ้งของ คสช. และความนิยมส่วนตัวของ “บิ๊กตู่” เริ่มปักหัวลงจากปัญหาต่าง ๆ การดึงฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมรัฐบาล อาจช่วย “ปะผุ” รัฐนาวา คสช. ที่มีรอยรั่วจากปัญหาที่สะสมมานานในยามนี้ได้
ถามว่าเกิดขึ้นได้จริงไหม ต้องบอกว่า ยากมาก ถึงยากที่สุด
ดูได้จากรายชื่อนักการเมืองที่โผล่เข้ามาในโผ ครม. หรือกระทั่งมีข่าวว่าจะดึงมาเป็นที่ปรึกษา คสช. ดูแล้วก็มีแต่บรรดาพวกที่อิงแอบใกล้ชิดกับ “บิ๊ก คสช.” เป็นทุนเดิม นอกเหนือจาก “สมคิด” แล้ว ก็มี “สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ - พินิจ จารุสมบัติ - สรอรรถ กลิ่นประทุม” ซึ่งเป็นนักการเมืองอาชีพ แต่ก็ไม่ใช่ตัวแทนของขั้วการเมืองใหญ่ในตอนนี้ แม้ทั้งหมดจะเคยร่วมงานใน “รัฐบาลทักษิณ” แต่ก็หันหลังให้พรรคเพื่อไทย มานานพอสมควรแล้ว ชื่อที่ปรากฏออกมาก็เพราะคนเหล่านี้มีคอนเนกชันกับ “บิ๊กบราเธอร์ส” อย่าง “บิ๊กป้อม” มากกว่าที่จะถูกมองว่าเป็นตัวแทนฝ่ายการเมือง
เช่นเดียวกับชื่อของ “ศุภชัย พานิชภักดิ์ - สุรินทร์ พิศสุวรรณ” แม้จะเป็นสายเลือดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถือว่า “เลือดสีฟ้า” เจือจางไปมากแล้ว หลังจากไปทำงานระดับประเทศมาหลายปี ส่วนกระแสข่าวที่จะดึง “พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก - พงศ์เทพ เทพกาญจนา” จากซีกเพื่อไทย เข้ามาด้วยนั้น ก็ถูกปฏิเสธตีตกไปหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การดึงนักการเมืองเข้ามาร่วมงาน อาจเป็นความต้องการของ “บิ๊กป้อม” ที่มองในเรื่องมิติการเมือง และการเกลี่ยผลประโยชน์ในทางอำนาจ
แต่สำหรับ “บิ๊กตู่” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลนั้น ยึดหลักคิดในการวางมือทำงานในแง่ “ความใว้ใจ” จึงจะเห็นได้ว่า คสช. นิยมใช้งานทหาร และข้าราชการประจำมากกว่า การจะเปิดทางให้นักการเมืองเข้ามาสอดแทรก จึงเป็นไปได้ยาก เต็มที่ก็คงเป็น “แบ็กอัพ” อยู่เบื้องหลัง
สังเกตได้ว่า ชื่อรัฐมนตรีที่จะหลุดจากเก้าอี้ส่วนใหญ่เป็น “พลเรือน” มากกว่าทหาร ที่คาดว่าจะไม่มีการปรับมากนัก ขณะที่กระทรวงสำคัญอย่างกระทรวงเกษตรฯ ที่มีเรื่องภัยแล้ง และราคาพืชผลตกต่ำ รวมถึงกระทรวงพลังงาน ที่มีเรื่องโรงไฟฟ้าและสัมปทานพลังงาน กลับมีชื่อ “ทหาร” เข้ามาเป็นรัฐมนตรีแทน สะท้อนให้เห็นถึงหลักคิดในการตั้งคนทำงานของรัฐบาล คสช. ได้เป็นอย่างดี
ส่วนเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ - รัฐบาลปรองดอง” ถ้าจะมี ก็ค่อยไปว่ากันหลังมีการเลือกตั้งแล้ว แต่มีเงื่อนไขสำคัญที่ว่า “นายกฯคนกลาง” ต้องส่งเข้าประกวดโดย คสช. เท่านั้น
สำหรับวันนี้หากมีการปรับเปลี่ยนทีมงาน “ครม.ประยุทธ์” เพื่อ “ปะผุ” รัฐนาวา คสช. หน้าฉากก็คงเฟ้น “มือดี” จากบรรดา “ขุนทหาร - ข้าราชการ” มากกว่าที่จะนำพา “นักการเมือง” เข้ามามีเอี่ยว ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญเช่นนี้