xs
xsm
sm
md
lg

“วิษณุ” ย้ำไม่ยุบ คปก.สั่งโยกทำงานร่วมนักกฎหมาย “กฤษฎีกา” 106 คน- 12 คณะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี  (แฟ้มภาพ)
“วิษณุ” แจง คำสั่ง คสช.เบรค “สรรหาคปก.” ย้ำ ไม่ยุบสำนักงานฯ งบประมาณ - งานฯ เยอะกว่าเดิม เผย ให้ คปก. ช่วยงานกฤษฎีกา สักระยะหนึ่ง เปรยว่าที่ คปก. ต้องรอ รธน. เสร็จ เปลี่ยนรูปร่างหน้าตาใหม่ อาจต้องไปเป็นองค์กรใหม่ เผย คปก. เตรียมทำงานร่วมกับ “สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา” ที่มีนักกฎหมาย 106 คน 12 คณะ

วันนี้ (22 ก.ค.) มีรายงานว่า หลังจาก หัวหน้า คสช. มีคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 20/2558 ให้ระงับการสรรหาคัดเลือกคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และให้สำนักงาน คปก. ทำงานสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวยอมรับว่า ได้เรียกตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เข้าพบเพื่อหารือการดำเนินงาน และมีการมอบหมายงานได้แก่

1. ตนบอกว่าอะไรที่ทำเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการต่อให้ส่งมาได้เลย 2. อะไรที่กำลังคิดจะทำ ที่คณะกรรมการชุดเก่าได้คิดไว้ ขอให้หยุดไว้ก่อน อย่าเพิ่งทำ เพราะอาจจะเกิดความขัดแย้งกัน ในเวลานี้มีคนอยู่ 60 คน คนส่วนใหญ่ที่นั่งอยู่ในนั้นไม่ใช่นักกฎหมาย เพราะ สำนักงาน คปก. ไม่เหมือนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งกฤษฎีกานั้นทำงานแบบนักกฎหมาย แต่ คปก. เป็นนักนิติสังคม จึงมีคนที่ถนัดทั้งในเรื่อง วิจัย รับฟังความเห็น ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สิทธิมนุษยชน เป็นต้น ซึ่งไม่เรื่องของกฎหมายแท้ ๆ เพราะการปฏิรูปกฎหมายต้องเอาคนแบบนั้นมา
“ได้มอบหมายงานไปว่าอะไรที่ทำเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการต่อก็ให้ส่งมาได้เลย อะไรที่กำลังคิดจะทำ ที่คณะกรรมการชุดเก่าได้คิดไว้ ขอให้หยุดไว้ก่อน”

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนคณะกรรมการกฤษฎีกา ใช้แต่นักกฎหมาย แต่เรามีปัญหามาก ว่า

1. ก่อนที่เราจะทำกฎหมาย เราต้องไปรับฟังความคิดเห็นคน ว่าคิดอย่างไร ซึ่งที่แล้วมา กฤษฎีกาเองก็ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะไม่มีเวลา ไม่มีเงิน ไม่มีคนที่ถนัด แต่คนเหล่านี้มีความถนัดจึงเข้ามาช่วยทำได้ ก่อนทำกฎหมาย

2. ทำกฎหมายเสร็จแล้ว ทำอย่างไรให้กฎหมายนั้นไปถึงประชาชน สร้างความรับรู้ความเข้าใจ ตรงนี้กฤษฎีกาไม่เคยทำ ก็เอาสำนักงาน คปก. มาทำ เขาจะมาช่วยเติมหัวและเติมท้าย ส่วนกฤษฎีกาจะทำตรงกลาง หากทำเช่นนี้แล้ว ภาพของการทำกฎหมายของประเทศไทยในซีกรัฐบาล จะสมบูรณ์มาก

ส่วนกรณีจะให้ คปก. ทำแบบนี้ไปนานเท่าไร นายวิษณุ กล่าวว่า สักระยะหนึ่ง เจตนาของคำสั่งคสช. ฉบับที่ 20/2558 ก็บอกแล้วว่า ให้รอไว้เพื่อรัฐธรรมนูญ เห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิรูปว่าการปฏิรูปกฎหมายต่อจากนี้ไปจะอยู่ในมือใครและทำอย่างไร ที่แล้วมามี คปก. และตั้งใจจะให้มีอีกหน่วยงานหนึ่ง เป็นฝาแฝด คือ คณะกรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ คราวนี้อาจมีโอกาสให้ได้ทำ เขาก็ต้องทำหน้าที่ตรงนี้ไปอีกสักระยะหนึ่ง ไม่กี่เดือน แล้วเข้าสู่กระบวนการใหม่

ส่วนจะมีการยุบสำนักงาน คปก. หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่ยุบ กฎหมายก็ยังมี สำนักงานก็ยังอยู่ งบประมาณก็ยังจัดให้ งานจะให้ทำก็มี เยอะกว่าเดิมด้วย แต่ว่าถ้ากฎหมายใหม่ออกมาแล้วต้องเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาใหม่ คุณก็ต้องไปเป็นองค์กรใหม่

มีรายงานว่า ขณะที่ คณะกรรมการกฤษฎีกา ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 106 คน ประกอบ ด้วยคณะกรรมการ 12 คณะ ดังนี้

คณะที่ 1 กฎหมายเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง มี นายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน กรรมการในคณะนี้ ประกอบด้วย คุณหญิง นันทกา สุประภาตะนันท์, นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์, นายอาษา เมฆสวรรค์, นางอารีย์ วงศ์อารยะ, พลตำรวจเอก ดรุณ โสตถิพันธุ์, นายปรีชา วัชราภัย, นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ, นายประสพสุข บุญเดช

คณะที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน มี นายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน กรรมการในคณะนี้ ประกอบด้วย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, นายวิลาศ สิงหวิสัย, พลเอก ประพาฬ กุลพิจิตร, นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์, คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์, นายสีมา สีมานันท์, นายอัชพร จารุจินดา, นางโฉมศรี อารยะศิริ

คณะที่ 3 กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน นายปลั่ง มีจุล เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายโกวิทย์ โปษยานนท์, นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล, หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล, นายพรชัย นุชสุวรรณ, นายประสงค์ วินัยแพทย์, นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

คณะที่ 4 กฎหมายเกี่ยวกับการคมนาคม นายอมร จันทรสมบูรณ์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายสมยศ เชื้อไทย, นายเพ็ง เพ็งนิติ, นายกมลชัย รัตนสกาววงศ์, นายวันชัย ศารทูลทัต, พลเรือเอก ชลินทร์ สาครสินธุ์, พลอากาศเอก อมร แนวมาลี, นายปิยะพันธุ์ จัมปาสุต, นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย

คณะที่ 5 กฎหมายเกี่ยวกับการค้าและอุตสาหกรรม นายวัฒนา รัตนวิจิตร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายมนู เลี่ยวไพโรจน์, นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายสงขลา วิชัยขัทคะ, นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์, นายเกริก วณิกกุล

คณะที่ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ และทรัพย์สินทางปัญญา นายอรุณ ภานุพงศ์ เป็นประธานกรรมการกรรมการประกอบด้วย นางสาวสุคนธ์ กาญจนาลัย, นายพิชัยศักดิ์ หรยางกูร, นายสุเทพ เจตนาการณ์กุล, นายการุณ กิตติสถาพร, นายพชร ยุติธรรมดำรง, นายสบโชค สุขารมณ์, นายชุมพร ปัจจุสานนท์ ทั้งนี้ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ที่ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกฯ มีรายชื่ออยู่ในกรรมการชุดนี้ด้วย

คณะที่ 7 กฎหมายเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน นายสรรเสริญ ไกรจิตติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการรายอื่น ประกอบด้วย นายเคียง บุญเพิ่ม, นายศิริ เกวลินสฤษดิ์, นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, นายจเร อำนวยวัฒนา, นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา, นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ, นายอำพน กิตติอำพน, นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล

คณะที่ 8 กฎหมายเกี่ยวกับ การศึกษา การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา นายเกษม สุวรรณกุล เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายทักษพล เจียมวิจิตร, นายธงทอง จันทรางศุ, นายนรนิติ เศรษฐบุตร, นายสุรินทร์ นาควิเชียร, นายบุญปลูก ชายเกตุ, คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นายสุรพล นิติไกรพจน์ นางกาญนารัตน์ ลีวิโรจน์

คณะที่ 9 กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม นายไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ, นายนพนิธิ สุริยะ, นางสาวพวงเพชร สารคุณ, นางสุดาศิริ วศวงศ์, นายสุนทร มณีสวัสดิ์, พลตำรวจเอก บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ, นายนคร ศิลปอาชา, นายนิพนธ์ ฮะกีมี

คณะที่ 10 กฎหมายเกี่ยวกับ การสาธารณสุข นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการกรรมการประกอบด้วย นายวิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์, นายวิฑูรย์ อึ้งประพันธ์,นายสุประดิษฐ์ หุตะสิงห์, นายสมชาย พงษธา, นางจริยา เจียมวิจิตร, พลเอก พิชิต ยูวะนิยม, นายสมคิด เลิศไพฑูรย์, นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์

คณะที่ 11 กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ทางแพ่งและทางอาญา นายโสภณ รัตนากร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายคณิต ณ นคร, นายเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, นายดิเรก สุนทรเกตุ, พลตำรวจเอก สุพาสน์ จีระพันธุ, นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม, พลเอก อัฏฐพร เจริญพานิช, นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ, นายไพโรจน์ วายุภาพ

คณะที่ 12 กฎหมายเกี่ยวกับการคลัง นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายบดี จุณณานนท์, นางพรทิพย์ จาละ, นายสมชัย ฤชุพันธ์, นายปัญญา ถนอมรอด,นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์, นายธานิศ เกศวพิทักษ์, นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล, นายเข็มชัย ชุติวงศ์.


สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กำลังโหลดความคิดเห็น