รอง ผอ.พศ. เผย มติ มส. สั่งวัดทั่วประเทศส่งบัญชีทรัพย์สิน รายรับ รายจ่าย ทุกปี เริ่มปีงบประมาณ 2558 มอบ พศ. แจ้งเจ้าคณะปกครองให้วัดดำเนินการภายในเดือนกันยายนนี้
วันนี้ (20 ก.ค.) ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม นายชยพล พงษ์สีดา รอง ผอ.พศ. กล่าวภายหลังประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ว่า นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล พศ. ได้มารายงานมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการเห็นชอบแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามที่พศ. เสนอต่อ มส. โดยมีแผนดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะมีการระดมความคิดเห็นของคณะสงฆ์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมอบหมายให้ พศ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ดำเนินการจะจัดประชุมระดมความคิดเห็น 3 ครั้ง ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2558 เพื่อนำผลการระดมความคิดเห็นไปจัดทำแผนระยะที่ 2 ทั้งนี้ แผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่ ครม. เห็นชอบไปแล้วนั้น ไม่ได้มีการกำหนดในเรื่องการเก็บภาษีพระและวัด การเก็บภาษีวัดที่สร้างวัตถุมงคลในเชิงพุทธมณฑล การหมุนเวียนแต่งตั้งพระสังฆาธิการ นอกจากนี้ ในแผนระยะที่ 1 จะมีการพัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก โดยจะมีแผนดำเนินการในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2564 ขณะเดียวกัน สมเด็จพระมหารัชมังคลจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดำริเสนอให้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลกประดิษฐานที่พุทธมณฑลด้วย รวมทั้งจะดำเนินการพัฒนางานคณะสงฆ์ในส่วนที่ทำได้ทันที เช่น การปกครองสงฆ์ การศึกษาสงฆ์ การเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นต้น สำหรับแผนระยะที่สามจะส่งต่อแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาจากรัฐบาลชุดปัจจุบันไปสู่รัฐบาลชุดใหม่
นายชยพล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม มส. ยังได้มีมติให้วัดจัดทำบัญชีทรัพย์สินของวัด ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ออกตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 รวมทั้งให้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละเดือนแบบสรุปเป็นรอบปีงบประมาณ โดยวัดในส่วนกลางให้แจ้งที่ พศ. ส่วนวัดในภูมิภาคให้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) และให้วัดทั่วประเทศกว่า 30,000 วัด แจ้งบัญชีทรัพย์สินและบัญชีรายรับรายจ่ายภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งสิ้นสุดปีงบประมาณ 2558
“พศ. จะทำหนังสือแจ้งมติ มส. ดังกล่าวไปยังเจ้าคณะปกครองเพื่อให้วัดทั่วประเทศดำเนินการ เนื่องจากเป็นมติ มส. ซึ่งทุกวัดต้องปฏิบัติตาม และที่ผ่านมาวัดก็มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินและรายรับรายจ่ายอยู่แล้ว แต่ไม่มีการรายงานต่อ มส. และ พศ. อย่างเป็นทางการ ส่วนหากหน่วยงานรัฐเช่น สำนักงานงบประมาณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะเข้ามาตรวจสอบทรัพย์สินของวัด จะต้องมีเหตุผลที่เหมาะสม ไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้ทันทีเพราะวัดเป็นนิติบุคคลไม่ใช่หน่วยงานราชการ” นายชยพล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 ก.ค.) ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม นายชยพล พงษ์สีดา รอง ผอ.พศ. กล่าวภายหลังประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ว่า นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล พศ. ได้มารายงานมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการเห็นชอบแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามที่พศ. เสนอต่อ มส. โดยมีแผนดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะมีการระดมความคิดเห็นของคณะสงฆ์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมอบหมายให้ พศ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ดำเนินการจะจัดประชุมระดมความคิดเห็น 3 ครั้ง ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2558 เพื่อนำผลการระดมความคิดเห็นไปจัดทำแผนระยะที่ 2 ทั้งนี้ แผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่ ครม. เห็นชอบไปแล้วนั้น ไม่ได้มีการกำหนดในเรื่องการเก็บภาษีพระและวัด การเก็บภาษีวัดที่สร้างวัตถุมงคลในเชิงพุทธมณฑล การหมุนเวียนแต่งตั้งพระสังฆาธิการ นอกจากนี้ ในแผนระยะที่ 1 จะมีการพัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก โดยจะมีแผนดำเนินการในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2564 ขณะเดียวกัน สมเด็จพระมหารัชมังคลจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดำริเสนอให้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลกประดิษฐานที่พุทธมณฑลด้วย รวมทั้งจะดำเนินการพัฒนางานคณะสงฆ์ในส่วนที่ทำได้ทันที เช่น การปกครองสงฆ์ การศึกษาสงฆ์ การเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นต้น สำหรับแผนระยะที่สามจะส่งต่อแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาจากรัฐบาลชุดปัจจุบันไปสู่รัฐบาลชุดใหม่
นายชยพล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม มส. ยังได้มีมติให้วัดจัดทำบัญชีทรัพย์สินของวัด ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ออกตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 รวมทั้งให้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละเดือนแบบสรุปเป็นรอบปีงบประมาณ โดยวัดในส่วนกลางให้แจ้งที่ พศ. ส่วนวัดในภูมิภาคให้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) และให้วัดทั่วประเทศกว่า 30,000 วัด แจ้งบัญชีทรัพย์สินและบัญชีรายรับรายจ่ายภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งสิ้นสุดปีงบประมาณ 2558
“พศ. จะทำหนังสือแจ้งมติ มส. ดังกล่าวไปยังเจ้าคณะปกครองเพื่อให้วัดทั่วประเทศดำเนินการ เนื่องจากเป็นมติ มส. ซึ่งทุกวัดต้องปฏิบัติตาม และที่ผ่านมาวัดก็มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินและรายรับรายจ่ายอยู่แล้ว แต่ไม่มีการรายงานต่อ มส. และ พศ. อย่างเป็นทางการ ส่วนหากหน่วยงานรัฐเช่น สำนักงานงบประมาณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะเข้ามาตรวจสอบทรัพย์สินของวัด จะต้องมีเหตุผลที่เหมาะสม ไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้ทันทีเพราะวัดเป็นนิติบุคคลไม่ใช่หน่วยงานราชการ” นายชยพล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่