xs
xsm
sm
md
lg

ยอม! กมธ.ยกร่างฯ ปรับแก้ไม่แตะ “กรรมการตุลาการ” ให้อัยการสูงสุดไปกำหนดเอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช (ภาพจากแฟ้ม)
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกเลิกการกำหนดเพดานอายุราชการตุลาการ ชี้ ตุลาการสูงสุดมักแก่ 45 - 60 ปี เพิ่งสอบได้ตอนสูงวัย หวั่นตุลาการขาดแคลน รวมทั้งยกเลิกการปรับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และที่มาของ กอ. ให้อัยการสูงสุดไปออกกฎหมายเอง

วันนี้ (13 ก.ค.) ที่โรงแรมเอเชีย พัทยา พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิชย์ โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุม กมธ. ยกร่างฯ ได้พิจารณาปรับแก้มาตรา 226 ที่เดิมกำหนดอายุเกษียณราชการของตุลาการศาลยุติธรรมและตุลาการศาลปกครองให้เหลือ 65 ปี ซึ่งต้องพ้นจากตำแหน่งบริหาร โดยอาจจะได้รับการพิจารณาเป็นตุลาการอาวุโสต่อไปได้อีก 5 ปีนั้น ที่ประชุมเห็นว่าอาจมีปัญหาปฏิบัติในบางศาล โดยเฉพาะศาลปกครอง ที่ตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดมักจะเริ่มเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไปแล้ว และบางคนมาสอบได้เมื่ออายุ 60 ปี จึงอาจเกิดปัญหาทางปฏิบัติจนทำให้ตุลาการขาดแคลน เพราะประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ที่ประชุมจึงเห็นว่าควรจะตัดบทบัญญัติที่กำหนดอายุการพ้นจากราชการที่ 65 ปีออกไป โดยให้แต่ละศาลไปบัญญัติในกฎหมายของตนเองว่าจะมีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติกำกำหนดให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานศาลอื่นนอกจากศาลรัฐธรรมนูญและศาลทหาร ดำรงตำแหน่งสีปีและได้เพียงวาระเดียวยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ สืบเนื่องจากผลการปรับแก้ในส่วนของโครงสร้างคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) การอุทธรณ์คำสั่ง กต. ตามคำเรียกร้องของฝ่ายตุลาการไปแล้ว ทำให้ทาง กมธ. ยกร่างฯ ได้ปรับแก้โครงสร้างคณะกรรมการอัยการ (กอ.) ไปในแนวทางเดียวกัน คือ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และที่มา ให้เป็นไปตามที่กฎหมายซึ่งอัยการสูงสุดและคณะจะเป็นผู้เสนอขึ้นมาเอง แต่อย่างไรก็ตาม พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ในส่วนของประธาน กอ. นั้น ได้มีการบัญญัติให้ชัดเจนว่าจะต้องมาจากอดีตข้าราชการอัยการเท่านั้น ซึ่งทำให้อัยการสูงสุดมาเป็นประธาน กอ. ไปด้วยอย่างในปัจจุบันไม่ได้


กำลังโหลดความคิดเห็น