"บวรศักดิ์" ปัดก้าวล่วงศาล ประเด็นการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ก.ต. เผยหารือผู้ใหญ่-ผู้บริหาร ในศาลยุติธรรมแล้ว วอนหยุดเคลื่อนไหว ส่วนองค์ประกอบก.ต. จะไม่บรรจุไว้ในรธน. ขณะที่เลขาศาลยุติธรรม ส่งตัวแทนยื่นหนังสือต่อ กมธ.ยกร่างฯ
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (13 ก.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกสถานที่เป็นวันแรก ที่โรงแรมเอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม มีวาระพิจารณาปรับแก้บทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเริ่มจากการพิจารณาในมาตรา 217 ของภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายบวรศักดิ์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีที่คณะผู้พิพากษาเตรียมเคลื่อนไหว และยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นศาลยุติธรรมว่า การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งในอดีต เมื่อ ก.ต. มีมติ หรือมีคำสั่ง ก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ ไม่ว่าจะลงโทษวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง เช่น ไล่ออก หรือ ปลดออก ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพูดคุยกันใน กมธ.ยกร่างฯ ว่า ควรให้สิทธิผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเหมือนข้าราชการอื่นๆ โดยเฉพาะการอุทธรณ์ หากถูกชี้ว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งถือเป็นสิทธิของบุคคลที่จะพึงมี พึงได้ ซึ่งกรณีนี้ กมธ.ยกร่างฯ ต้องการให้ผู้พิพากษาที่ถูกลงโทษทางวินัย โดยเฉพาะลงโทษทางวินัยร้ายแรง ไล่ออก ปลดออก มีสิทธิ เหมือนมนุษย์ทุกคน ที่จะอุทธรณ์ได้ เหมือนข้าราชการทั้งหมดทั่วโลก
นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอยืนยันว่า กมธ.ยกร่างฯ ไม่เคยคิดให้ศาลปกครอง เป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาการอุทธรณ์ตามที่มีกระแสข่าว เพราะตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีศาลปกครอง พ.ศ. 2542 เขียนไว้ชัดเจนว่า ไม่ให้นำกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง ไปใช้บังคับกับการอุทธรณ์ หรือคำวินิจฉัย หรือคำสั่งของก.ต. เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ออกมาจึงเป็นพูดกันโดยปราศจากมูลความจริง เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กมธ.ยกร่างฯไม่ได้ก้าวล่วงเข้าไปทำสิ่งซึ่งคิดเอาโดยพลการ แต่ได้มีการปรึกษากับผู้ใหญ่ในศาลยุติธรรม และผู้บริหารในศาลยุติธรรมแล้ว จึงขอควากรุณาว่า อย่าเคลื่อนไหว เพราะจะกระทบต่อราชการศาลยุติธรรมในการให้ความเป็นธรรมกับประชาชน
ไม่บรรจุองค์ประกอบก.ต.ไว้ใน รธน.
ส่วนข้อห่วงใยของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เกี่ยวกับประเด็นที่มาของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 กำหนดให้มีบุคคลซึ่งวุฒิสภา (ส.ว.) เลือกไปทำหน้าที่ 2 คน ใช้มา 18 ปี ดังนั้น เมื่อองคมนตรีทักท้วงมา กมธ.ยกร่างฯ ก็เลยเขียนไว้ ให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม หรือ ของตุลาการศาลปกครอง เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาตุลาการ โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ที่ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ พูดง่ายๆ คือ กมธ.ยกร่างฯ ไม่นำองค์ประกอบของ ก.ต. หรือคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) มาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอีกต่อไป แต่โยนไปให้ศาลเป็นผู้กำหนดในกฎหมายระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แล้วแต่ท่านจะไปเขียนองค์ประกอบอย่างไร
"การพิจารณาของเรา ได้นำความเห็นจากทุกภาคส่วนมาพิจารณาโดยความเห็นขององคมนตรี ได้มีการส่งมาหาผม 2 ฉบับ ท่านให้เอกสารมาเล่มใหญ่ ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญช่วงแรกๆ ท่านเป็นอาจารย์ผม ผมเคารพนับถือมาก ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่บุคคลซึ่งต้องการให้คงสถานะเดิม ต้องมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นได้ ผมไม่ถือว่าเป็นเรื่องโกรธกัน หรือผิดปกติ " นายบวรศักดิ์ กล่าว
ด้านนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ กมธ.ยกร่างฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ กล่าวว่า ข้อความที่ระบุว่า การอุทธรณ์ หรือการทบทวนการลงโทษทางวินัยนั้น ก่อนที่จะนำมาเสนอต่อที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯ ตนก็มีความเป็นห่วงกังวลเรื่องนี้อยู่ จึงได้มีการไปหารือกับผู้บริหารสูงสุงของศาลยุติธรรมและผู้บริหารของสำนักงานศาลยุติธรรม ได้นำเอาข้อความนี้นำเสนอแล้ว ท่านไม่ขัดข้องที่จะเพิ่มคำว่า หรือ การทบทวนด้วย ส่วนรายละเอียดต่างๆ เป็นไปตามที่กฎหมายที่ท่านรักษาการจะนำไปเขียนในรายละเอียดต่อไป
เลขาศาลรุดยื่นหนังสือบวรศักดิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.30 น. วันเดียวกันนี้ นายพยุง ชูสง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายพยุง กล่าวว่า ตนเป็นตัวแทนของ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นผู้มายื่นหนังสือแทน ส่วนรายละเอียดต่างๆ ตนไม่ขอพูดถึง
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (13 ก.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกสถานที่เป็นวันแรก ที่โรงแรมเอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม มีวาระพิจารณาปรับแก้บทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเริ่มจากการพิจารณาในมาตรา 217 ของภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายบวรศักดิ์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีที่คณะผู้พิพากษาเตรียมเคลื่อนไหว และยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นศาลยุติธรรมว่า การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งในอดีต เมื่อ ก.ต. มีมติ หรือมีคำสั่ง ก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ ไม่ว่าจะลงโทษวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง เช่น ไล่ออก หรือ ปลดออก ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพูดคุยกันใน กมธ.ยกร่างฯ ว่า ควรให้สิทธิผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเหมือนข้าราชการอื่นๆ โดยเฉพาะการอุทธรณ์ หากถูกชี้ว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งถือเป็นสิทธิของบุคคลที่จะพึงมี พึงได้ ซึ่งกรณีนี้ กมธ.ยกร่างฯ ต้องการให้ผู้พิพากษาที่ถูกลงโทษทางวินัย โดยเฉพาะลงโทษทางวินัยร้ายแรง ไล่ออก ปลดออก มีสิทธิ เหมือนมนุษย์ทุกคน ที่จะอุทธรณ์ได้ เหมือนข้าราชการทั้งหมดทั่วโลก
นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอยืนยันว่า กมธ.ยกร่างฯ ไม่เคยคิดให้ศาลปกครอง เป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาการอุทธรณ์ตามที่มีกระแสข่าว เพราะตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีศาลปกครอง พ.ศ. 2542 เขียนไว้ชัดเจนว่า ไม่ให้นำกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง ไปใช้บังคับกับการอุทธรณ์ หรือคำวินิจฉัย หรือคำสั่งของก.ต. เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ออกมาจึงเป็นพูดกันโดยปราศจากมูลความจริง เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กมธ.ยกร่างฯไม่ได้ก้าวล่วงเข้าไปทำสิ่งซึ่งคิดเอาโดยพลการ แต่ได้มีการปรึกษากับผู้ใหญ่ในศาลยุติธรรม และผู้บริหารในศาลยุติธรรมแล้ว จึงขอควากรุณาว่า อย่าเคลื่อนไหว เพราะจะกระทบต่อราชการศาลยุติธรรมในการให้ความเป็นธรรมกับประชาชน
ไม่บรรจุองค์ประกอบก.ต.ไว้ใน รธน.
ส่วนข้อห่วงใยของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เกี่ยวกับประเด็นที่มาของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 กำหนดให้มีบุคคลซึ่งวุฒิสภา (ส.ว.) เลือกไปทำหน้าที่ 2 คน ใช้มา 18 ปี ดังนั้น เมื่อองคมนตรีทักท้วงมา กมธ.ยกร่างฯ ก็เลยเขียนไว้ ให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม หรือ ของตุลาการศาลปกครอง เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาตุลาการ โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ที่ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ พูดง่ายๆ คือ กมธ.ยกร่างฯ ไม่นำองค์ประกอบของ ก.ต. หรือคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) มาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอีกต่อไป แต่โยนไปให้ศาลเป็นผู้กำหนดในกฎหมายระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แล้วแต่ท่านจะไปเขียนองค์ประกอบอย่างไร
"การพิจารณาของเรา ได้นำความเห็นจากทุกภาคส่วนมาพิจารณาโดยความเห็นขององคมนตรี ได้มีการส่งมาหาผม 2 ฉบับ ท่านให้เอกสารมาเล่มใหญ่ ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญช่วงแรกๆ ท่านเป็นอาจารย์ผม ผมเคารพนับถือมาก ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่บุคคลซึ่งต้องการให้คงสถานะเดิม ต้องมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นได้ ผมไม่ถือว่าเป็นเรื่องโกรธกัน หรือผิดปกติ " นายบวรศักดิ์ กล่าว
ด้านนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ กมธ.ยกร่างฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ กล่าวว่า ข้อความที่ระบุว่า การอุทธรณ์ หรือการทบทวนการลงโทษทางวินัยนั้น ก่อนที่จะนำมาเสนอต่อที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯ ตนก็มีความเป็นห่วงกังวลเรื่องนี้อยู่ จึงได้มีการไปหารือกับผู้บริหารสูงสุงของศาลยุติธรรมและผู้บริหารของสำนักงานศาลยุติธรรม ได้นำเอาข้อความนี้นำเสนอแล้ว ท่านไม่ขัดข้องที่จะเพิ่มคำว่า หรือ การทบทวนด้วย ส่วนรายละเอียดต่างๆ เป็นไปตามที่กฎหมายที่ท่านรักษาการจะนำไปเขียนในรายละเอียดต่อไป
เลขาศาลรุดยื่นหนังสือบวรศักดิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.30 น. วันเดียวกันนี้ นายพยุง ชูสง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายพยุง กล่าวว่า ตนเป็นตัวแทนของ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นผู้มายื่นหนังสือแทน ส่วนรายละเอียดต่างๆ ตนไม่ขอพูดถึง